p19
คุณสามารถเห็นจุดหลอมเหลว และอุณหภูมิจุดเดือดสำหรับธาตุต่างๆ ภายในตารางธาตุนี้ ถ้าเป็นสีน้ำเงิน แสดงว่าธาตุนั้นอยู่ในสถานะของแข็ง สีเหลืองอยู่ในสถานะของเหลว และสีแดงอยู่ในสถานะแก๊ส ส่วนช่องไหนถ้าเป็นสีขาวแสดงว่า ธาตุนั้นมีไอโซโทปที่ไม่เสถียร และยังไม่ทราบอุณหภูมิของการเปลี่ยนเฟส
ในห้องทดลองเสมือนจริงนี้ เรากำหนดให้อุณหภูมิห้องเท่ากับ 298 K = 25 o C คุณสามารถปรับอุณหภูมิได้ด้วยตนเอง โดยกดที่ลูกศรของคียบอร์ด ("<--- " : อุหภูมิลดลงครั้งละ 15 K , "---->" อุหภูมิเพิ่มขึ้นครั้งละ 15 K ) หรือจะใช้เมาส์ลากตัวเลื่อนก็ได้เช่นเดียวกัน กดที่รูปภาพหรือที่นี่เพื่อเข้าห้องทดลอง
คำถาม
เมื่ออุกาบาต?...ถล่มโลก
จากกรณีที่มีข่าวอุกกาบาตยักษ์จะถล่มโลกในวันที่ 1 ก.พ. 2562 นั้น ทำให้แฟน หลายท่านสนใจและไต่ถามมาว่า ถ้าหากเกิดขึ้นจริงแล้วจะสร้างความพินาศแก่โลกได้มาน้อยสักเท่าใด ทีมงาน จึงได้ค้นคว้าหาข้อมูลภัยพิบัติที่เคยเกิดจากเทหวัตถุในอวกาศพุ่งชนโลก มาให้อ่านกันในหนนี้ครับ
โดยทั่วไปแล้ว ตามหลักวิทยาศาสตร์โลกเรามีเกราะป้องกันอย่างดี นั่นคือ อากาศที่ห่อหุ้มอยู่วัตถุใดๆ จากอวกาศที่พุ่งลงมายังโลกด้วยความเร็วสูง ยิ่งจะเสียดสีกับอากาศจนร้อนจัด และถูกเผาไหม้มลายไปก่อนจะตกกระทบพื้นโลก ดาวตกหรือผีพุ่งไต้ที่เราเป็นเป็นแสงสว่างพุ่งวาบนั่นละครับเป็นตัวอย่าง
แต่ถ้าหากว่า วัตถุหรืออุกกาบาตนั้นมีขนาดใหญ่มหึมา การเผาไหม้จะทำลายไม่หมดและเหลือเป็นก้อนโลหะเมื่อนั้นก็อาจก่ออันตรายแก่โลกได้ ดังเช่นหลุมอุกกาบาตขนาดมโหฬาร ชื่อ บาร์ริงเจอร์ (Barringer crater) ที่เป็นร่องรอยปรากฏอยู่ในอริโซนาเดี๋ยวนี้ อ่านต่อครับ
แสงมหัศจรรย์
แสงแวบวาบของดาวตกหรือที่เรียกว่า ผีพุ่งใต้ เป็นภาพที่น่าตื่นตะลึงที่สุดภาพหนึ่งในท้องฟ้า แสงนี้มิได้มาจากดาวแต่เกิดจากลูกอุกกาบาต ซึ่งเป็นก้อนหินหรือก้อนโลหะจากอวกาศที่ผ่านชั้นบรรยากาศของโลก ขณะวัตถุนี้พุ่งลงมาด้วยความเร็วสูงมาก อากาศเบื้องหน้าที่ประทะกับอุกกาบาตจะถูกอัดด้วยคลื่นสั่นสะเทือน เกิดลุกไหม้ ทำให้ผิวชั้นนอกของอุกกาบาตร้อนขึ้นจนลุกเป็นไฟ และหลอมละลายในที่สุด แก๊สที่ลุกโพลงและวัตถุที่หลอมละลายจะถูกเหวี่ยงออกจากอุกกาบาตในระหว่างนี้ ทำให้มองเห็นเป็นลูกไฟพุ่งผ่านไปในท้องฟ้า อ่านต่อครับ
แบบจำลองของแก๊สในอุดมคติ
เซลเชื้อเพลิงทำงานอย่างไร?
คุณคงเคยได้ยินความมหัศจรรย์ และพลังงานของเซลเชื้อเพลิงกันมาบ้างแล้ว บางท่านคงจะได้เห็นมาจากโทรทัศน์ บางท่านอาจจะได้ยินข่าวสารนี้มาจากวิทยุ ไม่ว่าจะมาทางใดก็ตามเทคโนโลยีนี้มีความน่าสนใจมากๆ เพราะเป็นแหล่งพลังงานที่มีความสะอาด ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ และให้ประสิทธิภาพสูงกว่าพลังงานจากแหล่งอื่นๆ พลังงานนี้คืออะไร เหมือนกับการเผาไหม้เชื้อเพลิงอย่างเช่น น้ำมัน หรือไม่ หรือถ้าไม่เหมือนมันมีความแตกต่างกันอย่างไร ?
