index 193
|
เมฆ มารู้จักชนิดของเมฆกันเถอะ
คิวมูโลนิมบัส", "นิมโบสเตรตัส, "เซอโรคิวมูลัส" อ๊ะ!
อย่างเพิ่งต๊กกะใจ นี่ไม่ใช่คาถาสาปแช่งใครสักหน่อย
แต่เป็นชื่อเรียกของหมู่เมฆเมฆาบนท้องฟ้าต่างหากเล่า
และเราก็กำลังจะพาคุณผู้อ่านไปทำความรู้จักกับชนิดของเมฆกันสักหน่อยว่าปุยสีขาวที่ล่องลอยอยู่บนฟ้าเหล่านั้นเขามีชื่อเรียกว่าอะไรกันบ้าง
สเตรตัส (Stratus) :
เมฆแผ่นที่ลอยไม่สูงมากนัก
มักเกิดในตอนเช้าหรือหลังฝนตก
ถ้าลอยติดพื้นจะเรียกว่า
“หมอก”
คิวมูลัส (Cumulus)
: เป็นเมฆก้อนปุกปุย สีขาว รูปทรงคล้ายดอกกะหล่ำ
มักก่อตัวในแนวดิ่ง ลอยกระจายห่างกัน
และเกิดขึ้นเวลาที่สภาพอากาศแจ่มใสดี
นิมโบสเตรตัส
(Nimbostratus) : เมฆสีเทา ทำให้เกิดฝนพรำ
และมักปรากฏสายฝนจากฐานเมฆ
คิวมูโลนิมบัส
(Cumolonimbus) : ก้อนเมฆฝนขนาดใหญ่ยักษ์
มีรูปทรงคล้ายดอกกะหล่ำและก่อตัวในแนวตั้งเช่นกัน
ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง หากลมชั้นบนพัดแรง
ยอดเมฆจะแผ่ออกคล้ายทั่ง
สเตรโตคิวมูลัส
(Stratocumulus) : เมฆก้อนที่ไม่มีรูปทรงชัดเจน
มักมีสีเทา ลอยต่ำ ติดกันเป็นแพ
และมีช่องว่างระหว่างก้อนแค่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
มักพบเห็นเมื่อสภาพอากาศไม่ค่อยดีนัก
เมฆชั้นกลาง
มีระดับความสูงของฐานเมฆตั้งแต่ 2-6 กิโลเมตร มี 2
ชนิด คือ อัลโตสเตรตัส (Altostratus) :
เมฆแผ่นหนาสีเทาที่ปกคลุมท้องฟ้าเป็นบริเวณกว้าง
บางครั้งหนามากจนบดบังแสงอาทิตย์ได้
อัลโตคิวมูลัส
(Altocumulus) : เมฆก้อนสีขาว
ลอยเป็นแพห่างกันไม่มาก
มีช่องว่างระหว่างก้อนเพียงเล็กน้อย
มองดูคล้ายฝูงแกะ คล้ายเมฆเซอโรคิวมูลัส
แต่ขนาดใหญ่กว่ามาก
เมฆชั้นสูง
มีความสูงที่ระดับตั้งแต่ 6 กิโลเมตรขึ้นไป มี 3
ชนิด ได้แก่ เซอโรสเตรตัส (Cirrostratus) :
เมฆแผ่นบางๆ สีขาว โปร่งแสง เป็นผลึกน้ำแข็ง
มักปกคลุมท้องฟ้าเป็นบริเวณกว้าง
และทำให้เกิดดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ทรงกลด
เซอโรคิวมูลัส
(Cirrocumulus) : เมฆสีขาว มีลักษณะคล้ายเกล็ดบางๆ
หรือระลอกคลื่นเล็กๆ เป็นผลึกน้ำแข็ง โปร่งแสง
และเรียงรายกันเป็นระเบียบ
เซอรัส (Cirrus) : เมฆริ้ว สีขาว
โปร่งแสง และเป็นผลึกน้ำแข็ง ลักษณะคล้ายขนนกเพราะถูกกระแสลมชัดบนพัด
มักเกิดขึ้นเวลาที่สภาพอากาศดี ทีนี้ก็รู้กันแล้วว่าเมฆมีกี่ชนิด และเมฆชนิดไหนทำให้เกิดฝนพรำหรือทำฝนตกหนัก ฉะนั้นก่อนออกจากบ้านครั้งต่อไปก็อย่าลืมพยากรณ์อากาศกันเสียหน่อย จะได้เตรียมพร้อมรับมือกับฝนฟ้าในแต่ละวันได้ทันเวลาไงล่ะจ๊ะ หมายเหตุ : ข้อมูลและภาพประกอบจากศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ (LESA)
มอเตอร์นาโน"
"มอเตอร์นาโน"
ชิ้นแรกจากสเปนขับเคลื่อนด้วยอุณหภูมิที่แตกต่าง
ภาพจำลองแสดงการเคลื่อนที่ลำเลียงชิ้นส่วนของมอเตอร์นาโน
ไซน์เดลี/มหาวิทยาลัยบาเซโลนา -
ทีมนักวิจัยสเปนระบุเป็นเจ้าแรกที่ผลิตมอเตอร์นาโนได้โดยใช้ความแตกต่างของอุณหภูมิขับเคลื่อน
สามารถลำเลียงสัมภาระและหมุนได้เหมือนมอเตอร์แบบดั้งเดิมแต่มีขนาดเล็กจิ๋วกว่าหัวเข็มหมุดเป็นล้านเท่า
งานวิจัยนี้จะเปิดประตูไปสู่การพัฒนาอุปกรณ์ระดับนาโนที่ใช้งานเชิงกลได้และอนาคตอาจนำไปประยุกต์ในศาสตร์ทางด้านชีวการแพทย์หรือประดิษฐ์วัสดุใหม่ๆได้
ทั้งนี้ทีมนักวิจัยจากอุทยานวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยบาเซโลนา
(Universitat Autonoma de Barcelona) สเปน
ได้พัฒนา "อุปกรณ์ขนส่งนาโน" (nanotransporter)
ที่ผลิตจากท่อนาโนคาร์บอน
โดยออกแบบเป็นท่อทรงกระบอกเส้นยาวที่หุ้มด้วยท่อทรงกระบอกที่สั้นกว่า
ซึ่งท่อนาโนที่สั้นกว่านั้นสามารถหมุนรอบท่อนาโนที่ยาวกว่าและเคลื่อนที่ไปข้างหน้าหรือถอยหลังได้
A, B แสดงภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนเผยให้เห็นมอเตอร์นาโนชิ้นแรกของโลกกำลังลำเลียงชิ้นโลหะเล็กจากซ้ายไปขวา ส่วน C แสดงแผนภาพการทำงานและการเคลื่อนที่ของมอเตอร์นาโน โดยอุณหภูมิที่แตกต่างกันของปลายท่อนาโนเส้นยาวทั้ง 2 ด้าน ทำให้ท่อนาโนเส้นสั้นกว่าที่หุ้มอยู่นั้นเคลื่อนที่จากปลายที่ร้อนกว่าไปยังปลายที่เย็นกว่าในลักษณะหมุนรอบแกน (ภาพจากมหาวิทยาลัยบาเซโลนา) ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 22 เมษายน 2551 ฟ้าแลบ
อะไรเป็นสาเหตุของพายุเฮอริเคนในมหาสมุทรแอตแลนติก? ความสัมพันธ์กันระหว่างฟ้าแลบ
และการเกิดพายุเฮอริเคนจะช่วยให้นักวิจัยรู้ได้ทันว่าเมื่อไรพายุ Dr. Price
และทีมงานได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับฤดูที่เกิดพายุเฮอริเคนมาก
ในปี 2005-2006
และพบว่ามีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ในปี 2005
มีพายุ 28 พายุ ในที่นี้รวมถึงเฮอริเคนคาทรินาด้วย
ส่วนในปี 2006 มีเพียง 10 พายุเท่านั้น ลดลงถึง
64% นอกจากนี้ก็พบว่าช่วงหน้าร้อน
การเกิดฟ้าแลบในอาฟริกาตะวันออก
โดยมากที่พื้นที่ราบสูงของเอธิโอเปียก็มีความแตกต่างในลักษณะเดียวกันคือมีการเกิดฟ้าแลบลดลง
23% ในปี 2006 เมื่อเทียบกับปี 2005 Dr. Price
นักวิทยาศาสตร์ด้านบรรยากาศที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์ฟ้าแลบมานานกล่าวว่าทั้งสองเหตุการณ์ในต่างทวีปกันนี้มีความเกี่ยวข้องกันอยู่
โดยอธิบายว่า ฟ้าแลบที่รุนแรง
ที่เกิดในอาฟริกาตะวันออกจะรบกวนกระแสลมตะวันตกที่ผ่านทวีปอาฟริกา
เขาเปรียบเทียบว่า
มันก็เหมือนกับหินที่อยู่ในลำธาร
หินเหล่านี้จะก่อให้เกิดการกระเพื่อมของกระแสน้ำที่ไหลผ่านมันเป็น
turbulence flow
ยิ่งหินก้อนใหญ่การกระเพื่อมก็ยิ่งมาก
ก็เหมือนกับพายุฝนที่อาฟริกา
ยิ่งพายุรุนแรงก็ยิ่งส่งผลกระทบไปได้ไกล
แว่นตาอัจฉริยะ นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นพัฒนาแว่นตาอัจฉริยะ
ปัญหาเกี่ยวกับการหลงๆลืมๆของคนเราโดยส่วนใหญ่จะพบในผู้สูงอายุ
หรือคนที่มีภายในสมองมีการใช้งานมากหรือมีเรื่องให้คิดมากมายอยู่ในหัว
ทำให้ประสิทธิภาพในการจดจำลดลง
นอกจากนั้นถ้าหากคุณมีอายุที่มากขึ้นก็จะเกิดอาการหลงๆลืมๆ
ว่าเอาอะไรวางไว้ที่ไหน
ทั้งๆที่เพิ่งหยิบจับสิ่งนั้นเมื่อไม่กี่นาทีที่ผ่านไป
ซึ่งอาการหลงๆลืมนี้
ถือเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงสมรรถนะการทำงานของสมองที่ลดลง
การใช้งานแว่นตาอัจฉริยะนี้ ก็เพียงแต่ผู้ใช้ระบุไปว่ากำลังมองหาสิ่งใดหรืออะไรอยู่ เนื่องจากได้ไปหลงลืมว่าไว้ที่ใดก่อนหน้านี้ ตัวแว่นตาก็จะทำการแสดงภาพสิ่งสายตาเรามองผ่านแว่นไปเมื่อหลายนาทีที่ผ่านมา เพื่อจะเป็นการรื้อฟื้น หรือช่วยย้อนความจำว่า เมื่อไม่กี่นาทีที่ผ่านมาเราได้เดินไปที่ไหนบ้าง หยิบจับอะไรบ้าง หรือทำอะไรบ้าง
นอกจากนี้ทางนักวิทยาศาสตร์มีแผนที่จะต่อยอดของโครงการนี้
โดยการนำเอาฐานข้อมูลของสิ่งต่างๆเก็บลงไปในแว่นตา
เพื่อที่ว่า
เมื่อใดก็ตามที่ผู้สวมใส่มองไปที่วัตถุ
หรือสิ่งมีชีวิตอะไร เช่นสัตว์ หรือรถยนต์
เครื่องจักร
ตัวแว่นตาก็จะสามารถให้รายละเอียดอย่างคร่าวๆออกมาให้กับผู้สวมใส่แบบอัตโนมัติ
เช่น สัตว์ตัวนี้ชื่ออะไร อยู่ในตระกูลอะไร
หรือว่า รถคันนี้ยี่ห้ออะไร มีคุณสมบัติอะไร
มีประสิทธิภาพในการทำงานเท่าใด
เป็นต้น โดยทางนักวิทยาศาสตร์ เชื่อว่าแว่นตาอัจฉริยะตัวนี้จะเป็นตัวเชื่อมที่ดีของโลกของเทคโนโลยีกับของคนเราได้เป็นอย่างดีอีกตัวหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม แว่นตานี้ยังอยู่ในขั้นตอนการทดลองใช้งานภายในมหาวิทยาลัยโตเกียว และทางทีมผู้พัฒนาก็มั่นใจว่าจะเสร็จสมบูรณ์ในไม่ช้านี้
ชุดผจญเพลิงไฮเทค
การจัดการและรับมือกับภัยพิบัติต่างๆ
เป็นสิ่งที่ชุมชนทั้งหลายทั่วโลก ให้ความสำคัญ
โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ห่างไกลความเจริญ
และยังไม่มีระบบเครือข่ายโทรคมนาคม เข้าไปถึง
ตลอดจนในพื้นที่ที่ระบบเครือข่าย
ในบริเวณที่เกิดเหตุนั้น ถูกทำลายลง
รวมทั้งในบริเวณที่มีการใช้
ระบบเครือข่ายโทรคมนาคมพร้อมๆ
กันจำนวนมากในเวลาเดียวกัน เพื่อรายงานข่าว
และติดตามผู้สูญหาย จากข้อจำกัดดังกล่าว
ระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียม
จึงเป็นสิ่งที่คนหันมาให้ความสนใจ
เนื่องจากช่วยแก้ปัญหาข้อจำกัดต่างๆ
ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
ในปัจจุบันระบบการจัดการ
และรับมือกับภัยพิบัติต่างๆ
ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของการติดต่อสื่อสาร
ระหว่างผู้ประสบ-ภัยกับเจ้าหน้าที่
หรือระหว่างเจ้าหน้าที่ด้วยกันเอง
กับศูนย์บัญชาการ และบ่อยครั้งที่มีผู้สูญหาย
และบาดเจ็บ
เนื่องมาจากไม่มีการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า
ขาดช่องทางสื่อสาร ขาดข้อมูลข่าวสาร
ในการที่จะให้ผู้ประสบภัยได้รับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้น
และถึงแม้ว่าจะสามารถทำการสื่อสาร
กันได้ก็ยังไม่สามารถที่จะส่งข้อมูลประเภทกราฟิก
เช่น แผนที่ หรือภาพถ่ายผ่านดาวเทียม
ที่จะช่วยทีมเจ้าหน้าที่กู้ภัยได้เข้าไปยังจุดเกิดเหตุได้ศูนย์ป้องกันสาธารณภัยของประเทศโปรตุเกส
(the Portuguese Civil Protection)
จึงได้มีโครงการพัฒนา
การบริการให้มีความเที่ยงตรงและแม่นยำมากขึ้น
โดยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหาร
จัดการทีมงานที่จะเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ
ในเวลาที่เกิดเหตุขณะนั้น
และรับประกันการบริการว่าสามารถดำเนินไปได้
แม้ว่าระบบการสื่อสารบนพื้นโลก จะไม่ทำงานก็ตาม
ซึ่งระบบบริการใหม่นี้ จะช่วยระบุตำแหน่งของ
เจ้าหน้าที่ที่กำลังปฏิบัติงาน
ในที่เกิดเหตุว่าอยู่ที่จุดใดบ้าง
และสามารถบอกได้ถึงสภาพร่างกายของเจ้าหน้าที่คนนั้น
ได้ว่าสามารถทนต่อสภาวะ
แวดล้อมในที่เกิดเหตุได้ต่อไปหรือไม่
หรือสมควรที่จะเปลี่ยนให้เจ้าหน้าที่คนอื่นเข้าไปแทนได้อย่างทันท่วงที
ตลอดจนช่วยในการจัดการให้ทีมงานสามารถเคลื่อนที่ไป
ยังจุดต่างๆ
ที่หน่วยบัญชาการต้องการได้
