index 228
|
อายุถ้ำ
ปัญหาอย่างหนึ่งที่กำลังเป็นที่สนใจของนักธรณีวิทยามากก็คือ
เราจะวัดอายุของถ้ำได้อย่างไร คลิกครับ
เอกสาร PDF
หนังสือ Principia
ใน
Principia นิวตัน
ได้อธิบายพฤติกรรมของดาวในสุริยจักรวาล
ว่ามันเคลื่อนที่ได้เพราะแรงกระทำสองแรง คือ
.......... คลิกครับ
เอกสาร PDF
จัดทำโดย ครูจุฑามาศ วงษ์สวาท โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี แบบจำลองอะตอมของดอลตัน
John Dalton
แบบจำลองอะตอมของดอลตัน ในปี พ.ศ. 2346 (ค.ศ. 1803) จอห์น ดอลตัน (John Dalton) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษได้เสนอทฤษฎีอะตอมเพื่อใช้อธิบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสารก่อนและหลังทำปฏิกิริยา รวมทั้งอัตราส่วนโดยมวลของธาตุที่รวมกันเป็นสารประกอบ ซึ่งสรุปได้ดังนี้ 1. ธาตุประกอบด้วยอนุภาคเล็ก ๆ หลายอนุภาค อนุภาคเหล่านี้เรียกว่า อะตอม ซึ่งแบ่งแยกไม่ได้ และทำให้สูญหายไม่ได้ 2. อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันมีสมบัติเหมือนกัน เช่นมีมวลเท่ากัน แต่จะมีสมบัติต่างจากอะตอมของธาตุอื่น 3. สารประกอบเกิดจากอะตอมของธาตุมากกว่าหนึ่งชนิดทำปฏิกิริยาเคมีกันในอัตราส่วนที่เป็นเลขลงตัวน้อย ๆ ทฤษฎีอะตอมของดอลตันใช้อธิบายลักษณะและสมบัติของอะตอมได้เพียงระดับหนึ่ง แต่ต่อมานักวิทยาศาสตร์ค้นพบข้อมูลบางประการที่ไม่สอดคล้องกับทฤษฎีอะตอมของ ดอลตัน เช่น พบว่าอะตอมของธาตุชนิดเดียวกันอาจมีมวลแตกต่างกันได้ อะตอมสามารถแบ่งแยกได้ จอห์น ดาลตัน (John Dalton) นักวิทยาศาสตร์ สาขาเคมี
จอห์น ดาลตัน : John Dalton เกิดวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1766 ที่เมืองคอกเกอร์เมาท์ ประเทศอังกฤษ (England) เสียชีวิต วันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1844 ที่เมืองแมนเชสเตอร์ (Manchester) ประเทศอังกฤษ ผลงาน - ทฤษฎีอะตอม (Atomic Theory) - ค้นพบกฎความดันย่อย - อธิบายสาเหตุของตาบอดสี จอห์น ดาลตันเป็นนักฟิสิกส์ และนักเคมีชาวอังกฤษผู้ค้นพบทฤษฎีอะตอม ซึ่งทำให้เขามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในวงการวิทยาศาสตร์มากขึ้น จอห์น ดาลตัน เกิดเมื่อวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1766
ที่เมืองคอกเกอร์เมาท์ ประเทศอังกฤษ ในครอบครัวที่ยากจน บิดาของเขาชื่อโจเซฟ จอห์น
จอห์น จอห์น ดาลตัน (Joseph Dalton) มีอาชีพเป็นช่างทอผ้า
เขามีความสนใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่เด็กและตั้งใจว่าเมื่อโตขึ้นจะต้องเป็นนักวิทยาศาสตร์ให้ได้
แล้วความตั้งใจของเขาก็เป็นจริง จอห์น
ดาลตันเข้ารับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนของจอห์นเฟลทเชอร์ (John Fletcher)
ซึ่งใช้โรงสวดที่ทำพิธีกรรมทางศาสนา
เป็นสถานที่ทำการเรียนการสอนและเมื่อมีผู้ต้องการใช้โรงสวดนี้ประกอบพิธีกรรม
โรงเรียนก็ต้องปิดทำการเมื่อโรงเรียนหยดจอห์น
ดาลตันมักใช้เวลาไปกับการหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องวิทยาศาสตร์อยู่เสมอไม่เหมือนกับเด็กคนอื่นเมื่อโรงเรียนหยุดก็มักจะพากันเที่ยวเล่นอย่างสนุกสนาน ต่อมาในปี ค.ศ. 1778 โรงเรียนแห่งนี้ต้องหยุดกิจการลง
ดังนั้นจอห์น ดาลตันจึงมีความคิดที่จะเปิดโรงเรียนขึ้นบ้าง
โดยใช้โรงนาเป็นสถานที่เรียนจอห์น ดาลตันเก็บค่าเรียนเป็นรายคน โดยเก็บคนละ 6 เพนนี
(Penny) ต่อสัปดาห์ แต่ต่อมาไม่นานโรงเรียนของจอห์น ดาลตันก็ต้องปิดกิจการลง
เนื่องจากชาวบ้านต้องการใช้สถานที่สำหรับประกอบพิธีทางศาสนา
ภายหลังจากที่โรงเรียนปิดจอห์น
ดาลตันได้นำเงินที่เกิดสะสมไว้เปิดร้านจำหน่ายหนังสือ และออกวารสาร ต่อมาในปี ค.ศ.
1781 จอห์น ดาลตันได้เข้าทำงานเป็นครูอีกครั้งหนึ่งที่โรงเรียน
ของพี่ชายเขาเองที่เมืองเคนดอล วิทยาศาสตร์แขนงที่จอห์น ดาลตันให้ความสนใจมากที่สุด คือ อุตุนิยมวิทยา (Meteorology) จอห์น ดาลตันได้สร้างเครื่องมือเพื่อช่วยในการทดลองครั้งนี้ด้วย ได้แก่ บารอริเตอร์ (Barometer) ใช้สำหรับวัดความดันอากาศ เทอร์มอมิเตอร์ (Thermometer1) ใช้สำหรับวัดอุณหภูมิ และไฮโกรมิเตอร์(Hygrometer) ใช้สำหรับวัดความชื้นในอากาศ จอห์น ดาลตันใช้เครื่องมือทั้ง 3 ชนิดนี้วัดสภาพความเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ และจดบันทึกไว้อย่างละเอียดเป็นประจำทุกวัน จนกระทั่วเขาเสียชีวิต รายงานเรื่องนี้ของจอห์น ดาลตันมีมากมาย เขาได้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดลงในหนังสือชื่อว่า การสังเกตการณ์ทางอุตุนิยมวิทยา ซึ่งออกตีพิมพ์เผยแพร่ในปี ค.ศ. 1783 ในปี ค.ศ. 1792 จอห์น ดาลตันได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยา เขาศึกษาจนมีความชำนาญด้านนี้เป็นอย่างดี และได้ตีพิมพ์หนังสือออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า ออร์ทัส ซิคคัส ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับพันธุ์พืชและสัตว์ มีจำนวน ถึง 11 เล่ม จากผลงานชิ้นดังกล่าวจอห์น ดาลตันได้รับเชิญจากวิทยาลัยนิวคอลเลจ แมนเชสเตอร์ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์สอนวิชาปรัชญาธรรมชาติและคณิตศาสตร์ ต่อมาจอห์น ดาลตันได้ย้านไปอยู่ที่เมืองยอร์ค ที่นี่เขาได้ทำงานเป็นครูพิเศษสอนวิชาคณิตศาสตร์โดยเก็บค่าสอนเป็นรายชั่วโมงและในระหว่างนี้เขาได้ทำการทอลงเกี่ยวกับเคมี และในปี ค.ศ. 1808 จอห์น ดาลตันได้ตีพิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งมีชื่อว่า A New System of ChemicalPhilosophy เล่มที่ 1 เป็นเรื่องเกี่ยวกับทฤษฎีอะตอม (Atomic Theory) โดยจอห์น ดาลตันเป็นคนแรกที่ค้นพบทฤษฎีนี้ในระหว่างปี ค.ศ. 1801 - 1803 ต่อมาในปี ค.ศ. 1810 จอห์น ดาลตันได้พิมพ์หนังสือเล่มที่ 2 ชื่อว่า A New System of Chemical Philosophy จากหนังสือทั้ง 2 เล่มนี้ สามารถอธิบายสมบัติของอะตอมได้ชัดเจนที่สุด จอห์น ดาลตันสรุปเกี่ยวกับทฤษฎีอะตอมไว้ดังนี้