รถทดลองที่ใช้พลังงานจากเซลเชื้อเพลิง
แผ่นเซลเชื้อเพลิงที่ยอมให้โปรตอนผ่าน(Proton exchange membrane fuel cell )
ภายในแผ่นเซล PEM นี้ จะเกิดปฏิกิริยาทางเคมีง่ายๆขึ้น ภาพที่ปรากฎข้างล่างนี้เป็นภาพตัดของแผ่นเซล PEM ช่วยให้คุณเห็นชิ้นส่วนภายในอย่างละเอียด
รูปที่ 1 ภาพตัดของเซล PEM
กระบวนการความร้อนคงที่
กระบวนการความร้อนคงที่ สำหรับแก๊สอุดมคติ Q = 0
วาดกราฟระหว่าง P กับ V เส้นกราฟที่ได้ขณะกำลังอยู่ในช่วงขยายตัว เส้นกราฟจะตกลงเร็วกว่า เมื่อเทียบกับกราฟ PV = คงที่
จากกฎข้อที่หนึ่งของเทอร์โมไดนามิก จะได้
สำหรับช่วงการอัด
สำหรับช่วงการขยายตัว
ในห้องทดลองเสมือนนี้ เป็นการทดลองคลื่นสถิตในเส้นเชือก โดยเราสามารถเปลี่ยนแรงตึงเชือก FT หรือมวลของเส้นเชือกต่อหน่วยความยาว m/L และความถี่ f
กราฟแนวนอนในรูปภาพแสดงความถี่ f1 , f2 , f3 ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับค่า FT กับ มวลของเส้นเชือกต่อหน่วยความยาว เพื่อจะให้เกิดการกำทอน และคลื่นสถิต โดยเป็นไปตามสมการ
กำหนดค่าเริ่มต้นให้
=
100 g/m และ FT
= 1.0 N เปลี่ยนค่า
f จนได้ค่า f = 1.6
Hz
สังเกตว่าเกิดอะไรขึ้น
ต่อไปเปลี่ยนความถี่ขึ้นเป็น
f2 = Nf1 = 2f1
= 3.2 Hz กดที่นี่หรือที่รูปภาพเพื่อเข้าสู่การทดลอง
ในห้องทดลองนี้ ประกอบด้วยเด็กซนผู้หนึ่ง กับกระดิ่งอีกอันหนึ่ง ให้เด็กเป็นผู้สังเกต ส่วนกระดิ่งเป็นแหล่งกำเนิดเสียง ทั้งคู่เคลื่อนที่อยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน แหล่งกำเนิดเสียงมีความถี่ fs และความถี่ที่ผู้สังเกตได้ยินเป็น fo
กำหนดให้ ทิศทางการเคลื่อนที่ไปทางขวาเป็นบวก และทางซ้ายเป็นลบ เริ่มต้นด้วย vo = 4.0 m/s และ vs = 10.0 m/s และ fs = 200 Hz กดปุ่ม RUN แหล่งกำเนิดเสียงจะเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าผู้สังเกต ดังนั้นระยะของผู้สังเกตหรือเด็กกับแหล่งกำเนิดเสียงจะห่างเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และความถี่ที่ได้ยิน fo > fs โดยมี Df = fo - fs < 0 กดที่รูปภาพหรือที่นี่เพื่อเข้าสู่การทดลอง
การทดลองนี้เป็นการทดลองเรื่องปรากฎการณ์ดอปเปอร์ โดยมีแหล่งกำเนิดเสียงเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว v และมีความเร็วของคลื่นเสียงเท่ากับ vs ให้คุณกดและคลิกเมาส์ภายในกรอบ และกดเมาส์ค้างที่วงกลมสีน้ำเงิน ลากให้ลูกศรยาวขึ้น เมื่อ v / vs = 1 แสดงว่าความเร็วของแหล่งกำเนิดเสียงเท่ากับความเร็วของคลื่นเสียง คุณจะได้เห็นแนวคลื่นกระแทกเกิดขึ้นอยู่ทางด้านหน้าของแหล่งกำเนิดเสียง และถ้าคุณลากลูกศร โดยให้ v / vs > 1 คุณจะได้เห็นแนวของคลื่นกระแทกเป็นรูปกรวย ทดลองเล่นดูครับ น่ามหัศจรรย์ยิ่งที่คุณสามารถเห็นคลื่นกระแทกโดยไม่ต้องทดลองในห้องปฏิบัติการ กดที่รูปภาพหรือที่นี่เพื่อเข้าสู่การทดลอง
ภาพของปรากฎการคลื่นกระแทกของตัวกลางแบบต่างๆ โดยเฉพาะรูปสุดท้ายเป็นภาพแรกที่ถ่ายขึ้นตอนที่ เครื่องบินเจ็ตบินด้วยความเร็วเหนือเสียง เกิดคลื่นกระแทกขึ้นข้างหลังของเครื่องบิน จะเห็นริ้วรอยของการแทรกสอดแบบเสริมกันของคลื่น สัปดาห์ของฟิสิกส์ราชมงคล อุทิศหน้านี้ให้กับ ปรากฎการณ์ดอปเปอร์ ถ้าคุณต้องการทราบเรื่องคลื่นกระแทก กดที่นี่ และถ้าคุณต้องการทดลองเรื่องคลื่นกระแทก กดที่นี่ ซึ่งจะนำคุณเข้าสู่การทดลองเสมือนจริง
โผล่วงใหม่ วงกลมลึกลับที่เพิ่งปรากฎล่าสุดเพียงชั่วข้ามคืน เห็นเป็นร่องรอยรูปทรงของดอกไม้ได้อย่างลงตัวเมื่อ 19 กันยายน ในทุ่งนาข้าวสาลี ของสวนคิว กรุงลอนดอน ทำให้คนงานในสวนต้องเลื่อนการเก็บเกี่ยวสัปดาห์นี้ออกไป อ่านข้อมูลต่อ
ครั้งที่
ภาพประจำสัปดาห์