I-Garment จะประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 4 ส่วนที่สำคัญ ได้แก่ ส่วนของชุดสำหรับสวมใส่ เซนเซอร์และข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น ระบบโทรคมนาคม และซอฟต์แวร์ ซึ่งในส่วนของชุดผจญเพลิงนี้ทำมาจากวัสดุที่ทันสมัยที่ ผลิตขึ้นเพื่อป้องกันผู้สวมใส่จากอันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในขณะกำลังปฏิบัติงาน รวมทั้งเน้นที่ความสะดวกสบายของผู้สวมใส่เป็นหลัก และภายในชุดดังกล่าว จะมีการฝังเซนเซอร์ระบบรับ-ส่งสัญญาณโทรคมนาคม อุปกรณ์ระบุตำแหน่ง อุปกรณ์ส่งสัญญาณเตือนภัยและอุปกรณ์จำเป็นอื่นๆ ไว้ภายใน เพื่อช่วยในการส่งสัญญาณแบบไร้สาย บอกตำแหน่งและสถานะการณ์ที่เจ้าหน้าที่นั้นๆ ประสบอยู่ ไปยังคอมพิวเตอร์ในรถควบคุม (Operating Field Vehicles: OFV) และข้อมูลที่ได้รับนี้จะถูกส่งต่อไปยัง ศูนย์จัดการกลางที่ตั้งอยู่ในเมือง ด้วยระบบผ่านดาวเทียม เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับ ตลอดจนวิเคราะห์สถานการณ์ และสั่งการต่อไปได้อย่างทันท่วงที
ลูกตุ้มนาฬิกา
เราใช้ลูกตุ้มบอกเวลาได้อย่างไร มีกฏอยู่กฏหนึ่งว่าไว้ว่า "ลูกตุ้มที่แขวนเอาไว้ด้วยเชือกตรงที่แขวนใดๆ ก็ตาม การแกว่งของมันในแต่ละรอบจะสามารถบอกเวลาให้เรารับรู้ได้ และการแกว่งของลูกตุ้มที่แขวนด้วยเชือกที่ยาวในการแกว่งแต่ละรอบจะใช้เวลานาน แต่ถ้าหากเราใช้ที่แขวนสั้นการแกว่งจะเร็ว เวลาที่ใช้ก็จะน้อยกว่าด้วย" กฎเกณฑ์อันนี้แหละค่ะที่เรานำมาใช้ และก็นำลูกตุ้มมาแขวนกับเครื่องนาฬิกา เมื่อลูกตุ้มแกว่ง 1 รอบเข็มนาฬิกา ก็จะกระดิกไปตามเวลาที่กำหนด (แล้วแต่ความยาวของเชือกที่แขวนลูกตุ้ม) ดังนั้นลูกตุ้มจึงสามารถใช้บอกเวลาของเราได้ กฎเกณฑ์เช่นนี้ กาลิเลโอเป็นคนแรกที่ได้สังเกตเห็นว่าเราสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับนาฬิกา ให้เราได้ใช้กันถึงทุกวันนี้ เป็นไงกันบ้างค่ะ เก่งไหมล่ะ
ที่มา แรง...คืออะไร แรงเป็นเรื่องที่ใหญ่ที่สุดในฟิสิกส์ แรงทำให้เกิดพลังงาน แรงก็คืออะไรก็ตามที่มีผลกระทำต่อวัตถุ ถ้าคุณคือลูกบอลอยู่ตรงนั้นแหละ แล้วมีคนมาเตะคุณ คุณก็จะกระเด็นออกไปเพราะมีแรงมากระทำต่อคุณ จำเรื่องของเวกเตอร์ได้ไหม แรงทุก ๆ แรงสามารถถูกทำให้เห็นโดยการเขียนเวกเตอร์แทนได้ คราวนี้เรามาดูสมการกัน "F = m * a" สมการนี้สำคัญมา "F" คือปริมาณของ แรง "m" คือมวล และ "a" ตือความเร่งที่เกิดขึ้น จะได้เป็นประโยคว่า "แรงที่กระทำ เท่ากับ มวล คูณด้วย ค่าของความเร่ง" แล้วก็เหมือน ๆ กับเวกเตอร์ ถ้ามีแรงหลาย ๆ แรงก็บวกด้วยวิธีการเดียวกับการบวกเวกเตอร์ และค่าที่ใช้ก็คือ "Newton" เป็นปริมาณของแรง ที่มา
โปรตอน (proton) สุรศักดิ์ พงศ์พันธุ์สุข
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติิ
โครงสร้างของอะตอม จำนวนของโปรตอนภายในนิวเคลียสของอะตอมเป็นตัวกำหนดว่าเป็นอะตอมของธาตุใด รวมทั้งเป็นตัวกำหนดสมบัติทางเคมีด้วย แต่อะตอมของธาตุเดียวกันอาจมีจำนวนนิวตรอนแตกต่างกันได้ที่เรียกว่า ไอโซโทป เช่น อะตอมคาร์บอนมีไอโซโทปที่แตกต่างกันถึง 8 ชนิด แต่ที่มีความอุดมมากและมีความสำคัญมี 3 ชนิด คือ คาร์บอน12 ซึ่งเป็นอะตอมเสถียรและมีมากถึง 98.90 เปอร์เซ็นต์ ในนิวเคลียสมีโปรตอน 6 อนุภาคกับนิวตรอน 6 อนุภาค คาร์บอน13 เป็นอะตอมเสถียรเช่นกัน ซึ่งในธรรมชาติมีอยู่ 1.10 เปอร์เซ็นต์ มีนิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอน 6 อนุภาคกับนิวตรอนอีก 7 อนุภาค และคาร์บอน14 ซึ่งเป็นไอโซโทปรังสีที่มีครึ่งชีวิตยาวนานถึง 5,730 ปี ในนิวเคลียสมีโปรตอน 6 อนุภาคกับนิวตรอน 8 อนุภาค
ไอโซโทปสำคัญของคาร์บอน 3
ชนิด
โปรตอนที่อยู่ภายในนิวเคลียสสามารถแปรไปเป็นนิวตรอนได้ โดยจะเกิดในกรณีที่นิวเคลียสของอะตอมกัมมันตรังสีที่มีโปรตอนมากเกินไป เช่น โซเดียม-22 ซึ่ง จะเกิดการสลายกัมมันตรังสี (radioactive decay) โดยโปรตอนสลายเป็นนิวตรอน 1 อนุภาคกับโพซิตรอน (อนุภาคบีตาที่มีประจุบวก) อีก 1 อนุภาค นิวตรอนที่เกิดขึ้นยังคงอยู่ภายในนิวเคลียส ส่วนโพซิตรอนถูกปล่อยออกมาภายนอกอะตอม แต่เนื่องจากจำนวนโปรตอนภายในนิวเคลียสนั้นกลับลดลง 1 อนุภาค ทำให้เกิดการแปรธาตุจากโซเดียม-22 กลายเป็นนีออน-22 การสลายเช่นนี้จัดเป็นอีกแบบหนึ่งของการสลายให้อนุภาคบีตา (beta decay)
การสลายให้อนุภาคบีตาบวกหรือโพซิตรอน
อนุภาค สุรศักดิ์ พงศ์พันธุ์สุข คำว่า อนุภาค (particle) มาจาภาษาละตินซึ่งหมายถึง ส่วนเล็ก ๆ (little part) ดังนั้นอนุภาคในความหมายทั่ว ๆ ไป หมายถึงสิ่งที่มีขนาดเล็กมากที่คงทำให้นึกถึงฝุ่นผงที่ตามองเห็นได้ แต่ในทางวิทยาศาสตร์มองว่าอนุภาคเป็นส่วนที่เล็กมากที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นสสาร เช่น ผลึก โมเลกุล อะตอม ซึ่งแม้มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่ก็อาจมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนหรืออุปกรณ์วิเคราะห์ภาพชนิดต่าง ๆ และที่ยังเล็กลงไปกว่านั้นอีก ซึ่งอนุภาคบางชนิด ก็ยังไม่มีเครื่องมือชนิดใดจับภาพได้โดยตรง เพียงแต่พิสูจน์โดยทางอ้อมได้ว่ามีอยู่จริง
เปรียบเทียบขนาดของอนุภาคที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ
(หน่วยไมครอน คือ 10-6 เมตร)
อนุภาคในทางเคมีมักนึกถึง โมเลกุล อะตอม และอิเล็กตรอน ในทางฟิสิกส์มักนึกถึงอนุภาคย่อยของอะตอม (subatomic particle) ซึ่งอาจเป็นอนุภาคมูลฐาน (elementary particle) เช่น อนุภาคที่เป็นองค์ประกอบของอะตอม ได้แก่ อิเล็กตรอน โปรตอน และนิวตรอน หรืออนุภาคที่เชื่อว่าไม่ได้ประกอบขึ้นจากอนุภาคอื่นใดอีก ได้แก่ ควาร์ก เลปตอน และมีซอน
เปรียบเทียบขนาดของอะตอม นิวเคลียสซึ่งประกอบขึ้นจากโปรตอน (p) และนิวตรอน (n) ควาร์ก (q) ซึ่งเป็นองค์ประกอบของโปรตอนและนิวตรอน รวมทั้งแสดงขนาดของอิเล็กตรอน ในทางนิวเคลียร์จะนึกถึงอนุภาครังสีที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากวัสดุกัมมันตรังสี เช่น รังสีแอลฟา (นิวเคลียสของอะตอมฮีเลียม) รังสีบีตา (อิเล็กตรอนหรือโพซิตรอน) นิวตรอนอิสระที่เคลื่อนที่
เมื่อพูดถึงคำว่า
'อวกาศ' บางคนอาจจะนึกถึงจานบิน บางคนนึกถึงดวงดาว
ฯลฯ หลายคนไม่นึก แต่ถามย้อยมาว่า
ในอวกาศมีอะไรดีนักหรือ?
ทำไมมนุษย์เราจะต้องเสียเงินก้อนโตไปอวกาศ?
อันนี้เป็นคำถามที่ตอบยาก ผมไม่สามารถที่จะตอบคำถามนี้
ให้ทุกท่านกระจ่างได้ ด้วยตัวหนังสือเพียงสองสามบรรทัด
ดังนั้นผมจะขอเล่า(ยาว) ถึงธรรมชาติของอวกาศ
ประโยชน์ของอวกาศที่ท่านจะได้รับ
แล้วก็เรื่องของสภาพแรงโน้มถ่วงต่ำ (microgravity)
ซึ่งจะเป็นพระเอกของเราในวันนี้
ผมเชื่อว่าหลังจากที่ท่านตั้งใจอ่านจนจบแล้ว
ท่านจะสามารถตอบคำถามได้ว่า
ทำไมมนุษย์เราจะต้องเสียเงินก้อนโตไปอวกาศ?
ในอวกาศมีอะไรดีนักหรือ?
ทุกท่านน่าจะเคยเห็นที่เปิดปลากระป๋องปลา ที่เป็นแบบหมุนๆ เดี๋ยวนี้ไม่ต้องรวย ก็ซื้อหามาใช้ได้ ที่เปิดปลากระป๋องแบบนี้ ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ว่า เค้าวิจัยขึ้นมาเพื่อให้นักบินอวกาศ เปิดปลากระป๋อง กินในอวกาศ ซึ่งถ้าไม่มีสิ่งพวกนี้ ปัจจุบันนี้ เราอาจจะยังต้องใช้ที่เปิดกระป๋องอันเดิม ที่หมุนซ้าย หมุนขวาอะไรทำนองนี้ หรืออีกอย่างหนึ่งที่เห็นอย่างชัดเจนคือ ...ผมไม่ทราบว่าเค้าเรียกว่าอะไรจริงๆ แต่ผมพยายามที่จะสืบถามจากหลายๆ ท่านและผมก็สรุปว่าเค้าเรียกว่า เทปติดตีนตะขาบ ที่มันติดกันสองด้านที่ใช้แทนกระดุม ที่เค้าใช้ติดสองด้าน แทนเชือกผูกรองเท้า อันนี้ก็เป็นเทคโนโลยีในชีวิตประจำวันที่ถ่ายทอดมาจากอวกาศมาบนพื้นดิน ถ้าไม่มีนักอวกาศ บอกเล่าสิ่งเหล่านี้ อาจจะไม่เกิดเลยด้วยซ้ำ จริง ๆ แล้วถ้าท่านมองการที่ใช้เชือกผูกรองเท้าทุกวัน มันก็ไม่ได้ทำให้ชีวิตลำบาก การติดกระดุมทุกวันก็ไม่ได้ทำให้ชีวิตลำบากขึ้น แต่เนื่องจากว่าในอวกาศ มีข้อจำกัดหลายๆ อย่างทำให้การผูกเชือกรองเท้า การติดกระดุม ดังนั้นเค้าจึงมีการคิดค้นที่ติดรองเท้าตีนตะขาบซึ่งในที่สุดเราก็นำมาใช้บนโลก
หัวใจหรือหัวข้อหลักของบทความนี้ ก็คือธรรมชาติ
ตัวอย่างที่เราได้จากธรรมชาติอวกาศ ที่ค่อนข้างที่จะไม่มีที่ใดในโลกนี้
จะหาเหมือนได้
ความเป็นธรรมชาติอันพิเศษของอวกาศนี้ทำให้เราได้ผลประโยชน์หรือข้อได้เปรียบหลายอย่างอย่างมากมาย
ข้อได้เปรียบและก็ผลประโยชน์ต่าง ๆ อันนี้เป็นแรงผลักดันที่ว่า
นักวิทยาศาสตร์ทั่วไป ได้รับรู้กันและเป็นหัวใจหนึ่ง
ผลักดันให้เกิดสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station)
ขึ้นมาในที่สุด
สถานีอวกาศนานาชาติ
สถานีอวกาศนานาชาติ มีจุดประสงค์หลัก เพื่อที่จะแสวงหาหรือวิจัยซึ่งเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เราไม่สามารถทำได้บนโลกนี้ ทำไมหลายๆ อย่างเราถึงไม่สามารถวิจัย และทดลองได้บนโลกนี้ได้ สาเหตุหลักคือการที่ว่า พฤติกรรมของบางสิ่งบางอย่าง ถูกปิดบัง ถูกปกปิดด้วยสภาพแรงดึงดูดของโลก เราเคยเห็นทุกอย่างตกจากที่สูง ลงมาที่ต่ำตลอดเวลา เราเคยรู้ว่าอากาศร้อน ไหลเข้าสู่อากาศเย็นอะไรทำนองนี้ สิ่งเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่ว่า ถูกปกปิด ถูกครอบงำ ด้วยแรงดึงดูดของโลก แต่ถ้าเรา ต้องการวิจัยพฤติกรรม หลายๆ อย่างที่ลึกซึ้งจริงๆ ที่ไม่อยากให้พวกนี้ มาเกี่ยวข้อง ทำได้อย่างเดียว คือในสภาพแรงโน้มถ่วงต่ำ หรือว่าในอวกาศนั่นเอง
สถานีอวกาศนานาชาติ มีจุดประสงค์หลัก
เพื่อที่จะแสวงหาหรือวิจัยซึ่งเทคโนโลยีใหม่ๆ
ที่เราไม่สามารถทำได้บนโลกนี้ ทำไมหลายๆ อย่างเราถึงไม่สามารถวิจัย
และทดลองได้บนโลกนี้ได้ สาเหตุหลักคือการที่ว่า
พฤติกรรมของบางสิ่งบางอย่างถูกปิดบัง ถูกปกปิดด้วยสภาพแรงดึงดูดของโลก
เราเคยเห็นทุกอย่างตกจากที่สูง ลงมาที่ต่ำตลอดเวลา
เราเคยรู้ว่าอากาศร้อนไหลเข้าสู่อากาศเย็นอะไรทำนองนี้
สิ่งเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่ว่า ถูกปกปิด ถูกครอบงำด้วยแรงดึงดูดของโลก
แต่ถ้าเราต้องการวิจัยพฤติกรรมหลายๆ อย่างที่ลึกซึ้งจริงๆ
ที่ไม่อยากให้พวกนี้ มาเกี่ยวข้อง
ทำได้อย่างเดียวคือในสภาพแรงโน้มถ่วงต่ำ หรือว่าในอวกาศนั่นเอง
รูปแรกนี้เป็นรูปของนักบินอวกาศสองท่าน กำลังล่องลอยอยู่ อยู่ในห้องทดลองในอวกาศ ถ้าท่านสังเกตดู ท่านจะเห็นนักบินอวกาศ สองท่าน กำลังกลับหัวกัน เค้าทำได้เพราะว่า เค้าอยู่ในสภาพแรงโน้มถ่วงต่ำ และถ้าสังเกตมากกว่านั้น ท่านจะเห็นว่า มีเครื่องมือเครื่องไม้ต่างๆ ลอยอยู่ข้างๆ ตัวนักบินอวกาศเอง สิ่งเหล่านี้ จะไม่เกิดขึ้นเลย ถ้าเราอยู่บนโลก ่ในอวกาศจะเอาไว้ที่ไหนก็ได้ ไม่ต้อง อยู่บนโต๊ะเสมอไป อันนี้คือสภาพแรก ที่เห็นชัดเจน ทำให้ทุกท่านเห็นภาพพจน์ ที่แท้จริงมาก
