p16
(1871-1937,New Zealand)
Lord Rutherford เกิดที่ New Zealand ในปี 1871 และได้รับ Ph.D. in Physics ในปี 1895 เมื่อเขาไปศึกษาที่ Cambrige University J.J. Thompson ชักชวนให้เขาทำงานวิจัยทางด้าน Radioactivity และในที่สุดเขาก็เป็นผู้ค้นพบ a และ b radiation ต่อมาเขาย้ายไปทำงานวิจัยที่ McGill University, Canada เพื่อพิสูจน์ว่า a และ b radiation มีอิเล็กตรอนเป็นองค์ประกอบ ซึ่งทำให้เขาได้รับ Nobel Prize ในปี 1908 เขามีลูกศิษย์ที่เก่งมากคือ Soddy ในปี 1907 เขาย้ายไปที่ Manchester University และเขาได้ทำการทดลองซึ่งทำให้เราได้รับแนวความคิดใหม่เกี่ยวกับอะตอม ในปี 1919 เขากลับ Cambridge และได้สืบทอดตำแหน่งของทอมสัน เขาเป็นผู้ที่ได้รับสืบทอดตำแหน่งของ Thompson เขาเป็นผู้ที่มีผลงานสำคัญทางฟิสิกส์และเคมี และยังเป็นที่ปรึกษาของผู้ได้รับรางวัลโนเบลในภายหลังกว่า 10 คน
นำมาจาก http://pirun.ku.ac.th/~b4104056/project/atom/page/rutherford.html
John Dalton
(1766-1844, British)
จอห์น ดาลตัน เป็นนักเคมีและนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ จาก Eaglesfield, Cumberland เขาไดัรับการศึกษาขั้นต้นจากบิดา และที่ Quaker School บ้านเกิด เขาเริ่มสอนหนังสือที่นั่นเมื่อมีอายุเพียง 12 ปี ในปี 1781เขากับพี่ชายย้ายไปที่ Kendal และร่วมกันสร้างโรงเรียน
เขาเริ่มการค้นคว้าเกี่ยวกับ Meteorology ในปี 1787 และทำอย่างต่อเนื่องตลอด 57 ปี หลังจากนั้นเขาก็ทำงานวิจัยที่เกี่ยวกับตาบอดสี ซึ่งเป็นการอธิบายครั้งแรกเกี่ยวกับปรากฏการณ์การมองเห็นที่เรียกว่า Daltonism งานสำคัญที่สุดของดาลตันได้แก่การอธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างของอะตอม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของ Modern Physical Science และการศึกษาเกี่ยวกับ partial pressure ของก๊าซผสม เขาใช้ชีวิตบั้นปลายสอนพิเศษ และเป็นอาจารย์ที่ New College
นำมาจาก http://pirun.ku.ac.th/~b4104056/project/atom/page/rutherford.html
ภาพประจำสัปดาห์ ไฮโดรเจนกับการพินาศของโพยมนาวา
ไฮโดรเจน เป็นธาตุธาตุแรกในตารางธาตุ เป็นธาตุที่มีอะตอมเล็กที่สุด และเบาที่สุดด้วยเหตุนี้ไฮโดรเจน จึงเป็นธาตุที่มีมากที่สุดในจักรวาล (ออกซิเจนเป็นธาตุที่มีมากสุดบนโลกแต่ทว่าโลกเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ในจักรวาล) นักดาราศาสตร์ต่างลงความเห็นว่าในจักรวาลมีไฮโดรเจนอยู่ถึง 90 ใน 100 แม้แต่ดวงอาทิตย์ก็มีไฮโดรเจนมากมายเช่นกัน
บนโลกแม้ว่าจะมีไฮโดรเจนน้อย ถึงกระนั้นก็ยังมีปนอยู่ในชั้นบรรยากาศถึง 3% อะตอมของไฮโดรเจนคล้ายกันของออกซิเจน คือ ในโมเลกุลหนึ่ง ๆ จะประกอบขึ้นด้วย 2 อะตอมแต่โมเลกุลของไฮโดรเจนเล็กกว่า และเล็กกว่าโมเลกุลของธาตุทุกชนิดด้วย
หนีออกจากโลก
โมเลกุลของ ๆ แข็ง จะยึดกันแน่นหนาแต่ในแต่ละโมเลกุลนั้นยังสั่นสะเทือนอยู่ตลอดเวลาา โมเลกุลของ ๆ เหลว เคลื่อนที่ได้สะดวกขึ้นบ้าง ส่วนโมเลกุลของก๊าซเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ อุณหภูมิตามปกติ โมเลกุลของออกซิเจนจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วไม่น้อยกว่านาทีละ 4 ไมล์ ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นการเคลื่อนที่จะเร็วขึ้นด้วย โมเลกุลเล็ก ๆ เคลื่อนที่ได้เร็วกว่าโมเลกุลใหญ่ฉะนั้น ณ อุณหภูมิธรรมดาโมเลกุลของไฮโดรเจนจึงเคลื่อนได้เร็วกว่าโมเลกุลของออกซิเจน คือ มันจะเคลื่อนที่ได้เร็วถึงนาทีละ 7 ไมล์ (ความเร็วที่ได้นี้เป็นค่าความเร็วเฉลี่ย) มีต่อ
กดที่ภาพ หรือกดที่นี่ เพื่อเข้าสู่การทฤษฏีการบรรยาย และการทดลองตามลำดับ
การทดลองนี้เป็นการทดลองกฎการคงตัวของโมเมนตัมเชิงเส้น
ข้อสำคัญ การทดลองนี้ต้องใช้โปรแกรมShockwave ถ้าไม่สามารถเห็นภาพได้ต้องดาวโลด Shockwave จึงจะสามารถเล่นได้พร้อมทั้งมีเสียงประกอบด้วย