นอกจากนี้เขายังใช้สัญลักษณ์แทนอะตอมของธาตุ
และสารประกอบด้วย เช่น แทน ไฮโดรเจน, แทนออกซิเจน, แทน คาร์บอน, แทน
คาร์บอนไดออกไซด์, แทน คาร์บอนมอนอกไซด์ จากการค้นพบดังกล่าว จึงถือได้ว่าจอห์น
ดาลตันเป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่ค้นพบสมบัติของอะตอม และกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ
เกี่ยวกับอะตอม หลังจากนั้นจอห์น ดาลตันได้ทดลองเรื่องความดันของก๊าซ
จอห์น ดาลตันได้ตั้งกฎว่าด้วยความดันย่อย (Dalton's Low of Partial
Pressures)โดยมีใจความสำคัญว่า เมื่อธาตุถูกกดดันมาก ๆ
จะเกิดการเสียดสีกันของโมเลกุลทำให้เกิดความร้อน
ต่อจากนั้นเขาได้ตั้งกฎเกี่ยวกับการระเหยของของเหลว (Evaporation of Liquids)
ภายหลังจากการทดลอง จอห์น ดาลตันพบว่า "ของเหลวจะระเหยกลายเป็นไอได้มากหรือน้อย
มีอุณหภูมิเป็นตัวแปรสำคัญเพียงอย่างเดียวเท่านั้น" นอกจากนี้เขายังค้นคว้าเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้ตาบอดสี
(Color - Blindness)
เขาได้อธิบายสาเหตุของตาบอดสีว่าเกิดจากความผิดปกติของสารที่ทำหน้าที่แปรผลของสี
การที่จอห์น ดาลตันค้นคว้าเรื่องนี้ เนื่องจากน้องชายของเขาตาบอดสีนั่นเอง จอห์น ดาลตันเสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1844 ที่เมืองแมนเชสเตอร์ (Manchester) ประเทศอังกฤษ การนำไฟฟ้าของแก๊ส ปกติแก๊สเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ไม่ดี ปรากฏการณ์ที่ยืนยันได้ว่าแก๊สนำไฟฟ้าได้ก็คือการเกิดฟ้าแลบ ฟ้าผ่า แก๊สนำไฟฟ้าได้ดีขึ้นเมื่อแก๊สมีความดันต่ำ ๆ และมีความต่างศักย์ของขั้วไฟฟ้าสูง ๆ แก๊สนำไฟฟ้าได้เพราะแก๊สสามารถแตกตัวเป็นไอออนบวกและอิเล็กตรอน เมื่ออยู่ในสนามไฟฟ้าศักย์สูง ๆ เช่น แก๊สฮีเลียม (He) และแก๊สไฮโดรเจน (H2) จะเกิดการแตกตัวดังสมการ
He(g)
H(g)
จัดทำโดย ครูจุฑามาศ วงษ์สวาท โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี แบบจำลองอะตอมของทอมสัน
รางวัลโนเบล (Nobel Prize) สาขาฟิสิกส์
ในปีค.ศ. 1906
เซอร์ โจเซฟ จอห์น ทอมสัน (J.J Thomson) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษได้สนใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในหลอดรังสีแคโทด จึงทำการทดลองเกียวกับการนำไฟฟ้าของแก๊สขึ้นในปี พ.ศ. 2440 (ค.ศ. 1897) และได้สรุปสมบัติของรังสีไว้หลายประการ ดังนี้ 1. รังสีแคโทดเดินทางเป็นเส้นตรงจากขั้วแคโทดไปยังขั้วแอโนด เนื่องจากรังสีแคโทดทำให้เกิดเงาดำของวัตถุได้ ถ้านำวัตถุไปขวางทางเดินของรังสี 2. รังสีแคโทดเป็นอนุภาคที่มีมวล เนื่องจากรังสีทำให้ใบพัดที่ขวางทางเดินของรังสีหมุนได้เหมือนถูกลมพัด 3. รังสีแคโทดประกอบด้วยอนุภาคที่มีประจุลบ เนื่องจากเบี่ยงเบนเข้าหาขั้วบวกของสนามไฟฟ้า จากผลการทดลองนี้ ทอมสันอธิบายได้ว่า อะตอมของโลหะที่ขั้วแคโทดเมื่อได้รับกระแสไฟฟ้าที่มีความต่างศักย์สูงจะปล่อยอิเล็กตรอนออกมาจากอะตอม อิเล็กตรอนมีพลังงานสูง และเคลื่อนที่ภายในหลอด ถ้าเคลื่อนที่ชนอะตอมของแก๊สจะทำให้อิเล็กตรอนในอะตอมของแก๊สหลุดออกจากอะตอม อิเล็กตรอนจากขั้วแคโทดและจากแก๊สซึ่งเป็นประจุลบจะเคลื่อนที่ไปยังขั้วแอโนด ขณะเคลื่อนที่ถ้ากระทบฉากที่ฉาบสารเรืองแสง เช่น ZnS ทำให้ฉากเกิดการเรืองแสง ซึ่งทอมสันสรุปว่ารังสีแคโทดประกอบด้วยอนุภาคที่มีประจุลบเรียกว่า อิเล็กตรอน และยังได้หาค่าอัตราส่วนประจุต่อมวล (e/m) ของอิเล็กตรอนโดยใช้สยามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าช่วยในการหา ซึ่งได้ค่าประจุต่อมวลของอิเล็กตรอนเท่ากับ 1.76 x 108 C/g ค่าอัตราส่วน e/m นี้จะมีค่าคงที่ ไม่ขึ้นอยู่กับชนิดของโลหะที่เป็นขั้วแคโทด และไม่ขึ้นอยู่กับชนิดของแก๊สที่บรรจุอยู่ในหลอดรังสีแคโทด แสดงว่าในรังสีแคโทดประกอบด้วยอนุภาคไฟฟ้าที่มีประจุลบเหมือนกันหมดคือ อิเล็กตรอน นั่นเอง ทอมสันจึงสรุปว่า
