index 244
|
มดตกจากที่สูง 100 เมตร
มันจะรอดชีวิตหรือไม่
? ในวีดีโอชุดนี้ ท่านจะได้เห็นการทดลอง
ปล่อยมดตัวน้อยๆ ลงจาก เฮลิคอปเตอร์ที่ความสูงอันเหลือเชื่อ
คลิกครับ
กาวเปลือกส้ม
เปลือกส้มมีรสเป็นกรด
และสามารถละลายโฟมได้ เราจะทำดอกไม้จากโฟมและเปลือกส้มกัน
เป็นดอกทานตะวัน คลิกครับ
คลื่นทะเลจากถั่วเขียว
นำเมล็ดถั่วเขียว ใส่ลงไปในขวดพลาสติก
ไขจุกให้แน่น เขย่าไปมา หลับตาฟังเสียง
คล้ายกับคลื่นในทะเล คลิกครับ
คลื่นพายุซัดฝั่ง 1/2
ความลึกของทะเลในอ่าวไทย ประมาณ 40
เมตร ส่วนของอ่าวเบงกอล ประมาณ 3000 เมตร
การเกิดพายุซัดฝั่งจึงมีความแตกต่างกันมาก
เราจะได้เห็นบันทึกพิบัติภัยที่แหลมตะลุมพุก พายุเกย์
และพายุลินดา คลิกครับ
คลื่นพายุซัดฝั่ง 2/2
คลื่นพายุซัดฝั่งจะเกิดขึ้นคู่กับพายุหมุนเขตร้อน และมีผลต่อประเทศไทยตั้งแต่ เดือนมิถุนายน เป็นต้นไป การเตือนภัยพิบัติ
ก่อนเกิดล่วงหน้า จะช่วยผู้ประสบภัยก่อนที่ภัยนั้นจะเกิดขึ้น คลิกครับ
คลื่นเสียง 1/3
การทดลองแก้วนักดนตรี หาแก้วแชมเปญ
หลายๆใบ ใส่น้ำลงไป แตะนิ้วให้เปียก
และนำนิ้วไปถูกที่ขอบแก้ว จะเกิดเสียงขึ้น
คลิกครับ
คลื่นเสียง 2/3
การทดลองทำเกลือกระโดด
อุปกรณ์ประกอบด้วยถุงพลาสติก อ่างน้ำ และเกลือ
ให้ขึงแผ่นพลาสติกก้บอ่างน้ำจนตึง โรยเกลือบนแผ่นพลาสติก
แล้วเปล่งเสียงคำรามเหนืออ่าง คลิกครับ
คลื่นเสียง 3/3
มนุษย์ปกติจะได้ยินเสียงที่ความถี่
20-20000 Hz เท่านั้น
แต่สุนัขสามารถได้ยินเสียงช่วงกว้างกว่า
ในวีดีโอชุดนี้ท่านจะได้เสร้างเสียงผายลมโดยใช้ลูกโป่ง
และแตรกระป๋อง แต่ระวังกระป๋องจะบาดมือนะ
คลิกครับ
ความสำเร็จจากความล้มเหลว
ความล้มเหลวหรือสิ้นหวังไม่ใช่สิ่งที่ไม่ดีเพียงอย่างเดียว
ความล้มเหลวเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จด้วย ทอมครูซ รูปหล่อ
ในอดีตเป็นนักมวยปล้ำที่ปล้ำแพ้มาแล้ว
และมีคนว่าเขาน่าตาแย่มาก มาดอนน่า เคยถูกวิจารณ์ว่า
จะดังเพียงไม่กี่ปี และไมเคิล จอร์แดน
เคยเป็นเด็กยกของให้นักกีฬามาก่อน คลิกครับ
ตัดขวดด้วยเชือก
การทดลองสุดแสนอันตราย
ใช้เชือกเผาไฟตัดขวด ขั้นตอนการตัดต้องระมัดระวังยิ่ง
อย่างไรก็ตาม เด็กๆสามารถทำได้ แต่..... คลิกครับ
ต้มกับทอดพร้อมกัน
ทอดไข่ดาวกับต้มยำในเวลาเดียวกันได้
โดยใช้เตาเพียงเตาเดียว เพื่อประหยัดพลังงาน และช่วยโลกร้อนด้วย
คลิกครับ
ทำลายบนถุงผ้าด้วยถุงพลาสติก
ใช้ถุงพลาสติกที่เราท่านเรียกว่า
ถุงก๊อบแก๊บ มาทำเป็นลายบนถุงผ้า อุปกรณ์ประกอบด้วย กรรไกร
และเตารีด เพียงเท่านั้น คลิกครับ
|
การซ้อนทับกันและคลื่นนิ่ง
คลื่นและอนุภาค
Superpositin Principle คลื่นกล
การซ้อนทับกันของคลื่นในสปริง ประเภทของการแทรกสอด
ของนิรันดร์ เจริญกูล คลิกครับ
การเคลื่อนที่แบบโปรเจกไตล์ 1
![]() การเคลื่อนที่แบบโปรเจกไตล์ของวัตถุด้วยมุมที่ต่างกัน
การเคลื่อนที่แบบวงกลม
การเคลื่อนที่ที่เป็นวงกลมและความเร่งเข้าสู่ศูนย์กลาง
Planetary Motion
ฮาร์โมนิก 1
ฮาร์โมนิก 2
ฮาร์โมนิก 3 ฮาร์โมนิก 4 ฮาร์โมนิก 5 การบวกเวคเตอร์หลายเวคเตอร์ การบวกเวกเตอร์ ส่วนประกอบของเวกเตอร์
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() คลื่นเสียงสะท้อน คลื่นตามยาวสะท้อน การแทรกสอดของคลื่นสองกระบวน Interference BetweenTwo Sinusoidal Waves
Beats
กำเนิดเพชร
ราชินีแห่งอัญมณี
![]() เหมืองแร่แห่งแรกของโลกเกิดขึ้นเมื่อ 4,000 ปีก่อน
ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 6 มีการทำเหมืองเพชรที่อินเดีย
เพลโต นักปราชญ์ชาวกรีก เชื่อว่าเพชรเป็นสิ่งมีชีวิต ในยุคกลาง และเรเนอซองส์ แหวนที่ฝังเพชรจะถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ สามารถดลใจข่มข้าศึก และเป็นสัญลักษณ์แห่งพลัง ชาวยุโรปเริ่มนำเพชรมาสวมใส่เป็นเครื่องประดับเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 ซึ่งฝรั่งเศษไม่อนุญาต ิให้ผู้อื่นยกเว้นกษัตริย์เท่านั้น คนส่วนหนึ่งสวมใส่เพชรเพื่อ แสดงถึงความกล้าหาญ และ พลังทางเพศ และ เพื่อดึงดูดความสนใจ คนส่วนหนึ่งเชื่อว่า การสวมใส่เพชร สามารถนำพาโชคลาถ และความสำเร็จมาให้ และสามารถแก้ไขดวงชะตาได้ เพชร ได้รับการยอมรับให้เป็นสัญลักษณ์แทน รักแท้ และเป็นอัญมณี ประจำราศี ของราศีเมษ จากอดีตสู่ปัจจุบัน เพชรแท้ยังคงไว้ซึ่งความหลงไหลอย่างลึกซึ้ง ในฐานะสัญลักษณ์แห่ง ความรักและพลัง ความหายาก และความงามอย่างหาเทียบมิได้ คือคำตอบ ของความต้องการครอบครองสิ่งนี้ Electron Gun
RC Circuits ความเร็ว และ ความเร่ง
การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง
การตกอย่างอิสระ
Two Dimensional Elastic Collisions
Charles' Law
Temperature and Kinetic Energy
Molecular Motion
Measuring Voltage
Measuring Current
The Oscilloscope
จะได้ภาพจริงหัวกลับ ขนาดเล็กกว่าวัตถุ จะได้ภาพจริงหัวกลับขนาดเท่ากับวัตถุ จะได้ภาพจริงหัวกลับขนาดขยาย
วางวัตถุระห่าง
F กับกระจก
จะได้ภาพเสมือนหัวตั้งขนาดใหญ่กว่าวัตถุ
จะได้ภาพจริงหัวกลับ ขนาดเล็กกว่าวัตถุ จะได้รังสีของแสงตัดกันดังภาพ ภาพแสดงรังสีสะท้อนของแสงบนกระจกเงาราบ Energy Levels of the Hydrogen Atom
เครื่องเคียงอาหารสมอง
สิ่งประดิษฐ์สมัยโบราณ ก้าวล้ำจนต้องซูฮกให้
1.
อุปกรณ์นำทางทอมทอม ราชันแห่งปัญญา
พัฒนาไทยให้ยั่งยืน ภายในงานนิทรรศการ ราชันแห่งปัญญา พัฒนาไทยให้ยั่งยืน
ที่จัดโดยกระทรวงพาณิชย์ และกรมทรัพย์สินทางปัญญา
เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นนักประดิษฐ์ผู้ยิ่งใหญ่ โดยได้นำผลงาน 4
ชิ้นที่โดดเด่น จากผลงานทรงประดิษฐ์ 8 ผลงานที่ได้รับการจดสิทธิบัตร
มาแสดงในงานนิทรรศการ
ปฎิมากรรมทีมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
สตีฟ จอบส์
เมื่อความตายเรียกหาและปริศนาแห่งผลแอปเปิล
คมความคิดของ "คนดัง" ![]() Jobs holding a MacBook Air at Macworld Conference & Expo 2008
![]() Bill Gates
![]() Russell Baker American Pulitzer Prize
![]() Jerry Zucker
![]() David Foster Wallace
![]() Bono
5
นวัตกรรมเปลี่ยนโลก
|
สิ่งประดิษฐ์เลิศสุดของปี
|
บิลล์ เกตส์ : จงเป็นนักเคลื่อนไหว
เลือกประจัญกับความไม่เสมอภาคที่ร้ายแรง ![]() Speech at Harvard by Bill Gates Microsoft chairman Bill Gates delivers the Commencement address at Harvard University in Cambridge, Massachusetts. Photo: Brian Snyder
![]()
![]() Bill Gates in the early 80s
|
พลังงานของการแกว่งแบบลูกตุ้มนาฬิกา
กราฟแสดงการกระจัด, ความเร็วและความเร่งของวัตถุ
"สตีเฟน
ฮอว์กิ้ง"อัจฉริยะผู้พิการ ส่ง"ดีเอ็นเอ"ขึ้นสู่"อวกาศ"คอลัมน์
จูนคลื่น ชื่อของศาสตราจารย์ สตีเฟน วิลเลี่ยม ฮอว์กิ้ง (Prof.
