ความรู้เกี่ยวกับมอเตอร์ไฟฟ้า
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส
 |
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ
3 เฟส
แบ่งออกตามโครงสร้างและหลักการทำงานของมอเตอร์ได้
2 แบบ คือ
1. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส แบบอินดักชั่น (3 Phase Induction
Motor)
2. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส แบบซิงโครนัส (3 Phase Synchronous
Motor)
|
|
1.
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส แบบอินดักชั่น
มอเตอร์ไฟสลับ 3 ที่มีคุณสมบัติที่ดี คือมีความเร็วรอบคงที่เนื่องจากความเร็วรอบอินดักชั่นมอเตอร์ขึ้นอยู่กับความถี่
(Frequency) ของแหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ
มีราคาถูก โครงสร้างไม่ซับซ้อน
สะดวกในการบำรุงรักษาเพราะไม่มีคอมมิวเตเตอร์และแปรงถ่านเหมือนมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง
เมื่อใช้ร่วมกับเครื่องควบคุมความเร็วแบบอินเวอร์เตอร์
(Invertor) สามารถควบคุมความเร็ว (Speed)
ได้ตั้งแต่ศูนย์จนถึงความเร็วตามพิกัดของมอเตอร์
นิยมใช้กันมาก เป็นต้น กำลังในโรงงานอุตสาหกรรม ขับเคลื่อนลิฟท์ขับเคลื่อนสายพานลำเลียง
ขับเคลื่อนเครื่องจักรไฟฟ้า เช่น เครื่องไส เครื่องกลึง
มอเตอร์อินดักชั่นมี 2 แบบ แบ่งตามลักษณะตัวหมุนคือ
|
|
1.โรเตอร์
2. ขดลวดสนามแม่เหล็ก
3. ขั้วต่อสาย
4. โครงมอเตอร์
5. ฝาครอบหัว
6. ฝาครอบท้าย |
1.1 อินดักชั่นมอเตอร์ที่มีโรเตอร์แบบกรงกระรอก
(Squirrel Cage Induction Motor)
อินดักชั่นมอเตอร์แบบนี้ ตัวโรเตอร์จะมีโครงสร้างแบบกรงกระรอกเหมือนกับโรเตอร์ของสปลิทเฟสมอเตอร์
|
|
|
รูปสเตเตอร์ ของอินดักชั่นมอเตอร์
|
1.2 อินดักชั่นมอเตอร์ที่มีโรเตอร์แบบขดลวด
(Wound Rotor Induction Motors)
อินดักชั่นมอเตอร์ชนิดนี้ตัวโรเตอร์จะทำจากเหล็กแผ่นบาง ๆ
อัดซ้อนกันเป็นตัวทุ่นคล้าย ๆอาร์เมเจอร์ของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง
มีร่องสำหรับวางขดลวดของตัวโรเตอร์เป็นขดลวด 3 ชุด
สำหรับสร้างขั้วแม่เหล็ก 3 เฟส
เช่นกันปลายของขดลวดทั้ง 3 ชุดต่อกับสปริง(Slip Ring) จำนวน 3
อันสำหรับเป็นทางให้กระแสไฟฟ้าครบวงจรทั้ง 3 เฟสการทำงานของอินดักชั่นมอเตอร์
เมื่อจ่ายไฟฟ้าสลับ 3 เฟสให้ที่ขดลวดทั้ง 3 ของตัวสเตเตอร์จะเกิดสนามแม่เหล็กหมุนรอบ
ๆ ตัวสเตเตอร์ ทำให้ตัวหมุน(โรเตอร์)
ได้รับการเหนี่ยวนำทำให้เกิดขั้วแม่เหล็กที่ตัวโรเตอร์
และขั้วแม่เหล็กนี้
จะพยายามดึงดูดกับสนามแม่เหล็กที่หมุนอยู่รอบ ๆ ทำให้มอเตอร์
ของอินดักชั่นมอเตอร์หมุนไปได้ ความเร็วของสนามแม่เหล็กหมุนที่ตัวสเตเตอร์นี้จะคงที่ตามความถี่ของไฟฟ้ากระแสสลับ
ดังนั้นโรเตอร์ของอินดักชั่น ของมอเตอร์
จึงหมุนตามสนามหมุนดังกล่าวไปด้วยความเร็วเท่ากับความเร็วของสนามแม่เหล็กหมุน
2. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟสแบบซิงโครนัสเป็นมอเตอร์ได้ใหญ่ที่สุด
 |
ซิงโครนัสมอเตอร์เป็นมอเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุด ที่ขนาดพิกัดของกำลังไฟฟ้าตั้งแต่
150 kW (200 hp) จนถึง 15 MW (20,000 hp)
มีความเร็วตั้งแต่ 150 ถึง 1,800 RPM |
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 3
เฟสแบบซิงโครนัส (3 Phase Synchronous Motor)
|
โครงสร้างของซิงโครนัสมอเตอร์
ที่สำคัญมี 2 ส่วนคือ
1. สเตเตอร์ (Stator)
2. โรเตอร์ (Rotor) |
|
1. สเตเตอร์ (Stator) ของซิงโครนัสมอเตอร์เหมือนกับสเตเตอร์ของ
3 เฟส
อินดักชั่นมอเตอร์มีร่องสำหรับพันขดลวดจำนวน 3 ชุด เฟสละ1 ชุด
เมื่อจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส ให้กับสเตเตอร์จะเกิดสนามแม่เหล็กหมุนขึ้น เมื่อสนามแม่เหล็กหมุนอินดักชั่นมอเตอร์
|
 |
2. โรเตอร์ (Rotor)
ของซิงโครนัสมอเตอร ์ เป็นแบบขั้วแม่เหล็กยื่น (Salient
Poles) และมีขดลวดพันข้าง ๆ ขั้วแม่เหล็กยื่นเหล่านั้นขดลวดสนามแม่เหล็กที่พันรอบขั้วแม่เหล็กยื่นต่อกับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงภายนอก
เพื่อสร้างขั้วแม่เหล็กขึ้นที่ตัวโรเตอร์
การทำงานของซิงโครนัสมอเตอร์เมื่อจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส ให้กับสเตเตอร์ของซิงโครนัสมอเตอร์
จะเกิดสนามแม่เหล็กหมุนเนื่องจากตัวหมุน (โรเตอร์)
ของซิงโครนัสมอเตอร์เป็นแบบขั้วแม่เหล็กยื่น
และมีขดลวดสนามแม่เหล็กพันอยู่รอบ ๆโดยใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสภายนอก
เมื่อจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงให้กับโรเตอรจะทำให้เกิดขั้วแม่เหล็กที่โรเตอร์ขึ้น
ขั้วแม่เหล็กนี้จะเกาะตามการหมุนของสนามหมุนของสเตเตอร์
ทำให้มอเตอร์หมุนไปด้วยความเร็วเท่ากับความเร็วของสนามแม่เหล็กที่สเตเตอร์ |
ที่มา : http://edu.e-tech.ac.th/
|