การค้นพบโปรตอน ในปี พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1866) ออยเกน โกลด์ชไตน์ นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ทำการทดลองโดยเจาะรูที่ขั้วแคโทดในหลอดรังสีแคโทด พบว่าเมื่อผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในหลอดรังสีแคโทดจะมีอนุภาคชนิดหนึ่งเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงไปในทิศทางตรงกันข้ามกับการเคลื่อนที่ของรังสีแคโทดผ่านรูของขั้วแคโทด และทำให้ฉากด้านหลังขั้วแคโทดเรืองแสงได้ โกลด์ชไตน์ได้ตั้งชื่อว่า รังสีแคแนล (canal ray) หรือ รังสีบวก (positive ray) สมบัติของรังสีบวกมีดังนี้ 1. เดินทางเป็นเส้นตรงไปยังขั้วแคโทด 2. เมื่อผ่านรังสีนี้ไปยังสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า รังสีนี้จะเบี่ยงเบนไปในทิศทางตรงข้ามกับรังสีแคโทด แสดงว่ารังสีนี้ประกอบด้วยอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเป็นบวก 3. มีอัตราส่วนประจุต่อมวลไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับชนิดของแก๊สในหลอด และถ้าเป็นแก๊สไฮโดรเจนรังสีนี้จะมีอัตราส่วนประจุต่อมวลสูงสุด เรียกอนุภาคบวกในรังสีแคแนลของไฮโดรเจนว่า โปรตอน 4. มีมวลมากกว่ารังสีแคโทด เนื่องจากความเร็วในการเคลื่อนที่ต่ำกว่ารังสีแคโทด ทอมสันได้วิเคราะห์การทดลองของโกลด์ ชไตน์ และการทดลองของทอมสัน จึงเสนอแบบจำลองอะตอมว่า
จัดทำโดย ครูจุฑามาศ วงษ์สวาท โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี การหาประจุและมวลของอิเล็กตรอน ในปี พ.ศ. 2452 (ค.ศ. 1909) รอเบิร์ต แอนดรูส์ มิลลิแกน (Robert Millikan) นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกาได้ทำการทดลองชื่อ การทดลองหยดน้ำมันของมิลลิแกน (Millikan oildrops experiment) หาประจุของอิเล็กตรอนได้ มีค่าเท่ากับ 1.6 x 1019 คูลอมบ์
การทดลองหยดน้ำมันของมิลลิแกน
ดูภาพยนตร์การทดลองหยดน้ำมันของมิลลิแกน
LEARNING OBJECT การทดลองของมิลลิแกน การทดลองหยดน้ำมัน ตอนที่ 1 คลิกค่ะ การทดลองหยดน้ำมัน ตอนที่ 2 คลิกค่ะ การทดลองหยดน้ำมัน ตอนที่ 3 คลิกค่ะ การทดลองหยดน้ำมัน ตอนที่ 4 คลิกค่ะ เมื่อทราบค่าประจุไฟฟ้าก็สามารถคำนวณมวลของอิเล็กตรอนได้โดยอาศัยอัตราส่วน e/m ที่ทอมสันหาไว้ ดังนี้
m =
m =
จัดทำโดย ครูจุฑามาศ วงษ์สวาท โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ดนปี พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) เซอร์ เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด (Sir Ernest Rutherford) ได้ศึกษาแบบจำลองอะตอมของทอมสัน และเกิดความสงสัยว่าอะตอมจะมีโครงสร้างตามแบบจำลองของทอมสันจริงหรือไม่ โดยตั้งสมมติฐานว่า ถ้าอะตอมมีโครงสร้างตามแบบจำลองของทอมสันจริง ดังนั้นเมื่อยิงอนุภาคแอลฟาซึ่งมีประจุไฟฟ้าเป็นบวกเข้าไปในอะตอม แอลฟาทุกอนุภาคจะทะลุผ่านเป็นเส้นตรงทั้งหมดเนื่องจากอะตอมมีความหนาแน่นสม่ำเสมอเหมือนกันหมดทั้งอะตอม เพื่อพิสูจน์สมมติฐานนี้ รัทเทอร์ฟอร์ดได้ทำการทดลองยิงอนุภาคแอลฟาไปยังแผ่นทองคำบาง ๆ โดยมีความหนาไม่เกิน 104 cm โดยมีฉากสารเรืองแสงรองรับ ปรากฏผลการทดลองดังนี้ 1. อนุภาคส่วนมากเคลื่อนที่ทะลุผ่านแผ่นทองคำเป็นเส้นตรง 2. อนุภาคส่วนน้อยเบี่ยงเบนไปจากเส้นตรง 3. อนุภาคส่วนน้อยมากสะท้อนกลับมาด้านหน้าของแผ่นทองคำ
Ernest_Rutherford
ถ้าแบบจำลองอะตอมของทอมสันถูกต้อง เมื่อยิงอนุภาคแอลฟาไปยังแผ่นทองคำบาง ๆ นี้ อนุภาคแอลฟาควรพุ่งทะลุผ่านเป็นเส้นตรงทั้งหมดหรือเบี่ยงเบนเพียงเล็กน้อย เพราะอนุภาคแอลฟามีประจุบวกจะเบี่ยงเบนเมื่อกระทบกับประจุบวกที่กระจายอยู่ในอะตอม แต่แบบจำลองอะตอมของทอมสันอธิบายผลการทดลองของรัทเทอร์ฟอร์ดไม่ได้ รัทเทอร์ฟอร์ดจึงเสนอแบบจำลองอะตอมขึ้นมาใหม่ดังนี้
แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด
การอธิบายโครงสร้างอะตอมด้วย แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด จากแบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ดสามารถอธิบายได้ว่า เมื่อผ่านอนุภาคแอลฟาซึ่งมีประจุบวกและมวลมากให้เดินทางเป็นเส้นตรงไปยังแผ่นทองคำ อนุภาคแอลฟาส่วนมากจะเคลื่อนที่ผ่านไปยังที่ว่างซึ่งมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่ แต่อิเล็กตรอนมีมวลน้อยมากจึงไม่มีผลต่อการเคลื่อนที่ของอนุภาคแอลฟา อนุภาคแอลฟาบางส่วนที่เคลื่อนที่ใกล้นิวเคลียสทำให้เบี่ยงเบนออกจากที่เดิม และอนุภาคที่กระทบกับนิวเคลียสซึ่งมีประจุบวกและมวลมากจึงสะท้อนกลับ การที่อนุภาคแอลฟาจำนวนน้อยมากสะท้อนกลับทำให้เชื่อว่านิวเคลียสมีขนาดเล็กมาก
ทำแบบทดสอบเรื่องแบบจำลองอะตอม ชุดที่ 1
รางวัลโนเบล (Nobel Prize) สาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ.1935 United Kingdom มีชีวิตอยู่ระหว่างปี ค.ศ.1891 -1974 ในการทดลองของรัทเทอร์ฟอร์ดสรุปว่าอะตอมมีโปรตอนและอิเล็กตรอนเป็นองค์ประกอบ ดังนั้น การคิดมวลอะตอมควรคิดจากมวลโปรตอนรวมกับมวลของอิเล็กตรอน แต่มวลของอิเล็กตรอนน้อยมาก การคิดมวลอะตอมจึงคิดจากมวลโปรตอน พบว่ามวลโปรตอน 1 โปรตอนเท่ากับ 1.7 x 1024 กรัม หรือคิดเป็น 1 หน่วยมวลอะตอม (1 amu = 1 atomic mass unit) ดังนั้นมวลอะตอมควรมีค่าเท่ากับหรือใกล้เคียงกับจำนวนโปรตอน แต่จากการทดลองกลับพบว่ามวลอะตอมจริง ๆ มีค่าเป็น 2 เท่าหรือมากกว่า 2 เท่าของจำนวนโปรตอน ในปี พ.ศ. 2463 (หรือค.