 |
RBSN NEAR-NET-SHAPE CERAMICS ตอนที่ 2
(จบ) |
ดร.กุลจิรา สุจิโรจน์
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ(เอ็มเทค) |
|
|
|
|
|
|
การผลิต RBSN
เริ่มจากการผสมผงซิลิคอนกับสารเชื่อมประสาน
(binder) แล้วขึ้นรูปด้วย วิธีการทางเซรามิกส์
ที่นิยมใช้กันทั่วไป เช่น การหล่อ (slip casting)
การอัดแห้ง (dry pressing) และการฉีดเข้าแบบ
(injection molding) เป็นต้น
หลังจากนั้นจึงทำการเผาผนึกเบื้องต้นที่อุณหภูมิไม่เกิน
1,100oC ในบรรยากาศเฉื่อย
เพื่อให้ได้ชิ้นงานพรีฟอร์ม (preform)
ที่มีความแข็งแรงเพียงพอ
สำหรับการเคลื่อนย้ายและกลึงแต่งรูปร่างได้
โดยเทคนิคการกลึงโลหะทั่วไป
จนได้รูปร่างซับซ้อนตามที่ต้องการ แล้วทำ
nitridation ในบรรยากาศไนโตรเจน ก็จะได้ผลิตภัณฑ์
RBSN
ที่มีขนาดใกล้เคียงกับขนาดที่ต้องการ
| |
|
ภาพที่ 3 กระบวนการผลิต
RBSN |
|
ภาพที่
4 กลไกการเกิด RBSN ที่เริ่มจาก (a)
การเกิดนิวเคลียส Si3N4 ที่ผิว
แล้วเกิดการเติบโตขึ้น (b-d)
จนกระทั่งปกคลุมผิวทั้งหมด (e)
หรือเกิดนิวเคลียสใหม่ในรูพรุน
(f)5 | |
|
|
ในทางทฤษฎีปฏิกิริยา
nitridation ระหว่างซิลิคอนและ ก๊าซไนโตรเจน
อาจเกิดได้ดังนี้ |
|
3Si(s) + 2N2 (g)
--> Si3N4
(g) (1) 3Si(l) +
2N2 (g) --> Si3N4
(g) (2) 3Si(g) +
2N2 (g) --> Si3N4
(g) (3) | |
อัตราการเกิดปฏิกริยา
ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและ ความดันย่อย ของไนโตรเจน
แต่ในทางปฏิบัติ ผงซิลิคอนจะมีชั้นซิลิกา (SiO2)
เคลือบอยู่ที่ผิว
ทำหน้าที่เป็นชั้นป้องกันการเกิดปฏิกิริยา
และมักจะมี เหล็กเป็นมลทินอยู่ด้วย
ได้มีการศึกษา7พบว่า เหล็กปริมาณน้อยๆ
ก็อาจมีผลทำให้กลไก การเกิดปฏิกิริยาเปลี่ยนเป็น
|
2Si (s) + O2 (g) = 2SiO
(g) (4) 3SiO (g) +
2N2 (g) = Si3N4
(s)+ 3/2 O2 (g)
(5) | |
นอกจากนี้
ความชื้นที่มีอยู่ในบรรยากาศ
อาจทำให้เกิดปฏิกิริยา
|
Si (s) + H2O (g) = SiO (g) +
H2 (g) (6) | |
ดังนั้น
จะเห็นได้ว่าการควบคุมความดันย่อย ของไนโตรเจน
ออกซิเจน ไฮโดรเจน และน้ำ
มีความสำคัญมากต่ออัตราเกิดซิลิคอนไนไตรด์
นอกจากนี้อุณหภูมิและมลทินต่าง ๆ
ที่มีอยู่ในผงซิลิคอน
ก็มีผลต่อกลไกการเกิดปฏิกิริยาเช่นกัน
สิ่งที่น่าสนใจคือ
ในทางทฤษฎี Si3N4 จากปฏิกิริยา nitridation
นี้ควรจะทำให้ชิ้นงานมีปริมาตรเพิ่มขึ้น ประมาณ
23% เทียบกับสารตั้งต้นซิลิคอน (Si)
แต่เมื่อเปรียบเทียบ ขนาดชิ้นงาน พรีฟอร์ม
กับผลิตภัณฑ์หลังเผา nitridation พบว่ามีขนาด
แทบจะไม่ต่างกัน สาเหตุของสมบัติพิเศษนี้
เกิดจากกลไกการเกิดปฏิกิริยา nitridation8 (ภาพที่
4) ซึ่งเกิดที่ผิวของซิลิกอน แล้วเติบโต (growth)
เข้าไปในอนุภาคซิลิกอน รวมทั้งบางส่วนก็เกิด
ปฏิกิริยา ในวัฏภาคก๊าซ หรือโดยการแพร่
ทำให้ซิลิกอนไนไตร์ด เข้าไปเติมเต็มช่องว่าง
ที่อยู่ระหว่างอนุภาค ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่ได้
จึงมีความหนาแน่นเพิ่มขึ้น และความพรุนลดลง
โดยที่ขนาดภายนอก ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
. . . . . . . . . .
.. . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
. . . . . . . . . . . . .
| | |
|
|
โครงการประยุกต์
RBSN
ในงานอุปกรณ์หัวฉีดน้ำมัน | |
|
จากการที่ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติได้เริ่มโครงการพัฒนา
RBSN9 ขึ้น และทางภาควิชาโลหการ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ได้เล็งเห็นความเป็นไปได้ของการในการประยุกต์ RBSN
ในงานอุปกรณ์หัวฉีดน้ำมัน
เนื่องจากหัวฉีดน้ำมันที่กันโดยทั่วไปมักทำจากเหล็กสเตนเลส
ทำให้เกิดปัญหาด้านการสึกหรอที่อุณหภูมิสูงอย่างรวดเร็ว
และการผลิตจะต้องหยุดชะงักเพื่อเปลี่ยนอุปกรณ์ชิ้นนี้
โครงการความร่วมมือจึงได้เกิดขึ้น
โดยคณะผู้วิจัยมีความเห็นว่า สมบัติเด่นด้าน
near-net-shape
และด้านการคงความแข็งที่อุณหภูมิสูงของ RBSN
ประกอบกับลักษณะของการใช้งาน
ไม่ต้องรับน้ำหนักมากนัก น่าจะทำให้สามารถใช้ RBSN
ทดแทนสเตนเลส
ได้เป็นอย่างดี
การวิจัยพัฒนาในระดับปริญญาโทจะแบ่งเป็น
3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่
1: การขึ้นรูปและวิเคราะห์คุณลักษณะของ
RBSN10 ระยะที่
2: การผลิตต้นแบบอุปกรณ์หัวฉีดน้ำมันจาก RBSN
และ ระยะที่
3: การทดสอบ thermal fatigue & erosion
ของอุปกรณ์หัวฉีดน้ำมัน
RBSN
ปัจจุบัน
ได้ทำการวิจัยพัฒนาในระยะที่ 1 แล้วเสร็จ
และกำลังอยู่ในระหว่างการเริ่มต้นการศึกษาในระยะที่
2 ทั้งนี้ คาดว่า
เมื่อจบการศึกษาวิจัยทั้งสามระยะจะเกิดองค์ความรู้และบุคลากร
รวมทั้งเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการนำวัสดุที่มีสมบัติเด่น
และมีศักยภาพในการพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์อย่าง RBSN
มาใช้จริงในอนาคตอันใกล้ |
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
. .
| |
|
| | | |
|
เอกสารอ้างอิง :: |
- Deville,
S-C.H. & Woehler,F. (1859) Lieb.Ann. Vol. 110, p.
248
- Egly,G.
(1905) US patent number 866 444
- (a)
Carborundum Co,. 'Silicon nitride bonded articles' US patent
number 2 618 565, (b) Carborundum Co,. 'Silicon nitride
bonded refractrory articles' US patent number 2 636
828
- Raj,R.
& Lange,F.F. (1981) Acta Metall. 29[12]1993-2000
- Clarke,D.R.; Lange,F.F.; & Schnittgrund,G.D.
(1982)J.Am.Cer.Soc. 65[4]C51-C52
- Eddington,J.W.; Rowcliffe; & Henshall,J.L. (1975)
Powder Metall.Int. 7[2]82-96
- Rahaman,M.N. & Moulson A.J. (1981)
J.Mater.Sci.16[8]2319-21
- Moulson,A.J. (1979) J.Mater.Sci.
14,1017-51
- กุลจิรา
สุจิโรจน์ และ เบญญา เชิดหิรัญกร (2541)
'การผลิตและหาลักษณะเฉพาะของ RBSN' รายงานการวิจัย
พัฒนาและวิศวกรรม ฉบับสมบูรณ์
เสนอต่อศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
- กันยาทิพย์ ตันติคมน์ (2544)
'การขึ้นรูปและวิเคราะห์คุณลักษณะของรีแอกชันบอนด์ซิลิคอนไนไตร์ด'
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
|
|
|
| | |