โครงสร้างอะตอม
ในแต่ละวัตถุธาตุที่มองเห็น
จะประกอบด้วยโครงสร้างที่จับตัวอยู่อย่างสลับซับซ้อนโครงสร้างผลึก (Crystal
Structure) จะประกอบด้วยหน่วยเซลล์ (Unit Cells) เป็นจำนวนมากในแต่ละหน่วยเซลล์
จะประกอบด้วยอะตอม (Atom) ที่มีจำนวนมากน้อยต่างกัน ตามลักษณะโครงสร้างแต่ละแบบ
และในแต่ละอะตอม จะมีพลังของการยึดเหนี่ยวระหว่าง โปรตอน (Protons) และนิวตรอน
(Neutron) จับตัวกันเป็นนิวเคลียส (Nucleus) อยู่ตรงกลางซึ่งมีขนาดเล็กมาก
อะตอม (Atom) คืออนุภาคที่เล็กที่สุดของธาตุ
ซึ่งไม่สามารถแบ่งแยกด้วยวิธีการใด ๆ ธาตุทุกชนิดประกอบด้วยอะตอมจำนวนมาก
ซึ่งอะตอมเหล่านี้ประกอบด้วย อนุภาคที่เล็กที่สุดลงไปอีก เรียกว่าโปรตอน
(Proton) นิวตรอน (Neutron) และอิเล็กตรอน (Electron) โปรตอนและนิวตรอนจะปรกอบกันอยู่กึ่งกลางอะตอมเรียกว่า
นิวเคลียส (Nucleus) ส่วนอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่อยู่ตามวงโคจรรอบ ๆ นิวเคลียส
โดยอิเล็กตรอนที่ประจุไฟฟ้าลบ โปรตอนเป็นประจุไฟฟ้าบวก และนิวตรอนเป็นประจุไฟฟ้ากลาง
เมื่ออะตอมเป็นอิสระ จำนวนโปรตอนรอนจะเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอน น้ำหนักของอะตอมจะเท่ากับน้ำหนักของโปรตอนกับนิวตรอน
ส่วนจำนวนโปรตอนหรืออิเล็กตรอนที่อยู่ในอะตอมที่เรียกว่า Atomic Number
เช่น C = 6 หมายถึงคาร์บอน 1 อะตอมหนักเป็น 6 เท่าของโฮโดรเจน 1 อะตอม
เป็นค่าของนำหนักอะตอม (Atomic Weight)
รูปที่
1 แสดงโครงสร้างอะตอม
โดยที่อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่ไปรอบ
ๆ นิวเคลียส การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน นั้น จะมีระยะแตกต่างกันเป็นชั้น
ๆ เรียกเซลล์ (Shell) ซึ่งในแต่ละเซลล์จะมีระดับของพลังงานแตกต่างกัน
อิเล็กตรอนในแต่ละเซลล์ จะมีจำจวนจำกัดดังรายละเอียดแสดงในตารางที่ 1 อิเล็กตรอนในเซลล์นอกสุดของแต่ละธาตุโลหะเรียกว่า
วาเลนช์อิเล็กตรอน (Valence Electron) ซึ่งจะไม่มีเกินกว่า 8 ตัว
ตารางที่1
แสดงแสดงจำนวนอิเล็กตรอนในแต่ละชั้น
Principal
Quantum Number n |
Shell
Designation |
Subshells |
Number
of
States |
Number
Of Electrons |
Per
Subshell |
Per
Shell |
1
2
3
4 |
K
L
M
N |
S
s
p
s
p
d
s
p
d
f |
1
1
3
1
3
5
1
3
5
7 |
2
2
6
2
6
10
2
6
10
14 |
2
8
18
32
|