ลูกอุกกาบาตถล่มโลก
วันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 1972 มีลูกอุกกาบาตลูกหนึ่งพุ่งผ่านโลก ทางฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ เห็นเป็นทางสีขาวพุ่งผ่านทางขอบฟ้า ซึ่งเห็นได้ในตอนกลางวันอย่างชัดเจนดังรูป การเคลื่อนที่ของมันใกล้โลกค่อนข้างมาก มีโอกาสที่จะพุ่งเข้าชนโลกตลอดเวลา มวลของลูกอุกกาบาตลูกนี้มีค่าเท่ากับ 4,000,000 kg และมีความเร็วประมาณ 15 กิโลเมตรต่อวินาที สมมติว่ามันเปลี่ยนทิศทางพุ่งเข้าชนโลกในแนวดิ่งด้วยความเร็วเท่าเดิม จะเกิดอะไรขึ้น นักฟิสิกส์ทดลองคำนวณความหายนะให้กับคุณ กดที่คำตอบ
ความหลากหลายทางพันธุกรรม
ภาพบน 3 ภาพบนแสดงการปลูกพืชบนแปลงทดลอง ใช้เวลา 2 ปีเพื่อดูผลการทดลอง ภาพแรก ถ่ายจากทางอากาศ แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของสายพันธุ์พืช ของแปลงทดลองที่มีไนโตรเจน เปรียบเทียบกับแปลงที่ไม่ใส่ไนโตรเจน ซึ่งจะเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน ส่วนภาพที่สอง ถ่ายภาพในระยะใกล้เป็นแปลงทดลองที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนจะเห็นว่า มีพืชหลายสายพันธุ์อยู่ในแปลงเดียวกัน แย่งกันขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นพืชที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นที่สามารถโตขึ้นได้ดีกว่า ส่วนภาพที่สามเป็นแปลงทดลองที่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน จะเห็นว่า ไม่ค่อยมีความหลากหลายทางพันธุกรรม และพืชที่โตขึ้น ไม่ใช่พืชท้องถิ่น แต่เป็นพืชที่อาศัยปุ๋ยไนโตรเจนเป็นหลัก(7)
การหล่นของลูกแอปเปิ้ล , ขว้างลูกบอลออกไปในแนวระดับ , การโคจรของกระสวยอวกาศรอบโลก และการหมุนรอบโลกของดวงจันทร์ ทั้งหมดสัมพันธ์อยู่กับแรงโน้มถ่วงทั้งสิ้น และสามารถใช้กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันแก้ปัญหาได้ (7)
นักกระโดดค้ำถ่อ วิ่งไปข้างหน้าด้วยความเร็วสูง เมื่อถึงจุดที่ต้องกระโดด พลังงานจลน์จากการวิ่งจะเปลี่ยนรูปไปเป็นพลังงานศักย์ยืดหยุ่น เพื่อที่จะไปงอไม้ที่ใช้ค้ำ และเมื่อไม้งอจนถึงจุดหนึ่ง พลังงานศักย์ยึดหยุ่นนี้ก็จะเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานศักย์โน้มถ่วง ยกนักกีฬาให้พ้นบาร์ข้างบน ให้สังเกตว่า พลังงานจลน์จากการวิ่งทั้งหมด จะเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานศักย์โน้มถ่วง จากหลักการเปลี่ยนไปมาของพลังงาน เราสามารถใช้กฎการคงที่ของพลังงานอธิบายได้ทั้งหมด
รูปปั้นสมัยก่อนประวัติศาสตร์
คนสมัยก่อนที่อาศัยอยู่ตามหมู่เกาะตะวันออก ได้แกะสลักรูปยักษ์ที่ทำจากหินทั้งก้อน โดยทำกันในสถานที่แห่งหนึ่ง แล้วจึงค่อยเคลื่อนรูปปั้นเหล่านี้ ไปยังเกาะต่างๆ เราสงสัยว่า พวกเขาใช้เครื่องมืออะไรเคลื่อนรูปปั้นหินเป็นระยะทาง 10 กิโลเมตร ซึ่งสมัยก่อนไม่มีเครื่องจักรอยู่เลย และอยากทราบว่า ต้องใช้พลังงานเท่าไรในการเคลื่อนย้ายรูปปั้นหิน 1 อัน เป็นระยะทาง 10 กิโลเมตร ?