รูปที่ผมชอบมาก รูปทางซ้ายมือเป็นรูปเทียนไขทั่วไปที่เค้าจุดอยู่บนโลก รูปร่างของเปลวเทียนไขจะพุ่งขึ้น เนื่องจากอากาศมีความร้อน มีความเย็นร้อนไหลไปหาเย็นอะไรทำนองนี้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนรูปร่างของเปลวไฟ มีการเคลื่อนที่ไปตามแรงของอากาศ ส่วนรูปทางขวามือสองรูป ก็เป็นรูปเปลวไฟเหมือนกัน ท่านจะเห็นว่ารูปร่าง ของเปลวไฟไม่ปกติ เนื่องจากในอวกาศน้ำหนักเราไม่รู้จักกัน เพราะฉะนั้นอากาศร้อนอากาศเย็น เกิดเคลื่อนที่ได้ของ การเคลื่อนที่ของหนักไปแทนของเบา หรือของเบามาแทนของหนักอะไรทำนองนี้ เพราะฉะนั้นเปลวไฟ ที่เคยพุ่งขึ้น ตามลักษณะของอากาศรอบข้าง ก็ไม่เป็นอีกเช่นที่เกิดขึ้น กลับกลายเป็นรูปกลมๆ {mospagebreak} หน้า 2
เรามาดูเรื่องสภาพแรงโน้มถ่วงต่ำ ปัจจุบันนี้ท่านทราบหรือไม่ว่าสถาบันเอย องค์กรต่างๆเอย มีการวิจัยอย่างมากมาย ที่เด่นๆก็มีการผสมสารใหม่ (new material) มีการผสมโลหะแบบใหม่ ที่ทำให้คุณสมบัติดีขึ้น ดีขึ้นเพราะอะไร คิดง่ายๆ ถ้าท่านผสมโลหะสองอย่างบนโลก แม้ว่าท่านจะมีสูตรที่สมบูรณ์ก็ตามแต่ เนื่องจากโลหะทั้งสองใช้เวลาบางส่วนในการเย็นตัว ณ ช่วงเวลาหนึ่งโลหะที่หนักกว่า หรือสารที่หนักกว่าจะจมลงข้างล่างใน ขณะที่โลหะที่เบากว่าจะลอยขึ้นข้างบน ซึ่งปรากฎการณ์พวกนี้ จะทำให้การผสมสารหรือการผสมโลหะในโลกนี้ไม่เคยสมบูรณ์อย่างแท้จริง หรือแม้แต่การเกิด ฟองต่าง ๆ เอง ซึ่งในปัจจุบันนี้เค้าได้มีการผสมสารโลหะ หรือแม้กระทั่ง microchip สารกึ่งตัวนำต่างๆ
"มันเรียบต่างกัน" รูปนี้คือตัวใยนำแสง
หรือไฟเบอร์ออพติคนั่นเอง รูปทางรูปแรก เค้าได้ผสมสารไฟเบอร์ออพติค
เค้าได้ผสมสารกัน ในอวกาศซึ่งว่าการหลอมในอวกาศ ทำให้เค้าสามารถควบคุม
การเกิดผลึก ทำให้ได้ผลึกที่ละเอียดมากกว่า
ทำให้เนื้อของไฟเบอร์ออพติคสมบูรณ์มากกว่า ถ้าเทียบกับอีกรูปหนึ่ง
ทางด้านซ้ายมือ ค่อนข้างเป็นรูปที่ขุรขระมาก
ซึ่งเป็นไฟเบอร์ที่เราหลอมกันในโลก ซึ่งในปัจจุบันการสื่อสารผ่านใยแก้ว
ค่อนข้างมีความเร็วสูง ซึ่งว่า ณ ปัจจุบัน ความเร็วสูงมาก เราชอบใจ
แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า ขณะนี้รูปทางขวามือได้มีการหลอม
มีการสร้างไฟเบอร์ออพติคในอวกาศ
เค้าบอกกันว่าสามารถนำความเร็วในการสื่อสาร
ได้ความเร็วมากกว่าไฟเบอร์ออพติค ที่อยู่บนโลก
สิ่งพวกนี้เกิดขึ้นเพราะอะไร
เพราะการหลอมในอวกาศเค้าควบคุมการเย็นตัวได้ เค้าควบคุมการตกผลึกได้
ควบคุมการวิ่งออกของอากาศได้ เพราะฉะนั้นผลึกต่าง ๆ ค่อนข้าง Smooth
แต่พอมาอยู่บนโลกนี้ เค้าไม่สามารถควบคุม การตกผลึกได้
ทำให้เนื้อสารภายในค่อนข้างขุรขระ
ทำให้เกิดปัญหาในการสื่อสารมากพอสมควร ซึ่งถ้ามองย้อนหลังเรา
แทบจะไม่คิดเลยว่า ไฟเบอร์ออพติคที่เราชื่นชมว่าเร็วมาก
เค้าวิจัยได้เร็วมากขึ้นเป็นร้อยเท่า เค้าใช้เทคโนโลยีอวกาศ
และไม่น่าแปลกใจว่าสิ่งพวกนี้ 5 ปี 10 ปี
ข้างหน้าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่หาซื้อได้ทั่วไปในโลกมนุษย์
(แต่ราคาแพงแน่นอน) เพราะว่าอย่างที่ทราบสมัยนี้
เราใช้เร็วเท่านี้เราพอแล้ว พอมีเร็วขึ้นเราก็ใช้เร็วขึ้น ถึงแม้ว่าเราจะหยุดอยู่นิ่งในอวกาศ แต่สิ่งพวกนี้จะลงมากระทบกับเราโดยตรง ในที่สุดเราต้องใช้มัน ฉะนั้นเพื่อการรองรับการเจริญเติบโตพวกนี้ คนในชาติจะต้องมีความรู้เรื่องนี้บ้าง ต้องเข้าใจและติดตามสถานการณ์โลก ว่าเป็นอย่างไร เข้าใจทิศทางอวกาศจะเป็นอย่างไร วันดีคืนดี นาซ่า อเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น คงไม่ร่วมมือกันลงขันก้อนใหญ่ เพื่อสร้างสถานีอวกาศนานาชาติเล่นๆ เค้ามองการณ์ไกล สิ่งพวกนี้แหล่ะเป็นสิ่งที่จะขยับโลกสองโลกออกจากกัน ขยับประเทศที่มีการวิจัยอวกาศอย่างชัดเจนออกจากพวกเราไปอีกระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากลัว บรื๋อ...
รูปนี้
ผมพยายามดูและคุยกับเพื่อนหลายท่านแล้วว่าจริงๆต้องดูอย่างไร
ดูแล้วสวยดีผมเลยอยากให้ดูในแง่ของความสวยงาม
สิ่งที่ท่านเห็นคือผลึกการเติบโตของเชื้อ HIV ที่เค้าทดลองกันในอวกาศ
เวลานี้นักวิทยาศาสตร์อยากรู้ว่าเชื้อ HIV
มีการเติบโตที่แท้จริงอย่างไร โดยไม่ถูกผลของ microgravity บดบัง จริงๆ
แล้ววงการแพทย์ มีการวิจัยในอวกาศ กันอย่างคึกคัก
มีการเพาะเชื้ออะไรหลายๆอย่าง เพาะเชื้อกระดูก (ขอฟังเทปอีกครั้ง
ไม่แน่ใจ สุรัชน์) ฯลฯ เพื่อที่จะศึกษาว่า
พวกนี้มีพฤติกรรมที่แท้จริงอย่างไร แล้วเอามาประยุกต์ใช้บนโลกต่อไป
วิธีแรกคือการปล่อยให้วัตถุตกลงมาจากที่สูง
หลายประเทศเค้ามีหอคอยที่ค่อนข้างสูงมาก
และก็ทำการทดลองสภาวะการไร้น้ำหนัก ในช่วงเวลาสั้นๆ จะสั้นแค่ไหน
ขึ้นอยู่กับตึกว่าสูงแค่ไหน ท่านลองมองง่ายๆ
ว่าถ้าท่านมีน้ำใสกระป๋องใบหนึ่งและเจาะรูที่ก้น
ปกติถ้าท่านเจาะรูที่ก้นกระป๋องน้ำจะไหลลงมาหมด
แต่ถ้าเราลองจินตนาการดู ถ้าท่านเจาะรูที่ก้นกระป๋อง และปล่อยให้มันตก
จากที่สูงลงมา น้ำและกระป๋องตกลงมาพร้อมกัน
น้ำและกระป๋องได้รับสภาวะของ microgravity น้ำจะไหลออกมาหรือไม่
ลองคิดดู นี่คือตัวอย่างง่ายๆที่เห็นชัดเจน
Physicist ศตวรรษแห่งการค้นคว้าครั้งยิ่งใหญ่
อนุภาคมูลฐาน ชีวิตและจักรวาล สัมพันธ์กันอย่างไร
อะตอมคือหน่วยที่เล็กที่สุด กลับมีลักษณะคล้ายกับระบบสุริยะจักรวาล
ของเรา ซึ่งเป็นหน่วยของจักรวาล ดาวเคราะห์ต่าง ๆ
ที่หมุนรอบดวงอาทิตย์เปรียบเสมือนอิเลกตรอนในชั้นต่าง ๆ
ที่หมุนรอบนิวเคลียส หรือแม้กระทั่ง
การหมุนของจักรวาลก็ยังมีลักษณะเช่นนี้
ระบบที่เล็กที่สุดกับระบบที่ใหญ่ที่สุด กลับมีความสัมพันธ์กัน
อย่างน่าประหลาด ใครจะผู้เฉลยปัญหา ของจักรวาลข้อนี้ …
นวัตกรรมทางการแพทย์แห่งปี 51 จาก Reader' Digest พฤษภาคม 51
{mospagebreak} หน้า 2
{mospagebreak} หน้า 3
{mospagebreak} หน้า 4
{mospagebreak} หน้า 5
{mospagebreak} หน้า 6
{mospagebreak} หน้า 7
{mospagebreak} หน้า 8
{mospagebreak} หน้า 9
{mospagebreak} หน้า 10
{mospagebreak} หน้า 11
13 ข้อเพื่อโลกสีเขียว จาก Reader' Digest พฤษภาคม 51
{mospagebreak} หน้า 2
{mospagebreak} หน้า 3
{mospagebreak} หน้า 4
{mospagebreak} หน้า 5
{mospagebreak} หน้า 6
ทำไมถั่วจึงมีคุณค่า จาก Reader' Digest พฤษภาคม 51
{mospagebreak} หน้า 2
{mospagebreak} หน้า 3
จากดวงคนถึงดวงดาว การเมืองกำลังร้อนระอุกับเหตุการณ์ที่เรียกขานกันต่างๆนานาว่า
“คาร์บอมบ์” “คาร์บ๊อง” หรือ “คาร์บวม”
ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเรื่องจริงหรือถูกจัดฉากขึ้น
ก็มีผลกระทบต่อชีวิตคนหลายคนที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์
ช่วงใกล้เลือกตั้งทุกอย่างย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่คาดคิด
สำหรับเหตุการณ์นี้ ผู้ที่ถูก “เด้ง”
ออกจากตำแหน่งหรือถูกกระทบล้วนมีความรู้สึกและได้แสดงออกผ่านสื่อหลายเวที
ได้พูดความในใจออกมาบ้าง
ก็คงรู้สึกดี เรื่องของคนดูไปก็คล้ายกับเรื่องของดาวพลูโต
ที่เพิ่งถูกปลดออกจากสถานะดาวเคราะห์ (Planet)
ดวงที่ 9 ของระบบสุริยะจักรวาลเมื่อเร็ว ๆ นี้ ถ้าดาวพลูโตเปรียบเสมือนคน
ที่มีความรู้สึก มีอารมณ์ มีความคิด
ก็อาจจะไม่มีความสุขหรือพอใจนักกับการถูก “โหวต”
ออกโดยไม่มีการถามไถ่กันเลย แถมไม่ใช่การโหวตฉันทามติแบบออนไลน์หรือส่ง
SMS
เข้ามาแล้วปลดดาวเคราะห์ที่มีคะแนนโหวตน้อยสุดเหมือน
“วี” ต่าง ๆ ในอะแคเดอมี่แฟนตาเชีย มันก็น่าน้อยใจเสียจริง ๆ
เหมือนถูกเปลี่ยนสถานะจาก “เมียหลวง” มาเป็น
“เมียน้อย” หลังจากที่แต่งงานกันมาเกือบ 80 ปี ที่มาของเรื่องนี้มีอยู่ว่า
“พลูโต” หรือที่คนไทยเรียกว่า “ดาวพระยม”
เป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็กที่สุด
(มีเส้นผ่านศูนย์กลางกว่า 2,300 กิโลเมตร
ในขณะที่โลกเรามีเส้นผ่านศูนย์กลางเกือบ 13,000
กิโลเมตร) ถูกค้นพบในปี ค.ศ.1930 โดยไคลด์ ทอมโบก์
(Clyde Tombaugh) แห่งหอดูดาวโลเวล รัฐอริโซนา
(Lowell Observatory in Flagstaff, Arizona) แต่ดาวเคราะห์ดวงนี้มีลักษณะต่างจากดาวเคราะห์อีก
8 ดวง คือ มีขนาดเล็กกว่า
อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์ที่สุด
มีวงโคจรและระนาบวงโคจรแตกต่างไปมากกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่น
ๆ
สถานภาพของดาวพลูโตถูกสั่นคลอนมากขึ้นเมื่อมีการค้นพบวัตถุในอวกาศใหม่ในปี
ค.ศ. 2003 โดย “ไมเคิล บราวน์” (Michael Brown)
นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย
(California Institute of Technology : Caltech)
และทีมงาน วัตถุนี้เรียกว่า “2003 ยูบี313” (2003
UB313)
ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าและห่างจากโลกไกลกว่าพลูโตเสียอีก
คาดหมายกันว่าวัตถุดังกล่าวน่าจะกลายเป็นดาวเคราะห์ดวงที่
10 เมื่อมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากขึ้น
อย่างเช่นการสร้างกล้องโทรทัศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble
Space Telescope) นักดาราศาสตร์ก็เริ่มค้นพบ
“ดาวเคราะห์แคระน้ำแข็ง” (Icy Dwarf)
ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับพลูโตจำนวนมากในแถบไคเปอร์
(Kuiper Belt)
ซึ่งโคจรรอบดวงอาทิตย์เหนือดาวเนปจูนซึ่งเป็นดาวเคราะห์ดวงที่
8 คำวิพากษ์วิจารณ์ถึงสถานภาพของพลูโตยิ่งเพิ่มขึ้นเพราะนักดาราศาสตร์ในสมาพันธ์ดาราศาสตร์สากล
(International Astronomical Union : IAU)
หลายคนเชื่อว่าพลูโตเป็นส่วนหนึ่งของดาวเคราะห์แคระน้ำแข็งเหล่านั้น
หาใช่ดาวเคราะห์แต่อย่างใด
เพราะถ้านับพลูโตเป็นดาวเคราะห์แล้ว
เกณฑ์นั้นก็จะทำให้ดาวเคราะห์อีกมากมายนับร้อยดวงถูกเพิ่มเข้าสู่ระบบสุริยะจักรวาล
เมื่อเร็ว ๆ
นี้มีนักดาราศาสตร์กว่า 3,000 คนจาก 75
ประเทศรวมตัวกันในกรุงปราก
เมืองหลวงของสาธารณรัฐเช็ก
เพื่อร่วมประชุมสมาพันธ์ดาราศาสตร์สากลครั้งที่ 26
(IAU 26th General Assembly) โดยเริ่มขึ้นตั้งแต่ 14
สิงหาคม และสิ้นสุดในวันที่ 24 สิงหาคม ในการประชุมครั้งนี้นอกจากจะมีการเสนอข้อมูลเชิงวิชาการมากมายแล้ว
ยังมีการถกเถียงถึงนิยามของดาวเคราะห์
การรับรองสถานภาพว่า “พลูโต” เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9
ของระบบสุริยะหรือไม่
นับเป็นเพียงแค่ 4%
จากจำนวนนักดาราศาสตร์นับหมื่นๆ คนทั่วโลก แม้ว่าในเบื้องต้น
ทางสมาพันธ์ดาราศาสตร์สากลจะเสนอให้เพิ่มดาวเคราะห์เข้าสู่ระบบสุริยะอีก
3 ดวงคือ ดาวเคราะห์น้อย (minor planets) ซีเรส
(Ceres) ดวงจันทร์ของพลูโต “ชารอน” (Charon) และ