STEPHEN WILLIAM HAWKING) คนไทยก็รู้จักเขาไม่น้อย
แม้ว่าเขาจะถูกโรคร้ายคุกคามตั้งแต่อยู่ในวัยหนุ่ม เวลานี้ในวัย 66 ปี
เขายังสร้างชื่อในฐานะเขียนงานที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย หนึ่งในหลายๆ
เล่ม ชื่อ ประวัติย่อของกาลเวลา (A Brief History of Time)
นับได้ว่าโดดเด่นยิ่งนักในวงการฟิสิกส์ดาราศาสตร์
เพราะช่วยบุกเบิกให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงหลักการทางฟิสิกส์และจักรวาลวิทยาที่ซับซ้อน
โดยแปลถ่ายทอดออกไปกว่า 40 ภาษา และมียอดจำหน่ายมากกว่า 10 ล้านเล่มทั่วโลก
![]() สตีเฟน วิลเลี่ยม ฮอร์กิ้ง เรื่องราวของกาลเวลาที่ถูกย่อเป็นประวัติกลายเป็นตัวอักษรนั้น ชี้ให้เห็นถึงปรากฏการณ์ครั้งสำคัญในวงการ (หนังสือ) วิทยาศาสตร์ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้เกิดการค้นพบและปรากฏผลจากการสังเกตการณ์ทั้งในระดับจุลภาคและมหภาคมากมาย สอดคล้องกับการทำนายตามทฤษฎีของสตีเฟน ฮอว์กิ้ง ที่ได้เพิ่มเนื้อหาความรู้ใหม่ๆ ที่เกิดจากผลการสังเกตการณ์ล่าสุด ว่าด้วย "รูหนอน" และ "การเดินทางข้ามเวลา" ไม่บ่อยครั้งนัก "นักวิทยาศาสตร์" จะได้รับเสียงชื่นชม โห่ร้องปรบมือราวกับเป็น "ซุปเปอร์สตาร์เพลงร็อค" แต่อัจฉริยะฟิสิกส์หนึ่งเดียวในโลกอย่างเขาทำได้ ทั้งยังพาผู้คนท่องไปในเอกภพครั้งใหม่ ซึ่งเขาเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าว่าในอนาคตอันใกล้ วิทยาศาสตร์จะไขปริศนาต้นกำเนิดเอกภพได้สำเร็จ "ถึงทุกวันนี้ มนุษย์เรายังไม่มีข้อมูลจากการสังเกตอย่างเพียงพอว่า เหตุใดเอกภพ (Universe) ถึงกลับมาขยายตัวอย่างรวดเร็วอีกครั้ง ภายหลังจากที่มันขยายตัวช้าๆ มาอย่างยาวนาน อนาคตของเอกภพจะเป็นอย่างไรนั้น เรายังไม่แน่ใจ เป็นไปได้หรือไม่ที่การขยายตัวของเอกภพเป็นกฎธรรมชาติ หรือแท้ที่จริงแล้วเอกภพกำลังจะถึงคราวแตกดับอีกครั้งหนึ่ง?" ![]()
|
|||||||||||||||||||||||
จุดเปลี่ยน เหนือจินตนาการบทที่ 1 กระบวนการวิวัฒนาการของข้อมูล
จุดเปลี่ยน
เหนือจินตนาการ บทที่ 2 วิวัฒนาการของเทคโนโลยี (1) สู่จุดเปลี่ยน
เหนือจินตนาการ บทที่ 3 สู่จุดเปลี่ยน
เหนือจินตนาการบทที่ 4
มนุษย์ 2007
![]() ย้อนกลับไปดูข่าวใหญ่แวดวงวิทยาศาสตร์ช่วงไม่ถึงปีมานี้ นักวิจัยค้นพบการเปลี่ยนแปลงระดับยีนที่ทำให้มนุษย์กับไพรเมตมีวิวัฒนาการเดินแยกทางไปคนละสาย เท่ากับว่า ตอนนี้เลิกตั้งคำถามได้แล้วว่ายีนตัวไหนที่ทำให้มนุษย์วิวัฒนาการมาถึงทุกวันนี้ได้ แต่นักวิทยาศาสตร์จะพุ่งความสนใจมาที่คำถามที่ว่า "ในดีเอ็นเอมีอะไรที่ทำให้ฉันเป็นฉัน" ![]() นักวิทยาศาสตร์ใช้เทคนิคมากมายมาสแกนหาความเกี่ยวข้องระหว่างยีนกับโรคทางกรรมพันธุ์และโรคเฉพาะตัว ซึ่งสมัยก่อนทำไม่ได้ การจัดทำสารบบและศึกษาผลกระทบของกระบวนการสอดแทรกยีนและการลบทิ้งในดีเอ็นเอมนุษย์ ทำให้รู้ว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีรูปแบบที่เหมือนกันมากกว่าที่เคยคาดไว้ และยังมีบทบาทสำคัญกำหนดให้พันธุกรรมของมนุษย์ทำงาน หรือไม่ทำงาน ![]() เมื่อพิจารณาดูความแตกต่างในยีนสีผมและสีผิว หรือยีน "ภาษา" ยิ่งทำให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจมากขึ้นกว่าเดิมว่า เพราะเหตุใดมนุษย์ปัจจุบันจึงเหมือนและแตกต่างจากมนุษย์นีแอนเดอทัล จีโนมมนุษย์หลายคนถูกนำมาเรียงลำดับข้อมูล ประกอบกับเทคโนโลยีถอดรหัสที่ก้าวหน้าขึ้น ช่วยให้การทำจีโนม "เฉพาะคน" เป็นจริงได้ และเปิดโอกาสให้นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าอะไรคือปัจจัยทำให้มนุษย์มีผมสีแดง ผิวตกกระ อ้วนม่อต้อ หรือชอบช็อกโกแลต ไม่เท่านั้นยังช่วยประเมินได้ว่าคนนั้นมีความเสี่ยงเป็นมะเร็ง ภูมิแพ้ หรือเบาหวานมากน้อยแค่ไหน นับเป็นความก้าวหน้าที่น่ายินดีและน่ากลัวพร้อมกัน เป็นความก้าวหน้าที่เหมือนคำสัญญาว่า สุขภาพของมนุษย์จะดีขึ้นจากยาที่ออกแบบมาเฉพาะบุคคล และเข้าใจตัวเองมากขึ้น ขณะเดียวกัน ข้อมูลเฉพาะตัวของเรายังสุ่มเสี่ยงต่อการกีดกันแบ่งแยก และทำให้สูญเสียความเป็นส่วนตัว ![]() เพราะฉันเป็นฉัน แม้นว่าคู่ดีเอ็นเอจำนวน 3 พันล้านคู่ของมนุษย์จะเรียงลำดับกันอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย แต่มีอยู่ส่วนหนึ่งที่นักวิจัยยังมองไม่ทะลุปรุโปร่งเมื่อครั้งจีโนมฉบับร่างถูกถอดสำเร็จในปี 2544 การศึกษาเปรียบเทียบในช่วงต่อมา นักวิทยาศาสตร์มองเห็นความสำคัญของ RNA และส่วนที่คิดว่าเป็น "ยีนขยะ" แจ่มชัดขึ้น รวมถึงอีก 98% ที่อยู่นอกพื้นที่เข้ารหัสโปรตีน กลางปี 2550 นักวิทยาศาสตร์ทำแผนที่ความหลากหลายของพันธุกรรมมนุษย์ หรือที่เรียกว่า สนิปส์ (SNPs) กว่า 3 ล้านตำแหน่งเสร็จ โครงการนี้เรียกกันว่า แฮปแมพ (HapMap) นักวิทยาศาสตร์ใช้ชุดข้อมูลสนิปส์ติดตามหายีนที่เกี่ยวข้องกับโรคที่ซับซ้อน และเฉพาะปีนี้มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องตีพิมพ์รายงานออกมานับสิบเรื่อง ก่อนหน้านี้ นักพันธุศาสตร์ตามล่ายีนโดยสืบดูจากโรคทางพันธุกรรมที่เกิดกับครอบครัวขนาดใหญ่ หรือสืบหายีนที่ต้องสงสัยจากกลุ่มผู้ป่วย แต่เทคโนโลยีสมัยใหม่ช่วยให้ภารกิจดังกล่าวง่ายขึ้น ด้วยเครื่องมือคัดกรองที่สามารถตรวจหาสนิปส์ 500,000 ตำแหน่งได้ในเวลาเดียวกันจากกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 100 ราย ถึง 1,000 ราย ทั้งที่ป่วยเป็นโรคเฉพาะและคนสุขภาพปกติ เมื่อนักวิทยาศาสตร์ติดเครื่องหมายไว้กับยีนที่ทำให้เกิดอาการผิดปกติเสร็จแล้ว พวกเขารู้ว่าสนิปส์ตัวไหนเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงเป็นโรคมากน้อยอย่างไร ในอดีต การสืบหาความเกี่ยวข้องกันระหว่างสนิปส์กับโรคไม่ใช่เรื่องง่าย งานวิจัยหลายเรื่องถูกทิ้งกลางคัน แต่ปีนี้ นักวิจัยสามารถเชื่อมโยงตำแหน่งที่แตกต่างของยีนมากกว่า 50 ตัวกับความเสี่ยงเป็นโรคนับสิบชนิด ความแตกต่างของยีนเหล่านี้ไม่ได้มีอิทธิพลโดยตรงทำให้เกิดโรค แต่ยังมีปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง และอีกหลายกรณีนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถระบุบทบาทที่แท้จริงของตำแหน่งยีนที่สลับตำแหน่งได้เลย เวลคัมทรัสต์ กองทุนวิจัยชีวเคมีรายใหญ่ในอังกฤษ เป็นหน่วยงานหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการวิจัยจีโนมปีนี้อย่างจริงจัง โดยรับสมัครนักวิจัย 200 คน มาร่วมวิเคราะห์ดีเอ็นเอจากกลุ่มตัวอย่าง 17,000 รายทั่วเกาะอังกฤษ พวกเขาค้นพบข้อมูลเกี่ยวกับพันธุกรรมมหาศาล และนักพันธุศาสตร์เห็นพ้องกันว่าจะแบ่งปันข้อมูลกันตามคำเรียกร้องของกองทุน เดือนมิถุนายน กลุ่มนักวิจัยได้ตีพิมพ์บทวิเคราะห์หนาปึกกล่าวถึงโรค 7 ชนิด เช่น โรคไขข้อ โรคจิตเภท โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น ทีมวิจัยยังพบยีนเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานชนิด 1 และเจอยีนใหม่ 3 ยีนที่เป็นตัวการโรคโครห์น ![]() นอกจากนี้ยังมีงานศึกษามากมายเกี่ยวกับเบาหวานชนิด 2 งานวิจัยของฝรั่งเศสเรื่องหนึ่งศึกษาพบยีนผลิตโปรตีนทำหน้าที่ส่งสังกะสีเข้าไปยังตับอ่อนเพิ่มความเสี่ยงเป็นเบาหวานชนิด 2 มากขึ้น พวกเขายังพบยีนที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ มะเร็งเต้านม เส้นเลือดเปราะ ไขข้ออักเสบ มะเร็งลำไส้ โรคเอ็มเอส (ความผิดปกติของประสาทส่วนกลาง) โรคต้อหิน เป็นต้น ปีนี้ยังมีงานศึกษาอยู่เรื่องหนึ่งกล่าวถึงยีนที่มีลักษณะแตกต่างเป็นพิเศษช่วยชะลอการพัฒนาของโรคเอดส์ ช่วยให้เข้าใจมากขึ้นว่าเพราะเหตุใดบางคนถึงติดโรคง่าย บางคนติดโรคยาก ย้อนโปรแกรมเซลล์ผิวหนัง การค้นพบครั้งสำคัญประจำปีอีกเรื่องหนึ่งคือ การย้อนโปรแกรมเซลล์ผิวหนังให้กลับไปเป็นเซลล์ต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์ ผลงานของนักวิจัยญี่ปุ่นและสหรัฐที่แยกกันทำ ความสำเร็จดังกล่าวเป็นงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกียวโต และมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน ทั้งสองทีมต่างฝ่ายต่างศึกษาตามแนวทางของตัวเอง บังคับให้เซลล์ย้อนโปรแกรมกลับไปเป็นสเต็มเซลล์ มีคุณสมบัติใช้งานได้เหมือนกับสเต็มเซลล์จากตัวอ่อนทุกประการ หมายความว่า งานวิจัยด้านนี้ไม่ต้องอาศัยสเต็มเซลล์จากตัวอ่อนที่เกิดจากการปฏิสนธิระหว่างไข่กับอสุจิอีกแล้ว ก่อนหน้านี้ เชื่อกันว่าสเต็มเซลล์จากตัวอ่อนเท่านั้นที่มีคุณสมบัติเปลี่ยนไปเป็นเซลล์ชนิดอื่น 220 ชนิดที่อยู่ในร่างกายของมนุษย์ได้ ทว่า ทีมวิจัยจากญี่ปุ่นใช้สูตรผสมทางเคมีที่ประกอบด้วยโปรตีนควบคุมยีน 4 ตัวเพื่อเปลี่ยนเซลล์ผิวหนังที่เรียกว่า ไฟโปรบลาสต์ ไปเป็นเซลล์ที่มีศักยภาพเปลี่ยนไปเป็นเซลล์ชนิดอื่นได้ เซลล์ที่สร้างขึ้นมีลักษณะคล้ายกับสเต็มเซลล์จากตัวอ่อน โดยนักวิจัยนำมาใช้ผลิตเนื้อเยื่อสมองและหัวใจ หลังจากผ่านไป 12 วัน เซลล์ที่นำมาเลี้ยงพัฒนาตัวคล้ายเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อหัวใจที่กระตุกเต้นได้ ส่วนทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน ใช้ส่วนผสมทางเคมีที่ต่างจากญี่ปุ่นเล็กน้อย และสามารถพัฒนาสเต็มเซลล์ 8 ชุด เพื่อใช้ในงานวิจัย ตามหากระสุนคอสมิก รังสีคอสมิก เป็นปริศนาที่นักฟิสิกส์ฉงนกันมานานนับตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1960 เป็นต้นมา นักฟิสิกส์อยากรู้กันมาตลอดว่า อนุภาคจากห้วงอวกาศที่เล็กกว่าอะตอมพุ่งชนชั้นบรรยากาศโลกด้วยพลังงาน 