ศ.1920) รัทเทอร์ฟอร์ดได้เสนอความเห็นว่าน่าจะมีอนุภาคอีกชนิดหนึ่งที่เป็นกลางทางไฟฟ้าซึ่งมีมวลใกล้เคียงกับมวลโปรตอน ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) เจมส์ แชดวิก (James Chadwick) ได้ค้นพบอนุภาคอีกชนิดหนึ่ง ไม่มีประจุไฟฟ้า และตั้งชื่อว่า นิวตรอน (neutron) นิวตรอนมีมวลมากกว่าโปรตอนเล็กน้อย โดยมีมวลเท่ากับ 1.675 x 1024 กรัม และรัทเทอร์ฟอร์ดได้เสนอว่านิวตรอนเป็นอนุภาคที่อยู่ในนิวเคลียสของอะตอม ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์พบว่าโปรตอนและนิวตรอนอัดกันแน่นอยู่ในนิวเคลียสยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงนิวเคลียร์ (nuclear force) และอนุภาคที่ประกอบเป็นนิวเคลียสเรียกว่า นิวคลีออน (nucleon) อนุภาคในอะตอมในปัจจุบันพบว่าในอะตอมประกอบด้วยอนุภาคเล็ก ๆ มากกว่า 30 ชนิด และแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. อนุภาคที่ไม่เสถียร (unstable particles) เป็นอนุภาคที่ไม่อยู่ตัว สลายตัวได้ง่าย อนุภาคเหล่านี้เกิดจากการยิงนิวเคลียสของอะตอมด้วยอนุภาคชนิดต่าง ๆ ตัวอย่างอนุภาคที่ไม่เสถียรได้แก่ positron , antiproton , neutrino เป็นต้น 2. อนุภาคที่เสถียร (stable particles) เป็นอนุภาคที่อยู่ตัว ไม่สลายตัว มี 3 ชนิดคือ โปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน เรียกอนุภาคทั้งสามว่า อนุภาคมูลฐานของอะตอม
เลขอะตอม เลขมวล และสัญลักษณ์นิวเคลียร์ 1. เลขอะตอม (Atomic number) คือตัวเลขที่แสดงจำนวนโปรตอนของธาตุ ใช้สัญลักษณ์ Z นักวิทยาศาสตร์คนแรกที่หาเลขอะตอมได้คือ เฮนรี โมสลีย์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เลขอะตอมเป็นค่าเฉพาะสำหรับธาตุหนึ่ง ๆ ธาตุแต่ละชนิดมีเลขอะตอมไม่ซ้ำกัน ดังนั้นเลขอะตอมจึงบอกชนิดของธาตุได้ 2. เลขมวล (Mass number) คือตัวเลขที่แสดงผลรวมของจำนวนโปรตอนและจำนวนนิวตรอน มีสัญลักษณ์ A เลขมวลจะมีค่าใกล้เคียงกับมวลอะตอม (Atomic mass) แต่เลขมวลเป็นเลขจำนวนเต็มเสมอ ส่วนมวลอะตอมอาจเป็นจำนวนเต็มหรือทศนิยมก็ได้ และเลขมวลไม่เป็นค่าเฉพาะสำหรับธาตุ ธาตุต่างชนิดกันอาจมีเลขมวลเท่ากันได้
3. สัญลักษณ์นิวเคลียร์ (nuclear symbol) เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้ทราบว่าอะตอมของธาตุ 1 อะตอมประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานอย่างละกี่อนุภาค โดยเขียนสัญลักษณ์ของธาตุซึ่งแสดงเลขมวลที่มุมบนด้านซ้าย และเขียนเลขอะตอมที่มุมล่างด้านซ้าย เช่น
p = 12 p = 6 p = 8 e = 12 e = 6 e = 10 n = 12 n = 6 n = 8
จากสัญลักษณ์นิวเคลียร์ทำให้ทราบจำนวนอนุภาคมูลฐานของอะตอม โดยจำนวนโปรตอนดูจากเลขอะตอม อะตอมอยู่ในสภาพที่เป็นกลางทางไฟฟ้าจึงมีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากับจำนวนโปรตอน ส่วนจำนวนนิวตรอน = เลขมวล เลขอะตอม
ไอโซโทป (Isotope) หมายถึงอะตอมของธาตุชนิดเดียวกัน แต่มีเลขมวลต่างกัน หรืออะตอมของธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากัน แต่มีจำนวนนิวตรอนต่างกัน
อะตอมที่มีเลขมวลหรือจำนวนโปรตอนแต่ละจำนวนเรียกว่า
1 ไอโซโทป ตัวอย่างไอโซโทป เช่น ไฮโดรเจนมี 3 ไอโซโทปคือ
p = 1 p = 1 p = 1 e = 1 e = 1 e = 1 n = 0 n = 1 n = 2 protium (H) deuterium (D) tritium (T)
ไอโซโทน (Isotone) หมายถึงอะตอมของธาตุต่างชนิดกัน มีเลขอะตอมและเลขมวลต่างกัน แต่มีจำนวนนิวตรอนเท่ากัน
p = 6 p = 7 e = 6 e = 7 n = 7 * n = 7 *
ไอโซบาร์ (Isobar) หมายถึงอะตอมของธาตุต่างชนิดกัน แต่มีเลขมวลเท่ากัน
p = 6 p = 7 e = 6 e = 7 n = 8 n = 7 ตารางที่ 1 สรุปความหมายของไอโซโทป ไอโซโทน ไอโซบาร์
คลื่นและสมบัติของแสง
จากแบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ดทำให้ทราบถึงการจัดโครงสร้างของอนุภาคต่าง ๆ ในนิวเคลียส แต่ไม่ได้อธิบายว่าอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียสอยู่ในลักษณะใด นักวิทยาศาสตร์ในลำดับต่อมาได้หาวิธีทดลองเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งของอิเล็กตรอนที่อยู่รอบนิวเคลียส วิธีหนึ่งก็คือการศึกษาสมบัติและปรากฏการณ์ของคลื่นและแสง แล้วนำมาสร้างเป็นแบบจำลอง คลื่นชนิดต่าง ๆ เช่น คลื่นแสง คลื่นเสียง มีสมบัติสำคัญ 2 ประการ คือ ความยาวคลื่นและความถี่ คลื่นแสงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่และความยาวคลื่นต่าง ๆ กัน ดังรูปต่อไปนี้
แสงที่ประสาทตาคนรับได้เรียกว่า แสงที่มองเห็นได้ (visible light) ซึ่งมีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 400 700 nm แสงในช่วงคลื่นนี้ประกอบด้วยแสงสีต่าง ๆ กัน ตามปกติประสาทตาของคนสามารถสัมผัสแสงบางช่วงคลื่นที่ส่องมาจากดวงอาทิตย์ได้ แต่ไม่สามารถแยกเป็นสีต่าง ๆ จึงมองเห็นเป็นสีรวมกันซึ่งเรียกว่า แสงขาว
สเปกตรัม ถ้าให้แสงอาทิตย์ซึ่งเป็นแสงขาวส่องผ่านปริซึม แสงขาวจากดวงอาทิตย์จะแยกออกเป็นแสงสีรุ้งต่อเนื่องกัน เรียกว่า สเปกตรัมของแสงขาว
สเปกตรัมของแสงขาวเกิดจากการที่เมื่อแสงซึ่งมีความยาวคลื่นต่าง ๆ กันผ่านไปยังปริซึม แสงจะหักเหได้ไม่เท่ากัน เกิดเป็นแถบสีรุ้งต่อเนื่องกัน โดยมีความยาวคลื่นในช่วงต่าง ๆ ดังนี้
ความยาวคลื่น หมายถึงระยะทางที่คลื่นเคลื่อนที่ครบ 1 รอบ มีหน่วยเป็นเมตร (m) และนาโนเมตร (nm) ความถี่ของคลื่น หมายถึงจำนวนรอบของคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านจุดใดจุดหนึ่งในเวลา 1 วินาที มีหน่วยเป็นรอบต่อวินาที (s1) หรือเรียกชื่อเฉพาะว่า เฮิรตซ์ (Hz)
ความยาวคลื่นและความถี่ มีความสัมพันธ์กันดังนี้
ในปี ค.ศ. 1900 มักซ์ พลังค์ (Max Plank) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้แสดงให้เห็นว่าแสงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะให้พลังงานเป็นหน่วย ๆ เรียกว่า quantum (ควอนตัม) และได้ข้อสรุปเกี่ยวกับพลังงานของคลื่นแม้เหล็กไฟฟ้ากับความถี่ของคลื่นนั้นว่า พลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความถี่ของคลื่น