2003 ยูบี313 แต่การถกเถียงกันอย่างเผ็ดร้อน ดาว 3
ดวงนี้ก็ไม่ได้รับการยกชั้นให้เป็นดาวเคราะห์ นิยามดาวเคราะห์ที่ลงมติเห็นด้วยนั้น
คือต้องมีทรงกลม มีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธ
โคจรรอบดวงอาทิตย์
และมีวงโคจรสอดคล้องกับดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ เพราะพลูโตมีขนาดเล็ก
ลักษณะการเป็นดาวเคราะห์ไม่ชัดเจน
มีวงโคจรไม่สอดคล้องกับดาวเคราะห์อื่นๆ
ที่ประชุมจึงโหวตให้อยู่ในประเภทของดาวเคราะห์แคระ ด้วยนิยามดังกล่าว
จึงทำให้ระบบสุริยะเหลือ “ดาวเคราะห์” เพียงแค่ 8
ดวง คือ ดาวพุธ, ดาวศุกร์, โลก, ดาวอังคาร,
ดาวพฤหัส, ดาวเสาร์, ดาวยูเรนัส (ดาวมฤตยู)
และดาวเนปจูน เราคงเรียกว่า ดาว ”นพเคราะห์”
ไม่ได้แล้ว อาจต้องให้นิยามใหม่เป็น ดาว
”อัฐเคราะห์” หนังสือวิชาดาราศาสตร์ต่างๆ
ก็จะล้าสมัยไปทันที
อาจต้องมีการปรับหลักสูตรและการเรียนการสอนเรื่องระบบสุริยะตามสถาบันการศึกษากันใหม่หมด หลายคนก็ยังไม่ยอมรับผลของการโหวตในครั้งนี้
คิดว่าเป็นสิ่งที่ “ตลกสิ้นดี”
และไม่อยากปลี่ยนเนื้อหาหนังสือวิชาการที่ใช้อยู่
องค์การอวกาศสหรัฐ หรือ "นาซ่า"
เองก็ไม่เห็นด้วยในการลดสถานะของดาวพลูโตเพราะเพิ่งส่งยานไปสำรวจดาวดวงนี้ซึ่งต้องใช้ระยะเวลากว่า
10 ปี การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่
เมื่อมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ดาวหรือทฤษฎีใหม่ ๆ
ก็ถูกค้นพบ การเพิ่ม
การลดสถานะของดวงดาวจึงเป็นเรื่องธรรมดา ฟังเรื่องพวกนี้แล้วปลงตก
เห็นชัดว่า ทุกอย่างในโลกล้วนเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง
สิ่งที่เราทำได้
คือทำใจให้พร้อมรับสถานการณ์ตลอดเวลา เพราะอย่าว่าแต่คนปลดคนเลยครับ
ดาวอยู่ดีๆบนฟ้า
ยังถูกคนปลดลงมาได้เลย
รายงานพิเศษ
ควาร์ก หรือ ควอร์ก (quark) สุรศักดิ์ พงศ์พันธุ์สุข
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติิ อนุภาคหลักมูล (fundamental particle) ที่เป็นองค์ประกอบของอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่าอะตอมหลายชนิด ที่รู้จักกันดีคือเป็นองค์ประกอบของนิวตรอนและโปรตอน ควาร์กมี 6 ชนิด แต่ละชนิดเรียกว่าแต่ละเฟลเวอร์ (flavour) ได้แก่ อัป (up หรือ u) ดาวน์ (down หรือ d) ชาร์ม (charm หรือ c) สเตรนจ์ (strange หรือ s) ท็อป (top หรือ t) และบอตทอม (bottom หรือ b) ซึ่งควาร์กทั้ง 6 เฟลเวอร์นี้แบ่งตามขนาดของประจุได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มบน (up type) มีประจุ +2/3 ได้แก่ อัปควาร์ก ชาร์มควาร์ก และท็อปควาร์ก อีกกลุ่มคือกลุ่มล่าง (down type) มีประจุ -1/3 ได้แก่ ดาวน์ควาร์ก สเตรนจ์ควาร์ก และบอตทอมควาร์ก
ลูกศรเส้นทึบแสดงการสลายได้ง่าย เส้นประแสดงการสลายได้ยาก และมวลลดลงจากขวาไปซ้าย
หมายเหตุ: c คือ
ความเร็วของแสง และ e คือ
ขนาดประจุของอิเล็กตรอน
อนุภาคโปรตอนและนิวตรอน มีมวลใกล้เคียงกัน คือ ประมาณ 0.938 GeV/c2 ซึ่งเมื่อมองลึกลงไปในองค์ประกอบแล้ว จะเห็นได้ว่า โปรตอน ประกอบด้วย อัปควาร์ก 2 อนุภาคกับดาวน์ควาร์ก 1 อนุภาค คิดเป็นมวลจากควาร์กเพียง 0.016 GeV/c2 ส่วนนิวตรอน ประกอบขึ้นจากอัปควาร์ก 1 อนุภาค กับดาวน์ควาร์ก 2 อนุภาค คิดเป็นมวลจากควาร์กเพียง 0.020 GeV/c2 หรือประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ของมวลโปรตอนและนิวตรอนเท่านั้น ทั้งนี้มวลที่เหลืออีก 98 เปอร์เซ็นต์ ส่วนหนึ่งอยู่ในรูปของพลังงานจลน์ของควาร์ก และส่วนใหญ่เป็นพลังงานศักย์ของการยึดเหนี่ยว ระหว่างกัน ของอนุภาคทั้งหลาย ภายในนิวเคลียสด้วยแรงนิวเคลียร์อย่างเข้ม (strong nuclear force) ซึ่งเป็นปฏิสัมพันธ์ที่แข็งแรงที่สุด ในบรรดาแรงพื้นฐานทั้ง 4 ชนิดในธรรมชาติ โดยแรงอีก 3 ชนิดคือ แรงนิวเคลียร์อย่างอ่อน (weak nuclear force) เป็นแรงกระทำต่อกันเมื่อมีอนุภาคใด ๆ เข้ามาใกล้นิวเคลียส หรือเมื่อมีอนุภาคใด ๆ จะหลุดออกไปจากนิวเคลียส เช่น เมื่อเกิดการสลายกัมมันตรังสีแล้วปล่อยอนุภาคบีตาออกมา แรงชนิดต่อมาคือแรงแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic force) ซึ่งภายในอะตอมก็คือแรงที่ยึดเหนี่ยวกัน ระหว่างนิวเคลียสกับอิเล็กตรอน ส่วนภายนอกอะตอม ก็คือปฏิกิริยาเคมี ซึ่งมีประจุไฟฟ้าบวกและลบ เข้ามาเกี่ยวข้องนั่นเอง และแรงชนิดสุดท้าย คือ แรงความโน้มถ่วง (gravity force) ซึ่งเป็นแรงดึงดูดกัน ระหว่างมวลและเป็นแรงที่แข็งแรงน้อยที่สุด เนื่องจากควาร์กเกี่ยวข้องกับแรงที่แข็งแรงที่สุดดังกล่าว ในธรรมชาติจะไม่พบควาร์กอยู่เดี่ยว ๆ อย่างอิสระ แต่จะอยู่เป็นกลุ่ม 2 อนุภาคเรียกว่ามีซอน (meson) หรือกลุ่มที่มี 3 อนุภาคเรียกว่า แบริออน (baryon) ซึ่งทั้งมีซอนและแบริออนมีชื่อเรียกรวมกันว่า แฮดรอน (hadron)
ทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัม (quantum mechanics) ศึกษาอนุภาคในแง่ของกลศาสตร์ว่าอนุภาคทุกชนิดมีการหมุนรอบแกนหมุนทำนองเดียวกับที่โลกหมุนรอบตัวเอง อนุภาคทุกชนิดจึงมีสมบัติหนึ่งเรียกว่าโมเมนตัมเชิงมุมซึ่งวัดได้ในห้องปฏิบัติการและวัดออกมาเป็น เลขสปิน (spin number) ซึ่งมีอยู่ 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีเลขสปินเป็นเลขจำนวนเต็มซึ่งเป็นไปตามค่าสถิติโบส-ไอน์สไตน์ (Bose-Einstein statistics) และเรียกอนุภาคในกลุ่มนี้ว่าโบซอน (boson) ตามชื่อคนคิดค่าสถิตินี้ คือ สัตเยนดรา นาถ โบส (Satyendra Nath Bose) อนุภาคในกลุ่มโบซอนที่รู้จักกันดีก็คือ โฟตอนซึ่งมีเลขสปินเท่ากับ +1 อีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มที่มีเลขสปินเป็นเศษส่วนและเป็นไปตามค่าสถิติเฟร์มี-ดิแรก (Fermi-Dirac statistics) อนุภาคในกลุ่มนี้เรียกว่า เฟร์มิออน (fermion) ตามชื่อของเอนรีโก แฟร์มี (Enrico Fermi) ต้นคิดค่าสถิติชนิดนี้ และควาร์กก็ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเฟร์มิออนนี้เอง เพราะว่าควาร์กกลุ่มบนมีเลขสปิน +1/2 ส่วนควาร์กกลุ่มล่างมีเลขสปิน -1/2 อนุภาคในกลุ่มเฟร์มิออนที่รู้จักกันดีก็คือ อิเล็กตรอน ซึ่งมีเลขสปิน +1/2
เนื่องจากควาร์กเป็นเฟร์มิออนเช่นเดียวกับอิเล็กตรอน จึงต้องเป็นไปตามหลักการกีดกันเพาลี (Pauli exclusion principle) ด้วย (กรณีของอิเล็กตรอน มีการจำกัดจำนวนของอิเล็กตรอนที่จัดเรียงเป็นชั้น ๆ ภายในอะตอม ว่าแต่ละชั้นมีได้จำนวนเท่าใด) โดยกรณีของควาร์กเชื่อว่าควาร์กแต่ละเฟลเวอร์จะมีเลขควอนตัมภายใน (internal quantum number) เรียกว่า สี (color) ซึ่งมีด้วยกัน 3 สีได้แก่ แดง เขียว และน้ำเงิน นิวตรอน (neutron) สุรศักดิ์ พงศ์พันธุ์สุข
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติิ อนุภาคมูลฐานที่ประจุเป็นกลาง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10-15 เมตร และมีมวล 1.6749 x 10-27 กิโลกรัม (939.573 MeV/c2) ซึ่งมากกว่ามวลของโปรตอนเล็กน้อย (0.2 เปอร์เซ็นต์) และมากกว่ามวลของอิเล็กตรอน 1,838 เท่าตัว โดยนิวตรอนประกอบขึ้นจากอัปควาร์ก (up quark หรือ u) 1 อนุภาค กับดาวน์ควาร์ก (down quark หรือ d) 2 อนุภาค นิวตรอนเป็นองค์ประกอบหนึ่งของนิวเคลียสของอะตอม โดยยึดรวมอยู่กับโปรตอน เป็นนิวเคลียสอยู่ตรงกลาง และมีอิเล็กตรอนโคจรรอบนิวเคลียส
องค์ประกอบของนิวตรอน
โครงสร้างของอะตอม นอกจากนิวเคลียสของอะตอมไฮโดรเจนแล้ว นิวเคลียสของอะตอมทุกธาตุ ล้วนประกอบด้วยนิวตรอนและโปรตอนทั้งสิ้น นิวเคลียสของอะตอมของแต่ละธาตุอาจมีจำนวนนิวตรอนแตกต่างกันได้เรียกว่า ไอโซโทป เช่น อะตอมไฮโดรเจนมี 3 ไอโซโทป ได้แก่ โพรเทียมหรือไฮโดรเจนธรรมดาซึ่งในนิวเคลียสมีเพียงโปรตอน 1 อนุภาค ดิวเทอเรียมหรือไฮโดรเจนมวลหนักซึ่งในธรรมชาติมีอยู่เพียง 0.015 เปอร์เซ็นต์มีนิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอน 1 อนุภาคกับนิวตรอนอีก 1 อนุภาค และทริเทียมซึ่งเป็นไอโซโทปที่สังเคราะห์ขึ้น มีนิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอน 1 อนุภาคกับนิวตรอน 2 อนุภาค
ไอโซโทป 3
ชนิดของไฮโดรเจน
นิวตรอนที่หลุดเป็นอิสระออกมาจากนิวเคลียสจะคงตัวอยู่ได้ไม่นาน
โดยเฉลี่ย 885.7+/-0.8 วินาที (ไม่เกิน 15 นาที)
ก็สลายเป็นโปรตอนโดยปล่อยอิเล็กตรอน (e-) กับแอนตินิวทริโน (
การสลายของนิวตรอนอิสระ
นิวตรอนที่อยู่ภายในนิวเคลียสก็เกิดการสลายได้เช่นเดียวกับนิวตรอนอิสระ โดยจะเกิดในกรณีที่นิวเคลียสของอะตอมกัมมันตรังสี เช่น ซีเซียม-137 ซึ่งนิวเคลียสมีนิวตรอนมากเกินไป จะเกิดการสลายกัมมันตรังสี (radioactive decay) โดยนิวตรอนที่มีมากเกินไปสลายทำนองเดียวกับนิวตรอนอิสระ แต่โปรตอนที่เกิดขึ้นยังคงอยู่ในนิวเคลียสและไปเพิ่มจำนวนโปรตอนให้กับนิวเคลียสนั้น ทำให้เกิดการแปรธาตุจากซีเซียม-137 กลายเป็นแบเรียม-137 ซึ่งมีความเสถียรมากขึ้น ส่วนอิเล็กตรอนที่เกิดขึ้นก็ถูกปล่อยออกสู่ภายนอกอะตอมซึ่งเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่าอนุภาคบีตา การสลายเช่นนี้จึงเรียกว่า การสลายให้อนุภาคบีตา (beta decay)
การสลายให้อนุภาคบีตา
อะตอมขนาดใหญ่ เช่น เรเดียม-226 หรือยูเรเนียม-238 มีการสลายกัมมันตรังสีแบบให้อนุภาคแอลฟา ซึ่งประกอบด้วยโปรตอน 2 อนุภาคกับนิวตรอน 2 อนุภาค ซึ่งถ้าปล่อยให้อนุภาคแอลฟา ไปกระทบวัสดุที่มีองค์ประกอบเป็นอะตอมธาตุเบา เช่น เบริลเลียม คาร์บอน ออกซิเจน (รวมทั้งไฮโดรเจน) สามารถทำให้เกิดนิวตรอนอิสระออกมาได้ 1x106 ถึง 1x108 อนุภาคต่อวินาที ยกตัวอย่างต้นกำเนิดนิวตรอนชนิดที่ใช้ธาตุเบริลเลียม อนุภาคแอลฟาทุก ๆ 1 ล้านอนุภาคที่ปล่อยเข้าไปกระทบ จะผลิตนิวตรอนอิสระได้ 30 อนุภาค ตามสมการนี้
ต้นกำเนิดนิวตรอนอีกแบบหนึ่งอาศัยการสลายกัมมันตรังสีแบบหนึ่งที่เกิดได้กับอะตอมขนาดใหญ่ คือ การแบ่งแยกนิวเคลียส (nuclear fission) เกิดได้จากการปล่อยนิวตรอนอิสระเข้าไปในนิวเคลียสเช่นยูเรเนียม-235 ซึ่งจะจับยึดนิวตรอนนั้นเอาไว้ (neutron capture) กลายเป็นยูเรเนียม-236 ซึ่งจะสลายต่อไปโดยการแบ่งแยกออกเป็น 2 นิวเคลียส คือ นิวเคลียสของอะตอมคริปทอน-92 และแบเรียม-141 พร้อมกับปล่อยพลังงานกับนิวตรอนอีก 2-3 อนุภาคออกมา ซึ่งถ้านิวตรอนที่เกิดใหม่เหล่านี้ไปกระทบนิวเคลียสของอะตอมยูเนียม-235 ได้อีกเรื่อย ๆ ก็สามารถทำให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่แบ่งแยกนิวเคลียส (fission chain reaction) ได้ ซึ่งเป็นหลักการที่ใช้ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์