100 ล้านเท่าสูงกว่าเครื่องเร่งอนุภาคปัจจุบันทำได้ และปีนี้พวกเขาใกล้ไขปริศนาได้แล้ว นักฟิสิกส์หลายคนเข้าใจว่า รังสีคอสมิกเป็นโปรตอนที่มาจากกาแล็กซีไกลโพ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนักวิจัยในโตเกียวรายงานพบรังสี 11 ครั้ง มีพลังงานเกินระดับ 100 Eev สูงกว่าที่คาดไว้ 10 เท่า สร้างความงุนงงเหลือประมาณ ปกติแล้ว ตลอดระยะการเดินทางอันยาวไกล โปรตอนควรทำอันตรกิริยากับรังสีที่เหลืออยู่หลังจากเกิดบิกแบงจนเหลือพลังงานราว 60 Eev ด้วยเหตุนี้พลังงานที่เกินมานั้นอาจหมายความว่า รังสีคอสมิกมาจากห้วงอวกาศใกล้ๆ นี่เอง ทีมนักฟิสิกส์จากยูทาห์ สหรัฐ ใช้เครื่องตรวจจับความละเอียดสูง 1,500 ตัว ตรวจหารังสีคอสมิกครอบคลุมพื้นที่ 3,000 ตารางกิโลเมตร กว้างกว่าของทีมญี่ปุ่นที่ใช้เครื่องจับคลื่นรังสี 111 ตัว คลุมพื้นที่ 100 ตารางกิโลเมตร เดือนกรกฎาคม ทีมสหรัฐรายงานว่าไม่พบรังสีคอสมิกที่มีพลังงานเกิน 60 Eev เลย อย่างไรก็ดี เดือนที่แล้วทีมสหรัฐออกมาเผยว่า พบรังสีคอสมิกพลังงานสูงกว่าเมื่อครั้งก่อนหลายสิบครั้ง คาดว่าน่าจะมาจาก AGN หลุมดำขนาดใหญ่ที่อยู่ห่างจากโลก 250 ล้านปีแสง เป็นระยะที่ใกล้เกินกว่ารังสีคอสมิกจะคลายพลังงานออกไปได้มากระหว่างเดินทางมายังโลก ถึงกระนั้น ยังไม่อาจพิสูจน์ได้ชัดว่า รังสีคอสมิกมาจากหลุมดำ AGN และยังไม่มีใครรู้ว่า หลุมดำนี้เร่งพลังงานโปรตอนเพิ่มขึ้นอย่างมหึมาได้อย่างไร ขณะเดียวกัน ปีนี้มีงานวิจัย 4 เรื่อง ที่กล่าวรายละเอียดถึงโครงสร้างของ เบต้า2-อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ ซึ่งทำหน้าที่สำคัญ ส่งข้อมูลจากฮอร์โมน สารสื่อประสาท (เซโรตินิน) และโมเลกุลต่างๆ ในร่างกาย ยาหลายชนิดตั้งแต่ยาแก้แพ้ไปจนถึงยากลุ่มเบต้า บล็อกเกอร์ ออกฤทธิ์กับตัวรีเซพเตอร์ตัวนี้ การเปิดเผยโครงสร้างเบต้า2-อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ ปูทางสู่การปรับปรุงประสิทธิภาพของยาหลายตัว การพัฒนา ทรานสิชั่น เมทัล ออกไซด์ อาจเป็นการปฏิวัติครั้งต่อไปของวัสดุที่ใช้ทำวงจรจิ๋ว นักวิจัยมองแง่ดีว่า การผสมออกไซด์รูปแบบใหม่จะให้ประสิทธิภาพสูงกว่าซิลิคอนที่ใช้เป็นสารกึ่งตัวนำในที่สุด ปีหมูที่กำลังจะผ่านไปนี้ นักวิจัยได้ทดลองยืนยันสิ่งที่นักฟิสิกส์ทฤษฎีคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "ฮอล เอฟเฟคท์" ในอิเล็กตรอน ถ้าปรากฏการณ์เกิดขึ้นที่อุณหภูมิห้องได้จริง อนาคตมีโอกาสใช้คอมพิวเตอร์อิเล็กตรอนพลังปั่นแน่ การค้นพบด้านชีววิทยาปีนี้ นักวิจัยพบว่าเมื่อหน่วยคุ้มครองร่างกาย "ทีเซลล์" แบ่งร่าง จะได้โปรตีนออกมา 2 ชนิด ตัวหนึ่งเป็นโปรตีน "ทหาร" ทำหน้าที่สู้รบปรบมือกับไวรัส หรือเนื้องอกโดยฉับพลัน อีกตัวเป็นโปรตีน "เซลล์รู้จำ" ที่กบดานรออยู่หลายปีเพื่อจัดการกับผู้บุกรุกในวันข้างหน้า การค้นพบนี้ช่วยพัฒนาประสิทธิภาพของวัคซีนในอนาคต ตลอดช่วงของปี นักวิทยาศาสตร์ค้นพบวิธีทรงประสิทธิภาพมากมายเพื่อใช้สังเคราะห์ส่วนประกอบอินทรีย์ แล้วเป็นไงน่ะเหรอ ก็ได้ยาที่ถูกลง และตัวสังเคราะห์ใหม่น่ะสิ การค้นพบที่น่าทึ่งอีกเรื่องหนึ่งคือ จินตนาการของมนุษย์มาจากไหน การศึกษาในคนและหนูพบว่า ความจำและจินตนาการมีที่มาจากสมองส่วน ฮิปโปแคมปัส นักวิทยาศาสตร์จึงเสนอว่า สมองเอาเหตุการณ์ในอดีตที่กระจัดกระจายมาปะติดปะต่อกันจนเป็นอนาคต อันดับสุดท้าย นักวิทยาศาสตร์พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้ "แก้" เกมหมากรุก ทำให้คอมพิวเตอร์กลายเป็นเซียนหมากรุกที่ไม่มีใครจะปราบได้ นักวิจัยสาธิตให้เห็นว่า เกมหมากรุกมักลงเอยที่เสมอกัน หากคู่แข่งเดินถูกหมาก เส้นทางวิทยาศาสตร์ปีหนู เริ่มจากฟิสิกส์ ตั้งหน้าตั้งตารอกันมาตั้งแต่ต้นปี จนแล้วจนรอดเครื่องเร่งอนุภาคที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ชื่อ Large Hadron Collider ไม่ยอมเดินเครื่องเสียที กำหนดการต่อไปวางแผนไว้กลางปีหน้า นักฟิสิกส์หวังกันว่า เมื่อเร่งอนุภาคมาชนกันด้วยความเร็วสูงอาจปรากฏอนุภาคตัวใหม่ และไขความลับจักรวาล การค้นพบครั้งยิ่งใหญ่แห่งมนุษยชาตินี้ต้องอดทนรอกันหน่อย นักพันธุศาสตร์พิศวาสนักหนากับการศึกษาโมเลกุล RNA ที่ควบคุมการแสดงออกของยีน ในปีหน้า พวกเขาจะเริ่มใช้ไมโคร อาร์เอ็นเอ มากระชากหน้ากากกลไกเกิดโรค และค่อยๆ สืบให้กระจ่างว่ามันทำงานอย่างไร นอกจากนี้ ปีหน้า นักวิทยาศาสตร์ยังฝันหวานว่าจะ "บูตเครื่อง" เซลล์ให้ทำงานโดยใช้ดีเอ็นเอสังเคราะห์ โอกาสที่ได้จากความสำเร็จนี้มีมากมาย เผลอๆ อาจผลิตไบโอดีเซลจากจุลชีพใช้แก้ขัดยามน้ำมันแพง ด้านบรรพชีวิน นักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์ฟอสซิลกระดูกพบข้อมูลใหม่เกี่ยวกับอวสานของมนุษย์นีแอนเดอทัล และเอาข้อมูลไปเปรียบเทียบกับมนุษย์โฮโม ซาเปียน คาดกันว่าปลายปี 2008 ร่างจีโนมมนุษย์นีแอนเดอทัลคงออกมา อดใจรอหน่อยคงได้เห็นนักวิทยาศาสตร์ชุบชีวิตมนุษย์โบราณขึ้นมา อย่างน้อยแค่ยีนสักตัวก็ยังดี คอมพิวเตอร์ศาสตร์มีเรื่องให้เฝ้ารอเหมือนกัน สารมัลติเฟอร์โรอิกเป็นสารประกอบที่เป็นอนุพันธ์จากสารกึ่งตัวนำที่ได้จากเซรามิคออกไซด์ หวังกันว่ามันจะถูกนำมาใช้เป็นชิพรุ่นใหม่ ห้องปฏิบัติการวิจัยทั่วโลกเริ่มวิเคราะห์จุลชีพที่อยู่ในร่างกายของมนุษย์แล้ว ระหว่างนี้ นักวิจัยอีกกลุ่มออกเดินทางไปถอดจีโนมจุลชีพพันธุ์อึดที่ใช้ชีวิตอยู่ในก้อนน้ำแข็งขั้วโลก และลาวา เพื่อให้รู้ว่าสภาพที่แสนจะทารุณขนาดนั้นทนอยู่ได้อย่างไร โต๊ะข่าววิทยาศาสตร์ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2550 -------------------- ![]() ประวัติศาสตร์โลก
ผ่าน "เกลือ" สะกิดใจ 17/12/51
สะกิดใจ 18/12/51
|
Rubiks Cube
เรื่องของคนชอบบิด เรื่อง-กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 25 พฤศจิกายน 2551 ![]() เมื่อครั้งเป็นเด็ก ผมเคยมีของเล่นชิ้นหนึ่งรูปทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ที่แต่ละด้านมีสีเหมือนกัน ไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันเรียกว่าอะไร และหลังจากที่ผมทำลายเอกภาพของสีแต่ละด้านลงเรียบร้อย ความเป็นเอกภาพของสีแต่ละสีก็ไม่เคยปรากฏขึ้นอีกเลย ผมก็ไม่ผิดแผกจากเด็กทั่วไป เมื่อไม่มีสติปัญญาจะแก้ปริศนาได้ ความเบื่อจึงตามมา แล้วเจ้าของเล่นชิ้นนั้นก็เริ่มถูกวางไว้เฉยๆ และสูญหายไปในที่สุด เพิ่งจะมารู้เอาเมื่อไม่นานนี้ว่า เจ้าของเล่นที่ผมเห็นตั้งแต่เด็กมีชื่อเรียกว่า รูบิกส์คิวบ์ (Rubiks Cube) หรือ ลูกบาศก์ของนายรูบิก ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่ามันเป็นของเล่นที่คิดค้นโดยคนที่ชื่อว่า รูบิก แต่ก่อนที่เราจะรู้จักความเป็นมาของของเล่นชิ้นนี้ อยากให้ลองสังเกตอะไรบางอย่างก่อน ต้องบอกว่าเป็นความรู้สึก และไม่แน่ใจด้วยว่าเป็นความรู้สึกของผมคนเดียวหรือเปล่า แต่ระยะที่ผ่านมาผมมักพบเห็นรูบิกส์คิวบ์วางขายแบกะดินบ่อยครั้งมากขึ้น อันละสามสิบสี่สิบบาท เรื่องแบบนี้ถ้าไม่มีอุปสงค์ย่อมไม่มีอุปทาน แล้วพอได้เดินงานมหกรรมหนังสือฯ ครั้งที่ผ่านมา ก็พบว่าร้านของเล่นเกือบทุกร้านจะต้องมีรูบิกส์คิวบ์วางขาย บางคนอาจเถียงว่าก็มีขายทุกครั้งอยู่แล้ว แต่ความต่างก็คือครั้งนี้มีรูบิกส์คิวบ์หลายเกรด หลายราคา มีทั้งแบบถอดประกอบเอง แบบราคาถูก ถึงราคาสองสามร้อยบาท หรือว่ากระแสคลั่งไคล้รูบิกส์คิวบ์กำลังจะกลับมา เหมือนครั้งที่มันออกมาใหม่ๆ? ![]() คนนี้แหละ นาย Rubik ลูกบาศก์ของนายรูบิก แม้ว่าของเล่นชิ้นนี้จะถูกเรียกว่า ลูกบาศก์ของนายรูบิก แต่เอาเข้าจริงๆ แล้ว มันไม่ได้มีชื่อนี้มาตั้งแต่ต้น และของเล่นที่มีวิธีการเล่นทำนองนี้ก็ไม่ใช่นายรูบิกที่คิดขึ้นเป็นคนแรก มีนาคม 1970 Larry Nichols ได้ประดิษฐ์ของเล่นแบบนี้ขึ้นก่อนนายรูบิก เพียงแต่ว่ามันมีขนาด 2x2x2 ไม่ใช่ 3x3x3 แบบที่เราเห็นอย่างตอนนี้ คุณ Larry ตั้งชื่ออย่างยาวว่า Puzzle with Pieces Rota table in Group ซึ่งกลไกที่ยึดของเล่นนี้เข้าไว้ด้วยกันคือแม่เหล็ก กระทั่งปี 1974 Erno Rubik ประติมากรและศาสตราจารย์ด้านสถาปัตยกรรม ชาวฮังการีจึงได้คิดค้น Magic Cube แต่กว่าจะได้ผลิตออกมาขายตามร้านของเล่นในกรุงบูดาเปสต์ก็ล่วงเลยถึงปี 1977 ซึ่งมีแววว่าจะไปได้ดีกว่าของเล่นของคุณ Larry ที่มีราคาแพงกว่า เนื่องจากคุณรูบิกใช้กลไกที่ทำจากพลาสติกเป็นตัวยึดลูกบาศก์ลูกเล็กๆ เข้าไว้ด้วยกันแทนที่จะใช้แม่เหล็ก จึงทำให้มันมีราคาถูกกว่าเห็นๆ Magic Cube เป็นที่รู้จักแพร่หลายในปี 1980 เมื่อบริษัท Ideal Toys นำมาสู่โลกตะวันตก ด้วยการเปิดตัวครั้งแรกในงานแสดงของเล่นที่ลอนดอน ปารีส นูเรมเบิร์ก และนิวยอร์ก เมื่อเห็นลู่ทางอันสดใส Ideal Toys จึงคิดจะตั้งชื่อใหม่เพื่อตีตลาด สองชื่อที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาคือ The Gordian Knot และ Inca Gold แต่ที่สุดของที่สุดแล้วก็กลับมาลงเอ่ยที่ชื่อธรรมดาสามัญ Rubiks Cube ![]() Rubik's Cube แบบต่างๆ ถึงปัจจุบันนี้ รูบิกถูกพัฒนา ปรับเปลี่ยนจนมีความหลากหลายมากขึ้น มีทั้งแบบ 2x2x2, 4x4x4, 5x5x5, 8x8x8 หรือมากกว่านั้น มีแบบที่เป็นวงกลม สามเหลี่ยม หรือรูปดาว อย่างไรก็ตาม แบบที่คลาสสิกที่สุดยังคงเป็นแบบ 3x3x3 และต้องเป็นสีน้ำเงิน สีขาว สีเหลือง สีส้ม สีเขียว และสีแดง ถึงจะเรียกว่าคลาสสิกจริง มันยังถูกพูดถึงว่าเป็นของเล่นที่ขายดีที่สุดในโลกอีกด้วย เพราะมันถูกขายไปแล้วกว่า 300 ล้านอันทั่วโลก นอกจากนี้ ยังมีเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับ Rubiks Cube อยู่ไม่น้อย เชื่อว่าคงเคยมีนักคณิตศาสตร์ช่างคิด (และอยู่ว่างๆ) สักคนคำนวณความเป็นไปได้ของรูปแบบการเรียงสลับสีของ Rubiks Cube ไว้ ซึ่งทำให้ได้ตัวเลขที่น่าตกใจไม่น้อย เพราะมันมีความเป็นไปได้มากมายถึง 43,252,003,274,489,856,000 รูปแบบ แต่ว่ากันว่าการเล่น Rubiks Cube มันเกี่ยวพันกับหลักการทางคณิตศาสตร์ที่เราเคยเรียนสมัย ม.