มองกำแพงเมืองจีนจากทางอวกาศ
ภาพถ่ายเรดาห์จากยานอวกาศ แสดงบางส่วนของกำแพงเมืองจีน ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ ห่างจากกรุงปักกิ่งไปประมาณ 434 ไมล์ ส่วนของกำแพงจะเห็นเป็นเส้นสีส้ม พาดจากบนลงล่าง
การก่อสร้างยานอวกาศนานาชาติ ซึ่งกำลังโคจรอยูรอบโลก
สถานีอวกาศนานาชาติ หรือ International Space Station (หรือเรียกย่อๆว่า ISS) มีถูกสร้างขึ้นมาด้วยจุดประสงค์ที่จะใช้ในการทดลองประยุกต์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และเทคโนโลยี อย่างเช่น การศึกษาการทำงานของร่างกายคนในสภาพที่แรงโน้มถ่วงน้อยในระยะยาว หรือการทดลองเลี้ยงสารในสภาพแวดล้อมอวกาศ ที่อาจจะนำมาซึ่งการรักษาโรคต่างๆที่ยังไม่สามารถรักษาได้ในปัจจุบัน นอกจากนั้น ISS ยังเป็นที่สำหรับศึกษาและทดสอบสิ่งจำเป็นต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการส่งมนุษย์ไปดาวอังคาร หรือการเดินทางสำรวจจักรวาลต่อๆไป
นายโรนัลด์ แมกแนร์ นักฟิสิกส์ และเป็นนักบินอวกาศที่ค่อนข้างจะโชคร้ายคนหนึ่ง ที่ไปเสียชีวิตจากการระเบิดของกระสวยอวกาศชาแลนเจอร์เมื่อหลายปีก่อน เขาเคยได้รับสายดำของกีฬาคาราเต้ แสดงว่าเป็นนักคาราเต้ที่เก่งเอาการอยู่ แมกแนร์แสดงการทุบแผ่นคอนกรีตด้วยมือให้แตกได้โดยการทุบเพียงครั้งเดียว คนที่เห็นเพียงครั้งเดียวและไม่ทราบหลักการทางฟิสิกส์ จะทึ่งและตื่นเต้นว่าทำได้อย่างไร แต่ถ้าเราเปลี่ยนจากแผ่นคอนกรีตเป็นแผ่นไม้แทน เมื่อเราทุบแผ่นไม้ลงไป โดยธรรมชาติแผ่นไม้จะงอ เหมือนกับแผ่นสปริง เพื่อจะเก็บกักพลังงานอันมหาศาลที่เกิดจากการทุบลงไป พลังงานนี้เรียกว่าพลังงานศักย์ยืดหยุ่น ถ้าแรงที่ให้มาก จนแผ่นงอถึงจุดวิกฤติ แผ่นไม้จะแตกออก ที่อธิบายมานี้เป็นแผ่นไม้เพียงแผ่นเดียว เชื่อหรือไม่ว่าพลังงานที่ใช้ในการทุบหินเท่ากับ 1 ใน 3 ของพลังงานที่ใช้ในการทุบแผ่นไม้ให้หักเท่านั้น เฉลย
![]() |
||
เครื่องพริ้นเตอร์แบบอิงค์เจ็ตบนโต๊ะทำงานของคุณ นับเป็นประดิษฐกรรมที่น่าทึ่งอยู่ไม่น้อย | ||
ถ้าคุณลองทำความรู้จักกับมันจริง ๆ มากกว่าที่จะเพียงแค่ตั้งมันไว้เฉย ๆ และสั่งพิมพ์ | ||
หลังเสร็จงานเท่านั้น | ||
1
|
1. หยดหมึกแต่ละหยด มีขนาดเล็กจิ๋วอย่างแทบไม่น่าเชื่อ เพื่อสร้างงานพิมพ์ที่มีความละเอียดสูง | |
![]() |
มีหน่วยวัดเป็นPicolitre ถ้าเปรียบเทียบ 1 Picolitre กับน้ำ 1 Litre จะเสมือนการเทียบ | |
ความยาว 1 เซนติเมตร กับระยะทางการเดินทางระหว่างโลกกับดวงจันทร์ 13 รอบ | ||
2. นับวันขนาดของหยดน้ำหมึกเล็กลงเรื่อย ๆ จาก 50 Picolitre ในปี 1995 จนกลายเป็น 4 | ||
Picolitre ในทุกวันนี้ | ||
3. พลังงานความร้อนที่เครื่องพริ้นเตอร์สร้างขึ้นมา เพื่อให้หยดหมึกประทับลงบนกระดาษ | ||
2
|
อย่างเหนียวแน่นนั้น เทียบได้กับพลังงานที่ดวงอาทิตย์ผลิตขึ้นมาเลยทีเดียวดวงอาทิตย์ส่งพลังงาน | |
![]() |
ออกมา 200 mw/rn ต่อวินาทีในขณะที่เครื่องส่งพลังงานออกมา 200 mw/rn ต่อ 0.000002 วินาที | |
4. อุปกรณ์ผลิตความร้อนในเครื่องพริ้นเตอร์มีขนาดเล็กจิ๋ว บนแสตมป์ดวงนี้สามารถวาง | ||
อุปกรณ์ ผลิตความร้อนนี้ได้ถึง300,000 ชิ้น | ||
5. อุปกรณ์ผลิตความร้อนนี้ส่งความร้อน 1,000,000 องศาเซลเซียสต่อวินาทีไปสู่หยดหมึก | ||
ที่ยิงไปสู่กระดาษได้รู้อย่างนี้แล้ว ก็อย่ามองข้ามพริ้นเตอร์เครื่องเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ข้าง ๆ ตัวคุณ | ||
เพราะมันคือดวงอาทิตย์ย่อส่วนลงมานี่เอง | ||
(ข้อมูลจากบริษัท
ฮิวเล็ตต์ แพคการ์ด)
|
||
3
|
||
![]() |
|
|
ครั้งที่
ภาพประจำสัปดาห์