ขั้นตอนการเกิดการแบ่งแยกนิวเคลียสของอะตอมยูเรเนียม-235
ต้นกำเนิดนิวตรอนยังมีอีกหลายชนิด เช่น เครื่องเร่งอนุภาค รวมทั้งในธรรมชาติก็คือจากรังสีคอสมิก ครูฟิสิกส์ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กับกระแสการปฏิรูปการศึกษา
ผศ.ศิลปชัย บูรณพาณิช
ท่ามกลางกระแสการปฏิรูปการศึกษา
ซึ่งเป็นผลมาจากกฎหมายทางการศึกษา ที่เรียกว่า การที่ครูส่วนใหญ่ต้องสาละวนอยู่กับเอกสารต่าง ๆ มากมายเช่นนี้ จึงเป็นเรื่องธรรมดาอยู่ ที่เวลาที่ใช้ในการเตรียมการสอนทั้งในด้านองค์ความรู้ กระบวนการเรียนรู้ วัสดุอุปกรณ์ การปฏิบัติกิจกรรมการทดลอง การตรวจงาน การบ้าน เป็นต้น ย่อมถูกผลกระทบไปด้วย อย่างไรก็ตาม มีคำถามที่น่าสนใจว่า ก่อนปฏิรูปการศึกษา ครูไม่ต้องทำเอกสารมากมาย ไม่ต้องเป็นกรรมการพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียน หรือเป็นกรรมการการประเมินภายใน ฯลฯ ครูใช้เวลาให้กับการพัฒนาวิชาชีพของตนเองอย่างเต็มความสามารถ เต็มเวลาจริงหรือ ซึ่งก็น่าจะคาดเดาคำตอบได้บ้างว่า มีทั้งจริงและค่อนข้างเป็นจริง (ก็ยังจริงอยู่บ้าง แต่อาจไม่ทั้งหมด สำหรับครูฟิสิกส์ในระดับการศึกขั้นพื้นฐาน ที่ได้มีโอกาสมาร่วมประชุมกับสาขาฟิสิกส์หลายครั้ง ซึ่งมีความเป็นกัลยาณมิตร ผมคิดว่าทุกท่านแม้จะทำงานหนัก ในช่วงการปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้ ท่านได้ให้เวลากับลูกศิษย์ ในการเรียนการสอนอย่างเต็มความสามารถ และเอาชนะเงื่อนไขต่าง ๆ ได้ด้วยวิธีแห่งศาสตร์ของฟิสิกส์ ด้วยการทำเรื่องยาก ๆ ให้ง่ายขึ้น ทั้งในส่วนของชีวิตการสอนและชีวิตส่วนตน สำหรับครูฟิสิกส์อาวุโส ที่สอนมาตั้งแต่หลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ.2503 จะพบว่า การสอนฟิสิกส์จะเน้นไปทางด้านเนื้อหาวิชาเป็นหลัก โดยมีวิชาหลักคือ วิชากลศาสตร์ (แยกเป็นภาค Hydrostatic ภาค Static และภาค Dynamic) และให้ตำราที่ค่อนข้าง Classic มาก ที่แต่งหรือเรียบเรียงโดย อาจารย์อาวุโสทางวิทยาศาสตร์ในสมัยนั้น ซึ่งได้รับการอนุมัติเป็นตำราเรียนได้ โดยกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งครูฟิสิกส์ส่วนใหญ่ ก็ใช้ตำราเหล่านั้นในการเรียนการสอน นอกจากนี้ยังมีวิชาเลือกเพิ่มเติม เพื่อนำไปใช้ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ โดย มีวิชาแม่เหล็กไฟฟ้าความร้อน แสง เสียง และโรงเรียนใดที่มีความพร้อมทางด้านห้องปฏิบัติการ ก็จะสอนเพิ่มเติมในส่วนของการปฏิบัติการวิชาฟิสิกส์ ที่แยกออกมาจากการเรียนการสอนทางทฤษฎี เมื่อมีการปรับปรุงหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ โดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และเริ่มใช้ในการเรียนการสอนในปี พ.ศ. 2519 ซึ่งเป็นที่มาของวิชาฟิสิกส์ โดยมีการเรียนการสอนครอบคลุมเนื้อหาวิชามากยิ่งขึ้น และได้มีการปรับหลักสูตรฟิสิกส์โดย สสวท. อีกหลายครั้ง จนกระทั่งมาในยุคปฏิรูปการศึกษา และใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 ในส่วนของวิชาฟิสิกส์จัดอยู่ในสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ สาระที่ 4 : แรงและการเคลื่อนที่ และสาระที่ 5 : พลังงาน มีข้อที่น่าสังเกตสำคัญ ในการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ของ สสวท. ก็คือการเรียนการสอน ที่บูรณาการการเรียนรู้ ทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติเข้าไปด้วยกัน โดยใช้กระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ด้วยกระบวนการสืบสอบหรือสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry หรือ Enquiry) ไม่ว่าหลักสูตรการศึกษาของชาติ จะเปลี่ยนไปอย่างไรก็ตาม ในส่วนของการเรียนรู้ฟิสิกส์ หรือวิทยาศาสตร์ของผู้เรียน ก็ยังเน้นไปยังกระบวนการคิด (brain-on) การปฏิบัติ (hands-on) และทางด้านจิตใจ (minds-on) สำหรับครูฟิสิกส์ในยุคปฏิรูปการศึกษา เราคงมุ่งไปสู่การพัฒนาการเรียนการสอนฟิสิกส์ เพื่อให้นักเรียนเกิดแรงบันดาลใจในการเรียนให้มากยิ่งขึ้น ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมอย่างสม่ำเสมอ และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามในโอกาสต่างๆ สิ่งหนึ่งในหลาย ๆ สิ่งที่อยากฝากเป็นข้อเสนอแนะ ก็คือการแก้ปัญหาการเรียนรู้ฟิสิกส์ ของผู้เรียนโดยการใช้การวิจัยในชั้นเรียน น่าจะเป็นแนวทางหนึ่ง ที่ครูฟิสิกส์หลายท่านได้ดำเนินการไปแล้วอย่างได้ผล โดยการหาปัญหา (ที่แท้จริง มีแนวที่จะแก้ได้) การหาสาเหตุของปัญหา และดำเนินการด้วยวิธีการ หรือกระบวนต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา ซึ่งกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนดังกล่าว ควรจะดำเนินการไปพร้อมกับการเรียนการสอนตามปกติ เพื่อให้เกิดผลสูงสุด ในการพัฒนาผู้เรียนและผู้สอนไปในคราวเดียวกัน สิ่งที่ครูฟิสิกส์ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นพลังในการปฏิรูปการศึกษาของชาติได้ ก็ด้วยความมุ่งมั่นในการปฏิรูปการเรียนรู้ฟิสิกส์ของนักเรียน ด้วยการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล วางแผนการจัดการเรียนรู้ ให้เหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียน สภาพแวดล้อม โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และครูฟิสิกส์ต้องเป็นผู้พัฒนาตนอยู่เสมอ ให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการสื่อสาร “เลขฐานสอง” ความลับของระบบดิจิตอล
ดิจิตอล หรือ ระบบดิจิตอล กลายเป็นคำคุ้นหูของคนยุคนี้เสียเหลือเกิน
ในทุกขณะที่โลกกำลังหมุนไป
ระบบดิจิตอลก็ได้แทรกซึมและเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากยิ่งขึ้น
เทคโนโลยีมากมายในปัจจุบันต่างก็ได้พัฒนาและนำระบบดิจิตอลมาใช้ในการทำงาน
ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ เครื่องคิดเลข กล้องถ่ายรูป โทรทัศน์
โทรศัพท์ นาฬิกา ฯลฯ
เราจึงเริ่มคุ้นเคยและพูดถึงระบบการทำงานที่ว่านี้กันอยู่เสมอ
แต่เคยนึกย้อนกลับไปหรือไม่ ว่าแท้จริงแล้วระบบดิจิตอลนั้นคืออะไร
“แผ่นดินไหว” มหันภัยจากพลังงานใต้พิภพ พักนี้หากใครได้ติดตามข่าวสารต่างประเทศ คงพอจะทราบเรื่องการเกิดภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งระยะหลังนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง จนส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและสร้างความเสียหายให้กับอาคารบ้านเรือนไปเป็นจำนวนมาก ฝั่งประเทศไทยเราเองแม้จะโชคดีที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยจากแผ่นดินไหวต่ำ เพราะเท่าที่เคยเกิดขึ้นมาก็เป็นเพียงเล็กน้อย แต่เพื่อความไม่ประมาท เราน่าจะมาทำความรู้จักกับมันไว้บ้าง เผื่อวันใดวันหนึ่งเกิดเหตุแผ่นดินไหวร้ายแรงขึ้นมาในบ้านเรา จะได้เตรียมตัวรับมือและหาทางป้องกันได้ทันท่วงที
แว่นขยายหยดน้ำ
แว่นขยายที่เราจะได้ทดลองทำกันในวันนี้แตกต่างจากทั่วไปที่เห็นกัน
คือ ใช้น้ำเป็นเลนส์ขยายภาพวัตถุ
ซึ่งจะทำได้อย่างไร
มาเตรียมอุปกรณ์เพื่อทดลองดังต่อไปนี้
1. เจาะรูกระดาษแข็ง 1 รู ด้วยที่เจาะกระดาษ
แล้วใช้เทปใสปิดทับรูนั้นอีกที
2. ใช้หลอดหยดดูดน้ำขึ้นมา แล้วค่อย ๆ
หยดลงบนเทปใสให้ตรงกับรูที่เจาะไว้
ให้หยดน้ำนั้นมีรูปทรงเป็นหยดกลม
จากการทดลองทำให้เห็นว่า ถ้านำวัตถุโปร่งใส ทรงโค้งนูนมาส่องดูวัตถุต่าง ๆ ก็จะเห็นภาพวัตถุขยายขนาดขึ้น ดังนั้นเราอาจลองประยุกต์นำความรู้นี้ไปทดลองหาสิ่งของที่มีลักษณะดังกล่าวมาทดลองส่องดูวัตถุดูบ้างเพื่อการค้นพบด้วยตนเอง เริ่มจากแก้วน้ำใส ๆ ใส่น้ำสะอาด แล้วมองภาพวัตถุทะลุผ่านด้านข้างของแก้วดูว่าได้ผลเช่นเดียวกับแว่นขยายหยดน้ำที่ทดลองไปแล้วหรือไม่
วิทยาศาสตร์ของความรัก
รักฉัตร
เลหวนิช
หน่วยบริหารจัดการความรู้
ไบโอเทค
เมื่อมีรัก ทุกคนคงเคยพร่ำถามตัวเองว่า ความรักมันเกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมถึงต้องเป็นเขา/เธอคนนี้ ทำไมเรารู้สึกแปลกๆ หัวใจเต้นแรง หน้าแดง มือเปียก พวกแนวศิลปินอาจบอกว่ารักเป็นเรื่องของอารมณ์ล้วนๆ เหตุผลไม่เกี่ยว รักมีทั้งความรันทดและความงดงาม รักเป็นเรื่องที่โรแมนติกเกินกว่าจะพรรณนา สำหรับพวกแนวเหนือธรรมชาติจะเชื่อว่า เนื้อคู่ของเราถูกกำหนดมาแล้ว จะต้องตามหาคนที่มีด้ายแดงผูกนิ้วก้อยให้เจอ บ้างก็ว่ารักเกิดจากกรรมเก่า มีการตามมารักมาเลิกกันเป็นชาติๆ ไป การรักใครสักคนอาจจะเป็นเพราะโดนสาป ไสยศาสตร์เท่านั้นที่ช่วยได้ ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์ก็มีคำอธิบายที่ฉีกทั้งสองแนวนี้ออกไป ซึ่งแม้ว่าจะฟังแล้วไม่ได้อารมณ์ ไม่โรแมนติก และไม่ลี้ลับเท่า แต่สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์กำลังจะบอกเรานี้ ล้วนแต่เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในตัวเรา โดยมีเราเป็นผู้กระทำทั้งสิ้น ทฤษฎี “รัก 3 ตอน”
ก่อนจะรู้จักความรักในบทที่ลึกเข้าไปถึงสมองและอวัยวะภายในร่างกาย มาทำความรู้จักกับทฤษฎีรัก 3 ตอน ของ ดร.เฮเลน ฟิชเชอร์ แห่งมหาวิทยาลัยรุทเจอรส์ (Rutgers University) ในนิวเจอร์ซี กันก่อนดีกว่า ดร.ฟิชเชอร์บอกว่า ห้วงความรักของคนเราแบ่งเป็น 3 ตอน โดยจะมีฮอร์โมนที่แตกต่างกันมาร่วมแสดงบทบาทในแต่ละตอน ตอนที่ 1 ช่วงเกิดตัณหา
ตัณหาราคะถูกขับโดยฮอร์โมนเพศ 2 ตัว คือ เทสโทสเทอโรน (Testosterone) และเอสโตรเจน (Oestrogen) เทสโทสเทอโรนเป็นฮอร์โมนที่ไม่ได้พบเฉพาะในผู้ชายเท่านั้น ผู้หญิงก็มีเช่นกัน ดร.ฟิชเชอร์บอกว่า เจ้าฮอร์โมนเพศสองตัวนี้เอง ที่ช่วยควบคุมอาการอยากได้โน่น อยากได้นี่ ของเรา ตอนที่ 2 ช่วงคลั่งรัก
เป็นช่วงที่ทำให้ชีวิตเราผิดเพี้ยนไป ไม่รับรู้ ไม่สนใจสิ่งรอบกาย ไม่กิน ไม่นอน เอาแต่นั่งฝัน เพ้อ ละเมอถึงคนรัก อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ ถูกควบคุมโดยกลุ่มสารสื่อประสาทที่เรียกว่า โมโนอะมิเนส (Monoamines) ซึ่งประกอบด้วย - โดพามีน (Dopamine) เป็นสารเคมีที่ช่วยให้สมองตื่นตัว เช่นเดียวกับนิโคตีนและโคเคอีน - นอร์เอพิเนฟรีน (Norepinephrine) หรือรู้จักกันในนามของ อะดรีนาลิน (Adrenalin) ที่เป็นตัวการทำให้เราเหงื่อแตกและหัวใจเต้นรัวยามตื่นเต้น - เซโรโทนิน (Serotonin) หนึ่งในสารสำคัญที่ทำให้เราเกิดอาการ...ซึม..เศร้า..เหงา..เพราะรัก ตอนที่ 3 ช่วงผูกพัน