เมื่อ E คือพลังงาน มีหน่วยเป็นจูล (J) h คือค่าคงที่ของพลังค์ มีค่าเท่ากับ 6.626 x 10-34 จูลวินาที (Js) n คือความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีหน่วยเป็นเฮิรตซ์ (Hz) หรือ s1 แต่จาก
แทนค่าในสมการ (1)
c คือความเร็วของแสงในสุญญากาศ = 3.0 x 108 m/s
จัดทำโดย ครูจุฑามาศ วงษ์สวาท โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี สเปกตรัมของอะตอม (atomic spectrum) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงแสงขาวประกอบด้วยแสงที่มีความยาวคลื่นหลายค่าซึ่งเราไม่สามารถแยกส่วนประกอบของคลื่นต่าง ๆ ออกจากกันด้วยตาได้ ต้องใช้เครื่องมือช่วย เช่น ปริซึม หรือสเปกโตรสโคป (spectroscope) เมื่อเราผ่านแสงสีขาวหรือแสงสีต่าง ๆ ไปยังปริซึม แสงจะแยกออกมาเป็นแถบสีต่าง ๆ เรียงกันตามความยาวคลื่น แถบสีที่แยกออกมาได้เรียกว่า สเปกตรัม แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. สเปกตรัมแบบต่อเนื่อง (continuous spectrum) จะเป็นสเปกตรัมที่ประกอบด้วยแสงที่มีความยาวคลื่นและความถี่ต่อเนื่องจนเห็นเป็นแถบ ได้แก่ สเปกตรัมของแสงขาวซึ่งจะเห็นเป็นแถบสีรุ้งเรียงต่อกัน โดยแสงสีม่วงหักเหมากที่สุด มีความยาวคลื่นสั้น แต่มีพลังงานมากที่สุด ในขณะที่แสงสีแดงจะหักเหน้อยที่สุด มีความยาวคลื่นยาวที่สุด และมีพลังงานน้อยที่สุด 2. สเปกตรัมแบบไม่ต่อเนื่องหรือแบบเส้น (Discontinuous spectrum or Line spectrum) เป็นสเปกตรัมที่ประกอบด้วยเส้นสเปกตรัมที่มีความยาวคลื่นบางค่าเว้นระยะเป็นเส้น ๆ บนพื้นดำ เนื่องจากสเปกตรัมแต่ละเส้นเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เราจึงสามารถคำนวณหาค่าพลังงานของเส้นสเปกตรัมแต่ละเส้นได้จากสมการ
นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาเส้นสเปกตรัมที่เกิดจากการเผาสารประกอบและธาตุบางชนิด
โดยนำสารประกอบมาเผา แล้วสังเกตสีของเปลวไฟที่เกิดขึ้น
ส่องดูสีของเปลวไฟด้วยสเปกโตร 1. สารประกอบของโลหะชนิดเดียวกันจะให้สีเปลวไฟสีเดียวกัน และได้เส้นสเปกตรัมซึ่งเป็นแบบเฉพาะ นั่นคือ มีสีและตำแหน่งของเส้นสเปกตรัมเหมือนกัน ดังตัวอย่างในตาราง
ตัวอย่างสีของเปลวไฟที่ได้จากการเผาสารประกอบ
ตารางแสดงสีของเปลวที่เกิดจากการเผาสารประกอบ
สารประกอบของโลหะต่างชนิดกันอาจจะมีสีของสเปกตรีมคล้ายกัน แต่จะมีตำแหน่งของเส้นสเปกตรัมต่างกันเป็นแถบเฉพาะของโลหะนั้น ๆ ดังนั้นจึงสามารถใช้สีของเปลวไฟและเส้นสเปกตรัมในการวิเคราะห์องค์ประกอบของสารได้ โดยนำสารประกอบนั้นไปเผา แล้วนำสีของเปลวไฟและเส้นสเปกตรัมที่ได้เปรียบเทียบกับผลการทดลองที่นักวิทยาศาสตร์ได้สรุปไว้แล้ว การวิเคราะห์สารวิธีนี้เรียกว่า Flame test 2. ในการเผาสารประกอบ องค์ประกอบส่วนที่เป็นอโลหะจะให้สเปกตรัมในช่วงที่ตาเรารับไม่ได้ จึงมองไม่เห็นเส้นสเปกตรัม 3. ในการศึกษาสเปกตรัมของธาตุที่เป็นแก๊สจะนำแก๊สไปบรรจุหลอดแก้วที่มีความดันต่ำ และผ่านกระแสไฟฟ้าศักย์สูงเข้าไปแทนการเผาด้วยความร้อน เมื่อแก๊สได้รับพลังงานไฟฟ้าจะปล่อยแสงเป็นสเปกตรัมลักษณะเฉพาะของธาตุนั้น ๆ และธาตุอโลหะบางชนิดก็ให้แสงที่ตารับได้ เช่น He , Ne , Ar เป็นต้น
การทดสอบสีของเปลวไฟของสารประกอบของธาตุหมู่
IA (Flame Test) สถานะพื้น (ground state) หมายถึงอะตอมที่อิเล็กตรอนซึ่งเคลื่อนที่อยู่รอบนิวเคลียสมีพลังงานเฉพาะตัวอยู่ในระดับพลังงานต่ำ อะตอมในสถานะพื้นจะมีความเสถียรเนื่องจากมีพลังงานต่ำ สถานะกระตุ้น (excited state) หมายถึงอะตอมที่ได้รับพลังงานเพิ่มขึ้น ทำให้อิเล็กตรอนถูกกระตุ้นให้อยู่ในระดับพลังงานสูงขึ้น ที่สถานะกระตุ้นอะตอมจะไม่เสถียร เนื่องจากมีพลังงานสูง
อะตอมที่ได้รับพลังงาน เช่น จากการเผา หรือจากกระแสไฟฟ้า อิเล็กตรอนจะเปลี่ยนจากสถานะพื้นไปสู่สถานะกระตุ้นซึ่งไม่เสถียร จึงต้องคายพลังงานออกมา ซึ่งพลังงานที่คายออกมาจะอยู่ในรูปพลังงานแสงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อผ่านปริซึมหรือสเปกโตรสโคปจะแยกแสงออกเป็นเส้นสเปกตรัม การที่ธาตุแต่ละชนิดให้เส้นสเปกตรัมออกมาหลายเส้น แสดงว่าอิเล็กตรอนที่อยู่รอบนิวเคลียสมีหลายระดับพลังงาน ระดับพลังงานที่อยู่ใกล้นิวเคลียสจะมีพลังงานต่ำ ส่วนระดับพลังงานที่อยู่ห่างนิวเคลียสจะมีพลังงานสูง เมื่ออิเล็กตรอนคายพลังงานอาจคายพลังงานได้หลายช่วงความยาวคลื่น จึงมองเห็นเส้นสเปกตรัมได้หลายเส้น นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาสเปกตรัมของแก๊ส เพราะว่ามีอะตอมอยู่ห่างกัน และใช้อะตอมไฮโดรเจนเนื่องจากมี 1 อิเล็กตรอน พบว่ามีเส้นสเปกตรัมที่ปรากฏในช่วงความยาวคลื่นที่มองเห็นได้โดยมีความยาวคลื่น 410 , 434 , 486 และ 656 นาโนเมตร ตามลำดับ นอกจากนี้การศึกษาเส้นสเปกตรัมของอะตอมของธาตุอื่นๆ ก็พบว่าอิเล็กตรอนในอะตอมของแต่ละธาตุคายพลังงานได้บางค่า และมีเส้นสเปกตรัมเฉพาะตัวไม่ซ้ำกัน โดยเส้นสีแดงมีพลังงานต่ำสุด (3.02 x 1022 kJ) และเส้นสีม่วงมีพลังงานสูงสุด (4.48 x 1022 kJ) ![]() เส้นสเปกตรัมของแก๊สไฮโดรเจน (H2)