ปลาย ที่เรียกว่า อัลกอริธึม (Algorithm) ปี 1982 David Singmaster และ Alexander Frey ก็ตั้งสมมติฐานโดยอาศัยหลักอัลกอริธึมว่า การจัดวาง Rubiks Cube ให้กลับมามีสีเหมือนกันทั้ง 6 ด้าน น่าจะทำได้โดยการหมุนไม่เกิน 20 ครั้ง แน่นอน เรื่องแบบนี้ก็เหมือนเป็นการท้าทายนักคณิตศาสตร์อย่างหนึ่ง ปี 2007 Daniel Kunkle และ Gene Cooperman ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแก้ปัญหานี้เพื่อจะพิชิต Rubiks Cube ให้ได้ภายในการหมุน 20 ครั้ง แต่พวกเขาทำได้ดีที่สุดคือ 26 ครั้ง พอถึง ปี 2008 สถิตินี้ถูกทำลายลงด้วยการหมุนเพียง 22 ครั้ง ของ Tomas Rokicki และจนถึงตอนนี้การค้นหาวิธีเพื่อเข้าใกล้ตัวเลขของคุณ David ยังคงดำเนินอยู่ต่อไป และถ้าคุณอยากจะลองดูก็คงไม่มีใครว่า ![]() นี่ก็ Rubik's Cube สวยๆ อีกแบบหนึ่ง ชมรมรูบิกไทย เวลามีปรากฏการณ์หนึ่งเบ่งบาน ย่อมเป็นเพราะมีปัจจัยหลายหลากเชื้อชวนให้เกิด จากที่ได้พูดคุยกับนักเล่นรูบิก ปัจจัยเด่นที่ปลุกกระแส Rubiks Cube หนีไม่พ้นเทคโนโลยีสารสนเทศหรือจะเรียกแบบไม่ต้องปรุงแต่งว่า อินเตอร์เน็ต ยี่สิบ สามสิบปีก่อนที่กระแสรูบิกหลั่งไหลจากตะวันตกเข้าสู่เมืองไทย น่าจะมีน้อยถึงน้อยที่สุดที่สามารถหมุนได้ครบทั้ง 6 ด้าน ต่อให้คิดจนหัวแทบแตก บิดจนเมื่อยมือ และรูบิกพังกันไปหลายอัน ความเป็นเอกภาพของสีก็ยังไม่เกิดขึ้นในมือใครหลายๆ คน ยุคนั้นอินเตอร์เน็ตยังไม่ใช่สิ่งที่รู้จักแพร่หลายเหมือนทุกวันนี้ ไม่มีแหล่งข้อมูลให้ค้นหาคำตอบของปริศนา เมื่อสักกลางๆ ปีที่แล้ว ตอนนั้นเว็บไซต์ไทยแลนด์คิวบ์ยังไม่มี ผมลองค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับรูบิกในบ้านเราซึ่งตอนนั้นมีแค่ 2 เว็บไซต์ เป็นของคุณกึ่งยิงกึ่งผ่านกับคุณโจโจ้ คุณโจโจ้เขาลงคลิปและโพสต์ว่าเขาทำได้ภายในเวลา 22 วินาที ผมก็...โอ้โห มันเป็นเรื่องที่แปลกประหลาดมาก คุณโจโจ้เขาบอกว่าจะฝึกบิดให้ครบ 6 ด้านให้ได้ใน 1 นาทีภายในเวลา 1 เดือน แล้วเขาก็ทำได้ เราก็คิดว่าเราก็น่าจะทำได้ ผมจึงเข้าไปหาข้อมูลในเว็บไซต์ต่างประเทศ จนสามารถทำได้ แล้วตอนหลังก็ได้มารู้จักกับคุณชัชวาลย์ซึ่งกำลังจะก่อตั้งชมรมของคนเล่นคิวบ์ในเมืองไทย ประมาณกรกฎาคมปีที่แล้ว ผมก็เอาคลิปวิธีเล่นไปโพสต์ในเว็บนี้ คนเริ่มเข้ามาดู จนเกิดเป็นกระแสขึ้นมา พอเด็กเข้ามาดู เล่นเป็น เอาไปเล่นให้เพื่อนดู เพื่อนก็อยากเล่นเป็นบ้าง มันก็เกิดการขยายตัว ตอนนี้ตัววิดีโอเป็นอันดับ 1 ของกูเกิลแล้ว เพราะที่เป็นของคนไทยมีแค่คลิปเดียว เลยมีคนไทยเข้าไปดูกันเยอะ ทำให้รูบิกเริ่มแพร่หลาย กันย์ ศิริมาตย์ รองชนะเลิศอันดับ 1 รุ่นประชาชนทั่วไป ในการแข่งขันรูบิก อพวช. ประจำปี 2008 และเจ้าของร้านขายรูบิกส์คิวบ์ที่ฟอร์จูนทาวเวอร์ พูดถึงการกลับมาของกระแสรูบิก หลังจากที่รูบิกส์คิวบ์เป็นปริศนาคาใจของคนจำนวนมากมาตั้งแต่ 30 ปีที่แล้ว จู่ๆ ก็มีคนมาบอกวิธีเล่นให้ครบ 6 ด้าน ไม่แปลกกระมังถ้าจะมีคนอยากรู้อยากเห็น ขณะที่กลุ่มเด็กมัธยมซึ่งเป็นกลุ่มเล่นหลักก็สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ บวกกับการเล่น การบอกต่อ การสอนกันในหมู่เพื่อนก็ยิ่งทำให้กระแสรูบิกส์คิวบ์ขยายตัวอย่างรวดเร็ว การถือกำเนิดของเวบ ชมรมรูบิกไทย หรือ www.thailandcube.com จึงเป็นเครื่องยืนยันอิทธิพลของอินเทอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี ![]() ชัชวาลย์ จารุวัฒนกุล ผู้ก่อตั้งชมรมรูบิคไทย ชัชวาลย์ จารุวัฒนกุล ผู้ก่อตั้งชมรมรูบิกไทย และตัวแทน World Cube Association ในประเทศไทย เล่าให้ฟังว่า เขาเล่นรูบิกส์คิวบ์มาตั้งแต่เมื่อ 30 ปีที่แล้วและสามารถทำได้ครบทั้ง 6 ด้านในเวลาประมาณ 3 นาที จากนั้นก็ห่างหายกับมันไปตามกาลเวลา กระทั่งเมื่อ 5 ปีก่อนเขากลับมาเล่นใหม่ และลองค้นหาวิธีการเล่นเร็ว ความว่างบวกความชอบ เขาจึงตัดสินใจทำเว็บไซต์ชมรมรูบิกส์ไทยขึ้นในเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว จากนั้นก็เริ่มมีการแข่งขันกันตั้งแต่เริ่มแรก เราได้รับการติดต่อจากทางองค์กรพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ซึ่งเขาจะจัดแข่งรูบิกในงานถนนสายวิทยาศาสตร์ เขาก็ให้เราไปช่วยจัดการแข่งขัน หลังจากนั้นก็มีหน่วยงานอื่นๆ ที่รู้จักเรา เข้ามาในเว็บไซต์ ติดต่อมาให้ช่วยจัดแข่งอยู่เรื่อยๆ กระแสรูบิกเริ่มจุดติด หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และการศึกษาเริ่มให้ความสนใจ ขณะที่ธุรกิจเอกชนก็ทำกิจกรรมประชาสัมพันธ์ด้วยการจัดแข่งรูบิก จากที่เวลานักเรียนเอาไปเล่นในโรงเรียนจะถูกครูยึด กลายเป็นครูต้องปล่อยให้เด็กเล่นเพราะระบาดหนัก ปัจจัยอีกประการที่ทำให้รูบิกส์คิวบ์กลับมาฮิตฮอตคือกระแสในต่างประเทศ ปี 2003 เมื่อมีการก่อตั้ง World Cube Association ขึ้นอย่างเป็นทางการ มีการจัดแข่งขันเพื่อหานักเล่นรูบิกส์คิวบ์ที่เร็วที่สุดในปีเดียวกัน ก็ทำให้เกิดแรงกระเพื่อมไปทั่ว รูบิกขั้นเทพ-เร็ว เร็ว และเร็วที่สุด สำหรับคนที่ไม่ได้อยู่ในยุทธจักรรูบิกส์คิวบ์อาจนึกไม่ถึงว่า พวกนักรูบิกส์คิวบ์ขั้นเทพสามารถหมุนได้เร็วแค่ไหน เราลองมาดูสถิติที่เคยมีการบันทึกเอาไว้ แล้วคุณอาจจะทึ่ง การแข่งขันรูบิกส์คิวบ์ถูกจัดขึ้นครั้งแรกที่บ้านเกิดของเจ้าของเล่นชิ้นในกรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี ในวันที่ 5 มิถุนายน 1982 ผู้ชนะเลิศในครั้งนั้นเป็นนักศึกษาชาวเวียดนามจากลอสแองเจลิส ชื่อว่า Minh Thai เขาใช้เวลา 22.95 วินาที และถ้าคุณคิดว่าเร็วแล้วล่ะก็ เดี๋ยวก่อน... เพราะในการแข่งขัน Czech Open ปี 2008 Erik Akkersdijk หมอนี่สามารถหมุนรูบิกส์คิวบ์ได้ครบ 6 ด้านด้วยเวลา 7.08 วินาที! และนี่เป็นเวลาที่ดีที่สุดที่เคยมีการบันทึกไว้ แต่ถ้าสถิติเวลาเฉลี่ยจะอยู่ที่ 11.28 วินาที เป็นของ Yu Nakajima ที่ทำไว้ในการแข่งขัน Kashiwa Open เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคมปีนี้ ![]() ต้าร์-กิตติกร ตั้งสุจริตธรรม แชมป์ประเทศไทย สำหรับในเมืองไทย กิตติกร ตั้งสุจริตธรรม หรือ ต้าร์ นักเรียนชั้นมัธยม 6 โรงเรียนหอวัง ถือเป็นนักเล่นรูบิกส์คิวบ์มือ 1 ณ ขณะนี้ เขาชนะเลิศในการแข่งขัน TOY R US Rubiks Cube Thailand Open 2008 ด้วยเวลา 14.43 วินาที ล่าสุด เขาเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขัน Rubiks Asian Championship ที่ประเทศฮ่องกง ได้คว้าเหรียญทองแดงกลับมาด้วยเวลา 14.76 วินาที นอกจากจะมีการแข่งในแง่ความเร็วแล้ว ยังมีการแข่งแบบปิดตาซึ่งต้องอาศัยความจำที่แม่นยำ การแข่งแบบทีมที่เรียกว่า Team Blindfold โดยคนที่ถูกปิดตาจะเป็นคนหมุนรูบิกส์คิวบ์ตามคำบอกของอีกคนหนึ่ง การแข่งแบบมือเดียว การแข่งโดยใช้เท้า อันที่จริงการบิดรูบิกส์คิวบ์ให้ครบ 6 ด้านไม่ได้ยากอย่างที่เราเคยคิด เพราะมันมีสูตรของมันอยู่ มิหนำซ้ำยังมีเป็นร้อยสูตร แต่ถ้าจะทำให้เร็วนั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะใช่ว่าคนที่จำสูตรได้เยอะจะสามารถเล่นได้เร็ว ถามกิตติกรว่าทำยังไงถึงจะบิดได้เร็ว เขาตอบว่า ซ้อมครับ ซ้อมทุกวัน ซ้อมวันละ 4-5 ชั่วโมง มันไม่มีขั้นตอนหรอกครับ ก็แค่บิดให้สีสลับกัน แล้วก็บิดให้เสร็จเท่านั้น คือการทำซ้ำหลายๆ รอบจะทำให้เราเกิดความคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับมันมากขึ้น ซ้อมไป คิดไป เพราะเราจำสูตรได้อยู่แล้ว แต่เวลาซ้อม เวลาใช้สูตร เราอาจจะได้อะไรใหม่ๆ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลายๆ กรณีมากขึ้น เพราะตอนที่รูบิกมันสลับสี มันเกิดได้หลายรูปแบบครับ และเราก็ต้องเอาสูตรตรงนี้มาประยุกต์ให้เข้ากับตัวเราเองด้วย กันย์ เสริมว่า ในการแข่งความเร็ว ช่วงแรกเขาจะให้เราดูก่อนประมาณ 15 วินาที ให้เราคิดว่าจะต้องย้ายอันไหนไปตรงไหน ซึ่งตอนแรกจะอิสระมากเพราะตรงไหนก็ไปได้หมด แต่จะเริ่มถูกบังคับกรอบมากขึ้น เพราะหลายๆ ส่วนเสร็จไปหมดแล้ว เหลือทางเลือกไม่กี่ทาง ตอนแรกเป็นช่วงที่ต้องคิดเยอะ แล้วก็แข่งกันว่าสายตาใครจะไวกว่ากันในการมองหาชิ้นต่อไป ที่เราหมุนอยู่ตอนนี้ เราไม่ได้มองชิ้นที่หมุนนะครับ เรามองชิ้นต่อไป อีกอย่างคือทุกคนต้องฝึกความจำในการจำสูตรต่างๆ แต่ก็ต้องมาดูกันว่าใครจะสามารถดึงความจำเหล่านั้นออกมาใช้ได้เร็วที่สุด มาเล่นรูบิกกันดีกว่า ผมตั้งเป้าหมายไว้ตั้งแต่แรกแล้วว่าจะส่งตัวแทนของประเทศไทยไปชิงแชมป์โลก ตอนนี้เรากำลังจะจัดการแข่งขันระดับประเทศ ซึ่งน่าจะจัดประมาณต้นปีหน้า เป็นการแข่งขันอย่างเป็นทางการ และภายในปีหน้าคิดว่าน่าจะมีการแข่งขันชิงแชมป์โลก ซึ่งเราจะส่งตัวแทนไป ตอนนี้เราก็เตรียมพร้อมไว้แล้ว ถ้าสามารถหาสปอนเซอร์ได้ก็อาจจะส่งไปหลายคนในหลายรุ่น ชัชวาลย์พูดถึงจุดมุ่งหมายของเขา ถามว่าการเติบโตของกระแสรูบิกส์คิวบ์ในวันข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ปรากฏอย่างหวือหวาและเงียบหายไปเหมือนจตุคามรามเทพหรือเปล่า