ไม่มีใครที่จะทำตัวคลั่งรักได้ตลอดชีวิต เมื่อผ่านพ้นไปช่วงเวลาหนึ่ง ถ้าไม่โบกมือลากันไปเสียก่อน คู่รักก็จะฉุดกระชากลากจูงกันเดินมาสู่ช่วงแห่งความผูกพัน ในตอนนี้จะว่าด้วยการตกลงปลงใจที่จะใช้ชีวิตคู่และสร้างครอบครัว ฮอร์โมนสองตัวสำคัญคือ - ออกซีโทซิน (Oxytocin) จากต่อมไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งช่วยกระตุ้นให้เกิดการขับน้ำนมและเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารก โดยมีการพบว่าออกซีโทซินจะถูกขับออกมาเมื่อชายหญิงมีความสัมพันธ์ทางเพศที่ลึกซึ้ง ทฤษฏีบอกไว้ว่ายิ่งชายหญิงมีความสัมพันธ์กันลึกซึ้งแค่ไหน ความผูกพันก็มีมากขึ้นเท่านั้น - วาโซเพรสซิน (Vasopressin) สารสำคัญอีกตัวหนึ่งที่เป็นตัวรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย จะถูกขับออกมาเมื่อร่างกายขาดน้ำ ความตึงเครียดสูง ความดันเลือดสูง หรือเมื่อคู่รักมีความสัมพันธ์ทางเพศ นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งพยายามทำการศึกษาถึงฤทธิ์เดชของวาโซเพรสซิน โดยหลังจากที่พวกเขาได้ฟังตำนานรักของหนูแห่งทุ่งหญ้าแพรรี (Prairie vole) ซึ่งเป็นหนึ่งในร้อยละ 3 ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่จับคู่อยู่กินกันแบบผัวเดียวเมียเดียวตลอดช่วงชีวิต (Monogamous) ที่มีว่า ถ้าคู่ของพวกมันตาย อีกตัวก็จะตรอมใจตายตามไปในไม่ช้า โดยไม่คิดจะมีใหม่ ด้วยจิตริษยาต่อหนูแห่งทุ่งหญ้าแพรรี่ที่ถือและปฏิบัติตามศีลข้อสาม ห้ามผิดลูกผิดเมียเขาอย่างเคร่งครัด นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ทำการให้ยาที่ลดปฏิกริยาของวาโซเพรสซินในหนูตัวผู้ ปรากฏว่าหนูตัวผู้ตัวนั้นไม่ถึงกับศีลแตก แต่เริ่มมีอาการเย็นชา ห่างเหินคู่รัก และไม่แสดงอาการหึงหวงเมื่อมีหนูหนุ่มตัวอื่นๆ เข้ามาตีท้ายครัวเลยสักนิด หลังจบปฏิบัติการสร้างความร้าวฉานแล้ว พวกเขาก็ได้ข้อสรุปมาให้ชาวโลกชื่นใจว่า ถ้าขาดวาโซเพรสซินเมื่อไร ก็ให้เตรียมพร้อมรับมือหายนะที่กำลังจะมาสู่ครอบครัวได้เลย
ทฤษฎีการจีบ
เมื่อเราปิ๊งใครสักคนที่ไม่รู้จักหัวนอนปลายเท้า จะรู้ได้อย่างไรว่าเขา/เธอคนนั้นคือคนที่ “ใช่เลย” หรือ “ไม่ใช่เลย” เชื่อหรือไม่ว่าภายในเวลาแค่ 90 วินาที ถึง 4 นาทีของการพูดคุยกัน ระบบภายในร่างกายจะช่วยเราตัดสินได้ว่า จะ “รุก” ต่อ หรือ จะ “ชิ่ง” ดี เพราะว่าในการพูดคุยอย่างสวีทหวานแหววกับบุคคลเป้าหมาย ความประทับใจและการรับรู้ข้อความจากการสื่อสารนั้น ร้อยละ 55 จะมาจากภาษากาย ร้อยละ 38 มาจากน้ำเสียงและความเร็วในการพูด และแค่ร้อยละ 7 จากสาระที่เราพูดออกไป ซึ่งหมายความว่าเพียงแต่มีลีลาดี ก็จะมีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว การมองตาเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่หนุ่ม/สาวเจ้าเสน่ห์ทั้งหลายยืนยันว่ามีประสิทธิภาพเหลือเกิน เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ ศาสตราจารย์อาเธอร์ อรัน นักจิตวิทยาจากนิวยอร์ค ได้ทำการทดลองโดยนำชายหญิงหลายคนมาจับคู่นั่งพูดคุยกันแบบเปิดอกเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของแต่ละคน นานหนึ่งชั่วโมงครึ่ง หลังจากนั้น ให้นั่งจ้องตากันเฉยๆ โดยไม่ต้องเอื้อนเอ่ยอะไรทั้งสิ้นอีกสี่นาที ผลคือผู้ที่เข้ารับการทดลองหลายคนยอมรับว่า เกิดความสนใจในตัวของคู่ทดลอง โดยเฉพาะคู่ที่อยู่ในสายงานหรือมีระดับทางสังคมที่ใกล้เคียงกัน และมีคู่หนึ่งก้าวหน้าไปถึงขั้นแต่งงานกันเลย ในประเด็นของความรักที่เกิดจากการมองตานั้น นักวิทยาศาสตร์บอกว่าเมื่อเรารู้สึกสนใจอะไร รูม่านตาของเราจะขยาย นัยน์ตาจะดูกลมโตและเป็นประกาย ซึ่งอาจจะเป็นการส่งสัญญาณเตือนให้เขา/เธอรู้ตัวก็เป็นได้ หากสาวอิตาเลียนในสมัยกลางได้รู้เรื่องนี้คงจะร้องไห้ เพราะแค่พวกเธอพบเจอคนที่ถูกใจ นัยน์ตาของพวกเธอก็จะกลมโต สวยงาม เหมือนสาวใสไร้เดียงสาได้แบบอัตโนมัติ โดยไม่ต้องเสี่ยงไปใช้น้ำสกัดจากลูกเบลลาดอนน่า (Belladonna) ซึ่งเป็นพืชจำพวกมะเขือพวงและมีพิษ มาหยอดตาเพื่อทำการขยายรูม่านตาอย่างที่นิยมทำกัน
สัญญาณอื่นๆ ที่บ่งบอกให้รู้ถึงรัก ได้แก่ การเลียนแบบ เมื่ออยู่ในโลกแห่งรักของสองเรา คนสองคนนี้ก็จะลอกเลียนแบบทุกสิ่งทุกอย่างจากกันโดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นการเดิน นั่ง พูด บุคลิกท่าทางต่างๆ นักวิทยาศาสตร์เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ปรากฏการณ์กระจกเงา การที่คู่รักทำอะไรที่เหมือนกัน แสดงว่าทั้งคู่เปิดใจให้กัน พร้อมที่จะยอมรับซึ่งกันและกัน นับว่าเป็นนิมิตหมายที่ดี แต่ถึงกระนั้น ปรากฏการณ์กระจกเงาอาจเป็นอันตรายได้ เพราะมันเกิดขึ้นในกลุ่มของเพื่อนสนิทด้วยเช่นกัน ผู้ที่กำลังแอบรักเขาต้องระวังให้มาก เพราะหากตีความไม่ดีแล้ว อาจจะสับสนระหว่างสัญญาณของความรักกับมิตรภาพได้ มีบางทฤษฎีบอกว่า มนุษย์เราชอบความท้าทาย ยิ่งยากยิ่งอยากพิชิต เหมือนยอดเขาเอฟเวอเรสต์ที่มีคนแวะเวียนไปท้าทายปีนป่ายไม่เคยขาด นักวิทยาศาสตร์ทำการทดสอบเพื่อยืนยันสมมติฐานนี้ (อีกแล้ว) โดยได้ใช้คอมพิวเตอร์หาคู่ (Computer dating experiment) ทดสอบกับผู้หญิงสามคน คนแรก หญิงเอ สาวนักทดลอง อยากจะเดทซะกับทุกคนที่คอมพิวเตอร์สุ่มเลือกมาให้ คนที่สอง หญิงบี ผู้ไร้ความรู้สึก ไม่ยินดียินร้ายกับชายที่คอมพิวเตอร์จัดให้เลยสักคน คนสุดท้าย หญิงซี สาวช่างเลือก ที่กัดฟันเลือกชายผู้โชคดีมาได้หนึ่งคนจากทั้งหมดที่คอมพิวเตอร์จัดให้ จากนั้นถามความเห็นผู้ชายทั้งหมดที่เป็นตัวเลือกในคอมพิวเตอร์ ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า สาวขี้เลือกเบอร์สามกับสามจอมหยิ่งเบอร์สองเนี่ย โดนใจที่สุด เรื่องการผจญภัยก็สำคัญไม่น้อย มีหลายคนบอกว่า ถ้าคนเราผ่านสถานการณ์ที่ยากลำบาก สยดสยอง โหดร้าย ทารุณมาด้วยกัน จะยิ่งทำให้เข้าใจกันดีขึ้น นักวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าจริง แต่ทว่าคนมักจะเข้าใจผิดไปเองว่าความรู้สึกดีๆ ที่เกิดขึ้นหลังผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤตนั้นเป็นความรัก ถ้าการออกเดทที่สวนสนุก (โดยมีข้อแม้ว่าต้องเล่นเครื่องเล่นผาดโผนหวาดเสียวด้วยกัน) จะช่วยกระชับความสัมพันธ์ให้แนบแน่นขึ้นแล้วนั้น การจับคู่กระโดดบันจี้จัมพ์ด้วยกันน่าจะทำให้ความสัมพันธ์ยิ่งแน่นแนบไปถึงขั้นเป็นคู่แท้ตลอดกาลเลยทีเดียว ทั้งนี้ทั้งนั้นคนจะอยู่ด้วยกันได้ ก็ย่อมจะต้องมีอะไรที่คล้ายกันบ้าง คนที่มีระดับความกล้าบ้าบิ่นและชอบอะไรที่สยองๆพอๆกัน ก็เหมาะแล้วที่จะเป็นคู่รักคู่ทรโหด
รักฉันเพราะอะไร
เมื่อคบหากันไปสักระยะ หลายคนเกิดคำถามขึ้นในใจว่า ฉันประทับใจเขา/เธอคนนี้ที่ตรงไหน รูปลักษณ์ภายนอกเป็นสิ่งแรกที่ทำให้ชาย/หญิงเกิดอาการสะดุดรัก ในขณะที่ยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่ทำให้เราเกิดอาการดังกล่าวได้ โดยชายและหญิงก็จะมีกฎเกณฑ์ที่แตกต่างกันอยู่ในใจ บางคนไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าตัวเองช่างเลือกขนาดไหน ความไม่สมดุลเป็นสัญญาณที่แสดงถึงความบกพร่องของยีน ดังนั้นผู้ชายส่วนมากจึงมองผู้หญิงที่รูปลักษณ์ภายนอก เพื่อยืนยันว่าผู้ชายให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก จึงมีคนคิดสูตรคำนวณหาสัดส่วนของผู้หญิงในอุดมคติออกมา โดยยกให้รูปทรงของนาฬิกาทรายที่มีเอวคอดกิ่วเป็นต้นแบบ สูตรคำนวณมีว่า ขนาดรอบเอว ¸ รอบสะโพก ต้องเท่ากับ 0.7 ถ้าได้ค่าประมาณนี้ หญิงผู้นั้นถือว่ามีสัดส่วนที่ได้รับการยอมรับอย่างท่วมท้นจากชายทั้งโลก มีการยืนยันทฤษฏีหุ่นนาฬิกาทรายนี้โดยนำค่าสัดส่วนของผู้ชนะการประกวดมิสอเมริกาแต่ละปีมาคิดและพบว่าได้ 0.7 เกือบทุกคน หลายคนเชื่อว่าหญิงที่มีหุ่นนาฬิกาทรายจะมีคุณสมบัติที่ดีที่เหมาะแก่การสืบพันธุ์ด้วย ในขณะที่ผู้ชายมุ่งมั่นเสาะหาหญิงในฝันจากเปลือกนอก ผู้หญิงเองกลับไม่ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้เลย พวกเธอกลับมองที่ความสามารถในด้านต่างๆ และภาวะผู้นำที่มีอยู่ในตัวของผู้ชายมากกว่า
จุดร่วมของความเหมือนก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้คนพยายามมองหาในตัวของคู่รัก เราเคยได้ยินกันบ่อยๆ ว่า คนเป็นเนื้อคู่กัน จะหน้าเหมือนกัน คำพูดนี้มีความเป็นไปได้ นักวิทยาศาสตร์บอกว่าคนเราจะให้ความสนใจคนที่ดูคล้ายตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง หน้าตา หรือบุคลิกภาพ และแม้จะไม่มีความใกล้เคียงในสิ่งที่กล่าวมานี้อยู่เลย ก็อย่าเพิ่งหมดหวังว่าเขา/เธอนั้นจะไม่ใช่คู่แท้ของเรา เพื่อช่วยให้คู่รักที่เกือบหมดหวังกลับมามีกำลังใจอีกครั้ง นักวิทยาศาสตร์จึงเสนอจุดสังเกตของความเป็นคู่แท้เพิ่มเติมอีกห้าหกอย่าง ได้แก่ ความยาวของนิ้วกลาง ขนาดของใบหู ความยาวของติ่งหู ขนาดรอบคอและรอบข้อมือ ปริมาตรของปอด และอัตราการเผาผลาญสารอาหาร ซึ่งถ้าจะมาเสียเวลานั่งหาว่าสิ่งนี้เธอมีเหมือนฉัน สิ่งนั้นของฉันเหมือนเธอแล้ว คู่รักควรจะเอาเวลาไปดูแลซึ่งกันและกันเพื่อรักษาความสัมพันธ์ให้ยาวนานจะดีกว่า กว่าจะรู้ใจกันต้องใช้เวลา ในการพบเจอกันของคนแปลกหน้าสองคน ซึ่งไม่มีแม้เวลาจะให้ทำความรู้จักกัน “หน้าตา” จึงเป็นสิ่งแรกที่ถูกใช้นำมาตัดสินตัวบุคคล เดวิด เพอร์เรตต์ นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูว์ ในสก๊อตแลนด์ ทำการศึกษาเพื่อที่จะรู้ให้ได้ว่า ต้องมีหน้าตาอย่างไรจึงจะสะกิดใจคน เดวิดได้นำภาพใบหน้าของนักศึกษาที่เข้าทำการทดลองมาทำให้เป็นเพศตรงข้าม แล้วเอาไปปนกับรูปอื่นๆ ก่อนจะให้กลุ่มนักศึกษาเหล่านั้นเลือก พวกเขาส่วนใหญ่เลือกรูปของตัวเองโดยที่ไม่ได้เฉลียวใจเลยว่าหลงรักตัวเองเข้าให้แล้ว เดวิดอธิบายเรื่องนี้ว่า ส่วนหนึ่งอาจมาจากความทรงจำในวัยเด็กที่เห็นภาพใบหน้าเดิมๆ ของบุคคลสองคน คือพ่อและแม่ ซ้ำไปซ้ำมาเป็นประจำทุกวัน จนเกิดเป็นความฝังใจ การจะรัก จะเลือกใครสักคนมาเป็นคู่ หลายคนยังยืนยันว่าเรื่องของเหตุผลสำคัญน้อยกว่าจิตใจ แม้เขา/เธอจะรวย เก่ง ดูดี มีตระกูล แต่ถ้าอารมณ์มันไม่ได้ มันก็ไม่ใช่ ในโลกสีชมพูของความรัก นักวิทยาศาสตร์กลับทำลายความโรแมนติกแบบสามัญชนเสียหมดสิ้นด้วยทฤษฎีรักที่โรแมนติกกว่า คือ รักนางให้ดูที่ยีน การเลือกคู่ครองคือการเลือกบุคคลที่มียีนดีเลิศ ดีกว่า หรือ(อย่างน้อย)ดีเท่ากับเรา มาเพื่อร่วมกันผลิตทารกรุ่นใหม่ที่แข็งแรง ฉลาด หน้าตาดี ไม่มีโรค