การที่นักวิทยาศาสตร์ใช้อะตอมของไฮโดรเจนเป็นตัวอย่างในการแปลความหมายของเส้นสเปกตรัม เพราะเป็นอะตอมที่มีอิเล็กตรอนเดียว จากการทดลองหลายครั้งพบว่าอะตอมของไฮโดรเจนให้เส้นสเปกตรัมได้หลายเส้นที่มีลักษณะเหมือนกันทุกครั้ง จึงสรุปได้ว่าอิเล็กตรอนในอะตอมของไฮโดรเจนขึ้นไปอยู่ในสถานะกระตุ้นที่มีพลังงานแตะต่างกันได้หลายระดับ ค่าพลังงานของเส้นสเปกตรัมแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนระดับพลังงานของอิเล็กตรอนในอะตอมจากระดับพลังงานสูงมายังระดับพลังงานต่ำ Lyman series เป็นอนุกรมของเส้นสเปกตรัมของอะตอมไฮโดรเจน ซึ่งแสดงการเปลี่ยนแปลงพลังงานระหว่างสถานะพื้นกับสถานะกระตุ้น
ตารางแสดงความยาวคลื่นและพลังงานของเส้นสเปกตรัม
จากข้อมูลในตาราง แสดงว่าอะตอมของไฮโดรเจนมีพลังงานหลายระดับและความแตกต่างระหว่างพลังงานของแต่ละระดับที่อยู่ถัดไปก็ไม่เท่ากัน ความแตกต่างของพลังงานจะมีค่าน้อยลงเมื่อระดับพลังงานสูงขึ้น จากเหตุผลที่อธิบายมานี้ช่วยให้สรุปได้ว่า
1. เมื่ออิเล็กตรอนได้รับพลังงานในปริมาณที่เหมาะสม อิเล็กตรอนจะขึ้นไปอยู่ในระดับพลังงานที่สูงกว่าระดับพลังงานเดิม แต่จะอยู่ในระดับใดขึ้นกับปริมาณพลังงานที่ได้รับ การที่อิเล็กตรอนขึ้นไปอยู่ในระดับพลังงานใหม่ทำให้อะตอมไม่เสถียร อิเล็กตรอนจะกลับมาอยู่ในระดับพลังงานที่ต่ำกว่า ซึ่งในการเปลี่ยนตำแหน่งนี้อิเล็กตรอนจะคายพลังงานออกมา การดูดหรือคายพลังงานจะต้องมีค่าเฉพาะตามทฤษฎีของพลังค์ โดยค่าต่ำสุดจะเท่ากับความถี่ของอิเล็กตรอนนั้นคูณด้วยค่าคงที่ของพลังค์ 2. การเปลี่ยนระดับพลังงานของอิเล็กตรอนไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนไปยังระดับพลังงานที่อยู่ติดกันอาจมีการเปลี่ยนข้ามระดับได้ แต่เมื่ออิเล็กตรอนรับพลังงานแล้วจะขึ้นไปอยู่ระหว่างระดับพลังงานไม่ได้ จะต้องขึ้นไปอยู่ในระดับใดระดับหนึ่งเสมอ 3. ผลต่างของพลังงานระหว่างระดับพลังงานต่ำจะมีค่ามากกว่าผลต่างของพลังงานระหว่างระดับพลังงานที่สูงขึ้นไป
Niels Bohr
แบบจำลองอะตอมของโบร์
จากความรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงระดับพลังงานของอิเล็กตรอนการเกิดสเปกตรัม ช่วยให้นีลส์ โบร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวเดนมาร์ก สร้างแบบจำลองอะตอมเพื่อใช้อธิบายพฤติกรรมของอิเล็กตรอนในอะตอมได้ โดยกล่าวว่า อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่รอบนิวเคลียสเป็นวงคล้ายกับวงโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ แต่ละวงจะมีระดับพลังงานเฉพาะตัว ระดับพลังงานของอิเล็กตรอนที่อยู่ใกล้นิวเคลียสที่สุดซึ่งมีพลังงานต่ำที่สุดเรียกว่าระดับ K และระดับพลังงานที่อยู่ถัดออกมาเรียกเป็น L , M , N , ตามลำดับ ต่อมาได้มีการใช้ตัวเลขแสดงถึงระดับพลังงานของอิเล็กตรอน คือ n = 1 หมายถึงระดับพลังงานที่ 1 ซึ่งอยู่ใกล้กับนิวเคลียสที่สุด และชั้นถัดมาเป็น n = 2 หมายถึงระดับพลังงานที่ 2 ต่อจากนั้น n = 3 , 4 , . . . หมายถึงระดับพลังงานที่ 3 , 4 และสูงขึ้นไปตามลำดับ แบบจำลองอะตอมของโบร์ พัฒนามาจากการค้นพบสเปกตรัมของอะตอมไฮโดรเจน ซึ่งเป็นอะตอมที่มี 1 อิเล็กตรอน แต่ไม่สามารถใช้อธิบายอะตอมที่มีหลายอิเล็กตรอนได้ นักวิทยาศาสตร์จึงจำเป็นต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อนเสนอแบบจำลองอะตอมใหม่ 1. แบบทดสอบ เรื่อง แบบจำลองอะตอมของดอลตัน ทอมสัน และรัทเทอร์ฟอร์ด คลิกค่ะ
2. แบบทดสอบ เรื่อง อนุภาคมูลฐานของอะตอม เลขอะตอม เลขมวล และไอโซโทป คลิกค่ะ
3. แบบทดสอบ เรื่อง คลื่นและสเปกตรัมของแสงขาว คลิกค่ะ
4. แบบทดสอบ เรื่อง สเปกตรัมและการแปลความหมาย คลิกค่ะ
5. แบบทดสอบ เรื่อง การจัดอิเล็กตรอนในอะตอม คลิกค่ะ
6.แบบทดสอบ เรื่อง วิวัฒนาการของการสร้างตารางธาตุ คลิกค่ะ
7. แบบทดสอบ เรื่อง ขนาดอะตอมและรัศมีไอออน คลิกค่ะ
8. แบบทดสอบ เรื่อง พลังงานไอออไนเซชัน คลิกค่ะ
9. แบบทดสอบ เรื่อง ค่า EN, EA จุดเดือด , จุดหลอมเหลว คลิกค่ะ
10. แบบทดสอบ เรื่อง เลขออกซิเดชัน คลิกค่ะ ประวัติอินเตอร์เน็ต อินเตอร์เน็ตกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณปี ค.ศ.1969 หรือประมาณปี พ.ศ. 2512 โดยพัฒนามาจาก อาร์พาเน็ต (ARPAnet) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูง (Advanced Research Projects Agency) หรือเรียกชื่อย่อว่า อาร์พา (ARPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา (Department of Defense) จุดประสงค์ของโครงการอาร์พาเน็ต เพื่อสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่คงความสามารถในการติดต่อสื่อสารถึงกันได้ แม้ว่าจะมีบางส่วนของเครือข่ายไม่สามารถทำงานได้ก็ตาม
คลิกอ่านต่อค่ะเอกสาร
PDF
พิสูจน์ปรากฏการณ์ บั้งไฟพญานาค กับหลักวิทยาศาสตร์ โดย ผู้จัดการออนไลน์
ในทุกคืนของวันออกพรรษา(15 ค่ำเดือน 11) บั้งไฟพญานาค ที่เกิดขึ้น ณ ช่วงรอยต่อของ จ.หนองคายและเมืองเวียงจันทน์ ยังคงเป็นปริศนาที่รอคอยให้หลายคนไปพิสูจน์กันต่อ ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร นักท่องเที่ยวทุกสารทิศ
ต่างมุ่งหน้าไปยังจังหวัดหนองคาย
เพื่อชมปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค ณ ริมฝั่งโขง
ในช่วงออกพรรษาปลายเดือนนี้
ซึ่งคาดว่าจะเกิดปรากฏการณ์มหัศจรรย์ 2 วันซ้อน
นักวิทยาศาสตร์ของไทยและต่างประเทศหลาย ๆ
สำนักต่างพยายามพิสูจน์ปรากฏการณ์นี้ตามหลักวิทยาศาสตร์ {mospagebreak} หน้า 2
สำหรับนายแพทย์มนัส
กนกศิลป์ แห่งโรงพยาบาลหนองคาย
ซึ่งเป็นผู้ศึกษาปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคตามหลักวิทยาศาสตร์มาเป็นเวลานาน
กล่าวไว้ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนก.พ. 38 ว่า
"บั้งไฟพญานาคน่าจะเป็นสสาร และจะต้องมีมวล
เพราะแหวกนํ้าขึ้นมาได้ จึงน่าจะเป็นก๊าซไม่มีสี
ไม่มีกลิ่น จุดติดไฟได้เอง
และต้องเบากว่าอากาศ" {mospagebreak} หน้า 3 ส่วนบางคนที่ไปทดลองไฟเหล่านี้อาจจะพบ
เปลวไฟเย็น มีหลายทฤษฎีมาก ๆ ที่อธิบายปรากฏการณ์นี้ ยกตัวอย่างเช่น
ภายใต้ความเข้มข้นต่ำของออกซิเจน
การระเหยของฟอสฟอรัสจะทำให้เกิดการเรืองแสงและจะรวมตัวกันได้ง่ายผ่านการสลายตัวของไดฟอสเฟน
นักจุลชีววิทยาเชื่อว่าปรากฏการณ์นี้เป็นสาเหตุมาจากแบคทีเรียฟอสฟอเรสเซนต์
( phosphorescent bacteria ) ซึ่งเชื่อว่าบางสายพันธุ์จะอาศัยอยู่ในดิน บทที่ 1/11 เทคโนโลยีสารสนเทศ อินเตอร์เน็ต และตัวคุณ
ชนิดของคอมพิวเตอร์
แท็บเล็ตพีซี บุคลากร ซอฟต์แวร์ หน่วยระบบ
ระเบียบปฏิบัติการ
คลิกค่ะ บทที่ 2/11 อินเตอร์เน็ต เว็บและการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การใช้งานทางอินเตอร์เน็ต
การเข้าถึงอินเตอร์เน็ต ส่วนประกอบของอีเมลล์ อีเมลล์ขยะ
โปรแกรมสื่อสาร โปรแกรมค้นหา เกร็ดความรู้
เว็บประมูลสินค้า
คลิกค่ะ บทที่ 3/11 Application software
ซอฟต์แวร์ประยุกต์พื้นฐาน
และเฉพาะงาน ส่วนติดต่อผู้ใช้ด้วยกราฟฟิก แถบเครื่องมือ
โปรแกรมประมวลผลคำ โปรแกรมตารางทำการ การสร้างฐานข้อมูล
Adobe ohotoshop สร้างมัลติมีเดีย
และความเป็นจริงเสมือน
คลิกค่ะ บทที่ 4/11 System software
ระบบปฏิบัติการ ยูทิลิตี้
ดีไวซ์ไดร์เวอร์ ตัวแปลภาษา หน้าที่ระบบปฏิบัติการ
ประเภทของระบบปฏิบัติการ วินโดวส์ แมคโอเอส
ยูนิกซ์ และลีนุกซ์
คลิกค่ะ บทที่ 5/11 หน่วยระบบ ( System Unit)
ข้อมูล และคำสั่ง เลขฐานสอง
ไมโครโพรเซสเซอร์ หน่วยความจำ แรม และรอม ซีมอส
ระบบสัญญาณนาฬิกา การ์ดแสดงผล การ์ดโมเด็ม
เส้นทางบัส พอร์ต IRDA
คลิกค่ะ บทที่ 6/11 การรับเข้าและส่งออกข้อมูล (Input and output)
อุปกรณ์รับเข้า เช่า คีย์บอร์ด
อุปกรณ์ชี้ สแกนเนอร์ และอื่นๆ อุปกรณ์ส่งออก เช่น
จอภาพ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น อินเตอร์เน็ตเทเลโฟน
เทอร์มินัล
คลิกค่ะ บทที่ 7/11 หน่วยระบบ ( System Unit)
ดิสเก็ตแบบดั้งเดิม
และแบบสมัยใหม่ ฮาร์ดดิสก์
สิ่งที่อาจทำให้หัวอ่านเขียนขัดข้อง CD
และ DVD หน่วยความจำแฟลช
เทปแม่เหล็ก
คลิกค่ะ บทที่ 8/11 การสื่อสารและระบบเครื่อข่าย (Communication and Networks)
ระบบสื่อสาร ช่องทางสื่อสาร
การเชื่อมต่อแบบมีสาย และ ไร้สาย สรุปชนิดช่องทางสื่อสาร
ชนิดของโมเด็ม การขนส่งข้อมูล แบนด์วิดท์ โพรโทคอล
ชนิดของเครือข่าย
คลิกค่ะ บทที่ 9/11 ภาวะส่วนตัวและความปลอดภัย
สิ่งที่ผู้ใช้ระบบสารสนเทศควรตระหนัก จริยธรรม ภาวะส่วนตัว
สิทธิส่วนบุคคล การฝังตัวของคุ๊กกี้ อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
การรักษาความปลอดภัย การยศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม
คลิกค่ะ บทที่ 10/11 ฐานข้อมูล (Database)
ข้อมูลคืออะไร
โครงสร้างของข้อมูล ฟิลด์หลัก ฐานข้อมูล
ระบบการจัดการฐานข้อมูล ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น
แบบเครือข่าย แบะระบบเชิงสัมพันธ์
และฐานข้อมูลบนเว็บ
คลิกค่ะ บทที่ 11/11 ระบบสารสนเทศ
การไหลของสารสนเทศในองค์กร
ระดับการบริหารจัดการ ระบบประมวลผลรายการ (TPS)
ระบบสารสนเทศ ระบบสนับสนุนผู้บริหาร (ESS)
คลิกค่ะ ยูเรเนียม (Uranium)
ลักษณะ คุณสมบัติ เค้กเหลือง
กระสุนหัวยูเรเนียม เหมืองยูเรเนียม
การจัดหาเชื้อเพลิงยูเรเนียม กากกัมมันตรังสี
หลักการจัดการกากกัมมันตรังสี การต้มระเหย กากตะกอนเข้มข้น
เทคนิคการดูดจับ การเก็บรักษา
และยูเรเนียมกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
คลิกค่ะ ผีเสื้อรักแร้ขาว
|
วิธีทดลอง กดปุ่ม Play ท่านสามารถปรับ ความหนาแน่น ของลูกบอล และของเหลว ความหนือ และรัศมีของลูกบอลได้ ตอบคำถามต่อไปนี้ 1. เมื่อลูกบอลมีขนาดเล็ก การตกในของเหลวที่มีความหนืดเดียวกัน ลูกบอลจะตก ก) เร็วขึ้น ข) ช้าลง เทียบกับลูกบอลขนาดใหญ่ สาเหตุเป็นเพราะ __________________________________ _______________________________________________ _______________________________________________ _______________________________________________ 2. ความเร็วสุดท้ายของลูกบอลจะมีขนาดคงที่ เมื่อลูกบอลตกลงมาถึงระยะหนึ่ง ดังนั้นเมื่อลูกบอลมีขนาดใหญ่ขึ้น ความเร็วสุดท้ายจะใช้เวลา ก) เร็วขึ้น ข) ช้าลง เทียบกับลูกบอลขนาดเล็ก สาเหตุเป็นเพราะ __________________________________ _______________________________________________ _______________________________________________ _______________________________________________
เข้าสู่การทดลอง คลิกครับ ทฤษฎี
การทดลองการเกิดสเปกตรัมของธาตุ (Emission Spectroscopy)