ชัชวาลย์บอกว่าขึ้นอยู่กับการทำงานของทีมงานชมรมรูบิกไทยที่จะต้องจัดกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอเพื่อสร้างพื้นที่ให้นักเล่นรูบิกส์คิวบ์ได้แสดงความสามารถ รวมถึงการส่งเสริมของภาคส่วนต่างๆ เขาบอกว่าการเล่นรูบิกส์คิวบ์เป็นการ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ฝึกการใช้ทักษะของนิ้ว สายตา ความคิด ความจำ ให้ประสานกันในการแก้ปัญหา ในสังคมของคนเล่นรูบิกจะมีการคิดวิธีการแก้โจทย์เพิ่มขึ้น แล้วก็เอามาแบ่งปันกัน สำหรับกิตติกร จากเด็กที่เคยติดเกมมาก่อน เขาคิดเรื่องรูบิกส์คิวบ์ไปไกลกว่านั้น ผมอยากให้ในโรงเรียนมีวิชาเลือกเป็นวิชารูบิก เอาตั้งแต่ชั้นอนุบาล ชั้นประถม ไม่จำเป็นต้องจำสูตร คือการจำสูตรมันไม่ได้ช่วยให้ฝึกสมองมากขึ้น มันแค่ช่วยให้เราใช้ไหวพริบ ใช้ความคิดให้เร็ว แต่ถ้าเขานั่งเล่น นั่งบิด เขาจะต้องใช้ตรรกะ การแยกสี เอาสีไหนมารวมกัน หลบไปทางไหน ช่วยฝึกสมองได้มากเลย เคยได้ยินว่าการเล่นรูบิกช่วยลดอาการสมองฝ่อในผู้สูงอายุได้ ได้ยินว่าผู้ปกครองจำนวนหนึ่งก็สนับสนุนให้ลูกๆ เล่นรูบิกส์คิวบ์เหมือนกัน เพราะสามารถจับต้องได้ ไม่เหมือนเกมคอมพิวเตอร์ สุดท้าย ถ้าใครเคยเล่นรูบิกส์คิวบ์เมื่อนานมาแล้วและไม่สามารถแก้โจทย์ได้ แนะนำให้ลองเข้าไปชมวิธีการที่เว็บของชมรมรูบิกไทย แล้วคุณอาจรู้สึกว่ามันไม่ยากอย่างที่คิด **************** เรื่อง-กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล เพอร์มาคัลเชอร์ เกษตรยั่งยืนแบบฝรั่ง ติดดินแต่อินเตอร์ โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 11 ธันวาคม 2551 ![]() ผู้เข้าอบรมนำเสนอการออกแบบพื้นที่ตามแนวคิดเพอร์มาคัลเชอร์ -------------------- ขึ้นชื่อว่าวิถีการทำเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนแล้ว ดูจะสวนกระแสกับโลกวัตถุนิยมที่กลายเป็นภาพลักษณ์ของสังคมตะวันตก ที่ซีกโลกตะวันออกอยากจะเร่งติดตามให้ทัน แม้ในปัจจุบันสังคมไทยจะมีการพูดถึงเรื่องความยั่งยืนแบบพอเพียงอย่างแพร่หลาย ด้วยแนวคิดที่ไม่ต้องการวิ่งตามกระแสการพัฒนาของโลกจนหลงลืมรากเหง้าของตนเอง ขณะเดียวกันนั้นสังคมตะวันตกเองก็เริ่มตื่นตัวในเรื่องนี้เช่นกัน ความตื่นตัวดังกล่าว...ไม่ใช่แค่การเห่อหรือเป็นเพียงกระแสวูบวาบ แต่วิถีคิดการทำเกษตรยั่งยืนแบบฝรั่งนี้มีมานานแล้วกว่า 3 ทศวรรษ จนกระทั่งต่อมาเป็นที่รู้จักในนามของ "เพอร์มาคัลเชอร์" (permaculture) เกษตรยั่งยืนแบบฝรั่งที่ติดดินแต่อินเตอร์ 'เพอร์มาคัลเชอร์' คืออะไร เพอร์มาคัลเชอร์ (permaculture) เป็นแนวคิดและวิถีทางการเกษตรที่เน้นเรื่องความยั่งยืนของชีวิตและสิ่งแวดล้อม เกิดขึ้นในต่างประเทศเมื่อกว่า 30 ปีที่แล้ว องค์ความรู้แบบฝรั่งนี้ ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการทำการเกษตร แต่ครอบคลุมถึงการออกแบบวิถีการดำรงชีวิตที่เกี่ยวข้องกับระบบเกษตรกรรม รวมถึงการใช้ชีวิตของผู้คนในรูปแบบที่สอดคล้องกับวิถีธรรมชาติ ไม่ใช่แค่นำองค์ความรู้ดังกล่าวนี้ไปใช้ปลูกพืชผักทำการเกษตรอย่างเดียวเท่านั้น แต่แนวคิดเพอร์มาคัลเชอร์ยังสามารถนำไปปรับใช้ได้ทุกอาชีพ ตั้งแต่วิศวกรพลังงาน ไปจนถึงสถาปนิก เพอร์มาคัลเชอร์ เกิดจากการรวมคำสองคำ คือ Permanent ที่แปลว่ามั่นคงถาวร กับ Agriculture ที่แปลว่าเกษตรกรรม คำนี้คิดค้นขึ้นโดย Bill Morrison และ David Holmgren นักนิเวศวิทยาและลูกศิษย์ชาวออสเตรเลีย เพื่อใช้เรียกระบบการทำการเกษตรที่คิดค้นขึ้นจากประสบการณ์การค้นคว้าและเรียนรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศวิทยา จนมองเห็นว่าถ้าเราออกแบบระบบการเกษตรให้เหมือนกับรูปแบบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เราก็จะได้ระบบการเกษตรที่สอดคล้องและเป็นมิตรกับธรรมชาติ ทั้งยังได้ผลิตผลสูงและมีความยั่งยืนมากกว่าระบบที่เห็นธรรมชาติเป็นศัตรูที่ต้องต่อสู้ เอาชนะ ควบคุมให้ได้อย่างใจเรา นอกจากจะเป็นระบบการเพาะปลูก ที่มีการจัดวางรูปแบบ เพื่อการสร้างทรัพยากรธรรมชาติ อย่างเหมาะสม แล้ว ยังอาจจะเรียกได้ว่าเพอร์มาคัลเชอร์ เป็นวิถีทางการเกษตร เพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเอื้ออำนวย ให้แก่แผ่นดิน น้ำ พืช สัตว์ และมนุษย์ มีชีวิต อยู่ร่วมกัน อย่างกลมกลืน สมดุล มีความสุข ได้อย่างต่อเนื่อง และยืนนาน จุดเด่นของ เพอร์มาคัลเชอร์ คือการปรับปรุงภูมิสถาปัตย์และนำเรื่องการออกแบบพลังงานในพื้นที่มาใช้ร่วมกับการทำการเกษตร ซึ่งเป็นการอธิบายที่เป็นวิชาการและวิทยาศาสตร์ ในขณะที่เกษตรยั่งยืนแบบไทยที่เน้นวิถีแห่งการพึ่งตนเอง จะเป็นลักษณะภูมิปัญญาดั้งเดิม มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับมิติทางจิตวิญญาณ นอกจากนั้น เพอร์มาคัลเชอร์ ยังเป็นระบบการดำเนินชีวิตที่อาศัยพลังงานที่มีอยู่ในธรรมชาติ โดยไม่ก่อให้เกิดมลพิษใหม่ขึ้น และเป็นระบบที่นำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ทั่วไปมาใช้ผลิตอาหาร โดยไม่ทำลายสิ่งมีชีวิตอื่นบนโลก เหตุนี้เอง จึงไม่จำเป็นว่าเฉพาะเกษตรกรเท่านั้นที่ควรนำเพอร์มาคัลเชอร์ไปใช้ แต่ใครๆ ก็สามารถนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้ได้ ไม่ว่าจะทำอะไร หรืออยู่ที่ไหนในโลก อีสท์วอเตอร์ หรือ บริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพอร์มาคัลเชอร์ โดยได้เชิญ Darren J. Doherty ชาวออสเตรเลีย ผู้เชี่ยวชาญด้านเพอร์มาคัลเชอร์อันดับต้นๆ ของโลก และมีประสบการณ์ในการสอนหลักสูตรนี้มาแล้วในสี่ทวีปทั่วโลก ให้มาร่วมฝึกอบรมกับคนไทยรุ่นใหม่ที่มีความรู้และเชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพด้านต่างๆ ทั้งวิศวกรพลังงาน สถาปนิก เกษตรกร โดยใช้พื้นที่เปล่าของ อีสท์ วอเตอร์ จำนวน 22 ไร่ ที่จ.ฉะเชิงเทรา เป็นพื้นที่ทดลองในการเรียนรู้ครั้งนี้ เนื้อหาหลักสูตรครอบคลุมถึงหลักคิดและแนวทางการออกแบบและจัดการที่ดินให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ![]() ส่วนที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด คือ บริเวณเชื่อมต่อระหว่างดินกับน้ำ ------------------------ ประพันธ์ อัศวอารี กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการจัดอบรมเพอร์มาคัลเชอร์ครั้งนี้ว่า "ในบ้านเรามีแนวคิดด้านเกษตรยั่งยืนหลายแนวคิด ครั้งนี้ เราเปิดกว้างที่จะเรียนรู้แนวคิดเกษตรยั่งยืนแบบตะวันตกบ้าง เพื่อที่จะนำจุดเด่นของเขามาประยุกต์ใช้ ให้เหมาะกับสังคมเรามากที่สุด ในแง่ทฤษฎี แนวคิดหลักของเพอร์มาคัลเชอร์นั้นคล้ายกันกับเกษตรยั่งยืนแบบไทย แต่เพอร์มาคัลเชอร์เด่นในด้านการคำนึงเรื่องภูมิสถาปัตย์ การอนุรักษ์น้ำและพลังงาน ซึ่งเป็นเรื่องน่าคิด น่าสนใจ โดยเฉพาะตอนนี้ วิกฤติสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องใหญ่และใกล้ตัวเราทุกคน ผมเชื่อว่าเราจะต้องหันมาใส่ใจกับประเด็นเหล่านี้มากยิ่งขั้น เราจึงได้จัดอบรมครั้งนี้ขึ้น และได้ชักชวนให้คนรุ่นใหม่ที่มีความรู้และเชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพด้านต่างๆ ทั้งวิศวกรพลังงาน สถาปนิก เกษตรกร มาร่วมกันเพื่อให้การเรียนรู้ครั้งนี้ได้ผลสูงสุด" วิฑูรย์ ปัญญากุล จากมูลนิธิสายใยแผ่นดิน กล่าวว่า ระบบถูกออกแบบเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อการจัดการภูมิประเทศและชีวิตอย่างยั่งยืน ในอนาคตเพอร์มาคัลเชอร์จะมีประโยชน์ในแง่จัดการ เพื่อให้มีประสิทธิภาพ ลดการสูญเสีย หรือต่อไปอาจจะพัฒนาเป็นโครงการสวนเกษตรในเมือง (City Green Farm) หรือเกษตรในเมือง (Urban Agriculture) ด้านผู้เข้าร่วมอบรมเพอร์มาคัลเชอร์ สุชน ทรัพย์สิงห์ Project Engineer ซึ่งทำงานเกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียน บอกว่า "ก่อนนี้เคยได้ยินชื่อของเพอร์มาคัลเชอร์แต่ไม่ได้เข้าใจในรายละเอียดเท่าใดนัก จนเมื่อได้มาอบรมจึงได้เรียนรู้วิธีการออกแบบและใช้ประโยชน์จากที่ดินแบบเพอร์มาคัลเชอร์ ซึ่งวิทยากรได้ให้หลักการว่าต้องคิดให้เป็นองค์รวม มองหลายๆ ด้าน ไม่แยกส่วนเป็นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง" ![]() การออกแบบพื้นที่ เช่น สระที่ไม่จำเป็นต้องเป็นสี่เหลี่ยมเพื่อเพิ่มพื้นที่อุดมสมบูรณ์ ------------------- เพอร์มาคัลเชอร์ เป็นเรื่องของแนวคิด วิธีคิด การออกแบบ ที่จะได้ใช้จากทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืนที่สุด จึงเป็นเกษตรทางเลือกหนึ่งที่มีลูกเล่น มีสีสันที่ไปเชื่อมกับศาสตร์อื่นๆ เช่น สถาปัตยกรรมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ คนที่ไม่ใช่เกษตรกรอาชีพ หรือคนที่สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมก็สามารถเข้าถึงได้ง่าย" สุชนสรุป ชีวิตแบบเพอร์มาคัลเชอร์ รวิมาศ ปรมศิริ นักแปลอิสระที่เคยแปลหนังสือเพอร์มาคัลเชอร์มาแล้ว กล่าวว่า "เพอร์มาคัลเชอร์ไม่ใช่แค่เรื่องการเกษตร แต่เป็นเรื่องที่กว้างและครอบคลุมถึงการใช้ชีวิต การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ กระทบใจมากตรงที่วิทยากรวิพากษ์เรื่องที่เราผลิตอาหารจากที่หนึ่งที่ใด และส่งไปหล่อเลี้ยงคนที่อาศัยอยู่อีกที่หนึ่ง ซึ่งห่างกันเป็นระยะทางไกลๆ เขามองว่าการดำรงชีวิตแบบนี้ไม่ยั่งยืนและสิ้นเปลืองพลังงาน ถ้าหากเรานำแนวคิดเพอร์มาคัลเชอร์มาปรับใช้ โลกก็จะอยู่อย่างยั่งยืน และเราก็จะมีประสิทธิภาพในการผลิตมากยิ่งขึ้น" รวิมาศ ยังบอกด้วยว่า "แนวคิดของเพอร์มาคัลเชอร์เป็นสิ่งที่ดี สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน น่าจะมีการส่งเสริมให้เกิดการนำไปประยุกต์ใช้ เพราะไม่ว่าจะเป็นคนชนบท คนเมือง หรือแม้แต่คนที่อาศัยอยู่ในอพาร์ทเมนต์ ก็สามารถนำวิธีการและแนวคิดนี้มาปรับใช้ได้" กลุ่มผู้ร่วมอบรมได้นำเสนอการออกแบบและจัดการ บนพื้นที่ 22 ไร่ ของอีสท์วอเตอร์ โดยมีแนวคิดหลักคือ การใช้ชีวิตที่เรียบง่าย ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืนที่สุด และมุ่งเน้นการจัดการเรื่องน้ำ มีการแบ่งโซนน้ำ และสร้างระบบให้น้ำได้ไหลเวียนเพื่อบำบัดน้ำ ที่น่าสนใจคือ การให้ผู้ที่เข้ามาใช้สถานที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ เช่น การปั่นจักรยาน ที่ไม่ใช่การปั่นธรรมดาเฉยๆ แต่เป็นการปั่นแล้ววิดน้ำไปเก็บที่แทงค์น้ำ เพื่อให้เข้าใจว่าน้ำไม่ได้มาง่ายๆ แต่ต้องมีการลงทุนลงแรง ![]() วิทยากร Darren J. Doherty กำลังอธิบายการจัดการพื้นที่ให้กับผู้อบรม -------------------- คนที่สนใจเรื่อง เพอร์มาคัลเชอร์จึงไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่แต่เกษตรกร แต่เป็นแนวคิดที่ใครๆ ก็นำไปประยุกต์ได้ ไม่ว่าจะทำอะไร หรือว่าอยู่ที่ไหนในโลก ซึ่งเห็นว่าความสุขของเราอยู่ที่การมีชีวิตอย่างกลมกลืนและสอดคล้องกับธรรมชาติรอบตัวหรืออยู่อย่างเป็นมิตร แทนที่จะตั้งท่าเป็นศัตรูกับธรรมชาติและผู้คน ประพันธ์ อัศวอารี กล่าวทิ้งท้ายว่า "เราหวังว่า สิ่งที่เราเริ่มต้นเรียนรู้ในวันนี้ จะจุดประกายให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องเกิดความเข้าใจ และตระหนักเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรน้ำ การออกแบบที่อยู่อาศัยเพื่อประหยัดพลังงาน รวมถึงการออกแบบการดำรงชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติ เพื่อให้พื้นที่ที่เรามีอยู่เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเกิดความยั่งยืนสูงสุด เพื่อให้มนุษย์เราดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข เพอร์มาคัลเชอร์ เป็นคำตอบหนึ่งที่น่าจะตอบโจทย์นี้ได้" 6 โมเดล มนุษย์ หลังสมัยใหม่ กับ 1 คำเตือน และ 2 ความใฝ่ฝัน จาก แทนไท ประเสริฐกุล เรื่อง-ธิติ มีแต้ม /ภาพประกอบ-ไชยา โคตรสักดี โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 2 ธันวาคม 2551 ![]() ที่เราเป็นมนุษย์อยู่ได้ทุกวันนี้ จริงๆ เราต้องขอบคุณอุกกาบาตลูกที่มาทำลายไดโนเสาร์นะ เพราะสมัยนั้นไดโนเสาร์เป็นสัตว์ที่แตกแขนงหลากหลายสายพันธุ์มากและยึดครองทุกพื้นที่ของโลก แทบจะไม่เหลือเนื้อที่ให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเลย สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสมัยนั้นดูในฟอสซิลเป็นแค่ตัวเล็กๆ เหมือนหนูวิ่งไปวิ่งมา เกริ่นกันก่อนกลายพันธุ์ +หากย้อนไปดูในอดีตจะเห็นว่าตั้งแต่หลายหมื่นปีที่ผ่านมา ทั้งร่างกายและความสามารถของสมองมนุษย์ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมานานแล้ว โดยเบสิก สมมติว่าเอามนุษย์ถ้ำคนหนึ่งซึ่งเคยมีชีวิตเมื่อสองหมื่นปีที่แล้วมาเลี้ยงดูในศตวรรษที่ 21 ตั้งแต่เด็กเลย เขาจะโตมาเหมือนคนปกติธรรมดาที่เห็นกันทั่วไป แต่ก็น่าคิดว่าในอนาคตมันจะเปลี่ยนไหม ซึ่งที่ผ่านมาธรรมชาติจะเป็นผู้คัดเลือก แต่ทุกวันนี้ธรรมชาติไม่ค่อยได้คัดเลือกเท่าไหร่ ถ้าเป็นสมัยก่อน อะไรที่ผิดปกติ ธรรมชาติจะเป็นผู้คัดเลือกให้สูญหายไปเอง วันนี้เราสายตาสั้นก็ไปตัดแว่นใส่ได้ ถ้าผมเป็นมนุษย์ยุคหินแล้วผมสายตาสั้น คงไปล่าสัตว์ไม่ได้ ไม่มีข้าวกิน ก็ตายไปนานแล้ว แต่วันนี้มันเหมือนว่าอะไรที่เป็นความเสียเปรียบทางร่างกายจะไม่ถูกคัดออกไป เรามีเทคโนโลยีที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ บินไม่ได้ก็นั่งเครื่องบินได้ ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาวิวัฒนาการตามธรรมชาติ แต่กลายเป็นวิวัฒนาการของเทคโนโลยีแทน +ต้องยอมรับว่า ที่เรานั่งคุยกันได้อย่างปกติ เป็นเรื่องปาฏิหาริย์มากๆ ผมเพิ่งเรียนชีววิทยาเซลล์จบไปเมื่อซัมเมอร์ที่ผ่านมา รายละเอียดมันเยอะมาก แค่กินน้ำตาลเข้าไปแล้วเปลี่ยนน้ำตาลเป็นพลังงาน มันมีขั้นตอนเป็นร้อยขั้นตอนนะ ถ้าดีเอ็นเอเขียนผิดไปนิดเดียว มันก็จะสร้างผิด พอสร้างผิด ก็รวนไปทั้งระบบ การได้เกิดมาเป็นคนสุขภาพปกตินี่ถือว่าถูกลอตเตอรี่หนึ่งในล้านนะ ฉะนั้น มันไม่แปลกที่จะมีเด็กไม่สมประกอบเกิดมา เป็นเรื่องธรรมดามากกว่าคนที่เกิดมาปกติซะอีก เรื่องแบบนี้เหมือนนั่งคัดลอกเอกสาร ต้องมีสะกดผิดบ้าง การก๊อบปี้ดีเอ็นเอจากรุ่นสู่รุ่นก็เหมือนกัน มันมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งเป็นที่มาของการที่มีเด็กตาเดียวบ้าง หัวติดกันบ้าง แต่ที่เป็นเพราะสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมก็มีส่วนมาก สารเคมีบางอย่างทำให้กลไกการก๊อบปีดีเอ็นเอซึ่งจากเดิมมันอาจผิดพลาดอยู่แล้ว ทำให้ยิ่งผิดพลาดมากขึ้นไปอีก พอสารเคมีเข้าไปมากๆ มันทำให้กลไกการตรวจปรู๊ฟพวกนี้เสื่อมลงไป พอเจอที่ผิดก็ไม่ยอมลบ ก็ก๊อบปีส่งต่อมาสู่รุ่นลูกรุ่นหลานให้เกิดการกลายพันธุ์ได้มากขึ้น 1-ถึงเวลาของคนด้อย +มีนักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า ไม่แน่มนุษย์อาจจะวิวัฒนาการร่างกายตัวเองอ่อนแอลงเรื่อยๆ เพราะว่ามันไม่มีอะไรมาคอยคัดเลือก พันธุกรรมที่อ่อนแอก็สามารถอยู่รอดได้โดยอาศัยพึ่งพาเทคโนโลยี อีกหน่อยความเจ็บไข้ได้ป่วยคงมีมากขึ้นเรื่อยๆ ระบบภูมิคุ้มกันแย่ลงๆ แต่ขณะเดียวกันเทคโนโลยีก็อาจจะพัฒนาตามขึ้นมา เป็นอะไรก็รักษาได้อยู่ดี ถ้าเอาแบบตลกๆ มันมีหนังเรื่อง Idiocracy เขาสันนิษฐานว่าทุกวันนี้ยิ่งคนฉลาดเท่าไหร่ ยิ่งมีลูกน้อย กลายเป็นคนที่ไอคิวต่ำๆ จะสืบพันธุ์ทิ้งลูกหลานไว้เยอะมาก เปอร์เซ็นต์คนโง่มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นี่คือโจทย์ในหนัง แล้วพอผ่านไปเป็นร้อยเป็นพันปี โลกอนาคตก็เลยมีแต่คนที่ไอคิวไม่เกิน 50 คือคนฉลาดสูญพันธุ์หมดเลย มันเป็นหนังเสียดสีสังคม กลายเป็นว่าโลกยุคนั้นคนทำอะไรกันไม่เป็นเลย อยากกินก็กดปุ่ม มีอาหารออกมาให้ แล้วประธานาธิบดีของโลกเป็นนักมวยปล้ำ ไม่ได้ปกครองอะไรเลย มาถึงก็เฮๆ กัน หนังที่ฉายในโรงหนังก็มีแต่เรื่องเกี่ยวกับตูด คือคิดมุกอะไรที่มันสร้างสรรค์กว่านั้นไม่ออกแล้ว ผมว่ามันก็ตลกดีนะ 2-เหลือ 2 สปีชีส์ หน้าตาดีกับหน้าตาไม่ดี +คือกระบวนการวิวัฒนาการมันไม่ได้เกี่ยวข้องกับการอยู่รอดอย่างเดียว มันเกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ด้วย ไม่แน่การคัดเลือกโดยการสืบพันธุ์อาจทำให้คนแยกออกเป็น 2 สปีชีส์ เพราะในอนาคต คนที่หน้าตาดีก็จะเลือกแต่งงานแต่กับคนหน้าตาดี คนที่อะไรๆ ก็ดูดีไปหมดทั้งหลายก็อยู่กันเอง ประชากรอีกกลุ่มที่ไม่ค่อยจะมีอะไรดีในด้านพันธุกรรม หน้าตาไม่ดี สุขภาพไม่ดีก็จะไม่สามารถข้ามไปอีกกลุ่มได้ ก็จะต้องอยู่กันเอง แล้วมันจะกลายเป็นแยกออกไปเรื่อยๆ จนอาจจะกลายเป็นมนุษย์ 2 ชนิดก็ได้ ที่มีหน้าตาแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง หรือมนุษย์ที่เผ่าพันธุ์แข็งแรงกว่าอาจจะไม่มีมนุษยธรรม ไปจับมนุษย์เผ่าพันธุ์ที่ด้อยกว่ามาเป็นทาสก็ได้ ![]() 3-เผ่าพันธุ์ผสม +หรือถ้าจินตนาการแบบตรงข้ามกัน ทุกวันนี้โลกมันเชื่อมกันหมด ไม่แน่เผ่าพันธุ์ต่างๆ อาจจะหายไปหมดเลยก็ได้ คนจีน ฝรั่งหัวแดง คนผิวดำ อาจผสมเข้ากันหมด ไม่สามารถแยกได้ชัดเจนว่าเป็นเผ่าพันธุ์อะไร กลายเป็นเผ่าพันธุ์เดียว ซึ่งอาจดีก็ได้ คงไม่ต้องทะเลาะกันเรื่องสีผิว แต่อาจจะไปทะเลาะเรื่องอื่นแทน มีหนังสือนิยายวิทยาศาสตร์เล่มหนึ่ง ชื่อว่า The Hitchhikers Guide to the Galaxy เป็นเรื่องที่นิยมมากในหมู่นักอ่านนิยายวิทยาศาสตร์ ในอารยธรรม Civilization เขาว่าวิวัฒนาการมีอยู่ 3 สเต็ป สเต็ปแรกตั้งคำถามว่า เราจะทำมาหากินกันยังไง สเต็ปต่อมา เป็นขั้นที่ตั้งคำถามว่า เราจะทำมาหากินไปทำไม และสเต็ปสุดท้ายบอกว่า รู้แล้วว่าจะหากินอะไร หากินไปทำไม เหลือเพียงคำถามเดียวคือ วันนี้จะกินข้าวที่ไหนดี อันนี้คือวิวัฒนาการของอารยธรรม แต่สังเกตได้ว่าในยุคๆ หนึ่ง จริงๆ ก็มีคนหลายแบบ บางคนถามจะกินข้าวที่ไหนอย่างเดียว แต่ไม่เคยถามว่าจะกินไปทำไมก็มี บางคนถามแต่จะกินไปทำไม แต่ไม่เคยคิดเรื่องทำมาหากินก็มีเหมือนกัน 4-อายุยืนยาว ไม่กลัวแก่ +ที่น่าคิดก็คือว่า ถ้าเราลองย้อนกลับไปสัก 30-40 ปี หรือกระทั่งร้อยปีก่อน เราจะพบว่าระยะชีวิตของมนุษย์ยืนยาวมากขึ้น คนที่เกิดมาอายุถึง 30 นี่ถือว่าแก่สุดในหมู่บ้านแล้ว อายุ 40 ฟันหักหมด ก็ตายแล้ว ทุกวันนี้คนอยู่ถึง 70-80 ปี ไม่ใช่เรื่องแปลก แล้วมันจะยืดยาวไปอีกเรื่อยๆ เราอาจถึงจุดที่ว่าคนเราจะไม่แก่อีกต่อไป อาจจะคงอายุที่ 25 ไปตลอดชีวิต มีความเป็นไปได้ สมมุติแก่ไปตับเสียก็เปลี่ยนตับได้ เหมือนเปลี่ยนอะไหล่รถน่ะ มีนักวิทยาศาสตร์พยายามศึกษาหลายแง่มุมมาก มีอยู่คนหนึ่งชื่อ Michael Rose เขาสังเกตว่า ในธรรมชาติสัตว์ที่ยิ่งถึงวัยเจริญพันธุ์ช้ามักจะยิ่งอยู่ได้นาน ก็เลยเอาไอเดียไปทดลองคัดพันธุ์แมลงหวี่ เลือกตัวที่สืบพันธุ์ช้าๆ แล้วเอาตัวนั้นมาผสมกับตัวที่มีลูกช้าที่สุดไปเรื่อยๆ รุ่นต่อไปก็ทำจะแบบนี้ ปรากฏว่าเขาทำจนสามารถคัดเลือกแมลงหวี่ที่มีอายุยืนยาวกว่าปกติถึง 2 เท่า ไม่แน่เราอาจจะสามารถศึกษาแมลงหวี่พวกนี้ แล้วก็แอบขโมยเอากลไกเดียวกันมาใส่ให้แก่เซลล์มนุษย์บ้าง อาจทำให้เรามีชีวิตได้ยาวนานกว่าเดิม อีกแนวทางก็มีคนที่เขาไปค้นพบว่าสัตว์หลายกลุ่มมากเลย ถ้าให้มันอดอาหาร หรือให้กินลดลงครึ่งหนึ่ง อายุจะยืนยาวขึ้นอีกเท่าตัว ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เซลล์เดียวอย่างยีสต์ ไปจนถึงหนอน แมลงหวี่ หนู ลิง เขาบอกว่าร่างกายมันจะมีเซ็นเซอร์ที่รู้ได้ว่าตอนนี้กำลังลำบาก ได้รับอาหารไม่เพียงพอ มันจะเปลี่ยนโหมดไปเป็นโหมดประหยัดพลังงาน ทำให้อยู่ได้นานขึ้น เพราะว่าตอนนี้ไม่ใช่ยุครุ่งเรืองของมัน ต้องเก็บตัวเงียบๆ พอเมื่อไหร่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ ค่อยกลับไปสู่โหมดทุ่มเทพลังงานเพื่อการขยายพันธุ์ แล้วกลไกนี้มันมีอยู่ในทุกสิ่งมีชีวิต ตั้งแต่เซลล์เดียวจนถึงกระทั่งคน สารเคมีตัวเดียวกันเลย นักวิทยาศาสตร์ก็กำลังศึกษาอยู่ว่าจะทำยังไง ให้เรารู้ว่าปุ่มเปลี่ยนโหมดมันอยู่ที่ไหนในกลไกนั้น โดยที่เรายังสามารถกินได้ปกติ แต่เปลี่ยนโหมดชีวิตให้ยืนยาวขึ้นได้ไหม แต่เรื่องตายนี่อาจยังเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ต่อให้ไม่แก่ตายก็ถูกรถชนตายได้อยู่ดี 5-หัวใจเป็นคน อวัยวะเป็นหุ่นยนต์ +มีนักวิทยาศาสตร์ที่ทดลองเพาะแบคทีเรีย เขารู้สึกว่ามันเหม็นมาก เลยไปเอายีนของกล้วยมาใส่ในแบคทีเรีย ก็ได้แบคทีเรียกลิ่นกล้วย ทดลองไปก็หอมชื่นใจ สำหรับคนที่เกิดมาชะตาชีวิตลิขิตไว้แล้วว่า จะต้องเป็นโรคแน่ๆ ยีนเขามันเขียนมาแล้ว เราสามารถเปลี่ยนแปลงยีนของเขาได้ไหม หรือลบมันออกไปเลยแล้วใส่ยีนใหม่เข้าไปแทน ยุคหน้าไม่แน่ว่าอาจทำตรงนี้ได้ โดยผ่านทางเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม ซึ่งยอมรับว่ามันเป็นดาบสองคม เหมือนพลังานนิวเคลียร์ ที่อาจเอาไปทำโรงไฟฟ้าก็ได้ ระเบิดก็ได้ หรือว่าต่อไปเราไม่ต้องพึ่งพาชีวภาพแล้วก็ได้ เรื่องของคนพิการ คนตาบอด ก็พัฒนาเป็นไมโครชิปเอาไปฝังที่เรตินาแล้วเชื่อมต่อกับกล้องวีดีโอแล้วส่งสัญญาณภาพไปสมองให้พอมองเห็นได้ คือเปลี่ยนภาพให้เป็นกระแสไฟฟ้า แล้วกระแสไฟฟ้ามันก็จะไปกระตุ้นเซลล์ประสาทที่เดิมมันรับสัญญาณจากตาเรา แต่นี่เปลี่ยนไปรับสัญญาณจากกล้องวิดีโอแทน ทำให้คนตาบอดพอมองเห็นได้ ถึงยังไม่ละเอียดมาก แต่เทคโนโลยีมันพัฒนาไปได้เรื่อยๆ การรวมกันระหว่างเนื้อหนังมังสากับเทคโนโลยีไม่ใช่เรื่องเกินจริงเลย ผมเพิ่งฟังข่าววันก่อน เขาทดลองในลิง เอาชิปไปฝังในสมองลิงส่วนที่เอาไว้บังคับแขน แล้วก็ต่อสายไปเข้าคอมพ์ จากคอมพ์ไปออกในแขนกล ลิงสามารถนั่งอยู่เฉยๆ แล้วใช้ความคิดของมันบังคับแขนกลให้ไปหยิบอาหารเข้าปากมันได้ อีกหน่อย คนที่เป็นอัมพาต ไม่เป็นไร เราสร้างร่างใหม่ให้คุณ 6-เปลี่ยนร่างกายได้ตามใจชอบ +ขณะที่คนเองเหมือนหุ่นยนต์มากขึ้นเรื่อยๆ แต่คอมพิวเตอร์จะเหมือนคนมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงยุคนั้นคงแยกไม่ออกว่าใครเป็นคน ใครเป็นหุ่นยนต์ คิดเรื่องนี้ก็สนุกดีนะ และถ้ามันถึงยุคสุดยอดที่เราสามารถดาวน์โหลดความเป็นตัวเราหรือจิตของเรา ข้อมูลทั้งหลายในสมองเรา จากร่างเก่าที่เราไม่พอใจไปสู่ร่างใหม่ของเราได้ อีกหน่อยเราคงไม่จำเป็นต้องมีร่าง เราอยู่ในโลกไซเบอร์ที่เป็นข้อมูลที่ส่งไปส่งมาได้ตามสาย เวลาเราอยากมีร่างเมื่อไหร่ เราค่อยไปดาวน์โหลดลงตัวอะไรสักตัว วิวัฒนาการขั้นสูงสุดก็คือคุณมีแต่จิตอย่างเดียวพอ คุณไม่ต้องมีร่างกาย จิตในที่นี้ไม่ได้หมายถึงวิญญาณ แต่หมายถึงการวิ่งไปวิ่งมาของข้อมูลที่มันประกอบขึ้นมา เป็นความรู้สึกนึกคิด ความทรงจำของคุณ มันก็ยังต้องอาศัยที่สถิตอยู่ดี แต่แค่อาจย้ายจากสมองไปสู่คอมพิวเตอร์ได้ ดูแลแมลงและแบคทีเรีย +ในแง่ความสัมพันธ์ของธรรมชาติในโลกนี้ ถ้าคนหายไป มันจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่ถ้าแมลงหายไปทุกอย่างพังหมด เพราะแมลงมันเป็นตั้งแต่ตัวที่ช่วยผสมเกสรต้นไม้ หนอนก็เป็นตัวช่วยเก็บกินเศษเล็กเศษน้อยแล้วรีไซเคิลวัตถุดิบต่างๆ เยอะแยะไปหมด ถ้าแบคทีเรียหายไปยิ่งแล้วใหญ่ โลกนี้วิบัติเลย ไม่มีตัวอะไรอยู่ได้อีกเลย ความฉลาดของแบคทีเรียมันเป็นความฉลาดในแบบที่ร่างกายมันสร้างมาให้แล้ว มันมีสารเคมีที่สามารถใช้ย่อยไอ้โน่นไอ้นี่ได้ ซึ่งเทคโนโลยียังสู้มันไม่ได้เลย คนไม่สามารถเปลี่ยนหินให้เป็นทองคำได้ แต่แบคทีเรียทำได้ และถ้านับเอาตามการครองโลกจริงๆ เราด้อยกว่าแมลงและแบคทีเรียเยอะ แค่ในตัวเราเอง มีเซลล์ที่เป็นมนุษย์น้อยกว่าเซลล์ที่เป็นแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในร่างกายเราสิบเท่า ถ้านับตามจำนวนเซลล์คือเราเป็นแบคทีเรียมากกว่ามนุษย์ซะอีก มากกว่ามนุษย์ ยังมีมนุษยธรรม +นอกจากพัฒนาว่าทำยังไงให้ชีวิตมนุษย์ดีแล้ว จริงๆ เราต้องพัฒนาควบคู่ไปด้วยว่าจะอยู่อย่างไร ไม่ให้เบียดเบียนสิ่งมีชีวิตอื่นๆ คือเบียดเบียนให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เรื่องของการฆ่าสัตว์อื่นจนสูญพันธุ์ไป ในโลกยุคหน้าอาจจะมีการพัฒนาด้านนี้ควบคู่กันไป ว่าเราต้องมีมนุษยธรรม เราจะไปฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สัตว์อื่นไม่ได้ ถ้าตรงนี้ทำสำเร็จ ผมว่าเราก็น่าจะอยู่ได้อย่างลงตัวกับธรรมชาติ แต่ถ้าไม่สำเร็จ อาจด้วยเหตุผลที่ว่าสุดท้ายแล้วคนมันเยอะเกินไปจริงๆ มันไม่รู้จะทำยังไงแล้ว มันจะให้อยู่โดยไม่เบียดเบียนไม่ได้ แต่ละคนก็ใช้นิดกินน้อยแล้ว แต่มันรวมไม่รู้กี่พันล้านคน ยังไงมันก็มีผลกระทบใหญ่อยู่ดี นั่นมันก็เป็นเรื่องที่ต้องคิดแก้ปัญหากัน ก่อนถึงจุดจบ ความหมายอยู่ระหว่างทาง +ที่นักวิทยาศาสตร์กำลังคิดค้นกัน ก็ไม่ได้มองข้ามข้อเท็จจริงที่ว่าสุดท้ายมันก็สูญสลายหายไปอยู่ดี เพียงแต่เรามองความหมายในระยะสั้นว่าทำยังไงให้คุณภาพของชีวิตมนุษย์มันพัฒนาได้เต็มศักยภาพของมัน ถ้าเรามีชีวิตยืนยาวมากๆ เราอาจจะมีคนที่นอกจากศึกษาพระธรรมจนแตกฉานแล้ว ยังสามารถจบปริญญาเอกฟิสิกส์ได้อีกด้วย มีความรู้ความสามารถเป็นผู้นำคนได้ ผมว่าน่าจะเป็นเรื่องดีมากกว่า ถ้าบอกว่าสิ่งที่ทำฝืนธรรมชาติแล้วผิดโดยอัตโนมัติ ก็เกินไป ฝืนธรรมชาติมีทั้งที่ดีและไม่ดี บางอย่างก็ต้องใช้สติ ผมมองว่าในทางพุทธสอนให้เราเข้าใจว่า ถึงที่สุดแล้วสรรพสิ่งมันต้องแตกดับ ต่อให้คนเราสามารถมีชีวิตเป็นอมตะได้จริง วันหนึ่งดวงอาทิตย์ก็ยังขยายใหญ่ขึ้นและกลืนโลกเข้าไปอยู่ดี ดวงดาวทั้งหลายในกาแล็กซีต้องมอดดับหมด ทุกอย่างดับสนิท ถึงจุดจบอยู่ดี หรือถึงแม้ไม่คิดยาวไกลขนาดนั้น ต่อให้เราเป็นอมตะแล้ว คนรักเราก็ทิ้งเราได้อยู่ดี ของหวงที่บ้านก็ตกแตกได้เหมือนกัน *แทนไท ประเสริฐกุล เป็นนักชีววิทยาเลือดใหม่ เขาสงสัยไปได้ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต ตั้งแต่ระดับอะตอมไปถึงระดับจักรวาล เขาเขียนหนังสือออกมา 3 เล่ม ได้แก่ โลกนี้มันช่างยีสต์, Mimic เลียนแบบทำไม? และ โลกจิต ได้รับความนิยมจากผู้อ่านว่าเขียนเรื่องวิทยาศาสตร์ได้มันมาก จนอยากให้มันได้บรรจุเป็นตำราการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ปัจจุบันแทนไทกำลังเรียนปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง-ธิติ มีแต้ม
สตีเฟน ฮอว์คิง
กับทฤษฎีสรรพสิ่ง
ภาพชายสูงวัยที่นั่งอยู่บนรถเข็นสุดไฮเทคอาจทำให้คุณสนใจเพียงเพราะอุปกรณ์รอบตัวที่มีอยู่
แต่หากรู้ว่าเขาคือเจ้าของหนังสือวิทยาศาสตร์ยอดนิยม A Brief History
of Time ที่ชื่อ สตีเฟน ฮอว์คิง สิ่งที่คุณสนใจน่าจะเป็น
มันสมองที่เขามีอยู่มากกว่า
จากพลังงานมืดสู่จิตวิญญาณมนุษย์ สตีเฟ่น ฮอร์กิ้นสู่แผ่นฟิล์ม
J.M.G. Le Clezio 63 ปีรำลึกฮิโรชิมาและนางาซากิ เรื่อง : ชัยวัฒน์ คุประตกุล kshaiwat2@hotmail.com ![]() 63 ปีหลังฮิโรชิมาและนางาซากิ ถูกถล่มด้วยระเบิดนิวเคลียร์เมื่อวันที่ 6 และ 9 ส.ค. 2488 ตามลำดับ คนญี่ปุ่น คนอเมริกัน และคนเชื้อชาติอื่นๆ ทั่วโลก ยิ่งส่งเสียงเรียกร้องให้มีมาตรการระดับโลก ที่จะป้องกันมิให้โศกนาฏกรรมนิวเคลียร์เกิดขึ้นได้อีก วันที่ 6 ส.ค. 2551 ที่ฮิโรชิมามีการจัดพิธีรำลึกถึงชีวิตมนุษย์กว่า 1.4 แสนคน ที่ต้องสังเวยให้กับระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรกของโลก ที่ถูกนำมาใช้กับมนุษย์ ในวันที่ 6 ส.ค. 2551 นายทาดาโตชิ อะคิบา นายกเทศมนตรีเมืองฮิโรชิมา นำผู้คนทั้งชาวญี่ปุ่นและจากทั่วโลก จำนวน 4.5 หมื่นคน ยืนสงบนิ่งไว้อาลัยแด่โศกนาฏกรรมนิวเคลียร์เมื่อ 63 ปีก่อน เวลา 08.15 น. เวลาที่ระเบิดนิวเคลียร์ระเบิดขึ้น เหนือฮิโรชิมา ที่ตำแหน่งบริเวณศูนย์กลางการระเบิด.. ![]() นกเขาจำนวนมากถูกปล่อยบินอยู่เหนือบริเวณโดมระเบิดนิวเคลียร์ที่อุทยานสันติภาพรำลึก (Peace Memorial Park) เรื่องราวของเด็กหญิงซาดาโกะ กับนกกระเรียนพันตัว ก็ได้รับการรำลึกถึงอย่างมิให้ลืมเลือนไปได้ ในพิธีรำลึกถึงโศกนาฏกรรมนิวเคลียร์เมื่อ 63 ปีก่อน ที่ฮิโรชิมา นายกเทศมนตรีเมืองฮิโรชิมา ได้ประกาศการเริ่มต้นโครงการสองปี เพื่อศึกษาผลกระทบเชิงจิตวิทยาจากเหตุโศกนาฏกรรมนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมา และในพิธีเดียวกัน นายกเทศมนตรีเมืองฮิโรชิมาก็ได้เรียกร้องให้สหรัฐอเมริกา ยุติการสะสมอาวุธนิวเคลียร์ทั้งหมด เมื่อปีที่แล้ว ประเทศญี่ปุ่นได้เสนอต่อองค์การสหประชาชาติ เรียกร้องให้มีการทำลายอาวุธนิวเคลียร์ทั้งหมดที่มีอยู่ และนายทาดาโตชิ อะคิบา ก็ได้เรียกร้องในวันรำลึกถึงโศกนาฏกรรมนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมา เมื่อ 63 ปีก่อนว่า มาถึงวันนี้ มีประเทศต่างๆ ทั่วโลกรวม 170 ประเทศแล้ว ที่เห็นด้วยกับการเรียกร้องของญี่ปุ่น เหลืออยู่เพียง 3 ประเทศเท่านั้นที่ยังไม่เห็นด้วย และ 1 ใน 3 ประเทศคือ สหรัฐอเมริกา... ดังนั้น ก็จึงหวังกันว่า สหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีคนใหม่ ที่จะมีการเลือกตั้งในเดือน พ.