ยามแรกรัก น้ำต้มผักก็ว่าหวาน แล้วความรักของเราล่ะ จะยาวนานไปถึงเมื่อไหร่? คำถามนี้ตอบยาก แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีเบาะแสเล็กๆ น้อยๆ พอให้นักวิทยาศาสตร์เอามาอ้างอิงประกอบวิชาหลักการเลือกคู่ขั้นสูงได้ โดยหลักการมีว่า ความน่าจะเป็นของการหย่าร้างสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม เพราะฉะนั้นให้ทำความรู้จักตัวเขา/เธอ และต้นตระกูลของเขา/เธอให้ดีก่อนตัดสินใจ ส่วนผู้ที่คิดจะรักฝาแฝด โปรดจำไว้ว่าชีวิตของฝาแฝดนั้นเป็นแบบแปรผันตรง ไม่ว่าคนหนึ่งจะประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิตคู่มากน้อยแค่ไหน ชีวิตของอีกคนก็จะเป็นไปในทิศทางเดียวกันเสมอ อย่างไรก็ตาม รักยืนยงของแต่ละคู่นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นภูมิหลังของการพบรัก การยอมรับและปรับตัวเข้าหากัน หรือความคาดหวังในตัวของแต่ละคน เป็นต้น
เป็นไปได้เพราะรักเศร้า เหงา ..เพราะรัก อาการนี้อธิบายได้ด้วยผลการศึกษาจากประเทศอิตาลีที่ระบุว่า คนที่กำลังมีความรักมักจะเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder – OCD) อาการคือ สติไม่อยู่กะร่องกะรอย คอยแต่กังวลว่าปิดประตู ปิดหน้าต่างแล้วหรือยัง ชักโครกหรือเปล่า หรือชอบล้างมือบ่อยๆ เพราะคิดว่าไม่สะอาด อะไรทำนองนี้ โรคย้ำคิดย้ำทำมีความสัมพันธ์กับระดับของเซโรโทนิน (Serotonin) แบบปฏิภาคผกผัน ยิ่งเซโรโทนินต่ำ ความเศร้า เหงา โกรธก็จะยิ่งมาก เรื่องนี้ไม่ได้พูดกันลอยๆ มีการวัดระดับเซโรโทนินในกลุ่มทดลองซึ่งเป็นนักศึกษาที่กำลังมีความรัก พบว่าระดับเซโรโทนินในร่างกายของพวกเขาลดลงถึงร้อยละ 40 จากปกติ อย่างไรก็ตาม ผล(เสีย)จากการตกหลุมรักนี้ไม่ได้อยู่ค้ำฟ้า เมื่อเวลาผ่านไปหนึ่งปี (โดยที่นักศึกษาเหล่านี้ยังรักษาความสัมพันธ์ฉันท์คนรักเอาไว้ได้) ระดับเซโรโทนินของพวกเขากลับคืนมาสู่ระดับปกติ ช่างเป็นเรื่องที่น่ายินดียิ่ง เพราะหากระดับเซโรโทนินยังต่ำอยู่ โอกาสที่พวกเขาจะเกรี้ยวกราดอาละวาดยิ่งสูง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ชาย ระดับความต้องการมีเพศสัมพันธ์ก็จะมีมากขึ้นด้วยเช่นกัน แอนเดรียส บาร์เทลส์ และเซเมียร์ เซกี แห่ง University College London ใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า Functional Magnetic Resonance Imaging (fMRI) แสกนและถ่ายรูปสมอง เพื่อศึกษาการทำงานของสมองของผู้ที่กำลังมีความรัก โดยให้ผู้เข้าทำการทดลองทั้งหมดดูรูปของคนรักที่มีความสัมพันธ์ลึกซึ้งและคนที่รู้สึกชอบพอกันฉันท์เพื่อน ทั้งสองคนพบว่าพื้นที่สี่ส่วนของสมองมีการทำงาน และมีเพียงหนึ่งจุดที่ไม่ทำงาน โดยหนึ่งในบริเวณที่สมองทำงานได้แก่บริเวณที่จะมีบทบาทเมื่อเวลาเราเกิดความรู้สึกประหลาดที่ยากจะเข้าใจ และอธิบายไม่ได้ด้วยเหตุผล หรือที่เรียกว่า Gut feelings และอีกส่วนคือจุดที่จะตอบสนองเวลาร่างกายได้รับสารที่มีฤทธิ์กล่อมประสาท ที่ทำให้รู้สึกสบาย สนุกสนาน เหมือนคนเสพกัญชา ส่วนบริเวณที่ไม่ตอบสนองเลยคือสมองส่วนที่เรียกว่า Prefrontal cortex ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมปฏิกริยาสนองตอบร่างกายเวลาที่จิตใจถูกกระตุ้น ในผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ก็พบว่าสมองส่วนนี้จะไม่ทำงานเช่นกัน ด้วยเหตุจากการทดลองดังกล่าว คนบางกลุ่มจึงได้ให้นิยามของ “รัก” ว่าเป็นสารเสพติดชนิดหนึ่ง เมื่อเสพแล้วทำให้สดชื่นรื่นรมย์ เคลิบเคลิ้มเป็นสุข ตื่นตัว มีพละกำลัง การเสพต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จะส่งผลข้างเคียงที่รุนแรงพอตัว ทำให้เกิดอาการประสาทหลอน ชอบฟังเพลงรัก ไม่กินอาหาร ไม่หลับไม่นอน และมีความแปรปรวนทางอารมณ์อยู่ตลอดเวลา ความรุนแรงของอาการที่เกิดจากรัก จะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปริมาณที่เข้าตรงสู่สมอง โดยอาจจะออกฤทธิ์อยู่ได้นานตั้งแต่ 1 วันจนถึงชั่วชีวิต
ใครที่เกิดมาคู่กับฉัน
นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่าฟีโรโมน (Pheromones) จากตัวเรา เป็นกุญแจสำคัญในการคัดสรรคนที่คู่ควรมาเป็นคู่ชีวิต ในเผ่าพันธุ์สัตว์ฟันแทะ (Rodent) ซึ่งมีอวัยวะสำคัญในจมูกที่เรียกว่า Vomeronasal organ หรือ VNO ฟีโรโมนจากปัสสาวะจะมีความสำคัญมาก เพราะมันเป็นสิ่งที่ชี้นำการใช้ชีวิตในกลุ่มสังคมของพวกมัน เมื่อมันพบปะกับตัวอื่นๆ มันก็สามารถรู้เพศของตัวนั้นๆ ได้ทันที และจะนำมาซึ่งการจับคู่ในลำดับต่อไป สัตว์ฟันแทะจะมีฟีโรโมนที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เมื่อถึงเวลาเลือกคู่ มันจะหลีกเลี่ยงคู่ที่มีกลิ่นฟีโรโมนใกล้เคียงกับมัน เพราะต้องการให้ลูกๆ ที่เกิดมาแข็งแรง สดใส ห่างไกลโรค (เช่นเดียวกับลูกมนุษย์) อย่างไรก็ตาม ในพวกเราเหล่ามนุษย์ การที่จะประทับใจใครสักคนด้วยการสูดกลิ่นฟีโรโมนจากปัสสาวะเฉกเช่นเดียวกับหนู มันออกจะเกินงามไปสักหน่อย นักวิทยาศาสตร์บอกว่าแค่ฟีโรโมนจากเหงื่อก็สะกิดเราให้รู้ตัวได้แล้วเคล้าส์ เวเดไคนด์ จากมหาวิทยาลัยเบิร์น ในสวิตเซอร์แลนด์ ทำการทดลองเพี้ยนๆ ขึ้น โดยขอให้ผู้หญิงกลุ่มหนึ่งสูดดมเสื้อที่ยังไม่ได้ซักและเต็มไปด้วยกลิ่นเหงื่อจากผู้ชายหลายคน ปรากฏว่าผู้หญิงแต่ละคนจะประทับใจในกลิ่นเหงื่อของผู้ชายที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่แตกต่างจากพวกเธอ ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎีที่เกิดขึ้นกับสัตว์ฟันแทะ ผลการศึกษาเสื้อยืดอาบเหงื่อเวอร์ชันของ ดร.มาร์ธา แม็คคลินทอค จากมหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก บอกว่าผู้หญิงมักจะสนใจผู้ชายที่มีกลิ่นคล้ายพ่อของตัวเอง ทั้งนี้ด้วยเหตุผล (ที่ไม่ค่อยเห็นแก่ตัวสักเท่าไหร่เลย) ว่าผู้ชายเหล่านี้น่าจะมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี (เหมือนที่เธอได้รับจากพ่อ) และเขาก็ไม่ใช่คนในตระกูล แม้ว่าเธอจะมั่นใจว่าตระกูลของเธออุดมสมบูรณ์ไปด้วยยีนที่ดีเลิศ แต่การแต่งงานกันในวงศ์ญาตินั้นเสี่ยงเกินไปที่จะเลือกปฏิบัติ เพราะนอกจากจะทำให้ลูกที่เกิดมาอ่อนแอหรือถึงตายได้แล้ว ยังอาจทำให้ลักษณะเด่นบางประการหายไป และยังทำให้ความสมบูรณ์ของพันธุ์ลดต่ำลงได้ในรุ่นลูกรุ่นหลาน เป็นไปตามกฎแห่งพันธุกรรม ดังนั้นการเลือกชายที่มีความใกล้เคียงกับพ่อของเธอจึงเป็นทางออกที่สดใสกว่า เพราะนอกจากจะน่ายินดีที่ได้ยีนดีแล้ว ชายนอกตระกูลผู้นั้นยังน่าจะมียีนดีๆ อื่นๆ อยู่ในตัวอีกด้วย กลยุทธ์นี้ช่วยสร้างสมดุลระหว่างความเสี่ยงของการผสมนอกสายสัมพันธ์และความอันตรายของการผสมในสายสัมพันธ์ได้อย่างลงตัวที่สุด
บทส่งท้าย
มีคน (คาดว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์) ให้นิยามของความรักว่า “ความรักเป็นปฏิกริยาทางเคมีที่เกิดขึ้นภายในร่างกายเพื่อตอบสนองความต้องการทางพันธุกรรมกับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม” ไม่ว่ารักจะเป็นอะไรก็ตามในความคิดของคน และแม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะสรรหาข้อเท็จจริงมากมายมาเฉลยปริศนาแห่งรักให้เรารู้ได้ เราก็ต้องเข้าใจอยู่เสมอว่ารักเกี่ยวพันกับสิ่งต่างๆ มากมาย ไม่ใช่แค่วิทยาศาสตร์ แต่ยังรวมถึงปัจจัยทางสังคม วัฒนธรรม รวมทั้งการเรียนรู้ด้วย ความรักเติบโตขึ้นพร้อมๆ กับเรา โดยประสบการณ์เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เรารู้จักเลือกที่จะรัก รู้จักหยุดเพื่อที่จะเริ่มใหม่ และรู้จักสร้างเงื่อนไขเพื่อให้ได้มาซึ่งการดำรงพันธุ์ที่เหมาะสม แม้ว่าปริศนาบางอย่างในโลกแห่งรักจะถูกไขกระจ่างโดยนักวิทยาศาสตร์ ก็ไม่ได้หมายความว่าต่อจากนี้ไปเราจะรักกันด้วยเทคโนโลยี การปล่อยให้ความรักดำเนินไปตามครรลองของมันน่าจะเป็นสิ่งที่ถูกต้องมากกว่า
แหล่งที่มา :
เอทานอลดร. ชุลีรัตน์ บรรจงลิขิตกุล
เอทานอลหรือเอทิล แอลกอฮอล์ (ethyl alcohol,
C2H5OH) มีคุณสมบัติละลายน้ำได้
และดูดซึมได้ดีและเร็วในทางเดินอาหาร โดยเฉพาะที่กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก
และลำไส้ใหญ่ แม้แต่การสูดเข้าทางลมหายใจก็สามารถดูดซึมได้อย่างรวดเร็วทางปอด
เมื่อเอทานอลเข้าสู่กระแสเลือดแล้ว
เกือบทั้งหมดจะถูกออกซิไดส์ที่ตับได้เป็นสารอะเซททาลดีไฮด์ (acetadehyde)
ก่อน แล้วจะถูกออกซิไดส์ต่อไปจนเป็นคาร์บอน ไดออกไซด์ (CO2)
และน้ำ อัตราการออกซิไดส์จะขึ้นกับน้ำหนักตัวและเวลาที่ใช้
โดยจะไม่ขึ้นกับปริมาณของเอทานอลในเลือด ใช้เป็นส่วนประกอบของสุรา เช่น วิสกี้ บรั่นดี และยาดอง เป็นต้น
1. มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system, CNS)
ทำให้มีอาการง่วงซึม คลายความกังวล สูญเสียการทรงตัว ฯลฯ 2. มีผลต่อหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวน้อยลง 3. มีผลทำให้กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle) คลายตัว เอทานอลมีฤทธิ์เรื้อรังต่อร่างกาย 1. มีผลทำลายระบบทางเดินอาหารและเนื้อเยื่อตับ
ถึงขั้นเป็นโรคตับแข็งได้ 2. มีผลต่อระบบประสาท ทำให้เกิดอาการความจำเสื่อม ตกใจง่ายใจสั่น
และมีอาการทางโรคจิต เป็นต้น 3. ทำให้เกิดโรคโลหิตจาง ผู้ป่วยที่ดื่มติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
จะทำให้เลือดออกทางกระเพาะอาหาร จึงป่วยเป็นโรคโลหิตจางชนิดอ่อน 4. มีผลต่อหัวใจและระบบไหลเวียนเลือด คือ ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ
(arrhythmia) และเพิ่มความดันเลือด 5. มีผลทำให้ระบบต่อมไร้ท่อ เกลือแร่ น้ำ และอิเล็กโทรไลต์
ในร่างกายเกิดการเสียดุล 6. เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งที่ปาก หลอดอาหาร กล่องเสียงและตับ
เป็นต้น ระดับของเอทานอลในเลือดที่เริ่มก่อให้เกิดอาการ 1. ระหว่าง 50–100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ผู้ป่วยจะแสดงอาการ พูดมาก หน้าแดง
ประสาทมีการตอบโต้ช้า และการมองเห็นไม่ค่อยดี 2. สูงกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
จะกดระบบประสาทส่วนกลางทำให้การตัดสินใจ และการมองเห็นภาพไม่ดี