วิธีทดลองการเกิดสเปกตรัมของธาตุ (Emission Spectroscopy)ขั้นที่ 1: สังเกตสเปกตรัมที่ปรากฏของแก๊สสังเกตสเปกตรัมของแก๊สโดยลากหลอดบรรจุแก๊สแต่ละชนิด (ยกเว้นหลอดล่างสุด ซึ่งเป็นแก๊สที่ไม่ทราบชนิด) จากด้านซ้ายของจอ แล้ววางลงในช่องเสียบด้านบน สเปกตรัมจะปรากฎทางด้านขวา ขั้นที่ 2: สร้างสรรค์และสับเปลี่ยนระดับพลังงานสร้างระดับพลังงานในกราฟระดับพลังงานทางขวา โดยการคลิกปุ่ม "Add Energy Level" เปลี่ยนค่าพลังงานโดยการคลิกและลากแต่ละระดับด้วยเมาส์จากสเกลด้านซ้ายในแนวตั้ง ขั้นที่ 3: สร้างCreating transitions between energy levelsคลิกที่ระระดับพลังงานที่สเกลด้านขวา คลิกลากเส้นระดับพลังงานไปที่ระดับพลังงานที่ต่ำกว่า ปล่อยเมาส์เมื่อระดับพลังงานที่ต่ำเปลี่ยนเป็นสีเขียวและเส้นสเปกตรัมปรากฏในตำแหน่งที่ทดลองสักครู่ เส้นสเปกตรัมจริงจะปรากฏ การปล่อยเมาส์ในระหว่างทดลองสิ้นสุดจะเป็นเหตุให้ไม่ปรากฏเส้นสเปกตรัม ขั้นที่ 4: จับคู่เส้นสเปกตรัมที่ทดลองกับเส้นสเปกตรัมจริงการสับเปลี่ยนระดับพลังงานตามที่อธิบายในขั้นที่ 2 เพิ่มระดับพลังงานหรือเคลื่อนย้ายจนกระทั่งเส้นสเปกตรัมที่ทดลองสอดคล้องกับเส้นสเปกตรัมจริงข้างบน ขั้นที่ 5 (เพิ่มเติม): การทดลองกับแก๊สที่ไม่ทราบชนิด (Unknown gas)หลอดแก๊สด้านล่างซ้ายมือจะเป็นแก๊สที่ไม่ทราบชนิดซึ่งสามารถเปลี่ยนสเปกตรัม คลิกและลาก Unknown gas วางในช่องเสียบหลอดแก๊ส แล้วคลิกปุ่ม "Edit" ที่ปรากฏทางด้านซ้ายของช่องเสียบหลอดแก๊ส ค่าของพลังงาน ความยาวคลื่นจะปรากฏ ซึ่งสามารถเปลี่ยนค่าได้ คลิกปุ่ม "OK" เพื่อดูสเปกตรัมที่สร้างขึ้น จัดทำโดย ครูจุฑามาศ วงษ์สวาท โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี
จัดทำโดย ครูจุฑามาศ วงษ์สวาท โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประวัติอินเตอร์เน็ต
{mospagebreak} หน้า 2
{mospagebreak} หน้า 3
{mospagebreak} หน้า 4
{mospagebreak} หน้า 5
{mospagebreak} หน้า 6
{mospagebreak} หน้า 7
{mospagebreak} หน้า 8
{mospagebreak} หน้า 9
{mospagebreak} หน้า 10
{mospagebreak} หน้า 11
{mospagebreak} หน้า 12
{mospagebreak} หน้า 13
{mospagebreak} หน้า 14
{mospagebreak} หน้า 15
{mospagebreak} หน้า 16
{mospagebreak} หน้า 17
{mospagebreak} หน้า 18
อายุถ้ำ
{mospagebreak} หน้า 2
หนังสือ Principia
ข้อมูลพื้นฐาน ปราสาทพระวิหาร
ถ่านก้อนดำ ใต้ต้นไม้ใบเขียว
125 ปี ไปรษณีย์ไทย โดย อนุรัตน์ วัฒนาวงศ์สว่าง
{mospagebreak} หน้า 2 125 ปี ไปรษณีย์ไทย โดย อนุรัตน์ วัฒนาวงศ์สว่าง
{mospagebreak} หน้า 3 125 ปี ไปรษณีย์ไทย โดย อนุรัตน์ วัฒนาวงศ์สว่าง
{mospagebreak} หน้า 4 125 ปี ไปรษณีย์ไทย โดย อนุรัตน์ วัฒนาวงศ์สว่าง
{mospagebreak} หน้า 5 125 ปี ไปรษณีย์ไทย โดย อนุรัตน์ วัฒนาวงศ์สว่าง
{mospagebreak} หน้า 6 125 ปี ไปรษณีย์ไทย โดย อนุรัตน์ วัฒนาวงศ์สว่าง
{mospagebreak} หน้า 7 125 ปี ไปรษณีย์ไทย โดย อนุรัตน์ วัฒนาวงศ์สว่าง
{mospagebreak} หน้า 8 125 ปี ไปรษณีย์ไทย โดย อนุรัตน์ วัฒนาวงศ์สว่าง
{mospagebreak} หน้า 9 125 ปี ไปรษณีย์ไทย โดย อนุรัตน์ วัฒนาวงศ์สว่าง
{mospagebreak} หน้า 10 125 ปี ไปรษณีย์ไทย โดย อนุรัตน์ วัฒนาวงศ์สว่าง
{mospagebreak} หน้า 11 125 ปี ไปรษณีย์ไทย โดย อนุรัตน์ วัฒนาวงศ์สว่าง
{mospagebreak} หน้า 12 125 ปี ไปรษณีย์ไทย โดย อนุรัตน์ วัฒนาวงศ์สว่าง
{mospagebreak} หน้า 13 125 ปี ไปรษณีย์ไทย โดย อนุรัตน์ วัฒนาวงศ์สว่าง
{mospagebreak} หน้า 14 125 ปี ไปรษณีย์ไทย โดย อนุรัตน์ วัฒนาวงศ์สว่าง
{mospagebreak} หน้า 15 125 ปี ไปรษณีย์ไทย โดย อนุรัตน์ วัฒนาวงศ์สว่าง
{mospagebreak} หน้า 16 125 ปี ไปรษณีย์ไทย โดย อนุรัตน์ วัฒนาวงศ์สว่าง
{mospagebreak} หน้า 17 125 ปี ไปรษณีย์ไทย โดย อนุรัตน์ วัฒนาวงศ์สว่าง
{mospagebreak} หน้า 18 125 ปี ไปรษณีย์ไทย โดย อนุรัตน์ วัฒนาวงศ์สว่าง
{mospagebreak} หน้า 19 125 ปี ไปรษณีย์ไทย โดย อนุรัตน์ วัฒนาวงศ์สว่าง
{mospagebreak} หน้า 20 125 ปี ไปรษณีย์ไทย โดย อนุรัตน์ วัฒนาวงศ์สว่าง
{mospagebreak} หน้า 21 125 ปี ไปรษณีย์ไทย โดย อนุรัตน์ วัฒนาวงศ์สว่าง
{mospagebreak} หน้า 22 125 ปี ไปรษณีย์ไทย โดย อนุรัตน์ วัฒนาวงศ์สว่าง
{mospagebreak} หน้า 23 125 ปี ไปรษณีย์ไทย โดย อนุรัตน์ วัฒนาวงศ์สว่าง
{mospagebreak} หน้า 24 125 ปี ไปรษณีย์ไทย โดย อนุรัตน์ วัฒนาวงศ์สว่าง
{mospagebreak} หน้า 25 125 ปี ไปรษณีย์ไทย โดย อนุรัตน์ วัฒนาวงศ์สว่าง
{mospagebreak} หน้า 26 125 ปี ไปรษณีย์ไทย โดย อนุรัตน์ วัฒนาวงศ์สว่าง
|
ศัพท์วิทยาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตสถาน
A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z
ก ข ค ง จ ฉ ช ซ ฐ ณ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ศ ส ห อ ฮ
นักวิทยาศาสตร์ หน่วย ศัพท์แผ่นดินไหวตัวอักษรจาก A-M จาก N-Z
A
B
C
D
E
F
G
H
I
J
K
L
M
N
O
P
Q
R
S
T
U
V
W
X
Y
Z
หมวด : |
ก | ข | ค | ซ | ฐ | ด | ต | ท | น | ป | ผ | พ | ฟ | ภ | ม | ย | ร | ล | ว | ศ | ส | ห | อ | ฮ | |
พจนานุกรมเสียง 1 แมว วัว 1 วัว 2 วัว 3 เหมียว แกะ พจนานุกรมภาพการ์ตูน
พจนานุกรมภาพเคลื่อนไหว ดนตรี Bullets แบบ JEWEL พจนานุกรมภาพต่างๆ ภาพเคลื่อนไหวของสัตว์ต่างๆ โลกและอวกาศ