ย. ปีนี้ จะฟังเสียงเรียกร้องจากประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลก นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น นายยาสุโอะ ฟูคูดะ ก็ได้กล่าวในพิธีรำลึกถึงโศกนาฏกรรมนิวเคลียร์เมื่อ 63 ปีก่อนที่ฮิโรชิมา ยืนยันว่าประเทศญี่ปุ่นจะยังคงยืนหยัดในนโยบายต่อต้านการใช้อาวุธนิวเคลียร์ และญี่ปุ่นก็จะไม่สะสมอาวุธนิวเคลียร์ ***** ![]() อีกสามวันต่อมา ในวันที่ 9 ส.ค. 2551 ก็มีพิธีรำลึกถึงโศกนาฏกรรมนิวเคลียร์ครั้งที่สองของโลก ที่เมืองนางาซากิ... ที่นางาซากิ มีผู้คนเป็นเหยื่อระเบิดนิวเคลียร์ประมาณ 8 หมื่นคน **** มิใช่เฉพาะในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น ที่มีกิจกรรมพิธีรำลึกถึงโศกนาฏกรรมนิวเคลียร์จากสงครามโลกครั้งที่สอง ในประเทศอื่นๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศคู่กรณีกับญี่ปุ่น คือ สหรัฐอเมริกา ก็มีกิจกรรมพิธีร่วมรำลึกถึงโศกนาฏกรรมนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมา และนางาซากิด้วย ที่เมืองดูลูท รัฐมินนิโซตา ในสหรัฐอเมริกา หนังสือพิมพ์ Duluth News Tribune ฉบับวันที่ 6 ส.ค. 2008 รายงานข่าวกิจกรรมร่วมรำลึกครบรอบ 63 ปี แห่งการใช้ระเบิดนิวเคลียร์กับฮิโรชิมา ผู้ร่วมพิธีสวมปลอกแขนเสื้อสีดำ เพื่อรำลึกโศกนาฏกรรมในวันนั้น มีการฉายภาพยนตร์ White Light/Black Rain (แสงสว่างขาว/ฝนดำ หมายถึงแสดงสว่างจ้าจากระเบิดนิวเคลียร์ และฝนดำจากฝนหลังระเบิดนิวเคลียร์ที่ปนเปื้อนฝุ่นกัมมันตรังสี) และการเสวนาในโบสถ์และกิจกรรมอื่นๆ ต่อเนื่องถึงวันที่ 9 ส.ค. เพื่อรำลึกถึง 63 ปีของการใช้ระเบิดนิวเคลียร์กับนางาซากิ มีรายงานแสดงความเปลี่ยนแปลงความคิดของทหารผ่านศึกอเมริกันคนหนึ่ง เกี่ยวกับการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มฮิโรชิมา และนางาซากิ ที่อาจสะท้อนความคิดความรู้สึกของทหารผ่านศึกคนอื่นๆ ด้วย แอนดี แอนเดอร์ ในปัจจุบันอายุ 82 ปี รำลึกถึงเหตุการณ์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองว่า... ในวันที่ 6 เม.ย. 2488 เขาเป็นพนักงานประจำเครื่องรับส่งวิทยุในเรือรบยูเอสเอส มอร์ริส และในวันนั้น เรือรบยูเอสเอส มอร์ริสถูกโจมตีด้วยเครื่องบินญี่ปุ่นปฏิบัติการฆ่าตัวตาย หรือกามิกาเซ อันลือเลื่องของญี่ปุ่น แอนดี เล่าว่า ในวันนั้นมีทหารเรือ และพลประจำการเสียชีวิตหรือบาดเจ็บจำนวน 68 นาย สามเดือนต่อมา ในวันที่ 6 และ 9 ส.ค. 2488 อเมริกาก็ถล่มฮิโรชิมาและนางาซากิด้วยระเบิดนิวเคลียร์ ทำให้ประเทศญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้ในวันที่ 14 ส.ค. 2488 แอนดี กล่าวว่า ในทันทีที่สงครามยุติลง หลังการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ เขาก็รู้สึกยินดีและสะใจกับการใช้ระเบิดนิวเคลียร์ ทว่าต่อมาหลังปี 2488 ความรู้สึกของเขาต่อการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มญี่ปุ่น ก็เปลี่ยน ปัจจุบัน แอนดี เป็นสมาชิกของกลุ่มทหารผ่านศึกเพื่อสันติภาพ (Veterans for Peace) เขากล่าวถึงสงครามว่า สงครามเป็นความบ้าคลั่งไม่ว่าจะมองในแนวใด วันที่ 4 ส.ค. 2551 แอนดี เป็นผู้อ่านประกาศของนายกเทศมนตรีเมืองดูลูท คือ ดอน เนสส์ ให้วันที่ 6-9 ส.ค. 2551 เป็นวันร่วมรำลึกถึงการทิ้งระเบิดใส่ฮิโรชิมาและนางาซากิ แอนดี กล่าวถึงการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มฮิโรชิมาและนางาซากิว่า อย่างแน่นอน เราจำเป็นต้องทดลองมัน แต่เราต้องทดลองเพื่อดูว่ามันจะฆ่าคนได้มากแค่ไหนหรือ? และกล่าวถึงการทิ้งระเบิดที่ญี่ปุ่นว่า ถ้าจำเป็นจะต้องทำ ก็น่าจะเป็นการแสดงฤทธิ์เดชของระเบิดนิวเคลียร์ก็พอ โดยการไปทิ้งใส่เกาะที่ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ใกล้ญี่ปุ่น การตัดสินใจทิ้งระเบิดใส่ฮิโรชิมาและนางาซากิ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา เกิดจากฝ่ายวางแผนยุทธศาสตร์สงครามของสหรัฐอเมริกา หลังการยกพลขึ้นยึดเกาะอิโวจิมา และโอกินาวา ของกองทัพสหรัฐ ซึ่งมีการสูญเสียอย่างรุนแรงของทั้งสองฝ่าย อีกทั้งการประกาศสู้ตายของคนญี่ปุ่นทั้งประเทศ ที่จะต่อต้านกองทัพสหรัฐ จนกระทั่งถึงคนสุดท้าย ทำให้ฝ่ายวางแผนยุทธศาสตร์สหรัฐบอกอดีตประธานาธิบดีสหรัฐขณะนั้น คือ แฮร์รี ทรูแมน ว่าจะต้องสูญเสียกำลังฝ่ายสหรัฐเอง เป็นจำนวนหลายแสนคน ถ้าจะยกพลบุกยึดญี่ปุ่นให้ได้... แต่สำหรับ แอนดี เขาเชื่อว่าการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มญี่ปุ่นเป็นเรื่องของยุทธศาสตร์การเมือง ที่สหรัฐอเมริกาต้องการแสดงเพื่อข่มสหภาพโซเวียตมากกว่า ... เพราะสหภาพโซเวียตขณะนั้น กำลังก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจคู่แข่งของสหรัฐอเมริกาอย่างเด่นชัด! วันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2551
เคอิจิ นาคาซาวา หลังฮิโรชิมาร่ำไห้ 6
สิ่งมหัศจรรย์แห่งแสง
|
ของเล่นพื้นบ้าน โดย ฤทัย จงสฤษดิ์
{mospagebreak} หน้า 2 {mospagebreak} หน้า 3
วิวัฒนาการของผ้าอ้อมสำเร็จรูป โดย ปิยวรรณ สุรัญชนาจิรสกุล
{mospagebreak} หน้า 2 {mospagebreak} หน้า 3
{mospagebreak} หน้า 4
เกมเศรษฐี โดย บุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์
{mospagebreak} หน้า 2 {mospagebreak} หน้า 3
{mospagebreak} หน้า 4
การออกแบบของเด็กเล่น โดย ดร. ฉัตรชัย จันทร์เด่นดวง
{mospagebreak} หน้า 2 {mospagebreak} หน้า 3
{mospagebreak} หน้า 4
ศาสตร์และศิลป์ในพลุและดอกไม้ไฟ โดย บุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์
{mospagebreak} หน้า 2 {mospagebreak} หน้า 3
{mospagebreak} หน้า 4
{mospagebreak} หน้า 5
ของเล่นเรืองแสง โดย ดร. สมบุญ สหสิทธิวัฒน์
{mospagebreak} หน้า 2 {mospagebreak} หน้า 3
{mospagebreak} หน้า 4
{mospagebreak} หน้า 5
สังเคราะห์เส้นใยแมงมุมทำได้จริงหรือ โดย ดร. จุรีรัตน์ ประสาร
{mospagebreak} หน้า 2 {mospagebreak} หน้า 3
{mospagebreak} หน้า 4
{mospagebreak} หน้า 5
โลหะกับของเด็กเล่น โดยธีรพงษ์ หาญวิโรจน์กุล
{mospagebreak} หน้า 2 {mospagebreak} หน้า 3
{mospagebreak} หน้า 4
สมองคือจิต ?จิตคือสมอง ? ต้องพิสูจน์ ! โดย ผศ.ดร. พรชัย พัชรินทร์ตนะกุล
{mospagebreak} หน้า 2
{mospagebreak} หน้า 3
{mospagebreak} หน้า 4
{mospagebreak} หน้า 5
วิธีหาความบกพร่องในความสมบูรณ์ของผลึก William Henry Bragg และผู้ลูก
{mospagebreak} หน้า 2
{mospagebreak} หน้า 3
{mospagebreak} หน้า 4
{mospagebreak} หน้า 5
กูเตนเบิร์ก Gutenberg คนสร้างคำ จากสารคดี มิถุนายน 2550
{mospagebreak} หน้า 2
เกลือ ท้องทะเล ใต้ธรณี จากสารคดี มิถุนายน 2550
{mospagebreak} หน้า 2 {mospagebreak} หน้า 3
{mospagebreak} หน้า 4
{mospagebreak} หน้า 5
{mospagebreak} หน้า 6
{mospagebreak} หน้า 7
{mospagebreak} หน้า 8
มิเชล เดอ มงแต็ง บิดาแห่งเหตุผลบนปัญญา คนไม่สำคัญ โดยสกุณี อาชวานันทกุล
{mospagebreak} หน้า 2 {mospagebreak} หน้า 3
{mospagebreak} หน้า 4
พล.ต.ต. ขุนพันธรักราชเดช
จตุคามรามเทพ 5 รุ่น ที่ตลาดต้องการมากที่สุด จากสารคดี มิถุนายน 2550
{mospagebreak} หน้า 2
เปิดโลกวัสดุนาโน โดย ดร.ณํฐพันธุ์ ศุภกา ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
{mospagebreak} หน้า 2 {mospagebreak} หน้า 3
{mospagebreak} หน้า 4
{mospagebreak} หน้า 5
มาตราธรณีกาล
ไดโนเสาร์ในเมืองไทย
ชีวิตใหม่ไฟแรงของนิวเคลียร์ฟิวชัน ของชัยคุประตกุล
{mospagebreak} หน้า 2
{mospagebreak} หน้า 3
6174 ค่าคงที่ชวนฉงน ของบัญชา ธนบุญสมบัติ
{mospagebreak} หน้า 2
ประวัติการค้นหาดาวเคราะห์ Vulcan (ที่ไม่มีตัวตน ) ของสุทัศน์ ยกส้าน
{mospagebreak} หน้า 2
{mospagebreak} หน้า 3
|
แผนภูมิสายวิวัฒนาการของไดโนเสาร์ |
ศัพท์วิทยาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตสถาน
A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z
ก ข ค ง จ ฉ ช ซ ฐ ณ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ศ ส ห อ ฮ
นักวิทยาศาสตร์ หน่วย ศัพท์แผ่นดินไหวตัวอักษรจาก A-M จาก N-Z
A
B
C
D
E
F
G
H
I
J
K
L
M
N
O
P
Q
R
S
T
U
V
W
X
Y
Z
หมวด : |
ก | ข | ค | ซ | ฐ | ด | ต | ท | น | ป | ผ | พ | ฟ | ภ | ม | ย | ร | ล | ว | ศ | ส | ห | อ | ฮ | |
พจนานุกรมเสียง 1 แมว วัว 1 วัว 2 วัว 3 เหมียว แกะ พจนานุกรมภาพการ์ตูน
พจนานุกรมภาพเคลื่อนไหว ดนตรี Bullets แบบ JEWEL พจนานุกรมภาพต่างๆ ภาพเคลื่อนไหวของสัตว์ต่างๆ โลกและอวกาศ
|
|
|
|
|
|
1. การวัด |
2. เวกเตอร์ |
9. การหมุน |
|
12. ความยืดหยุ่น |
|
13. กลศาสตร์ของไหล |
|
17. คลื่น |
|
1. ไฟฟ้าสถิต |
2. สนามไฟฟ้า |
5. ศักย์ไฟฟ้า |
6. กระแสไฟฟ้า |
7. สนามแม่เหล็ก |
|
10. ทรานซิสเตอร์ |
|
12. แสงและการมองเห็น |
|
13. ทฤษฎีสัมพัทธภาพ |
14. กลศาสตร์ควอนตัม |
16. นิวเคลียร์ |
|
|
ครั้งที่
ภาพประจำสัปดาห์