ประสาทจะเริ่มเสื่อม 3. ระดับ 300 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ผู้ป่วยมักจะหมดสติ 4. สูงกว่า 500 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ผู้ป่วยอาจตายได้ พิษของเอทานอลมีความสำคัญมาก เพราะนอกจากจะก่อให้เกิด
ผลร้ายแก่ผู้ดื่มเองแล้วยังเป็นตัวก่อปัญหาในสังคมอีกด้วย
โดยเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุและคดีความต่างๆ มากขึ้น เป็นต้น ดังนั้น
เพื่อช่วยให้ตนเองเป็นผู้ที่มีสุขภาพดีและแข็งแรงทั้งยังช่วยลดปัญหาของสังคมควรจะหันมาดื่ม
น้ำผลไม้แทนเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จะดีที่สุด ![]() มารู้จักกับกาลักน้ำ
เคยได้ยินคำว่า " กาลักน้ำ " กันบ้างไหม ในภาษาอังกฤษ เราหมายถึง
siphon หรือ syphon เป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้ของเหลวไหล
ได้อย่างต่อเนื่องจากที่สูงไปสู่ที่ต่ำผ่านท่อ, หลอด หรือสาย
โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าช่วย
การทดลองต่อไปนี้จะช่วยให้เข้าใจหลักการเกี่ยวกับกาลักน้ำมากยิ่งขึ้น
แชมพู เรียบเรียงโดย :ไพศักดิ์ อนันต์นุกุล ในสมัยโบราณมีการนำเอาสิ่งของจากธรรมชาติ เช่น ใบไม้บางชนิด มาใช้ในการช่วยกำจัดสิ่งสกปรกจากเส้นผม นอกเหนือจากการใช้น้ำเพียงอย่างเดียว ต่อมามีการนำสบู่มาใช้ฟอกตัวก็ใช้ทำความสะอาดผมด้วย และได้พัฒนา รูปแบบของสบู่มาเป็นวัตถุเหลวที่ใช้สะดวกเรียกว่า “แชมพู” หรือ “แชมพูสบู่” แชมพูสบู่นี้เมื่อใช้กับน้ำกระด้าง แคลเซียมและแมกนี-เซียม ในน้ำกระด้างจะทำปฏิกิริยากับสบู่เกิดเป็นตะกอนที่ไม่ละลายน้ำ เรียกว่า ไคลสบู่ (soapscum)มีลักษณะเป็นขุยเหนียวสีเทาๆเกาะอยู่บนเส้นผม ทำให้ผมเหนียวเหนอะหนะ หวีไม่ออกเมื่อผมแห้งก็ดูหยาบกระด้าง ไม่มีเงา ต้องใช้น้ำส้มสายชูหรือน้ำผลไม้ประเภทส้ม เช่น มะกรูด มะนาว มะขาม ผสมน้ำราดหลังจากสระผม เพื่อละลายไคลสบู่ทำให้ผมสะอาด หรือแก้โดย การเติมสารที่ช่วยจับแคลเซียมหรือแมกนีเซียมลงในแชมพูด้วยสารพวกนี้ ได้แก่ พอลิฟอสเฟต (polyphosphate) หรือเกลือเอทิลีน ไดอามีนเตตระอะ-ซีเตต (ethylene-diamine tetra acetate) ในปี พ.ศ. 2473 ได้มีการสังเคราะห์สารทำความสะอาดแบบใหม่ ที่เรียกว่าสารซักฟอก (detergent) สารนี้ได้รับความนิยมสูง และได้นำมาใช้เป็นส่วนประกอบของแชมพูด้วย สารซักฟอกเป็นสารอินทรีย์เคมี ที่มีโครงสร้างซับซ้อน เมื่อใช้ทำแชมพูจะได้แชมพูที่มีประสิทธิภาพดีไม่มี ปัญหาเรื่องไคลสบู่ สารตัวนี้มีคุณสมบัติในการลดแรงตึงผิวระหว่างน้ำกับ ฝุ่นละออง หรือไขมันและความสกปรกอื่นๆ บนผิวของสิ่งที่เราต้องการ ทำความสะอาด ทำให้สารเหล่านั้นหลุดจากผิวเดิมลงไปอยู่ในน้ำได้ สารซักฟอกมีหลายชนิด บางชนิดไม่เหมาะสมที่จะนำมาทำแชมพูเพราะ เมื่อเข้าตาจะทำให้เกิดการระคายเคือง แสบตา และทำให้ตาเสียได้ นอกจากส่วนประกอบที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยังมีส่วนประกอบอื่นๆ อีกได้แก่ -การใส่สี เพื่อให้เหมาะสมกับชนิดของแชมพู และคำนึงถึงความ สวยงามน่าใช้ด้วย เช่น แชมพูไข่ก็จะเป็นสีเหลือง แชมพูที่มีส่วนผสมจากพืช ก็มักจะใส่สีเขียว เป็นต้น -การเติมสารกันเสีย เพื่อป้องกันการเสียของส่วนผสมบางชนิด เช่น สารโปรตีนและป้องกันไม่ให้มีเชื้อจุลินทรีย์แปลกปลอมเกิดขึ้น เพราะแชมพู ที่ดีทุกชนิดจะต้องไม่มีเชื้อจุลินทรีย์ปะปนอยู่เลย -การเติมสารที่ช่วยในการเพิ่มฟอง คนส่วนมากยังมีความรู้สึกว่า แชมพูที่มีฟองมากจะทำความสะอาดได้ดีกว่าแชมพูที่มีฟองน้อย แต่ที่จริงแล้ว ฟองไม่ได้มีส่วนในการทำความสะอาดแต่อย่างใด -การปรับให้มีความหนืดที่เหมาะสม เพื่อความสะดวกในการเทใช้ หน้าที่ของสารในแชมพู หน้าที่หลักของแชมพูคือ การชะล้างเอาเศษฝุ่นละอองและน้ำมัน ส่วนเกินออกไปจากเส้นผมและหนังศีรษะ แต่ในวงการธุรกิจการค้ามีการ ผลิตแชมพูออกมาหลายประเภท บริษัทผู้ผลิตต่างก็เอาสารเคมีที่อ้างว่า มีประโยชน์ต่อสุขภาพผมใส่ผสมไปกับแชมพู แต่ที่จริงแล้วธรรมชาติของ หนังศีรษะของคนที่ปกติไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีเพื่อช่วยบำรุง เพราะอาจเกิดอาการแพ้ได้ เช่น การเติมพวกลาโนลิน บาลซัม หรือกระทั่งน้ำมันพืชสำหรับ สูตรผมแห้ง โดยที่หวังว่าน้ำมันปรับสภาพเหล่านี้จะไปหล่อเลี้ยงเส้นผม ให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ แต่หากลาโนลินหรือบาลซัมไม่สามารถไปชโลมส่วน ของเส้นผมชั้นนอก ที่เรียกว่า เคลือบผิวผม (cuticle) ของผมอย่างสมบูรณ์ สภาพที่ออกมาก็คือผมยุ่งเหยิง เคลือบผิวของผมจะเกิดรอยยับยู่ยี่ ผมจะหงิกงอไม่เรียบ หวีแล้วสะดุดบ่อย ไม่ราบรื่น และยังทำให้ผมด้าน ไม่สะท้อนแสง หรือไม่เป็นเงางามอย่างที่นิยมเรียกกัน สารเคมีประเภทด่างจะไปทำให้ผิวนอกของเคลือบผิวผมไม่เรียบ ส่วน สารที่เป็นกรดอ่อนๆ เช่น น้ำมะนาว จะช่วยให้ผิวนอกของเคลือบผิวผมเรียบ จากผลอันนี้ บริษัทผู้ผลิตหลายรายได้นำไปใช้ในการปรับสภาพความเป็นกรด ของแชมพู โดยการเติมกรดซิตริกเพื่อลดความเป็นด่างของแชมพู และให้เหมาะกับหนังศีรษะซึ่งมีสภาพเป็นกรดอ่อนๆ หลังจากสระผม ไขมันและฝุ่นละอองต่างๆ ที่เกาะอยู่จะถูกกำจัด ออกไป และเส้นผมจะมีประจุไฟฟ้าสถิตเป็นลบ ทำให้เส้นผมแต่ละเส้นเกิด แรงผลักดันกัน ทำให้ผมฟูและจัดทรงได้ยาก ดังนั้นจึงมีการใช้ครีมนวด (conditioner) ขึ้นมา ครีมนวดผมนี้จะทำให้เส้นผมไม่มีประจุ (neutralize) และ ชดเชยไขมันที่สูญเสียมากเกินไปจากการสระผม ครีมนวดผมบางชนิดมี ส่วนประกอบเป็นสารพวกโปรตีน และมีสารพวกพอลิเมอร์ที่จะทำหน้าที่ เกาะยึดกับเส้นผม แต่สารโปรตีนนี้จะมีผลต่อภายในเส้นผมน้อยมาก เพราะ ขีดจำกัดในการดูดซึมของเส้นผมนั่นเอง ครีมนวดผมจะเคลือบเส้นผม ทำให้เป็นเงาและจัดทรงได้ง่าย แชมพูบางชนิดมีการเติมส่วนประกอบ ที่ทำหน้าที่เช่นเดียวกับครีมนวดผมไว้ด้วย แชมพูชนิดนี้เรียกว่า แชมพู ปรับสภาพเส้นผม (conditioning shampoo) แชมพูขจัดรังแค (anti dandruff shampoo) เป็นแชมพูชนิดหนึ่งที่มี ความสำคัญในปัจจุบัน โดยมีส่วนประกอบที่สามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดรังแคได้ ส่วนประกอบนี้ได้แก่ zinc pyrithion, selenium sulfide, coal tar เป็นต้น แต่ตัวที่นิยมใช้กันมากที่สุดได้แก่ zinc pyrithion หรือบางทีภาษาในทางการค้าเรียก ZPT ส่วนแชมพูสำหรับเด็กนั้น นอกจากจะเป็นแชมพูที่อ่อนแล้ว ยังเติมสารที่ไม่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองเมื่อเข้าตาอีกด้วย เส้นผมต้องการอาหารเสริมจริงหรือ เส้นผมเป็นเซลล์ที่ตายแล้วประกอบไปด้วยสารโปรตีน พวกเคราติน เช่นเดียวกับเล็บมือ เล็บเท้าที่ขดขมวดโมเลกุลกันเข้าเป็นเหมือนเส้นด้าย แบ่งเป็น 2 ชั้นใหญ่ๆ คือ ชั้นนอก เรียกว่า เคลือบผิวผม ลักษณะเหมือน เซลล์ที่เป็นเกล็ดซ้อนกันเป็นชั้นๆ เหมือนการมุงกระเบื้องเป็นตัวปกป้อง คุ้มภัยให้ผมชั้นในที่เรียกว่า คอร์เทกซ์ (cortex) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ยืดหยุ่น ได้ ประกอบไปด้วยเซลล์เม็ดสี (pigment) มากมาย ผมจะมีสีอะไรขึ้นอยู่กับ เซลล์เม็ดสีที่อยู่ในชั้นนี้ ซึ่งก็ต้องย้อนกลับไปถึงพันธุกรรมว่าเป็นอย่างไร อีกต่อหนึ่ง แชมพูที่สระผมโดยทั่วๆ ไปนั้น จะมีผลเฉพาะชั้นเคลือบผิวผมเท่านั้น ดังนั้นการสระผมบ่อยๆ จึงไม่มีผลเสียต่อเส้นผม แชมพูหลายชนิดที่มีส่วน ประกอบหรือโฆษณาว่ามีส่วนประกอบที่เป็นสารอาหารรวมอยู่ด้วยนั้น จะไม่ สามารถไปหล่อเลี้ยงเส้นผมที่ตายแล้วได้เลย ซึ่งการที่สารอาหารจะไปหล่อ เลี้ยงเส้นผมได้โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เท่านั้น ดังนั้นจะเห็นว่า คนที่ขาดอาหารหรือสุขภาพไม่ดี ก็จะมีลักษณะของเส้นผมที่ไม่ดีตามไปด้วย แม้จะใช้ยารักษาเส้นผมมากมายอย่างไรก็ตามก็จะไม่ช่วยให้ดีขึ้นได้ บริเวณโคนผมใต้หนังศีรษะจะมีต่อมไขมันซึ่งทำหน้าที่ผลิตไขมันออก มาเคลือบเส้นผม ทำให้ผิวเซลล์เกล็ดชั้นเคลือบผิวผมเรียบ ทำให้ผมเป็นเงา ถ้ามีไขมันน้อยเกินไปจะทำให้ผมแห้ง แต่ถ้ามีไขมันมากเกินไปจะทำให้ ฝุ่นละอองและแบคทีเรียมาเกาะตามเส้นผมและหนังศีรษะได้ง่าย สุขภาพของเส้นผมจะขึ้นกับสภาพของเคลือบผิวผม เมื่อผมยาว ออกมามากๆ เคลือบผิวผมจะแยกออกจากกันทำให้ผมแตกปลาย นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอีกมากที่จะเป็นผลเสียต่อเส้นผม เป็นต้นว่าน้ำยาดัดผม ยาย้อมผม ความร้อนจากการดัดหรืออบผม การหวีหรือแปรงผมอย่างรุนแรงเกินไป โดนคลอรีนในสระว่ายน้ำหรือโดนแดดมากจนเกินไป แชมพูหลายๆ ชนิดจึงใส่ส่วนผสมบางอย่างที่ทำให้เส้นผมที่เสียกลับมีสภาพที่ดูดีขึ้น ส่วนผสมนี้อาจเป็นสารพวกไขมัน ซึ่งจะมาทดแทนไขมันตามธรรมชาติ ที่สูญเสียไป หรืออาจเป็นสารพวกโปรตีน ซึ่งจะเคลือบเส้นผม ทำให้ ดูหนาและนุ่มขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้เส้นผมที่แตกปลายกลับสู่สภาพ ที่ดีได้ชั่วคราว แต่วิธีการที่จะรักษาเส้นผมแตกปลายให้ได้ผลดีที่สุดคือตัดผม ส่วนที่แตกปลายนั้นออกเสีย จากหน้าที่หลักและองค์ประกอบต่างๆ ของแชมพูดังได้กล่าวมาแล้ว คงมีส่วนช่วยให้ตัดสินใจได้แล้วว่าจะเลือกแชมพูที่มีคุณสมบัติเช่นไร จึงจะเหมาะต่อสภาพผมบนศีรษะของแต่ละคน ถ้าใช้แชมพูยี่ห้อใดแล้ว มีความรู้สึกดีอยู่แล้ว ไม่มีอาการแพ้ต่อสารเคมีที่เป็นส่วนผสมอยู่ในแชมพูนั้นๆ ใช้แล้วไม่มีอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับหนังศีรษะหรือเส้นผม เช่น คันศีรษะ ผมร่วง หรือมีรังแคมากขึ้น ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนไปใช้ยี่ห้อใหม่ๆ ตามคำโฆษณา ไม่จำเป็นว่าแชมพูราคาแพงๆ จะดูแลรักษาและทำความสะอาดเส้นผมได้เกลี้ยงเกลากว่าแชมพูราคาถูกๆ นักจิตวิทยากล่าวว่า การเลือกใช้แชมพูราคาแพงเป็นการตอบสนองความต้องการทางด้าน จิตใจมากกว่าความต้องการของเส้นผม
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
กระทรวงวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี
|
คำคม จาก Reader' Digest พฤษภาคม 51 ![]() |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รอบรู้เรื่องทองคำ ราชาแห่งโลหะ Rheology รีโอโลยี ศาสตร์ที่สัมผัสได้
จากดวงคนถึงดวงดาว
{mospagebreak} หน้า 2
{mospagebreak} หน้า 3
{mospagebreak} หน้า 4
จุดเปลี่ยนระบบสุริยะ : สถานภาพใหม่ของดาวพลูโต
{mospagebreak} หน้า 2
{mospagebreak} หน้า 3
{mospagebreak} หน้า 4
{mospagebreak} หน้า 5
|
ศัพท์วิทยาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตสถาน