index 50
จุดเขียวจางๆจากเครื่องเล็งเลเซอร์สอดส่ายไปตามพื้นดิน แล้วมาหยุดนิ่งอยู่ที่โลหะรูปร่างประหลาด ไม่กี่วินาทีหลังจากนั้นแสงสีเขียวก็ไม่ไหวติง และแล้วเมื่อเราเพิ่งจะรู้ตัวว่าจุดนั้นจับนิ่งอยู่ ที่ระเบิดมือลูกหนึ่ง ภาพตรงหน้าจอภาพของเราก็แตกกระจายเป็นแสงสีขาวเสียแล้ว แล้วเราก็ได้เห็นสิ่งที่ติดตรึงตาไม่ลืมเลือน เมื่อภาพปรากฏชัดขึ้นมา เราได้เห็นว่าแท่งคอนกรีตที่อยู่ใต้การระเบิดนั้นมีรอยไหม้ แต่นอกนั้นแล้วไม่มีสิ่งใดบุบสลายเลยเราเผาส่วนที่มีดินระเบิดน้อยที่สุดของอาวุธScottMcPheeters ผู้นำเราเข้าชมศูนย์ทดสอบอาวุธเลเซอร์ของกองทัพบกเป็นคนบอกศูนย์นี้อยู่ที่ White Sands Missileb Range ในนิวเม็กซิโกพวกคุณอาจจะเคยเห็นแรงระเบิดน้อยๆมาก่อนในสมัยเด็ก เวลาที่พยายามจะจุดพลุที่ชนวนหลุดไปแล้วและในช่วงเวลาอีกหลายนาทีหลังจากการระเบิดครั้งแรกเราได้ชมเลเซอร์ซุส(Zeus)ซึ่งติดตั้งบนรถฮัมวี่ของกองทัพบกปฏิบัติการ ด้วยแสงที่พุ่งไปสู่กระสุนปืนใหญ่ที่ด้านแล้วนานาชนิด เมื่อได้เห็นปฏิบัติการของซุสเราจึงได้ตระหนักว่าเราได้เห็นเครื่องมือชนิดใหม่ที่มีความปลอดภัยสูงสำหรับกำจัดกระสุนและระเบิดด้านต่างๆและนี่ก็คือความก้าวหน้าด้านสำคัญอันดับแรกทางการทหารในศตวรรษที่ 21ทีเดียว
เลเซอร์เคมี
กองทัพบกเริ่มค้นคว้าหาวิธีนำเลเซอร์มาใช้ประโยชน์มาตั้งแต่คศ.1960แล้ว ในสมัยโน้นนักวิจัยได้มุ่งไปให้ความสนใจแก่เลเซอร์ที่ใช้เคมีกระตุ้นเกือบจะทั้งหมด ได้มีการทดสอบระบบเลเซอร์พลังสูงหรือHELSTF กันที่ White Sandsนี่เองและปรากฏว่าการทดสอบสมัยนั้นได้ให้ความหวังพอสมควรทีเดียว ต่อมาในคศ.1978ก็มีการใช้เลเซอร์เคมีระเบิดเฮลิคอปเตอร์ที่กำหนดให้เป็นเป้าซึ่ง Tom Hodge ผอ.HELSTFเล่าว่าMIRACLเป็นเลเซอร์ที่ใช้ได้ดีทีเดียวเขาหมายถึงอินฟราเรดเลเซอร์เคมีล้ำหน้าหรือ Mid-infrared Advanced Chemicale Laser ซึ่งเป็นผลงานวิจัยเลเซอร์กองทัพบกมันขึ้นอยู่กับรัศมีความแรงด้วย นั่นเป็นเพียงแสงที่เราไม่ได้ใช้ในการศึกยังอยู่ในระยะทดสอบจวบจนถึงบัดนี้ เลเซอร์เคมีที่ใช้สังหารได้คือ เลเซอร์พลังสูงสำหรับยุทธการเคลื่อนที่หรือ MTHEL(Mobile Tactical High Energy Laser)ดังที่เห็นในรูป ไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่ PMเราจะไปยังไวท์แซนดส์ MTHEL กลายเป็นอาวุธเลเซอร์ชิ้นแรกที่สามารถแสวงและทำลายขีปนาวุธที่กำลังเคลื่อนที่ในพิสัยทำการของมันได้ กองทัพอากาศกำลังใช้เทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกับเลเซอร์เคมี สำหรับเลเซอร์ที่ใช้ทำลายจรวดสกั๊ดกลางอากาศ ที่สามารถติดตั้งบนเครื่องบินบรรทุกสินค้าโบอิ้ง 747-400ซึ่งดัดแปลงใหม่ได้
พลังฉบับกระเป๋า
ซุสเป็นความก้าวหน้าผิดกว่าในอดีตมากแทนที่จะใช้เคมีทำปฏิกริยาไวเพื่อให้กำเนิดแสงเลเซอร์ในมวลก๊าซร้อน ซุสสร้างปาฏิหาริย์ในกระจกแก้วพิเศษ หลักการในการทำงานก็เช่นเดียวกับเลเซอร์แบบซอลิดสเตททั่วๆไปหรือคล้ายๆกับแสงเลเซอร์ในเครื่องเล่น CDและDVDนั่นเองเบื้องต้นคือแสงจากหลอดไฟที่ได้รับการเพิ่มพลังจะส่งแท่งโฟตอนเข้าไปยังจานแก้วเคลือบสารนีโอดิเมียม 9จาน ภายในจานนั้นแสงที่ยังกระจัดกระจายอยู่ก็จะเข้ารวมตัวกันเป็นลำเดียว ซึ่งนักฟิสิกส์เรียกว่าเป็นลำแสงเข้มสีเดียว ยิ่งแสงรวมตัวกันมากขึ้นพลังก็สูงขึ้น แสงเลเซอร์ไร้สีที่หลุดออกมาจากจานแก้วนั้นมีพลังซึ่งทำให้เหล็กซึ่งอยู่ไกลออกไป 200 หลาร้อนได้เมื่อใช้ระบบควบคุมลำแสงนั้นให้พุ่งไปยังเป้าหมายได้ พร้อมกับส่งข้อมูลให้รู้ว่าจะเล็งลำแสงไปยังจุดใดของยุทโธปกรณ์ เราก็จะได้อุปกรณ์ที่ดีเลิศในการทำลายระเบิดและกระสุนด้านได้เป็นอย่างดี เมื่อพิจารณาถึงการทำลายอาวุธยุทโธปกรณ์แล้ว กองทัพบกวาดหวังไว้ว่าขีดความสามารถของเลเซอร์แบบโซลิดสเตท(SSHC)อย่างเช่นที่ใช้อยู่ในซุสนั้นคืออาวุธสำหรับป้องกันได้ดีเยี่ยมจรวด ปืนใหญ่และปืน ค.นั้นสร้างความเสียหายได้แค่ครึ่งเดียวของมันChip Hardy ผู้จัดการโครงการเลเซอร์SSHCของHELSTFกล่าว
นายทหารระดับสูงของกองทัพบกประเมินสถานการณ์ด้วยความสุขุมว่าพวกเราอยากจะเลิกใช้พวกเคมีมากกว่าพลจัตวา John Uriasผู้เชี่ยวด้านเลเซอร์กองทัพบกบอกกับเราท่านชี้ให้เห็นว่า ในขณะที่โซลิดสเตทเลเซอร์ยังอยู่ในขั้นตอนพัฒนานี้ก็ย่อมต้องมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ถ้าเลเซอร์ร้อนมากเกินไประบบจะปิดตัวของมันเอง
นักวิจัยที่หน่วยงานวิจัยแห่งชาติลอว์เรนซ์ ลิเวอร์มอร์ที่ลิเวอร์มอร์ รัฐแคลิฟอร์เนียซึ่งพัฒนาเลเซอร์SSHCกำลัง 10กิโลวัตต์ให้ระบบซุส เชื่อว่าสามารถเพิ่มพลังมันขึ้นไปได้ถึง 100 กิโลวัตต์ซึ่งต้องใช้ในการระเบิดจรวดของข้าศึกที่อยู่ไกลออกไปในราว 8กม. ความลำบากในการพัฒนาพลังเพิ่มขึ้นนี้ ไม่ได้อยู่ที่การสร้างลำแสงเลเซอร์ให้ทรงพลังมากขึ้นแต่อยู่ที่ทำอย่างไรให้มันรักษาความเย็นเอาไว้ได้ เลเซอร์กำลัง 100 กิโลวัตต์นั้นจะต้องใช้ไฟเข้าไปเลี้ยงถึง 1เมกกะวัตต์จึงต้องหาทางถ่ายเทความร้อนเมื่อมีการยิงเลเซอร์ออกไปให้ได้ เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นนักวิทยาศาสตร์ที่ลิเวอร์มอร์แก้ปัญหาด้วยการวิธีทำให้เลเซอร์เย็นลงในระหว่างการยิง โดยไม่สูญเสียความสมบูรณ์ของโครงสร้างหรือลักษณะเฉพาะของมันไป โฆษกของหน่วยงานวิจัยแถลงว่า ขณะนี้ทีมวิจัยคาดว่าจะสามารถผลิตชิ้นงานสำหรับสาธิตได้ภายในปีคศ.2007
นาซาส่งยานสำรวจดาวอังคารพร้อมรถสำรวจ "Spirit" | |
10 มิถุนายน 2546
นาซาส่งยานอวกาศสำรวจดาวอังคาร พร้อมรถแล่น |
![]() จรวดเดลตา 2 ส่งยานสำรวจดาวอังคาร |
จรวดเดลตา 2 นำยานอวกาศโคจรรอบดาวอังคาร พร้อมรถแล่นสำรวจพื้นผิว "Spirit" ที่มีล้อขับเคลื่อนพลังสูง กล้องถ่ายภาพ 8 ตัว และเครื่องมือสำรวจทางธรณีวิทยา ออกเดินทางไปยังดาวอังคาร นับเป็น 1 ใน 3 โครงการที่มนุษย์ส่งไปสำรวจ ดาวอังคารในช่วงเดือนมิถุนายน 2546 โดย ESA ส่งยานมาร์ส เอ๊กเปรส เดินทางไป ก่อนแล้วเมื่อต้นเดือนมิถุนายน และนาซากำหนดส่งยานสำรวจดาวอังคารอีกลำหนึ่ง พร้อมรถ "Opportunity " ในวันที่ 25 มิถุนายน 2546 |
![]() รถสำรวจพื้นผิวดาวอังคาร "สปิริท" |
นักวิทยาศาสตร์รอคอยโอกาสเหมาะของจักรวาล
เพื่อส่งยานเดินทางไปสำรวจดาวอังคารหลายโครงการ ในช่วงนี้ เพราะปกติโลกกับดาวอังคารโคจรรอบ ดวงอาทิตย์มาอยู่ใกล้กันทุก ๆ 26 เดือน แต่สำหรับ ปี 2546 ่โลกกับดาวอังคารเข้าใกล้กันเป็นระยะสั้น มากที่สุดในรอบ 73,000 ปี ต่อจากนี้ ระยะใกล้มาก เช่นนี้จะเกิดขึ้นอีกครั้งใน ปี พ.ศ.2830 |
นักวิทยาศาสตร์จึงใช้โอกาสช่วงนี้ส่งยานอวกาศ |
![]() ล้อรถสปิริทขับสำรวจพื้นผิวดาวอังคาร |
ยานอวกาศน้ำหนัก 173 กิโลกรัม ขนาดรถ 1.5 x
2.3 x 1.6 เมตร หนักเป็น 4 เท่าของ ยานพาธไฟน์เดอร์ ที่ไปสำรวจดาวอังคารปี 2540 ยานเดินทางถึงดาวอังคารต้นเดือน มกราคม 2547 ลงบริเวณหลุมอุกกาบาต Gusev ใต้เส้นศูนย์สูตรดาวอังคาร 15 องศา
ยานใช้ระบบเดียวกับยานพาธไฟน์เดอร์ในการลงยาน
คือร่มชูชีพและถุงลมนิรภัยกัน |
ดาวอังคาร (Mars)
|
|
|
ข้อมูลดาวอังคาร
เส้นผ่าศูนย์กลาง 6,794 กิโลเมตร มวล (โลก = 1) 0.107 เท่าของโลก ความหนาแน่นเฉลี่ย 3,930 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร คาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 687 วัน คาบการหมุนรอบตัวเอง 24 ชั่วโมง 37 นาที ระยะห่างจากดวงอาทิตย์เฉลี่ย 230 ล้านกิโลเมตร |
ดาวอังคาร
เป็นดาวเคราะห์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 4
มองในท้องฟ้าเห็นเป็นดวงสีแดง สีของดาวสร้างความรู้สึกถึงพลังอำนาจ
เข้มแข็งและฮึกเหิม จนชาวโรมันขนานนามว่าเป็น
เทพแห่งสงคราม
|
โครงสร้างดาวอังคาร
|
![]() ภูเขาไฟนิกซ์ โอลิมปิกา ใหญ่สุดในระบบสุริยะ
|
|
![]() ดวงจันทร์ไดมอส |
ปฏิทิน" มีความเป็นมาอย่างไร
เมื่อเราต้องการตรวจสอบวันในสัปดาห์หรือหาดูว่าวันหนึ่งวันใดในสัปดาห์ที่จะถึงเป็นวันที่เท่าไหร่ เราก็จะต้องดูในปฏิทิน พวกเราบางคนมีปฏิทินอยู่บนนาฬิกาข้อมือด้วย ฉะนั้น มันก็จะดูเป็นเรื่องง่ายๆ แต่เมื่อหลายพันปีก่อนโน้น มันไม่ง่ายอย่างนี้หรอก บรรพบุรุษในยุคแรกสุดของเราต้องเฝ้าดูวันและเวลาที่ผ่านไปโดยการดูดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และดวงดาว เมื่อเห็นดวงอาทิตย์ขึ้น เขาก็รู้ว่าวันใหม่เริ่มต้นขึ้นแล้ว เขาจะบอกได้ว่าเป็นเวลาเช้าหรือสายโดยดูจากความยาวของเงาที่เปลี่ยนไป ส่วนช่วงระยะต่างๆของดวงจันทร์ตั้งแต่ข้างขึ้นอ่อนๆ ระยะที่เป็นเสี้ยว ครึ่งดวง หรือเต็มดวง ก็ทำให้บรรพบุรุษของเราทราบอย่างคร่าวๆ ว่าวันผ่านไปกี่วันแล้ว
