p44
ภาพวงจรรวมตัวแรกของโลก ของนายแจ๊ค คิวบี้ สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 12 เดือนกันยายน 1958
รูปไมโครโพรเซสเซอร์ขนาด 32 บิต ที่ประกอบด้วยวงจรไฟฟ้ากว่า 200000 ชิ้น บรรจุอยู่ภายในแผ่นชิพที่มีขนาดเท่ากับเหรียญเท่านั้น
วงจรรวม (integrated circuit)
นายแจ๊ค คิลบี้ นักวิทยาศาสตร์ของบริษัทเทกซัส อินสตูรเมนส์ ได้ประดิษฐ์วงจรรวมขึ้นมาปี ค.ศ. 1958 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติอุตสาหกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และเป็นหัวใจของอุปกรณ์ต่างๆมากมายอาทิเช่น คอมพิวเตอร์ นาฬิกา กล้อง รถยนต์ เครื่องบิน หุ่นยนต์ ยานอวกาศ และอุปกรณ์สื่อสารแทบทุกประเภท ภายในมี ทรานซิสเตอร์ ไดโอด ตัวต้านทาน และตัวเก็บประจุ บรรจุอยู่บนแผ่นซิลิคอน ที่เรียกว่า แผ่นชิพ
วงจรรวมช่วยลดขนาดของวงจรไฟฟ้า และแก้ปัญหาการต่อสายระหว่างชิ้นส่วนทางอิเล็กทรอนิกส์ แต่ก่อนเราใช้หลอดสูญญากาศ ซึ่งกินกระแสไฟฟ้ามาก และมีขนาดใหญ่เทอะทะ การต่อสายไฟต้องใช้ระยะยาว ทำให้สูญเสียพลังงาน ปกติประจุไฟฟ้าเดินทางได้ 0.3 เมตรในระยะเวลา 0.000000001 วินาที จากวงจรหนึ่งไปอีกวงจรหนึ่ง ซึ่งเสียเวลามาก (เทียบกับปัจจุบัน) เมื่อนำวงจรไฟฟ้าทั้งหมดอัดลงไปบนแผ่นชิพ ปัญหาการกินกระแสไฟ ขนาด และการเดินทางของประจุไฟฟ้าก็หมดลง จะเห็นได้ว่า ความเร็วของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน เร็วหายห่วงจริงๆ
ใหม่- เก่า นายเคอรี่ มุนซ์ ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีฮาร์ดไดร์ฟของไอบีเอ็ม โชว์ฮาร์ดไดร์ฟ RAMAC ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นเมื่อปี 1956 ปัจจุบันเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ของไอบีเอ็มที่เมืองซานโจเซ่ แคลิฟอร์เนียร์ และชิ้นเล็กคือไมโครไดร์ฟ รุ่นล่าสุดจุได้มากถึง 1 ล้าน kb 7 สิงหาคม 2545
หน่วยความจำแฟลช
หน่วยความจำในคอมพิวเตอร์ทั้งแบบตั้งโต๊ะ และแบบโน๊ตบุ๊ค จะมีหน่วยความจำสำรองภายนอกหลากหลายรูปแบบ ตามจุดประสงค์การใช้งานแตกต่างกันไป เชื่อว่าคุณคงเคยได้ยินหน่วยความจำแบบแฟลช และสงสัยว่ามันคืออะไร ทำไมมันยังสามารถจดจำข้อมูลได้ทั้งๆที่ถอดแหล่งจ่ายไฟออกแล้ว ความสงสัยนี้นักฟิสิกส์สามารถตอบให้คุณเข้าใจได้อย่างแจ่มชัด โดยความรู้ที่ใช้อธิบายนั้นเป็นความรู้พื้นฐานทางไฟฟ้าเท่านั้น ไม่ได้มีอะไรลึกซึ้งพิศดารเลยแม้แต่น้อย อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
หน่วยความจำแฟลชใช้ในอุปกรณ์ไฟฟ้าอาทิเช่น กล้องดิจิตอล หรือ เครื่องเล่นเกมของเด็กเป็นต้น หน่วยความจำแฟลชมีหน้าที่เก็บข้อมูลทางดิจิตอล ที่มีเพียงเลข 0 กับ เลข 1 เท่านั้น จึงมีหน้าที่หลัก เหมือนกับอุปกรณ์สำรองข้อมูล ฮาร์ดดิสก์ อย่างไรก็ตามหลักการพื้นฐานมีความแตกต่างกันมาก โดยที่ ฮาร์ดดิสก์ ใช้ชิ้นส่วนทางกล เช่น มอเตอร์ ไปหมุนจานบันทึก ส่วนหน่วยความจำแฟลช ไม่มีชิ้นส่วนใดที่เคลื่อนไหวเลยแม้แต่น้อย โดยใช้อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ล้วนๆ ดังนั้นจึงมีอายุการใช้งานคงทนกว่าฮาร์ดดิสก์มาก อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
Ernest Rutherford
(1871-1937,New Zealand)
Lord Rutherford เกิดที่ New Zealand ในปี 1871 และได้รับ Ph.D. in Physics ในปี 1895 เมื่อเขาไปศึกษาที่ Cambrige University J.J. Thompson ชักชวนให้เขาทำงานวิจัยทางด้าน Radioactivity และในที่สุดเขาก็เป็นผู้ค้นพบ a และ b radiation ต่อมาเขาย้ายไปทำงานวิจัยที่ McGill University, Canada เพื่อพิสูจน์ว่า a และ b radiation มีอิเล็กตรอนเป็นองค์ประกอบ ซึ่งทำให้เขาได้รับ Nobel Prize ในปี 1908 เขามีลูกศิษย์ที่เก่งมากคือ Soddy ในปี 1907 เขาย้ายไปที่ Manchester University และเขาได้ทำการทดลองซึ่งทำให้เราได้รับแนวความคิดใหม่เกี่ยวกับอะตอม ในปี 1919 เขากลับ Cambridge และได้สืบทอดตำแหน่งของทอมสัน เขาเป็นผู้ที่ได้รับสืบทอดตำแหน่งของ Thompson เขาเป็นผู้ที่มีผลงานสำคัญทางฟิสิกส์และเคมี และยังเป็นที่ปรึกษาของผู้ได้รับรางวัลโนเบลในภายหลังกว่า 10 คน
นำมาจาก http://pirun.ku.ac.th/~b4104056/project/atom/page/rutherford.html
เครื่องขยายเสียงทุกประเภท จะต่อเข้ากับสัญญาณไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งกระแสไฟฟ้ามีการเคลื่อนที่สลับทิศทางอยู่ตลอดเวลา แต่ก่อนที่จะป้อนเข้าลำโพง สัญญาณที่อ่านได้จากเทปแม่เหล็ก แผ่นซีดี หรือ เครื่อง MP3 จะต้องได้รับการขยายสัญญาณให้แรงขึ้นก่อน จึงจะสามารถขับออกทางลำโพงได้
ใบลำโพงทำด้วยกรวยกระดาษ ติดอยู่กับคอยส์เสียง เมื่อคอยส์เสียงสั่นขึ้นและลงตามสัญญาณไฟฟ้ากระแสสลับ มันจะทำให้ใบลำโพงสั่นขึ้นลงด้วย ใบลำโพงจะติดอยู่บนสไปเดอร์ ที่ทำหน้าที่เหมือนสปริง คอยดึงใบลำโพงที่สั่นสะเทือนให้กลับเข้าสู่ตำแหน่งเดิมเสมอ เมื่อไม่มีสัญญาณไฟฟ้าป้อนเข้าลำโพง
ถ้าไม่เห็นภาพการทำงานของลำโพงให้ดาวโลด shockwave ก่อน
ถ้ามีสํญญาณไฟฟ้ากระแสสลับป้อนเข้าไปในคอยส์เสียง ทิศทางของกระแสไฟฟ้าจะกลับทิศทางอยู่ตลอดเวลา (สังเกตที่เครื่องหมาย + และ - จะเห็นว่ากลับทิศทางตลอดเวลาด้วย) และทำให้แผ่นลำโพงสั่นเคลื่อนที่ขึ้นและลง อัดอากาศด้านหน้าเกิดคลื่นเสียงขึ้น มีต่อ
2.
วิธีโบราณที่ใช้สำหรับวัดความเร็วของแสง ดังรูป อุปกรณ์ประกอบด้วย ล้อหมุนมีขอบเป็นช่อง แหล่งกำเนิดแสง และกระจก ให้ลำแสงจากแหล่งกำเนิดส่องผ่านช่องของขอบล้อไปที่กระจก และสะท้อนกลับมาโดยกะตำแหน่งการหมุนของล้อให้ลำแสงผ่านช่องถัดไปพอดี กำหนดให้รัศมีของล้อเท่ากับ 5 cm และแบ่งขอบล้อออกเป็น 500 ช่อง ถ้ากระจกวางห่างจากล้อ 500 เมตร และแสงเราทราบก่อนแล้วว่ามีความเร็ว 3.0 x 105 km/s จงหา a) ความเร็วเชิงมุมของล้อ b) ความเร็วเชิงเส้นของขอบล้อ
กฎของเกาส์ จากรูป จงหาฟลักซ์ไฟฟ้า ของพื้นที่ผิวปิด ถ้า q1 = q4 = +3.1 nC q2 = q5 = -5.9 nC และ q3 = -3.1 nC
วิธีทำ
กฎของเกาส์
ภาพแผ่นประจุคู่ขนาน ภายในมีจุดประจุบวก จงเรียงจากตำแหน่งที่มีสนามไฟฟ้ามากไปหาตำแหน่งที่มีสนามไฟฟ้าน้อย
ตอบ 3,4,2,1
กฎของเกาส์ 3
เครื่องวัดที่เห็นดังรูป ชื่อว่า ไกเกอร์เคาเตอร์ ใช้สำหรับวัดการแผ่รังสีซึ่งเกิดจากการอิออไนเซชั่นของอะตอม อุปกรณ์ทำจากเส้นลวดประจุบวก ล้อมรอบด้วยทรงกระบอกประจุลบ เมื่อมีรังสีมากระทบกับทรงกระบอก รังสี จะกระแทกให้อิเล็กตรอนหลุดออกจากทรงกระบอก กลายเป็นอิเล็กตรอนอิสระ (e) เพราะมีสนามไฟฟ้าระหว่างทรงกระบอกกับเส้นประจุ อิเล็กตรอนอิสระนี้จะถูกเร่งให้มีความเร็วเเพิ่มขึ้น ชนเข้ากับอนุภาคอากาศ ที่อยู่ภายในทรงกระบอก ทำให้อะตอมของอากาศเกิดการอิออไนเซชั่น มีอิเล็กตรอนอิสระเกิดมากขึ้นก่อนจะมาถึงเส้นประจุ ปรากฎการณ์นี้เรียกว่า การอะวาลานซ์ หรือการทลายตัวของหิมะ ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนตัวของหิมะเพียงเล็กน้อยในตอนเริ่มต้น จนเกิดการทลายตัวหรือการเคลื่อนตัวครั้งใหญ่ในครั้งต่อไป เส้นประจุ จะดีเทคอิเล็กตรอน เกิดเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าส่งไปที่เครื่องแปรสัญญาณ สมมติว่า รัศมีของเส้นลวดคือ 25 ไมโครเมตร รัศมีของทรงกระบอกคือ 1.4 เซนติเมตร และความยาวของทรงกระบอกเท่ากับ 16 เซนติเมตร ถ้าสนามไฟฟ้าภายในทรงกระบอกคือ 2.9 x 104 N/C จงคำนวณหาประจุบวกทั้งหมดบนเส้นลวดประจุ
ตอบ 3.6 นาโนคูลอมบ์
จาวาแอ๊พเพล็ต แสดงการอัดและการคายประจุ ลองทดลองดู
ทฤษฎีแห่งสัมพัทธภาพ มีต้นกำเนิดมาจากพฤติกรรมแปลกๆ ของแสง กล่าวคือ ในตอนแรกนักวิทยาศาสตร์ต่างพยายามหาอัตราเร็วของแสง เมื่อหาได้แล้วก็หันมาพิจารณาถึงตัวกลางที่แสงเดินทางผ่าน บรรดานักวิทยาศาสตร์ต้องพบกับความฉงน และด้วยความฉงนดังกล่าวนี้ที่ทำให้เกิดความคิดอันเป็นพื้นฐานของทฤษฎีแห่งสัมพัทธภาพ มีต่อ
8-1-45
แสงแรกในสยาม
รูปแสดงแสงซินโครตรอนจาก bending magnet ของวงแหวนกักเก็บอิเล็กตรอน
เที่ยงวันศุกร์ที่ 23
พฤศจิกายน 2544
ทีมนักฟิสิกส์และวิศวกรของศูนย์ปฏิบัติการวิจัยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งชาติ
ได้ประสบความสำเร็จในการเร่งอิเล็กตรอนขึ้นถึงพลังงาน
1 GeV (หนึ่งพันล้านอิเล็กตรอนโวลต์
หรือเทียบเท่าความเร็วอิเล็กตรอน
ประมาณ 0.999999
เท่าของความเร็วแสง)
และเห็นแสงซินโครตรอนซึ่งถูกปลดปล่อยจากอิเล็กตรอนพลังงานสูง
ขณะเลี้ยวโค้งในสนามแม่เหล็กของ
bending magnet ใน booster synchrotron
จากนั้น ในวันที่ 17 ธันวาคม
2544
ทีมนักฟิสิกส์และวิศวกรดังกล่าว
ได้ประสบความสำเร็จในการกักเก็บลำอิเล็กตรอนภายในวงแหวนกักเก็บอิเล็กตรอน
(storage ring)
ของเครื่องกำเนิดแสงสยาม
และเห็นแสงซินโครตรอนจาก
bending magnet
ของวงแหวนกักเก็บอิเล็กตรอนเป็นครั้งแรก
จากนี้
กระบวนการต่อไปคือการกักเก็บลำอิเล็กตรอนเป็นระยะเวลาหนึ่ง
เพื่อรอให้กระบวนการ
photodesorption (คือปรากฏการณ์ที่แสงซินโครตรอนทำอันตรกิริยากับผนังท่อสุญญากาศ
และเกิดการปลดปล่อยโมเลกุลที่ฝังตัวอยู่ออกมา
ทำให้ความดันในท่อสุญญากาศเพิ่มขึ้น)
เสร็จสิ้น
จนความดันในท่อสุญญากาศของวงแหวนกักเก็บอิเล็กตรอนลดลงเหมือนเดิม
และคงที่ที่ระดับ ultra high vacuum (ความดันประมาณ
10-11 Torr)
หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการ
photodesorption
เครื่องกำเนิดแสงสยามจะเริ่มให้บริการแสงซินโครตรอนเพื่องานวิจัยแก่นักวิจัยทั่วประเทศ
และเริ่มต้นศักราชของงานวิจัยระดับสูงด้วยแสงซินโครตรอนในประเทศไทย
ผู้สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม
สามารถเข้าดูได้ที่ http://www.nsrc.or.th
จากวิชาการดอทคอม
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แหล่งข่าวจาก ดร. Supagorn Rugmai
แห่ง National Synchrotron Research Center
ผู้ที่ค้นพบเอ็กซเรย์เป็นคนแรก คือ นักฟิสิกซ์ชาวเยอรมัน ชื่อ วิลเฮม คอนราด เรินท์เก้น (Wilhelm Conrad Roentgen) การพบนี้เกิดขึ้นในตอนเย็น ของวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ.1895 ภายในห้องทดลอง ณ มหาวิทยาลัยวู๊ซบรุค (Wurzburg) ประเทศเยอรมันเขาได้ถ่ายภาพรังสี มือของภรรยาเขาไว้ด้วย สีดำที่เห็นในภาพคือแหวนแต่งงานของเขา
ครั้งที่
ภาพประจำสัปดาห์