ภาพพุทธประวัติจากหินสลัก
ยุคก่อนมีพระพุทธรูปในประเทศอินเดีย พ.ศ. ๓๐๐๗๐๐
ถ่ายจากภาพปั้นที่จำลองขึ้นใหม่ เพื่อกิจการแห่งโรงมหรสพทางวิญญาณ
ณ สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี

พุทธทาสภิกขุ รวบรวมและอธิบาย
ภาพที่ ๑๕ สัญลักษณ์การประสูติ
ภาพกอบัว มีหงส์ ๒ ตัว, ขึ้นมาจากหม้อเต็มด้วยน้ำ แบบหม้อปูรณฆฏะ ซึ่งมีอยู่มากแบบด้วยกัน.
(จากหินสลัก แบบสาญจี สมัยสุงคะ พ.ศ.
๔๐๐๕๐๐)

คำอธิบายภาพที่ ๑๕
หม้อปูรณฆฏะภาพนี้ เป็นแบบสาญจี
ควรจะรีบเปรียบเทียบดูกับภาพถัดไป ซึ่งเป็นแบบภารหุต เพื่อจะได้เห็นเสียชั้นหนึ่งก่อนว่า
ศิลปะสองตระกูลนี้สัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดหรือลอกแบบกันเพียงใด.
ปูรณฆฏะภาพนี้ แทนที่จะทำเป็นเครือเถาบัว
ก็ทำเป็นกอบัว ซึ่งมีใบ ๔ ใบ, ดอกตูม ๖ ดอก, ดอกบาน ๓ ดอก, ฝักบัว ๒ ฝัก,
ซึ่งบนฝักบัวนั้น มีหงส์ ๒ ตัวจับอยู่ที่ฝักละตัว, หงส์ในที่นี้เป็นสัญลักษณ์ของสรรพสัตว์ในสากลโลก
ได้รับประโยชน์จากฝักบัวซึ่งเป็นผลจากการเกิดของกอบัวซึ่งหมายถึงการเกิดของพระพุทธเจ้านั่นเอง.
ทำไมหงส์จึงมีจำนวน ๒ ตัว ก็เป็นสิ่งที่พอจะทายได้ไม่ยากนัก เช่นสัตว์ที่กำลังมีทุกข์
และสัตว์ที่กำลังไม่มีทุกข์ เป็นต้น, ซึ่งจะทายเอาจากท่าทางของหงส์ ๒ ตัวนั้นได้อย่างสนุกแล้ว.
เมื่อนึกถึงข้อที่ว่า หงส์ตัวเล็ก ๆ อยู่ท่ามกลางความช่วยเหลือคุ้มครองของดอกบัวใบบัวทำนองนี้แล้ว
ก็พอจะประมาณได้ว่ามันมีความสุขสักเพียงไร, แล้วเราก็จะรู้จักคุณของพระพุทธเจ้ายิ่งขึ้น,
นี่แหละคือตัวอย่างของการแสดงธรรมหรือเผยแผ่ธรรมะด้วยภาพแทนการแสดงด้วยเสียงหรือตัวหนังสือ,
ซึ่งมีความลึกซึ้งกว่ากันเป็นไหน ๆ; หาใช่เป็นเพียงก้อนหิน หรือแผ่นปูนปั้นตามความรู้สึกของคนส่วนมากไม่.

ภาพพุทธประวัติจากหินสลัก > ภาพที่ ๑๕
|