มนุษย์ค่อยๆเรียนรู้ว่า ดวงจันทร์ต้องใช้เวลามากกว่า 29 วันนิดหน่อยกว่าจะหมุนไปครบหนึ่งรอบ หรือ นับจากข้างขึ้นครั้งหนึ่งถึงข้างขึ้นอีกครั้งหนึ่ง การค้นพบความจริงข้อนี้ทำให้เกิดแนวความคิดเรื่องเดือนทางจันทรคติโดยอาศัยการสังเกตวงโคจรของทางดวงจันทร์ มนุษย์ยังได้เรียนรู้อีกว่าโลกต้องใช้เวลาประมาณ 365 วันในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบหนึ่งรอบ ดังนั้นจึงเกิดความคิดเรื่องปีสุริยคติขึ้น แต่ปฏิทินจริงๆ ก็ยังอยู่ห่างไกลนัก การแบ่งเวลาตามการโคจรของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้น ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นอย่างหนึ่ง คือ เวลา 1 ปี ประกอบด้วยเดือนทางจันทรคติ 12 เดือน โดยแต่ละเดือนมี 29 วันนั้น รวมแล้วจะมี 354 วัน ขาดอีก 11 วัน จึงจะเท่าปีทางสุริยคติซึ่งมี 365 วัน
ชาวโรมันใช้ปฏิทินที่มีเดือนแบบจันทรคติ 12 เดือน แต่แล้วก็ค้นพบอย่างรวดเร็วว่าการใช้ปฏิทินแบบนี้ทำให้แต่ละปีขาดไป 11 วัน ชาวโรมันคาดว่าเมื่อเพิ่มเดือนพิเศษเข้าไปอีก 1 เดือน ทุกๆ 2-3 ปี จะสามารถชดเชยส่วนที่ขาดหายไปนั้นได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อจูเลียส ซีซาร์ ได้ปกครองกรุงโรมในศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล เขาก็พบว่า ปฏิทินโรมันนั้นช้ากว่าความเป็นจริงเกือบ 3 เดือน ซีซาร์จึงหารือกับนักดาราศาสตร์ชั้นนำคนหนึ่งชื่อ โซซิจีเนส และได้ทราบว่าในหนึ่งปีมี 365 ผ วัน จึงคิดปฏิทินแบบใหม่ขึ้น แทนที่จะเป็นเดือนทางจันทรคติที่มี 29 ฝ วันในหนึ่งเดือน เดือนแบบใหม่จะมี 30 หรือ 31 วัน ยกเว้นเดือนกุมภาพันธ์ ดังนั้น ในหนึ่งปีก็จะมี 365 วัน และเพื่อที่จะชดเชย วันที่ขาดหายไป จึงมีการเพิ่มวันเข้าไป 1 วันในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกๆปี ที่เรียกว่า ปีอธิกสุรทิน
แม้กระนั้นก็ตาม ปฏิทินโรมัน หรือที่เรียกกันว่า ปฏิทินจูเลียน นั้นก็ยังไม่ถูกต้องอยู่ดีนั่นแหละ การประเมินของโซซิจีเนสที่ว่าหนึ่งปีมี 365 วัน นั้นก็ยังมีเวลาที่ขาดหายไปราว 11 นาที กับอีก 2-3 วินาที มันก็ไม่ใช่เวลามากมายอะไรนักหรอก แต่พอหลายร้อยปีผ่านไป เจ้าเวลาเหล่านั้นจะรวมกันกลายเป็นเวลาหลายวัน ในศตวรรษต่อๆ มา ผู้คนพบว่าวันแรกของฤดูใบไม้ผลิ หรือที่เรียกว่า เวอร์นัน อิควิน๊อกซ์ ซึ่งเป็นวันที่กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากันนั้น มาเร็วขึ้นเรื่อยๆ ในปีค.ศ. 1582 วันดังกล่าวนี้มาถึงเร็วกว่ากำหนดถึง 10 วัน คือมาถึงวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม
สันตะปาปาเกรเกอรีที่ 13 ได้ทรงขอให้บรรดานักดาราศาสตร์ชั้นแนวหน้าช่วยกันคิดหาวิธีแก้ข้อผิดพลาดของปฏิทินโรมัน นักดาราศาสตร์ชื่อ คริสโตเฟอร์ คลาเวียส ได้เสนอให้ตัดวันในปีนั้นออกเสีย 10 วัน ซึ่งสันตะปาปาก็ทรงเห็นชอบด้วย วันถัดจากวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ.1582 จึงถูกประกาศให้เป็นวันที่ 15 ตุลาคม ไม่ใช่วันที่ 5 ตุลาคม แต่นั่นไม่ได้แก้ปัญหาในอนาคต สันตะปาปาจึงทรงมีโองการว่า นับแต่นั้นไป ปีอธิกสุรทินที่เป็นปีแรกของศตวรรษ จะไม่มีวันเพิ่มเป็นพิเศษในเดือนกุมภาพันธ์การยกเว้นดังกล่าวนี้จะได้แก่ปีแรกของศตวรรษซึ่งเลขปี ค.ศ. หารด้วย 400 ได้ลงตัว เช่น ปี ค.ศ. 2000 เป็นต้น เพราะฉะนั้น ปฏิทินเกรเกอเรียนที่ใช้กันอยู่ในประเทศส่วนใหญ่ของโลก จะมีเวลาเกินอยู่ปีละ 25 วินาที หรือมีเวลาเกินไป 1 วันในทุกๆ 3,300 ปี
นำมาจาก http://www.scithai.com/
ฟิสิกส์ราชมงคลขอขอบคุณมากครับ
เพวเทีย (Peltier) คืออะไร?
เครื่องเล่นบังคับด้วยวิทยุ บทนำ คุณคงเคยเห็นเด็กๆสนุกสนานกับเครื่องเล่นของเขา
ในห้างสรรพสินค้า ในสวนสาธารณะโดยการบังคับเครื่องบิน
และเรือลำโปรด ด้วยวิทยุ เครื่องเล่นประเภทนี้
ภาษาอังกฤษเรียกว่า เครื่องเล่น RC
ย่อมาจาก Radio controller toy รถปิกอัพบังคับด้วยวิทยุ ฟิสิกส์ราชมงคล จะบอกเล่าวิธีการบังคับด้วยวิทยุ
และความถี่ที่ใช้ในเครื่องเล่น RC และคุณจะได้เรียนรู้ส่วนประกอบต่างๆภายในของมัน
พร้อมกับเข้าใจความแตกต่างระหว่างการควบคุมด้วยวิทยุ
กับรีโมทคอนโทรล ว่าเป็นอย่างไรในหน้าถัดไป กฏการเคลื่อนที่ของดวงดาว เคปเลอร์เป็นนักดาราศาสตร์ที่ไม่ค่อยจะเชื่อหรือฟังใครเท่าไรนัก
ดังนั้นความคิดของเขาจึงไม่ค่อยจะเหมือนใคร
ตอนนั้นเขาไม่เชื่อว่าการโคจรของดวงดาวจะเป็นวงกลม
ซึ่งเป็นความเชื่อของคนสมัยนั้น ในกฎข้อแรก เขาจึงบันทึกไว้ว่า
ดาวเคราะห์โคจรเป็นรูปวงรีรอบดวงอาทิตย์
ที่เป็นจุดโฟกัสหนึ่ง เคปเลอร์ยังสังเกตเห็นอีกว่า
ความเร็วของดาวเคราะห์เปลี่ยนไปขณะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์
ไม่ได้หมุนด้วยความเร็วคงที่ ซึ่งนำไปสู่กฎข้อที่สองของเคปเลอร์ที่ว่า
ดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์โดยกวาดพื้นที่เท่ากันในช่วงเวลาเดียวกัน
ตัวอย่างเช่นการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์
โดยที่โลกจะกวาดพื้นที่ในช่วงหนึ่งอาทิตย์ของเดือนมกราคม กับเดือนกรกฎาคม
มีพื้นที่เท่ากัน ดังรูป เส้นที่ลากจากโลกถึงดวงอาทิตย์
จะกวาดพื้นที่เท่ากันในช่วงเวลาเดียวกัน พื้นที่แต่ละส่วนคือช่วงเวลาหนึ่งเดือน
โลกอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์ในเดือนมกราคม ซึ่งเคลื่อนที่เร็วกว่าเดือนกรกฎาคม
ภาพขยายมาตราส่วนเกินจริง จึงเห็นการโคจรเป็นวงรี ส่วนวงโคจรจริงเกือบเป็นวงกลม
การทดลองกฎข้อที่หนึ่งและสามของเคปเลอร์
ใบบันทึกผลการทดลอง
กำหนดให้ G =
6.67 x 10-11 N.m2/kg2 M
มวลโลก = 6.0 x 1024 kg , Rโลก =
6.4 x 106 m
กฎข้อที่หนึ่งของเคปเลอร์
การทดลองกฎข้อที่สองของเคปเลอร์
ใบบันทึกผลการทดลอง
ใบบันทึกผลการทดลอง ให้เลือกดาวพลูโต คาบของดาวพลูโต = 782 x 107
วินาที เลื่อนสไลด์ไปที่ 0.1 T กดปุ่มให้ดาวพลูโตหมุน พื้นที่สีชมพูระยะไกลสุดวัดระยะทางได้ (สูง)
= ______ AU พื้นที่สีเขียวระยะไกลสุดวัดระยะทางได้ (สูง)
= ______ AU
กดที่รูปภาพหรือที่นี่เพื่อเข้าสู่การทดลอง
ดาวหางชูเมกเกอร์เลวี เก้า วิ่งเข้าชนดาวพฤหัสในเดือน กรกฎาคม
1994
ขณะที่พุ่งเข้าสู่แรงโน้มถ่วงอันมหาศาลของดาวพฤหัส ดาวหางถูกแรงฉีกออกเป็น
ชิ้นเล็กชิ้นน้อย ทั้งหมด 23 ชิ้น แต่ละชิ้น
มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 ถึง 4
กิโลเมตร และเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 60
กิโลเมตรต่อวินาที( 134,000
ไมล์ต่อชั่วโมง) มีพลังงานจลน์ 2 x 10 22
จูล เทียบเท่ากับแรงระเบิดของทีเอ็นที 6,000,000
เมกะตัน หรือเทียบเท่ากับระเบิดปรมาณูที่ถล่มฮิโรชิมา
100 ล้านลูก แรงระเบิดมีรัศมีกระจายไปถึง
8,000 กิโลเมตร ภาพที่ 1 อุบัติแห่งพระศาสดา มีการอุปมาว่า องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
ทรงแสดงธรรมอุปมาได้ 4 อย่าง เหมือนหงายของที่คว่ำ
เหมือนเปิดของที่ปิด เหมือนชี้ทางกับผู้เดินทางไม่ให้หลงทาง
เหมือนจุดประทีปเอาไว้ในที่มืด
ประทีปที่จุดไว้ในที่มืดสามารถทำให้ผู้เดินทางได้เห็นอย่างแจ่มชัด
ไม่สะดุดและไม่เดินชนสิ่งกีดขวาง ชีวิตจะได้ราบรื่น เมื่อพระศาสดาอุบัติเกิดขึ้น
ฝูงชนเป็นอันมากพากันแซ่ซ้องสาธุ ตั้งแต่ราชามหากษัตริย์ ถึงยาจกยากจนแสนเข็ญ
รวมถึงสัตว์โลกทั้งหลาย
อ่านต่อครับ นักบินอวกาศบังคับยานอวกาศโคจรเป็นวงกลมรอบโลกที่จุด
O เมื่อเคลื่อนที่มาถึงจุด A
นักบินอวกาศขว้างกระป๋องโค๊กออกไปข้างหน้า ถามว่า กระป๋องโค๊กจะโคจรรอบโลกเป็นรูปใด
เพวเทีย (Peltier) คืออะไร? ..... เพวเทีย คูลเลอร์ (Peltier Cooler)
เป็นระบบการระบายความร้อนโดยการใช้ Peltier Element ซึ่งขอใช้นิยามศัพท์คำว่า "Heat
Pump" ก็ละกัน
เจ้าเพวเทียนี้จะทำหน้าที่ปั๊มความร้อนจากด้านหนึ่งไปสู่อีกด้านหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว
นั่นหมายความว่า เพวเทีย จะมีด้านหนึ่งที่เย็น
(ด้านที่ถูกปั๊มความร้อนออกไปอีกด้าน) และอีกด้านหนึ่งที่ร้อน
(ด้านที่ถูกปั๊มความร้อนออกมา) ฟังดูงงๆ มั้ยครับ
การทำงานของ เพวเทียนี้ อาศัยกระแสไฟฟ้าค่อนข้างมาก
การปั๊มความร้อนจึงได้ผลที่ไม่ค่อยจะงดงามมากนัก คือ ด้านร้อน อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น
มากกว่าอุณหภูมิของด้านเย็นที่ลดลงไป
อันเนื่องมาจากการใช้ปริมาณกระแสไฟฟ้าอันมหาศาลเกินตัวของมันนั่นเอง แต่...
มันก็ไม่ได้ฟังดูแย่อย่างที่คิดหรอกครับ เนื่องจาก เพวเทีย
นั้นมีประสิทธิภาพเพียงพอในการที่จะทำให้ด้านเย็น อุณหภูมิติดลบได้ง่ายๆ เลย
และก็เหมาะแก่การนำมาใช้ในวงการโอเวอร์คล๊อกแบบบ้าระห่ำ
ไม่เหมาะแก่การเอาไปใช้งานจริงซักเท่าไหร่ (เว้นแต่ติดตั้งได้ดีจริงๆ) โดยปกติแล้ว
เพวเทีย จะมีความสามารถในการปั๊มความร้อนให้ทั้ง 2 ด้านมีอุณหภูมิแตกต่างกันประมาณ
50-70 องศาเซลเซียส หรือในเพวเทียคุณภาพสูงๆ อาจทำให้ต่างได้ถึง 120
องศาเซลเซียสเลยทีเดียว..
อันตรายและข้อควรระวังในการใช้เพวเทีย
เนื่องจากเพวเทียมีประสิทธิภาพสูงในการที่จะทำให้อุณหภูมิลดลงและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
อีกทั้งมีการกินกระแสไฟฟ้ามาก แน่นอนว่าต้องมีความอันตรายตามมา ดังนั้น
ผู้ที่คิดจะใช้เพวเทีย จึงควรศึกษาให้เข้าใจถึงหลักการทำงาน, วิธีการป้องกันอันตราย
และข้อปฏิบัติต่างๆ ให้ดีเสียก่อน ผมขอสรุปปัญหา และข้อควรระวังต่างๆ จากเพวเทีย
ไว้ดังนี้
- ด้านร้อนอุณหภูมิสูงเกินพิกัด (Overheating) ความจริงแล้ว
เพวเทียเป็นเพียงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แผ่นบางๆ แผ่นหนึ่งเท่านั้น
การจัดการของแต่ละคนกับเจ้าแผ่นบางๆ นี้ก็ไม่เหมือนกัน บางคนอาจใช้ heatsink
และพัดลมประสิทธิภาพสูงประกบเข้ากับด้านร้อนของเพวเทีย
บางคนอาจใช้ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำมาประกบ ซึ่งบอกไว้ได้เลยว่า
ความร้อนที่เกิดขึ้นจากด้านร้อนของเพวเทียนั้น
จะมีความร้อนที่สูงกว่าความร้อนที่ซีพียูปล่อยออกมาอย่างแน่นอน
(เพราะมันคือความร้อนที่ซีพียูปล่อยออกมา บวกกับ ความร้อนที่เกิดขึ้นจากเพวเทียเอง)
ในกรณีแรก ถ้าใช้ heatsink กับพัดลม สิ่งที่ต้องระวังให้มากที่สุด คือ พัดลม
ที่ต้องทำงานอย่างแน่นอน ไม่ดับหรือรอบตก
การพลาดแม้แต่นิดเดียวอาจะทำให้คุณสูญเสียซีพียูไปได้โดยง่าย
อย่าหวังว่าเมนบอร์ดจะตัดการทำงานให้อย่างเดียวนะครับ
มีคนพลาดกับเพวเทียนี้ไปเยอะแล้ว ทั้งปัญหาการระบายความร้อนในด้านร้อนไม่ดีพอ,
เมนบอร์ดไม่ตัดการทำงานเมื่อซีพียูร้อนเกินไป และ เพวเทียเผาซีพียู ก็มีมาแล้ว
ดังนั้น ต้องระมัดระวังให้มากเป็นพิเศษครับ อีกกรณีหนึ่งคือ การใช้น้ำหรือ water
cooler ในการระบายความร้อนที่ด้านร้อน ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลมากวิธีหนึ่ง
ก็ให้ระมัดระวังเรื่องของการรั่วซึมต่างๆ และการทำงานของปั๊มน้ำให้ดีครับ
- การควบแน่นของน้ำ ปัญหานี้โลกแตกพอสมควรเลยครับสำหรับ Peltier Element
จะเกิดขึ้นในช่วงแรกของการเปิดเครื่อง ซักนาทีหรือสองนาทีแรก
ที่ซีพียูยังไม่ร้อนเท่าไหร่ แต่เพวเทียทำให้มันเย็นลงไปกว่าอุณหภูมิห้องมากๆ
สิ่งที่ตามมาอย่างไม่ต้องสงสัยเลย คือ ไอน้ำ ที่เกิดจากการควบแน่น
(การเปลี่ยนสถานะจาก อากาศ เป็น ของเหลว) หุหุ
แอบเอาความรู้วิทยาศาสตร์สมัยประถมมานิดนึง แต่ไอ้เจ้าไอน้ำที่เกิดขึ้นเนี่ย
เราอาจมองไม่เห็นเนื่องจากมันจะเกิดขึ้นที่ตัวซีพียู, socket บนเมนบอร์ด และใต้
socket เมนบอร์ด (อันนี้พูดถึงกรณีที่ติดตั้งเพวเทียเป็นอย่างดีแล้วนะครับ)
แต่ไม่ต้องวิตกมากสำหรับการเกิดขึ้นของไอน้ำนี้
เนื่องจากไอน้ำที่เกิดจากการควบแน่นนั้น มีประจุไฟฟ้าเกือบจะเป็นศูนย์
โอกาสที่จะเกิดการลัดวงจรจึงต่ำมาก เพียงแค่เราติดตั้งให้ดี
อย่าให้ปริมาณไอน้ำมากจนเกินไป
นั่นคือการติดตั้งพยายามอย่าให้เกิดช่องว่างของอากาศมาก
งานนี้ความสำคัญส่วนหนึ่งอยู่ที่ซิลิโคนด้วยครับ
- ปัญหาทางด้านไฟฟ้า บอกไปแล้วว่าเพวเทียนั้นกินกระแสไฟฟ้าค่อนข้างมาก
ตัวที่วางขายกันโดยทั่วไป ส่วนมากจะเป็นขนาด 70-90 W
ซึ่งเป็นปริมาณที่สูงมากหากเทียบกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ตัวอื่นๆ
งานนี้ความสำคัญตกไปอยู่ที่ Power Supply Unit ของเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วครับ
ยิ่งในระบบปัจจุบัน เครื่องคอมพิวเตอร์ก็กินกระแสไฟฟ้ามากอยู่แล้ว ถ้าไปเจอเพวเทีย
80 W พ่วงไปอีกตัวก็ไม่ไหวแน่นอน ต้องไปหา Power Supply วัตต์สูงๆ มาใช้ เช่นพวก
430 W ขึ้นไป หรือจะใช้เทคนิคการต่อ Power Supply 2 ตัวเข้าด้วยกันก็ได้
และสายไฟขิงเพวเทียที่เสียบกับ Power Supply
ไม่ควรที่จะเป็นเส้นเดียวกับที่เสียบกับ harddisk หรือ drive ต่างๆ เนื่องจาก
harddisk เป็นอุปกรณ์อีกตัวหนึ่งที่มีการแกว่งของการใช้ไฟพอสมควร
โดยเฉพาะในช่วงของการหมุนรอบมอเตอร์ขึ้น (ช่วง boot เครื่อง)
หากไปทำให้การจ่ายไฟของ harddisk ติดขัด อาจทำให้ harddisk มีปัญหาได้ง่ายครับ
อันนี้ก็ต้องระมัดระวังกันไว้ด้วย
เพวเทียมีอายุการใช้งานนานเท่าไหร่?
ตอบยากครับ ... ยากพอๆ กับถามว่า โทรทัศน์มีอายุการใช้งานนานเท่าไหร่? ...
หากเรามองว่า เพวเทียเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตัวหนึ่ง ก็ไม่แปลกครับ
ที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จะมีอายุยืนยาวนานหลายปี
คนที่ใช้เพวเทียระบายความร้อนให้กับซีพียูบางคนก็ใช้มานานนับปีแล้วเหมือนกัน
โอกาสที่มันจะพังนั้น ขึ้นอยู่กับการใช้งานที่ถูกต้อง
ติดตั้งและดูแลระบบระบายความร้อนให้มันเป็นอย่างดี เท่านั้นเองครับ
ปัจจุบันเพวเทียมีบทบาทต่อวงการคอมพิวเตอร์อย่างไร?
เพวเทีย เป็นเพียงอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์แผ่นบางๆ (ประมาณ 4-6 มม.) เท่านั้น
ในที่นี้ของพูดถึงเฉพาะการนำไปใช้ในการระบายความร้อนให้กับซีพียูเท่านั้นนะครับ
ซึ่งต้องนำไปประกบกับอุปกรณ์ระบายความร้อนอีกครั้งหนึ่งอย่างที่บอกไปแล้ว
ไม่ว่าจะเป็น heatsink+พัดลม หรือจะเป็นระบบระบายความร้อนด้วยน้ำก็สุดแล้วแต่ ...
โดยเราสามารถเลือกใช้เพวเทียได้ 2 ทางคือ ไปซื้อเฉพาะเพวเทียมาติดตั้งกับ heatsink
เอง หรือจะซื้อเป็นแบบสำเร็จรูปก็ได้ แบบสำเร็จรูปที่ว่าก็คือมียี่ห้อนั่นแหละครับ
ผู้ผลิตระบบระบายความร้อนชื่อดังหลายรายนั้น มี product ที่เป็น Peltier Element
ขายด้วย นั่นคือทางบริษัทเหล่านี้จะประกบ heatsink มาให้เสร็จสรรพ
หรืออาจขายเป็นชุดพร้อมกับชุด water cooler ไปด้วยนั่นเอง ... แต่
ในบ้านเรายังหาซื้ออุปกรณ์เหล่านี้ได้ยากยิ่งนัก จะมีก็เพียงแผ่นเพวเทีย
แล้วเราก็ต้องมาติดตั้งกันเอง โดยมีขั้นตอนความยุ่งยากอยู่พอสมควรครับ ปัจจุบัน
เพวเทีย ถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าเป็น TEC หรือ Thermo-Electric Cooler
ซึ่งชื่อนี้ก็ได้มาจากการใช้ไฟฟ้าเข้ามาช่วยในการระบายความร้อนนั่นแหละครับ
ตัวอย่างของ Peltier Cooler หรือ TEC ที่เห็นได้ชัดๆ ก็คือผลิตภัณฑ์จาก Thermaltake
ผู้ผลิตฮีตซิงค์ชื่อดังของโลก ที่มาในชื่อของ Thermaltake SubZero4G
เป็นการผสมผสานระหว่างการใช้เพวเทียและฮีตซิงค์
โดยมีการ์ดคอนโทรลเลอร์ไว้ควบคุมการจ่ายไฟให้เพวเทีย
เพื่อรักษาระดับอุณหภูมิไม่ให้ลงไปต่ำเกินไปจนเกิดไอน้ำ
และในขณะเดียวกันก็ควบคุมไม่ให้อุณหภูมิของซีพียูสูงเกินไปด้วย...
เป็นความสำเร็จอีกขั้นหนึ่งของ Thermaltake
ที่สามารถใช้เพวเทียมาประยุกต์ใช้งานได้อย่างไม่เป็นอันตรายใดๆ ... พูดมาถึงตรงนี้
ชักอยากจะรู้จักกับ Thermaltake SubZero4G ขึ้นมามั่งมั้ยครับ....
ไม่ต้องสงสัยเลยครับ ผมเอามาให้ชมกันแน่นอน สำหรับ SubZero4G
แต่อดใจรอชมในตอนหน้านะครับ
วันนี้ก็พูดถึงเพวเทียมาจนคิดว่าน่าจะเห็นภาพกันบ้างแล้ว พร้อมกับเอา SubZero4G
มายั่วน้ำลายกันไปพลางๆ ใครมีข้อสงสัยอะไรเกี่ยวกับเพวเทีย หรือ เรื่องอื่นๆ
ก็ติดต่อได้ทาง E-Mail โดยคลิ๊กที่ชื่อผมด้านล่างได้นะครับ วันนี้ก็ลากันก่อน
สวัสดีครับ.. นำมาจาก http://www.skt.ac.th/
R0 x 103 km
v ทดลองหลุดพ้น
(km/s)
v ทฤษฎีหลุดพ้น
(km/s)
6.5
7
7.5
8
8.5
วันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ.1997
เกิดการระเบิดรังสีแกมมาที่เห็นเป็นจุดสว่างทางขวามือ
สว่างมากสามารถเห็นได้ในระยะทางห่างไกล 8 พันล้านปีแสง
เมื่อราวทศวรรษ 1980 มีรายงานจากดาวเทียมมานาน 20 ปีแล้วว่า
เกิดการระเบิดของพลังงานสูงสุดคือรังสีแกมมา โผล่ออกมาเป็น บางครั้งบางคราว
บนท้องฟ้าบางแห่ง มันเป็นอะไรและอะไรผลิตได้ เปรียบเหมือนแสง ไฟแฟลซ
การระเบิดรังสีแกมมาเหล่านี้ อยู่นานเพียง เสี้ยววินาทีถึงหลายนาที
นับเป็นปรากฏการณ์แบบใหม่ไม่เคยเห็นกันมาก่อน
ก่อนที่จะบอกว่าเป็นอะไร
ต้องทราบตำแหน่งของเหตุการณ์ประหลาดนี้กันก่อน มันอาจอยู่ไกลไม่กี่ ร้อยปีแสง
คือ อยู่ในทางช้างเผือก พลังงานมากมายอาจเกิดจากดาวหาง ชนดาวนิวตรอน
หรือมีแผ่นดินไหวที่ผิวดาวนิวตรอน หรือเรียกว่าดาวไหว (starquake)
ต่อมานักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ มองไกลกว่านั้นว่ามันอยู่ในฮาโล (halo) ของมวล
ที่มองไม่เห็นล้อมรอบดาราจักร แหล่งผลิตแรงระเบิดอยู่ใกล้ไม่ไกลมาก
โบห์แดน ปาคซินสกี (Bohdan Paczynski) โต้แย้งว่า
การกระจายของมันบนท้องฟ้าบอกระยะทางได้ ถ้าแหล่งระเบิด อยู่ในดาราจักร ของเรา
มันอยู่กระจายไปตามทางช้างเผือก คล้ายไฟสว่างบนถนน
หรืออาจเป็นส่วนของฮาโลดาราจักรก็ได้ แต่เราจะไม่เห็นมันกระจาย อย่างสม่ำเสมอ
เนื่องจากโลกไม่ได้อยู่ตรงกลางฮาโล
โลกอยู่ในแขนกังหันห่างจากใจกลางดาราจักรของเรา 26,000 ปีแสง
การกระจายของการระเบิด
ควรมีรูปแบบคล้ายวัตถุที่อยู่ในฮาโลอย่างเช่นกระจุกดาวทรงกลมด้วย
คือเอียงไปทางข้างที่มีใจกลางดาราจักร แต่มันไม่ได้เป็นเช่นนี้ การระเบิด
กระจายสม่ำเสมอทั่วท้องฟ้า
มันกระจายแบบเดียวกับกระจุกดาราจักรไม่ใช่แบบกระจุกดาว
และลักษณะกระจายแบบนี้บอกได้เลยว่ามันต้องอยู่ไกลมาก
ระยะทางเดียวกับกระจุกดาราจักร
ก่อน ค.ศ.1991 มีการประชุมในแอนนาโปลิส รัฐแมรีแลนด์
มีนักวิทยาศาสตร์ 99% ที่ไม่ยอมรับว่าแหล่งระเบิดอยู่ไกลมากและเพียง 1%
ยอมรับระยะทางที่ไกลมาก
จากการติดตามด้วยหอสังเกตการณ์รังสีแกมมาคอมป์ตันที่ปล่อยขึ้นอวกาศต้น ค.ศ.1991
มีผู้ยอมรับว่า การระเบิดเกิด ที่ระยะทางไกลมากขึ้นเป็น 50%
การระเบิดรังสีแกมมาที่แบทซีสำรวจได้
การระเบิดมีทั้งแบบชั่วคราวและไม่คงเส้นคงวา
ทำให้มันเป็นปริศนาลึกลับยิ่งขึ้น ปาคซินกี กล่าวว่าทฤษฎีที่มีผิดหมด
เพราะการสังเกตการณ์ บางอย่างผิดพลาด
การโต้เถียงเรื่องระยะทางเป็นไปอย่างดุเดือด
ดาวเทียมใหม่หลายแห่งพยายามศึกษาวัตถุแปลกประหลาดนี้ พบราว 300 แห่งใน 1 ปี
หอสังเกตการณ์คอมป์ตัน มีตัวค้นหา 8 ตัว ชื่อ แบทซี เฝ้าติดตาม แต่ก็มีปัญหาคือ
แบทซี ไม่สามารถหาตำแหน่งได้อย่างถูกต้อง ตำแหน่งระเบิด
ไม่มีความยาวคลื่นอื่นด้วย ไม่พบแสง รังสีเหนือม่วง
หรือคลื่นวิทยุเกี่ยวข้องกับการระเบิดรังสีแกมมา
น่าประหลาดที่มันคายแต่รังสีแกมมา
อย่างดวงอาทิตย์จะประหลาดถ้ามันคายแต่แสงสีเขียวไม่คายสีอื่น
แต่อาจเพราะเครื่องมือ มีประสิทธิภาพสูงไม่พอ ที่จะเห็นจุดที่ถูกต้อง ในเวลา
ที่ถูกต้อง ถ้าวัตถุระเบิดชั่วคราวและหายวับไปเร็ว อาจมีบางสิ่งที่ยังเหลืออยู่
การตามแก้ปัญหา
ดาวเทียมอิตาลี/ดัชท์
ดวงใหม่ชื่อเบปโปแซกซ์ (BeppoSAX)
แม้อุปสรรคคือเรื่องเวลาแต่เบปโปแซกส์ก็แก้ไขได้ มีตัวเซนเซอร์ที่สามารถ
หาตำแหน่งของการระเบิด และมันสามารถกลับมาอีกในเวลาไม่กี่ชั่วโมง
แทนที่จะเป็นวัน ๆ บอกให้ หอสังเกตการณ์ ที่พื้นดิน สามารถหันเครื่องมือ
ดูว่ามีอะไรเกิดขึ้น
28 กุมภาพันธ์ 1997
เบปโปแซกส์หาตำแหน่งระเบิดที่ถูกต้องอย่างเร็วที่สุดเป็นครั้งแรก
เมื่อเครื่องมือรับรังสีเอกซ์ และช่วงคลื่นอื่น ตรวจสอบต่อไป การระเบิดนี้
(และที่ตามมาวันที่ 2 เมษายนและ 8 พฤษภาคม) แสดงรังสีที่ค้างบนท้องฟ้า
ที่ช่วงคลื่นอื่นด้วย
การระเบิด วันที่ 8 พฤษภาคม นาน 15 วินาที น่าสนใจ
เนื่องจากเบปโปแซกส์หาตำแหน่งที่ถูกต้องพอจนกล้องโทรทรรศน์เคค ขนาด 10 เมตร
ต้องหันไปช่วยดูด้วย พบวัตถุเป็นจุดมีความสว่างคิดแมกนีจูดได้ 20
ตรงตำแหน่งระเบิดจมในดาราจักร จุดนี้จางกว่าวัตถุจางที่สุด ที่จะเห็นได้
ด้วยตาเปล่าถึงล้านเท่า แต่ก็สว่างพอที่จะเห็นเส้นสเปกตรัมแสงเป็นครั้งแรก
เปิดเผยเรดชิฟท์ไกลหลายพันล้านปีแสงจากโลก หมายความว่า ตัวระเบิดอยู่ไกลมาก
ไกลอย่างน้อย 8 พันล้านปีแสงมากกว่าครึ่งทางขนาดเอกภพ
การระเบิดคายพลังงานภายในเสี้ยววินาที
พลังงานที่คายนี้มากกว่าที่ดวงอาทิตย์คายในเวลา 5
พันล้านปีหรือตั้งแต่ดวงอาทิตย์เกิด ไม่มีใครทราบว่า
อะไรคายพลังงานมากมายอย่างนั้นได้ภายในเสี้ยววินาที ปาคซินสกี
คิดว่าน่าจะมาจากสนามแม่เหล็ก ความเข้มสูง ที่สามารถโฟกัส
และปลดปล่อยพลังงานสูงที่ชี้มาทางเราเหมือนลำแสงเลเซอร์
แต่ขบวนการนี้มีพลังงานน้อยเพราะต้องคายในทุกทางที่หมุน ถ้าเป็นการชนกัน
ระหว่างดาวนิวตรอน น่าจะอธิบายการคายพลังงานมากมายหนเดียวได้ดีกว่า
หรืออาจเป็นไปได้ที่จะมีกฎฟิสิกส์ชุดใหม่อธิบาย
มันน่าประหลาดใจที่ว่า มหานวดาราธรรมดามีพลังงาน 99%
ออกมาในรูปของนิวตริโน แค่ 1% ออกมาในรูปของพลังงานจลน์
ของการระเบิดเป็นมหานวดารา ใน 1% นี้มีเพียง 1% ที่เปลี่ยนไปเป็นแสง
Hypernova
เนื่องจากนิวตริโนเป็นผลผลิตใหญ่ของมหานวดารา
นักทฤษฎีพยายามดักมันให้เป็นตัวคายพลังงานของตัวระเบิด แต่ตอนนี้ไม่ยอมรับ
ความคิดนี้กัน ไม่มีนิวตริโนมากพอที่จะผลิดการระเบิดปังใหญ่ มาร์ติน รีส์
อาจมีแนวคิดที่ถูกต้องในการแนะนำลูกไฟ (fireball) แบบใหม่
มันอาจเป็นมหานวดาราที่มีพลังงานเข้มมาก เรียกว่า ไฮเปอร์โนวา (hypernova)
ผลิตรังสีแกมมาออกมามากมาย คล้ายการระเบิด เมื่อคลื่นชอคชนก๊าซที่ล้อมรอบ
ในสนามแม่เหล็กเข้มมากที่สกัดและนำร่องเหมือนพลังงานที่ออกจากปืนใหญ่
แม้ภาพรวมเหล่านี้คล้ายน่าสนใจและมีเหตุผล
แต่ไม่มีใครบอกว่ามันผลิตลูกไฟตอนแรกได้อย่างไร และที่ไหน มันเป็นอะไร
ยังไม่มีใครตอบได้
รศ.ยุพา วานิชชัย
แปลและเรียบเรียงจาก Bob Berman, Mastering the Mysterious, Astronomy,
June 1998, P. 58-63
คุณจะเห็นเหรียญลอยได้เมื่อมองผ่านรูที่เกิดจากกระจกเว้าพาราโบลา สองอันประกบกัน แต่ละอันมีความยาวโฟกัส 7.5 เซนติเมตร เมื่อประกบกันแล้ว จุดศูนย์กลางของกระจกห่างกัน 7.5 เซนติเมตร ดังรูป ถ้าเราวางเหรียญที่ศูนย์กลางของกระจกโค้งด้านใน ภาพของเหรียญจะปรากฎขึ้นที่รูทางด้านบน คุณอธิบายได้หรือไม่ว่า ทำไม และมีเหตุผลทางแสงอย่างไร
หมูน้อยลอยอยู่บนจานโค้ง คุณคิดว่ามันลอยได้อย่างไร มีเหตุผลทางแสงอย่างไร
ภาพของฟองสบู่ สีต่างๆเกิดจากการแทรกสอดของแสง ที่สะท้อนผ่านฟิลม์บางด้านบนและด้านล่างของฟอง เราสามารถควบคุมสีได้จากความหนาของฟิลม์ เช่น ถ้าเป็นสีดำ แสดงว่า ฟิล์มที่เกิดขึ้นมีความบางมากกว่า ถ้าเป็นสีแดง
a) ภาพการแทรกสอดที่เกิดจากแสงสองแหล่ง คือ จากการสะท้อนของแสงบนแผ่นกระจกเรียบด้านล่าง กับแสงที่สะท้อนจากเลนส์ด้านบน เกิดเป็นวงแหวนของการแทรกสอดขึ้น เรียกว่า วงแหวนของนิวตัน
b) ภาพวงแหวนนิวตัน
c) ภาพวงแหวนนิวตันที่เกิดจากเลนซ์ที่มีความโค้งไม่สมบูรณ์
ภาพฟิล์มบางของผิวน้ำมัน แสดงให้เห็นถึงการแทรกสอดของแสง เนื่องจากฟิล์มมีความหนาไม่เท่ากันจึงเกิดสีแตกต่างกัน
ภาพการแทรกสอดของแสงผ่านช่องกลางของใบมีดโกน
ภาพการแทรกสอดของแหล่งกำเนิดแสงสองจุด มองที่ระยะไกลเท่ากัน แต่ว่าแตกต่างกันที่ระยะห่างของแหล่งเนิดทั้งสอง โดยที่เส้นประเป็นผลรวมของเส้นทึบทั้งสอง a) แหล่งกำเนิดแสงสองจุด มีระยะห่างกันมาก b) แหล่งกำเนิดแสงทั้งสองอยู่ใกล้กันกว่ารูป a c) แหล่งกำเนิดแสงทั้งสองอยู่ใกล้กันมาก เมื่อมองแทบแยกไม่ออกว่ามีแหล่งกำเนิดแสงสองอัน
ตัวอย่าง กำลังแยกของตา
จงคำนวณหาว่า ระยะใกล้สุดของแหล่งกำเนิดแสงทั้งสองจะเป็นเท่าไร โดยที่ตายังสามารถแยกออกได้ ถ้าความยาวคลื่นของแสงเท่ากับ 550 นาโนเมตร และ ให้รูม่านตามีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.0 มิลลิเมตร
หลักการคำนวณ
ใช้สมการของ
= 3.05 x 10 -4 rad = 0.0175 องศา
d = (25 cm ) (3.05 x 10-4 rad ) = 7.6 x 10 -3 cm
พบ 2 ธาตุใหม่ "ซูเปอร์เฮพวี่"
นักวิทยาศาสตร์อเมริกันและรัสเซีย พบธาตุ "ซูเปอร์เฮพวี่" ใหม่ ลำดับที่ 113 และ 115 หนักสุดในตารางธาตุของโลก ทั้งนี้เอพีรายงานว่า คณะนักฟิสิกส์ของมหาวิทยาลัยสหรัฐและรัสเซีย ภายใต้การนำของนายริชาร์ด คาสเตน นักฟิสิกส์ของมหาวิทยาลัยเยล และบรรณาธิการร่วมของวารสารฟิสิกส์รีวิว ได้ร่วมมือกันสร้างธาตุที่หนักที่สุดในโลก ในลำดับที่ 115 ได้แล้ว ด้วยการยิงแถบรังสีไอโซโทปของธาตุแคลเซียมไปยังอะตอมของธาตุอเมริเซียม ในเครื่องไซโคลตรอน ซึ่งเป็นเครื่องเร่งความเร็วอะตอมขนาดใหญ่ที่เป็นเส้นทางเป็นวงกลมของรัสเซีย ทำให้เกิดธาตุใหม่สุดที่เรียกว่า UNUNPENTHIUM ซึ่งคงรูปอยู่นานกว่า 1 วินาที ก่อนสลายโครงสร้างนิวเคลียสลงเป็นธาตุ UNUNTRIUM ซึ่งเป็นธาตุสังเคราะห์อยู่ในลำดับที่ 113 ของตารางธาตุ ขณะที่ธาตุลำดับที่ 114 ได้รับการสังเคราะห์ขึ้นได้ตั้งแต่ปี 2542 แล้ว โดยนักวิทยาศาสตร์ของรัสเซีย
สำหรับรายงานการสังเคราะห์ธาตุซุปเปอร์เฮพวี่ ที่มีโครงสร้างนิวเคลียสหนักที่สุดในโลกนี้ จะได้รับการตีพิมพ์วารสารของสมาคมฟิสิกส์ต่อไป
ไอน์สไตน์ |
ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิกส์ ในปี ค.ศ.1921อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ บิดาแห่งวิชาวิทยาศาสตร์ เชื้อสายเยอรมัน ผู้ให้กำเนิดระเบิดปรมาณู และเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์เป็นผู้ก่อตั้งทฤษฎีแห่งความสัมพันธ์และเป็นผู้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ ในวงการวิทยาศาสตร์ ในศตวรรษที่ 20 ไอน์สไตน์ เกิดที่เมืองอูลม์ ประเทศเยอรมันนี เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1879 ปีต่อมาครอบครัวของเขาก็ได้ย้ายจากเมืองอูลม์ไปเมืองมิวนิค ซึ่งไอน์สไตน์อาศัยอยู่ที่นี่จนถึงอายุ 15 ปี เขามีจิตใจรักในทางดนตรี และสามารถสีไวโอลินได้ดีเมื่อมีอายุแค่ 6 ปี พอมีอายุ 12 ปี เขาก็สามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ด้วยตัวเอง เมื่ออายุได้ 15 ปี ไอน์สไตน์ไได้ย้ายตามครอบครัวจากมิวนิคไปที่มิลาน ประเทศอิตาลี ด้วยความที่เขาเรียนทางด้านคณิตศาสตร์และฟิสิกส์เก่ง เขาจึงสอบเข้าเรียนที่ The Federal Institute of Technology ในซูริค ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ได้ ทั้งที่ตกวิชาภาษาศาสตร์ สัตวศาสตร์ และพฤกษศาสตร์ หลังจากจบการศึกษาในปี 1900 ไอน์สไตน์ก็ทำงานเป็นครูสอนทางไปรษณีย์อยู่ 2 ปี จึงได้งานทำเป็นผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยี ในสถาบันแห่งหนึ่งในกรุงบอร์น ไอน์สไตน์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี 1921 และได้รับเชิญไปปาฐกถาตามประทเศต่างๆ ในปี 1933 ขณะที่เขาอยู่ในสหรัฐเป็นช่วงที่ฮิตเลอร์เรืองอำนาจ และทำการกวาดล้างชาวยิว ไอน์สไตน์ซึ่งมีเชื้อสายยิวจึงถูกปลดออกจากการเป็นพลเมืองชาวเยอรมัน เขาจึงตกลงใจจะอยู่ในสหรัฐ โดยทำงานอยู่ที่สถาบันการศึกษาปรินซ์ตัน นิวเจอร์ซี และได้รับสัญชาติอเมริกันในปี 1941 ไอน์สไตน์ได้รับการยกย่องอย่างสูงก็ด้วยเหตุที่เขาให้ทฤษฎีแห่งความสัมพันธ์ ซึ่งเป็นทฤษฎีโดยเฉพาะสำหรับปฏิบัติกับวิชาเคลื่อนที่ของไฟฟ้า และทรรศนะศาสตร์ นอกจากนี้เขายังได้ชื่อว่า เป็นผู้มีผลงานสำคัญอันเป็นผลประโยชน์ต่อทฤษฎีแควนตัน และทฤษฎีทั่วไปที่เกี่ยวกับความโน้มถ่วง เขาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในวงการวิทยาศาสตร์ แม้กระทั่งความนึกคิดในสมัยโคเปอร์นิคัส(นักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์) ก็ได้ถูกไอน์สไตน์หักล้างหลายประการ ตราบชีวิตของเขาๆ ได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่งวงการวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันไว้อย่างมากมาย ไอน์สไตน์ได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 1955
วันที่
2 สิงหาคม ค.ศ.1936 นักฟิสิกส์ชื่อ อัลเบิร์ต ไอน์ไตน์
ในนามของนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่ง ได้ยื่นสารที่เขาเรียกว่า " จดหมายจากมโนธรรม
" ถึงประธานาธิบดีแห่งสหรัฐฯ แฟรงคลิน ดี รูลเวลต์
เพื่อกระตุ้นให้รัฐบาลตระหนักถึง การแผ่อำนาจของนาซี และเตือนภัยถึงระเบิดอะตอม
(atomic bomb หรือที่เคยเรียกกันว่า ระเบิดปรมาณู)
ที่ฮิตเลอร์พยายามจะมีไว้ในครอบครอง
ไอน์สไตน์เพียงร่วมยื่นจดหมายเตือนครั้งนั้น
แต่เขามิได้มีส่วน ในการพัฒนาการสร้างระเบิดอะตอม
มีการทดลองระเบิดอะตอมเป็นผลสำเร็จ ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1945 และในเดือนต่อมา
ก็มีการทิ้งระเบิดอะตอมที่เมืองฮิโรชิมา และเมืองนางาซากิของญี่ปุ่น
ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างมหันต์ทั้งๆ
ที่จุดประสงค์เพียงเพื่อบังคับให้ญี่ปุ่นยอมแพ้
ไอน์สไตน์เสนอไว้ในทฤษฎีสัมพัทธภาพว่า
มวลและพลังงานสามารถเปลี่ยนสภาพ ซึ่งกันและกันได้
โดยสรุปเป็นสมการทางคณิคศาสตร์ว่า E = mc
2
การค้นพบของไอน์สไตน์
นำไปสู่การสร้างระเบิดอะตอม รวมทั้งไขปริศนาว่าดวงอาทิตย์ส่องแสงอย่างไร
ทั้งสองเรื่องนี้ต่างก็ต้องอาศัยเวลา กระบวนการของปฏิกิริยานิวเคลียร์
ซึ่งจะทำให้มวลของนิวเคลียร์ เพียงน้อยนิดสามารถปลดปล่อยพลังงานแสง
และความร้อนออกมาได้มหาศาล ชำแหละความฉลาดของไอน์สไตน์ จากการวิเคราะห์สมองไอน์สไตน์ครั้งล่าสุดโดยนักวิจัยจากแคนนาดาตีพิมพ์ในวรสารแลนเซ็ต ระบุว่าสมองของไอน์สไตน์มีลักษณะบางประการ ที่แตกต่างจากสมองของคนทั่วไปคือ สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความสามารถด้านคณิตศาสตร์และการคิดหาเหตุผลแบบ spatial reasoning มีขนาดใหญ่กว่าขนาดเฉลี่ยอย่างเห็นได้ชัด และอาจจะมีการติดต่อกันระหว่างเซลล์ที่มากกว่าปกติ ทำให้สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมาก
ผู้ที่ทำการศึกษาเปรียบเทียบสมองของนักวิทย์นามอุโฆษคือ ดร.แซนดรา วิเทลสัน
นักวิจัยด้านระบบประสาทซึ่งเป็นผู้ดูแล brain bank หรือ ธนาคารสมอง
ที่มหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์ ที่แฮมิลตัน ออนทาริโอ ประเทศแคนาดา
ธนาคารสมองแห่งนี้มีตัวอย่างสทองปกติมากมายที่เจ้าของอุทิศไว้เพื่อการศึกษาก่อนตาย
ทำให้ ดร.แซนดรา
มีข้อมูลเปรียบเทียบมากพอที่จะใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการศึกษาสมองที่มีอายุใกล้เคียงกับไอน์สไตน์มาทำการศึกษาเปรียบเทียบ
นี่เป็นเพียงความเป็นไปได้ทางทฤษฎีประสาทวิทยายุคปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังไม่อาจสรุปได้ว่าจะเป้นจริงตามนี้หรือไม่ เพราะเรารู้อยู่แล้วว่าไอน์สไตน์คือยอดอัจฉริยะและเราก็ทราบว่าสมองของเขาแตกต่างจากคนปกติ แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่แน่ชัดว่า สองสิ่งนี้เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน สิ่งที่ช่วยยืนยันให้มั่นใจได้ก็คือ เราจะต้องไปตรวจดูสมองของอัจฉริยะทางคณิตศาสตร์ท่านอื่นๆ ด้วยว่า สมองของเราเหล่านั้นมีความผิดปกติ แบบเดียวกับสมองไอน์สไตน์หรือเปล่า ซึ่งถ้าเป็นจริงก็ยังมีปัญหาอีกข้อหนึ่งคือ ความผิดปกตินี้มาจากพันธุกรามหรือเป็นผลมาจากการฝึกบริหารสมอง ทำให้เราไม่รู้อยู่ดีว่าอัจฉริยภาพของไอน์สไตน์นั้นเป็นสิ่งที่มีมาแต่กำเนิดหรือเกิดจากการฝึกฝน |
ทฤษฎีสัมพัทธภาพ (Relativity theory)
ทฤษฎีสัมพัทธภาพเป็นรากฐานความสำคัญของฟิสิกส์ยุคใหม่เรื่องราวส่วนใหญ่ของ
ทฤษฎีนี้เกี่ยวกับการวัด กาล-อวกาศโดยทฤษฎีนี้ได้แยกออกเป็นสองตอน คือ
ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษและสัมพัทธภาพทั่วไป แต่เป็นเรื่องสัมพันธ์เหมือนกัน
ซึ่งสัมพัทธภาพหมายความว่า การเกี่ยวโยงกันระหว่างวัตถุต่างๆไม่เพียงแต่
สัมพันธ์เกี่ยวข้องเท่านั้นยังขึ้นอยู่ซึ่งกันและกันด้วย กล่าวคือ
ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ
นั้นเกี่ยวข้องกับระบบที่มีความเร็วคงที่ เมื่อเทียบกับระบบที่ไม่มีความเร่ง
ซึ่งทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษนี้นำไปสู่การพยากรณ์ปรากฎการณ์หลายๆอย่าง
ซึ่งดูเหมือนว่าขัดกับสามัญสำนึกของเราแต่เมื่อได้ผ่านกระบวณการทดลองและ
ทดสอบแล้วพบว่าเป็นจริงตามพยากรณ์การอธิบายทฤษฎีนี้อย่างง่ายที่สุดก็เปรียบเทียบ
ให้เห็นว่าเมื่อทุกสิ่งกำลังหยุดนิ่งหรือมีความเร็วที่เท่ากันเราไม่สามารถบอกได้ว่าสิ่งใด
กำลังเคลื่อนที่เช่นโลกหมุนรอบตัวเองและรอบดวงอาทิตย์เรายังรู้สึกว่าทุกสิ่งกำลังอยู่กับ
ที่แต่ที่จริงสิ่งที่เรานึกว่าหยุดอยู่กับที่กับเคลื่อนที่ซึ่งสรรพสิ่งใดในจักวาลของเรานี้มีความเคลื่อนไหว
ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษนี้มีการเสนอสัจพจน์ 2 ข้อ คือ
1.ผลการทดลองทางฟิสิกส์ทุกอย่างไม่ขึ้นอยู่กับระบบอ้างอิงที่ใช้
หากระบบอ้างอิงนั้นเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วคงที่สัมพัทธกัน
2.ความเร็วของแสง (รวมทั้งความเร็วของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทุกชนิด)
ในสูญญากาศมีค่าคงที่เสมอไม่ขึ้นอยู่กับสภาพการเคลื่อนที่
ส่วนทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปนั้นเกี่ยวกับระบบที่มีความเร็วไม่คงที่เมื่อเทียบกับระบบที่มีความเร่งเพื่ออธิบายปรากฎการณ์ต่างๆในเอกภพ
โดยใช้พื้นฐานความคิดที่แตกต่างจากฟิสิกส์ดั้งเดิมแบบนิวตันส่วนใหญ่ทฤษฎีนี้จะเกี่ยวข้องกับแรงดึงดูดระหว่างมวลและมีการพิสูจน์ให้
เห็นเป็นรูปธรรมได้ด้วย
ความเข้าใจเกี่ยวกับ
"โรคไข้หวัดนก"
กองควบคุมโรคระบาด กรมปศุสัตว์
ได้รายงาน "โรคไข้หวัดนก หรือ avian influenza/bird flu"
ไว้ว่า เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส avian influenza
virus type A ในตระกูล Orthomyxoviridae ซึ่งเป็น RNA
ไวรัสชนิดมีเปลือกหุ้ม โดยมี surface antigens
ที่สำคัญได้แก่ hemagglutinin(H) มี 15 ชนิด และ
neuraminidase (N) มี 9 ชนิด โดยเชื้อไวรัส influenza
จะแบ่งออกเป็น 3 types ได้แก่
type A
แบ่งย่อยออกเป็น 15 subtype ตามความแตกต่างของ H และ N
antigen พบได้ในคนและสัตว์ต่างๆ เช่น สุกร ม้า
และสัตว์ปีกทุกชนิด type B ไม่มี subtype พบเฉพาะในคน และ
type C ไม่มี subtype พบเฉพาะในคนและสุกร
โดยเชื้อไวรัสในกลุ่มนี้จะถูกทำลายได้ง่ายด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทั่วไป
อาทิ แอลกอฮอล์
คลอโรฟอร์ม
สำหรับความรุนแรงของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก
จะแบ่งเป็น 1)A pathogenic and mildly pathogenic
เป็นชนิดที่ไม่แสดงอาการและชนิดที่ทำให้อาการป่วยเพียงเล็กน้อยพบได้ในประเทศต่างๆ
ทั่วโลก อาจมีสาเหตุมาจากเชื้อชนิด H1-15 2)highly
pathogenic avian influenza (HPAI) หรือเดิมเรียกว่า fowl
plaque เป็นชนิดที่ทำให้เกิดอาการรุนแรงมาก มีอัตราตายสูง
มีรายงานการระบาดในบางประเทศเท่านั้น อาทิ สหรัฐ เม็กซิโก
ออสเตรเลีย ฮ่องกง
และปากีสถาน
การติดโรคไข้หวัดนกในสัตว์ จะติดได้ 2
ทางคือ ทางตรง จากการสัมผัสกับสัตว์ป่วยโดยตรง กับทางอ้อม
จากการกินอาหารหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อมาจากอุจจาระ
น้ำมูก น้ำตา น้ำลาย ของสัตว์ป่วย
อาการที่สัตว์แสดงออกจะมีระยะฟักตัวของโรคในเวลาอันสั้นเพียงไม่กี่ชั่วโมงถึง
3 วัน ขึ้นอยู่กับวิธีการที่ได้รับเชื้อ/จำนวนเชื้อ
และชนิดของสัตว์ สัตว์ปีกชนิดหนึ่งอาจไม่เกิดอาการใดๆ
แต่สัตว์ปีกอีกชนิดหนึ่งอาจจะเกิดอาการรุนแรง
โดยอาการทั่วไปที่พบประกอบไปด้วย สัตว์ซูบผอม ซึมมาก
ไม่กินอาหาร ขนยุ่ง ไข่ลด ไอ จาม หายใจลำบาก น้ำตาไหลมาก
หน้าบวม หงอน-เหนียงบวม มีสีคล้ำ ตาปิดเนื่องจากหนังตาบวม
อาจมีอาการของระบบประสาทและท้องเสีย
ในรายที่สัตว์ป่วยรุนแรงจะตายโดยกะทันหัน
(อัตราการตายสูงถึง 100%)
หากเกิดในนกป่ามักไม่แสดงอาการของโรค
แต่จะเป็นตัวอมโรคที่สำคัญและทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคได้ไกล
การติดไข้หวัดนกในคน
เชื้อจะมีระยะฟักตัวสั้นเพียง 1-2 วัน
มักแสดงอาการของโรคทันทีคือ มีไข้ หนาวสั่น
ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย น้ำมูก น้ำตาไหล
อาการมักไม่รุนแรง
แต่หากมีการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสแทรกซ้อนก็จะมีอาการรุนแรงถึงขั้นปอดบวมได้ในเด็กและผู้สูงอายุ
ทั้งนี้
จากรายงานการระบาดของโรคไข้หวัดนกของสำนักงานโรคระบาดระหว่างประเทศ
(OIE) ระหว่างปี 2539-2540 พบว่า ปี 2539-2540
มีรายงานการระบาดในประเทศลาว-พม่า-เนปาล-ปากีสถาน
แต่ไม่มีรายงานการยืนยันการตรวจแยกและพิสูจน์เชื้อ ปี 2540
มีรายงานการระบาดที่ตรวจยืนยันโดยการแยกและพิสูจน์เชื้อใน
3 ประเทศ คือ ฮ่องกง
เกิดการระบาดในเดือนมีนาคม-เมษายนในฟาร์มไก่จำนวน 3 แห่ง
จำนวนไก่ป่วย 4,500 ตัวพบว่า เกิดจากเชื้อชนิด highly
pathogenic avian influenza (HPAI) ชนิด H5N1, อิตาลี
เกิดการระบาดในไก่/เป็ด/นกต่างๆ จำนวน 6 ครั้ง
รวมสัตว์ป่วยและตายถูกทำลายเพื่อควบคุมโรคประมาณ 3,500
ตัวพบว่า เกิดจากเชื้อ HPAI ชนิด H5N2 และออสเตรเลีย
เกิดการระบาดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน -ธันวาคมในฟาร์มไก่ 2
แห่ง จำนวน 158,000 ตัว และในฟาร์มไก่/นกอีมู 1
แห่งที่มีไก่จำนวน 33,000 ตัว กับ นกอีมู 261 ตัว
พบว่าเกิดจากเชื้อชนิด HPAI ชนิด H7N4
ประชาชาติธุรกิจ 26/01/47
ข้อมูลทั่วไป
โรคไข้หวัดนก(Avian influenza, Bird Flu) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส
Avian Influenzavirus type A ในตระกูล Orthomyxoviridae ซึ่งเป็น RNA
ไวรัสชนิดมีเปลือกหุ้ม
ลักษณะของเชื้อไวรัสในกลุ่มนี้จะถูกทำลายได้ง่ายด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทั่วไป เช่น
แอลกอฮอล์ คลอโรฟอร์ม และไข้หวัดนกที่ติดมาสู่คนมักจะเป็นไวรัสชนิด H5N1
คนสามารถติดโรคนี้ได้จากการกินอาหารหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อมากับอุจจาระ
น้ำมูก น้ำตา น้ำลาย ของสัตว์ป่วย
ระยะฟักตัวของโรคหวัดนกในไก่สั้นเพียงไม่กี่ชั่วโมงถึง 3 วัน ไก่จะซูบผอม ซึมมาก
ไม่กินอาหาร ขนยุ่ง ไข่ลด ไอ จาม หายใจลำบาก น้ำตาไหลมาก หน้าบวม หงอนและเหนียงบวม
มีสีคล้ำ ตาปิดเนื่องจากหนังตาบวม อาจมีอาการของระบบประสาท และท้องเสีย
ส่วนที่รุนแรงจะตายกะทันหันโดยไม่แสดงอาการ
ที่น่ากลัวคือ ในนกป่าหากได้รับเชื้อนี้มักไม่แสดงอาการของโรค
แต่จะเป็นตัวอมโรคที่สำคัญและทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคได้ไกล
เพราะนกจะอพยพหนีความหนาวเย็นมาในประเทศที่อุ่นกว่า
นพ.จรัล ตฤณวุฒิพงษ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุว่า โรคไข้หวัดนก เกิดจากไวรัส H5N1
สามารถติดเชื้อจาก ไก่ไปสู่คนแต่ไม่พบว่ามีการติดเชื้อจากคนไปยังคน
โดยเชื้อมีระยะฟักตัวสั้น 1-2 วัน มักจะแสดงอาการของโรคทันที
อาการไข้หวัดนก ก็คล้ายๆกับไข้หวัดใหญ่ธรรมดา แต่จะมีอาการรุนแรงกว่า มีไข้สูง
หนาวสั่น ปวดศรีษะอย่างรุนแรง ปวดกล้ามเนื้อทั้งตัว อ่อนเพลียมาก ไอมาก
จนเจ็บหน้าอก เจ็บคอ น้ำมูกไหล คัดจมูก หายใจลำบาก
อาจมีอาการของระบบทางเดินอาหารแทรก เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง
บางรายอาจมีอาการแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม
ผู้ที่มีโอกาสติดเชื้อมากที่สุดคือ คนงานในฟาร์ม ที่ต้องคลุกคลีอยู่กับไก่
และพ่อครัว แม่ครัว ผู้ปรุงอาหาร เพราะโรคนี้ติดจากสารคัดหลั่งจากไก่ เช่นน้ำมูก
น้ำลาย ของไก่ที่ป่วย ต้องสวมถุงมือ ผ้าปิดปาก ก่อนสัมผัสไก่
และต้องล้างทำความสะอาดร่างกายหลังจากเสร็จงานแล้ว
ส่วนประชาชนทั่วไปก็ขอให้รับประทานอาหารที่สุก สะอาด
เท่านี้ก็จะสามารถป้องกันโรคนี้ได้
ไวรัสไข้หวัดนก เคยแพร่ระบาดมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง
ทำให้ผู้คนเสียชีวิตมาแล้วเป็นจำนวนมาก
ระหว่างปี 2461-2462 เกิดการแพร่ระบาดของอินฟลูเอ็นซา ไวรัส ไทป์ เอ แบบเดียวกันนี้
แต่คนละสายพันธุ์ย่อย ครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิตไปทั่วโลกประมาณ 50 ล้านคน
ไวรัสครั้งนั้นถูกเรียกว่า "สแปนิช ฟลู"
ลักษณะของการระบาดในครั้งนั้นเป็นการระบาดจากคนสู่คน
ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การระบาดจากสัตว์สู่คนเหมือนเช่นตอนนี้
แม้จะเป็นคนละสายพันธุ์แต่ องค์การอนามัยโลกมีความวิตกอย่างยิ่งอยู่ 2 ประการ
หนึ่งก็คือ การที่อาจจะมีการระบาดของไวรัสไข้หวัดนกในไทย
ไม่ว่าจะติดต่อไปสู่คนหรือไม่ก็ตาม
แสดงให้เห็นว่าโอกาสที่ไวรัสร้ายแรงตัวนี้จะแพร่ระบาดไปทั่วเอเชียนั้นมีความเป็นไปได้สูงมากขึ้นตามลำดับ
ก่อนหน้าที่จะมีการยืนยันเชื้อ เอช 5 เอ็น 1 ในไทยนั้น
ไวรัสชนิดนี้มีการพบที่ไต้หวัน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ในสัตว์ปีกที่นั่น โดยมีที่ ลาว
และ กัมพูชา กำลังรอการยืนยันเชื้อ และมีเวียดนามเท่านั้นที่พบการติดต่อไปสู่คน
ข้อกังวลประการถัดมาขององค์การอนามัยโลกก็คือ อินฟลูเอ็นซา ไวรัส ไทป์ เอ
เป็นไวรัสที่กลายพันธุ์ได้ง่าย ซึ่งส่งผล 2 ประการ คือ
ประการแรก ทำให้การจัดทำวัคซีนเพื่อป้องกันโรคทำได้ยาก
เพราะต้องรอการพิสูจน์เชื้อและเทียบเคียง(ในระดับโมเลกุล)
กับตัวอย่างไวรัสที่ใช้ในการเพาะวัคซีนที่เครือข่ายไวรัสอินฟลูเอ็นซาโลก(จีไอเอ็น)
ขององค์การอนามัยโลกมีอยู่
ประการถัดมาก็คือ
เกรงว่ามันจะกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ชนิดที่สามารถระบาดจากคนสู่คนได้
คู่มือป้องกันโรคไข้หวัดนก
โรคไข้หวัดนก เป็นโรคติดต่อของสัตว์ประเภทนก
ตามปกติโรคนี้ติดต่อมายังคนได้ไม่ง่ายนัก
แต่คนที่สัมผัสใกล้ชิดกับสัตว์ที่เป็นโรคอาจติดเชื้อได้
โรคอาจแพร่มายังสัตว์ปีกในฟาร์มได้โดยการสัมผัสกับสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตาย
เชื้อที่อยู่ในน้ำมูก น้ำลาย และมูลของสัตว์ป่วยอาจติดมากับมือ
และเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุของจมูกและตา ทำให้เกิดโรคคล้ายไข้หวัดใหญ่
แต่โรคไข้หวัดนกต่างจากไข้หวัดใหญ่กล่าวคือ ไม่ติดต่อจากผู้ป่วยไปยังคนอื่นๆ
แนวทางปฏิบัติสำหรับประชาชนเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดนก
ผู้บริโภคไก่และผลิตภัณฑ์จากไก่
1.เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจและโรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหารการบริโภคเนื้อสัตว์
รวมทั้งเนื้อไก่และไข่ไก่ โดยทั่วไปจึงควรรับประทานเนื้อที่ปรุงให้สุกเท่านั้น
เนื่องจากเชื้อโรคต่างๆ ที่อาจปนเปื้อนมา ไม่ว่าจะเป็นไวรัส แบคที เรีย หรือพยาธิ
จะถูกทำลายไปด้วยความร้อน
2.เนื้อไก่และไข่ไก่ที่มีขายอยู่ตามท้องตลาดในขณะนี้ ถือว่ามีความปลอดภัย
สามารถบริโภคได้ตามปกติ แต่ต้องรับประทานเนื้อไก่และไข่ที่ปรุงสุกเท่านั้น
งดการรับประทานอาหารที่ปรุงกึ่งสุกกึ่งดิบ3.เลือกรับประทานไข่ที่ปรุงสุกอย่างดี โดย
เฉพาะในช่วงที่มีปัญหาโรคระบาดในไก่
ผู้ประกอบอาหาร
ผู้ประกอบอาหารทั้งเพื่อการจำหน่ายและแม่บ้านที่เตรียมอาหารในครัวเรือนเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการป้องกันโรคติดต่อจากอาหาร
กระทรวงสาธารณสุข ขอเน้นการป้องกัน ดังนี้
1.ควรเลือกซื้อเนื้อไก่
และผลิตภัณฑ์จากไก่จากแหล่งที่มีการรับรองมาตรฐานหรือร้านค้าประจำ
และเลือกซื้อไก่สดที่ไม่มีลักษณะบ่งชี้ว่าอาจตายด้วยโรคติดเชื้อ เช่น เนื้อมีสีคล้ำ
มีจุดเลือดออก เป็นต้น สำหรับไข่
ควรเลือกฟองที่ดูสดใหม่และไม่มีมูลไก่ติดเปื้อนที่เปลือกไข่
ก่อนปรุงควรนำมาล้างให้สะอาด
2.ไม่ใช้มือที่เปื้อนมาจับต้องจมูก ตา และปาก และหมั่นล้างมือบ่อยๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจับต้องเนื้อสัตว์และเครื่องในสัตว์
3.ควรแยกเขียงสำหรับหั่นเนื้อไก่ และมีเขียงสำหรับหั่นอาหารที่ปรุงสุกแล้ว หรือผัก
ผลไม้โดยเฉพาะ ไม่ใช้เขียงเดียวกัน
ผู้ชำแหละไก่
ผู้ชำแหละไก่อาจมีความเสี่ยงจากการติดโรคจากสัตว์จึงควรระมัดระวังขณะปฏิบัติงาน
ดังนี้
1.ต้องไม่ซื้อไก่ที่มีอาการผิดปกติจากการติดเชื้อ เช่น ซึมหงอย ขนฟู หน้า
หงอนหรือเหนียงบวมคล้ำ มีน้ำมูก หรือขี้ไหล เป็นต้น หรือไก่ที่ตายมาชำแหละขาย
2.ไม่ขังสัตว์ปีกจำพวก ไก่ เป็ด ห่าน ฯลฯ ที่รอชำแหละไว้ในกรงใกล้ๆ กัน
เพราะจะเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เชื้อโรคกลายพันธุ์ จนอาจเกิดเชื้อสายพันธุ์ใหม่ๆ
ที่เป็นอันตรายทั้งต่อคนและสัตว์ได้
3.ควรทำความสะอาดกรงและอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ ด้วยน้ำผงซักฟอก
และนำไปผึ่งกลางแดดจัดๆ นอกจากนั้นอาจราดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเดือนละ 1-2 ครั้ง
4.หากสัตว์ที่ชำแหละมีลักษณะผิดปกติ เช่น มีจุดเลือดออก มีน้ำหรือเลือดคั่ง
หรือจุดเนื้อตายสีขาวที่เครื่องใน หรือเนื้อมีสีผิดปกติ ต้องไม่นำไปจำ หน่าย
และรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์มาตรวจสอบทันที เพราะอาจเป็นโรคระบาด
5.ต้องล้างบริเวณชำแหละสัตว์ให้สะอาดด้วยน้ำผงซักฟอกหลังเสร็จสิ้นการชำแหละไก่
และควรราดน้ำยาฆ่าเชื้อโรคเดือนละ 1-2 ครั้ง
6.ผู้ชำแหละไก่ควรดูแลระมัดระวังตนเองอย่างถูกต้อง โดยใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย
เช่น พลาสติกหรือผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดปากจมูก ถุงมือ แว่นตา รองเท้าบู๊ต
และต้องหมั่นล้างมือบ่อยๆ
7.รีบอาบน้ำชะรำร่างกายด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาด
และต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าทุกครั้งหลังปฏิบัติงานเสร็จ ส่วนเสื้อผ้าชุดเดิม
พลาสติกหรือผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดปากจมูก ถุงมือ แว่นตาควรนำไปซักหรือล้างให้สะอาด
และผึ่งกลางแดดให้แห้งสนิทก่อนนำมาใช้อีกครั้ง
ผู้ขนย้ายสัตว์ปีก
ผู้ขนย้ายสัตว์ปีกควรระมัดระวังตนเองไม่ให้ติดโรคจากสัตว์
และป้องกันการนำเชื้อจากฟาร์มหนึ่งไปแพร่ยังฟาร์มอื่นๆ จึงควรปฏิบัติ ดังนี้
1.งดซื้อสัตว์จากฟาร์มที่มีสัตว์ตายมากผิดปกติ
2.เมื่อขนส่งสัตว์เสร็จในแต่ละวัน ต้องรีบล้างทำความสะอาดรถให้สะอาดด้วยน้ำผงซักฟอก
สำหรับกรงขังสัตว์ควรราดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
3.ควรดูแลระมัดระวังตนเองอย่างถูกต้อง โดยใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย เช่น
ผ้าปิดปากจมูก ถุงมือ รองเท้าบู๊ต และต้องหมั่นล้างมือบ่อยๆ
4.รีบอาบน้ำชำระร่างกายด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาด
และต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าทุกครั้งหลังปฏิบัติงานเสร็จ
ส่วนเสื้อผ้าชุดเดิมและเครื่องป้องกันร่างกาย ควรนำไปซักหรือล้างให้สะอาด
และผึ่งกลางแดดให้แห้งสนิทก่อนนำมาใช้อีกครั้ง
เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่
เกษตรกรผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงไก่ รวมทั้งผู้เลี้ยงไก่
และผู้ที่ต้องเกี่ยวข้องกับสัตว์ในฟาร์มที่มีการระบาด
เป็นกลุ่มประชาชนที่เสี่ยงต่อการติดโรคจากสัตว์ ดังนั้น จึงควรปฏิบัติโดยเคร่งครัด
ดังนี้
1.เกษตรกรผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงไก่ ต้องป้อง กันไม่ให้สัตว์อื่นๆ รวมทั้งนกทุกชนิด
และสัตว์พาหนะนำโรค เช่น หนู เป็นต้น เข้ามาในโรงเรือน
เพราะอาจนำเชื้อโรคเข้ามาแพร่ให้ไก่ได้
นอกจากนั้นจะต้องรักษาความสะอาดในโรงเรือนให้ดีอยู่เสมอ
และหากมีไก่ป่วยหรือตายไม่ว่าด้วยสาเหตุใด
ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทันที
ต้องไม่นำไก่ป่วยหรือตายออกมาจำหน่ายและทำการกำจัดทิ้งตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อย่างเคร่งครัด
เช่น อาจฝังให้ลึกแล้วราดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อหรือปูนขาว หรือนำไปเผา
เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อมาสู่สัตว์หรือคน
2.ผู้ที่เลี้ยงสัตว์หรือผู้ที่ต้องเกี่ยวข้องกับสัตว์ในฟาร์มที่มีการระบาด
ไม่ว่าจากสาเหตุใดควรดูแลระมัดระวังตนเองอย่างถูกต้อง
โดยใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกายเช่น พลาสติกหรือผ้ากันเปื้อน ผ้าปิด ปาก จมูก ถุงมือ
แว่นตา รองเท้าบู๊ต และต้องหมั่นล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะหลังจับต้องสัตว์ป่วย
หรือซากสัตว์ที่ตาย
3.รีบอาบน้ำชำระร่างกายด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาด
และต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าทุกครั้งหลังปฏิบัติงานเสร็จ เสื้อผ้าชุดเดิม
พลาสติกหรือผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดปาก จมูก ถุงมือ แว่นตา ควรนำไปซักหรือล้างให้สะอาด
และผึ่งกลางแดดให้แห้งสนิทก่อนนำมาใช้อีกครั้ง
การป้องกันโรคให้แก่เด็ก
1.เนื่องจากเด็กมักมีนิสัยชอบเล่นคลุกคลีกับสัตว์เลี้ยงรวมทั้งไก่และนกและหากติดเชื้อไข้หวัดนกมักป่วยรุนแรง
ดังนั้น ในช่วงที่มีโรคระบาดในสัตว์ปีก มีสัตว์ตายมากผิดปกติ พ่อ แม่
ผู้ปกครองควรระมัดระวังดูแลเด็กให้ใกล้ชิด และเตือนไม่ให้เด็กจับอุ้มไก่หรือนก
หรือจับต้องซากสัตว์ปีกที่ตายและต้องฝึกสุขนิสัยที่ดีให้เด็ก
โดยเฉพาะการล้างมือทุกครั้งหลังจับต้องสัตว์
2.หากเด็กมีอาการป่วย สงสัยเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ
ต้องรีบพาไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโรคเร็วที่สุด โดยทั่วไป
เมื่อได้รับการรักษาและดูแลอย่างถูกต้อง เด็กจะค่อยๆ มีอาการดีขึ้นภายใน 2 ถึง 7
วัน แต่ควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากมีอาการรุนแรงขึ้น เช่น มีอาการหอบ
ต้องรีบพาไปโรงพยาบาลทันที
คำแนะนำทั่วไปในการรักษาสุขภาพและพฤติกรรมอนามัยเพื่อป้องกันโรคติดต่อ
1. ควรรักษาร่างกายให้แข็งแรง เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคได้ดี
โดยการรับประทานอาหารให้ครบถ้วน รวมทั้งผักและผลไม้ งดบุหรี่และสุรา
นอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และในช่วงอากาศเย็น
ควรสวมเสื้อผ้าให้ร่างกายอบอุ่น
2. หากมีอาการไม่สบาย เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ หนาวสั่น เจ็บคอ ไอ เป็นต้น
ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที และแจ้งแพทย์ด้วยว่าทำงานในฟาร์มเลี้ยงสัตว์
หรือมีประวัติสัมผัสซากสัตว์
ข้อแนะนำกรณีพบสัตว์ปีกตายผิดสังเกต
สัตว์ที่ตายผิดสังเกต อาจมีสาเหตุมาจากโรคระบาดหลายโรค รวมทั้งโรคไข้หวัดนกด้วย
หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่น ผู้ที่พบเห็นควรปฏิบัติโดยเร็ว ดังนี้
1. โทรศัพท์แจ้งให้เจ้าหน้าที่มาตรวจสอบหาสาเหตุ
ในเขตกรุงเทพมหานคร แจ้งที่สำนักงานเขต หรือกรมปศุสัตว์
โทร. 0-2653-4401
ต่างจังหวัด แจ้งเจ้าหน้าที่เทศบาล หรือเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์
2. เก็บซากสัตว์ใส่ลงในถุงพลาสติก รัดปากถุงให้แน่น ต้องไม่จับซากสัตว์ด้วยมือเปล่า
ควรสวมถุงมือยาง ถ้าไม่มีอาจใช้ถุงพลาสติกหนา ๆ สวมมือ
เจ้าหน้าที่อาจนำซากบางส่วนไปตรวจชันสูตรหาสาเหตุการตาย
ส่วนซากที่เหลือต้องรีบนำไปเผาหรือฝัง หากใช้วิธีฝัง
ควรราดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อหรือโรยปูนขาว
หรืออาจใช้น้ำเดือดราดที่ซากก่อนกลบดินให้แน่น
ข้อแนะนำขั้นตอนการล้างตลาดอย่างถูกหลักสุขาภิบาลในช่วงการเกิดโรคระบาด
1. ในบริเวณที่มีการระบาดของโรคติดต่อ ควรล้างตลาดอย่างถูกหลักสุขาภิบาล
อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
2. กวาดหยักไย่ หรือ เศษสิ่งสกปรกที่ติดบน ฝาผนัง โคมไฟ พัดลม
3. เจ้าของแผงทำความสะอาดแผง และร่องระบายน้ำเสีย
กวาดเศษขยะไปรวมทิ้งไว้ในบริเวณพักขยะ หรือในที่ที่จัดไว้
รวมทั้งกำจัดแมลงและสัตว์นำโรคที่อาศัยอยู่ในบริเวณตลาดด้วย
4. บนแผงหรือพื้นที่ที่คราบไขมันจับ ใช้น้ำผสมโซดาไฟราดลงบนพื้นหรือแผง ทิ้งไว้นาน
15-30 นาที และใช้แปรงลวดถูช่วยในการขจัดคราบไขมัน
ส่วนบริเวณอื่นใช้ผงซักฟอกช่วยในการล้างทำความสะอาด ในบริเวณที่ไขมันจับตัวหนา
ใช้โซดาไฟชนิด 96% ในอัตราส่วน 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำครึ่งปีบ ในบริเวณที่ไขมันน้อย
ใช้โซดาไฟ 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำครึ่งปีบ
5. ใช้น้ำสะอาดฉีดล้างบนแผง ทางเดิน
ฝาผนังและกวาดล้างลงสู่ร่องระบายน้ำเสียเพื่อชำระล้างสิ่งสกปรก
โซดาไฟหรือผงซักฟอกให้หมด
6. ใช้น้ำผสมผงปูนคลอรีน (ใช้ผงปูนคลอรีน 60% ในอัตราส่วน 1 ช้อนชา ต่อน้ำ 1 ปีบ
ใส่ลงในบัวรดน้ำ และรดบริเวณแผง ทางเดิน ร่องระบายน้ำเสียให้ทั่ว
ปล่อยทิ้งไว้เพื่อให้คลอรีนฆ่าเชื้อโรคและกำจัดกลิ่น
ส่วนบริเวณที่มีกลิ่นคาวให้ใช้หัวน้ำส้มสายชูผสมน้ำให้เจือจาง
แล้วราดบริเวณที่มีกลิ่นคาว โดยเฉพาะแผงขายสัตว์ปีก ควรฆ่าเชื้อด้วยคลอรีนทุกวัน
7. บริเวณห้องน้ำ ห้องส้วม อ่างล้างมือ ที่ปัสสาวะ และก๊อกน้ำสาธารณะที่ใช้ในตลาด
ต้องล้างทำความสะอาดโดยใช้ผงซักฟอกช่วยและล้างด้วยน้ำสะอาด
8. บริเวณที่พักขยะต้องเก็บรวบรวมขยะไปกำจัดให้หมด
แล้วล้างทำความสะอาดและทำการฆ่าเชื้อ เช่นเดียวกับข้อ 6
รายละเอียดอื่นติดต่อ ศูนย์ปฏิบัติการ กรมควบ คุมโรค : โทร 0-2590-3333
และดูที่เว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุข ที่ www.moph.go.th
มติชน 24/01/47
ฟิสิกส์ราชมงคลเข้าเยี่ยมชม นิทรรศการ
เรื่องพลังงานแสงอาทิตย์ 12 สิงหาคม 47 | ||||||
| ||||||
ครั้งที่
ภาพประจำสัปดาห์