ขอบข่ายวิชา
ศาสตร์ทางเทงโลหะวิทยาอาจจัดแบ่งแนวทางการศึกษาออกได้เป็น
2 แขนงใหญ่ ๆ คือ
1. Physical
Metallurgy เป็นวิทยาศาสตร์ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางกายภาพและทางกลของโลหะแข็ง
พยายามหากฎ
เกณฑ์ทางฟิสิกส์และเคมีมาใช ้อธิบายคุณสมบัติของโลหะ รวมทั้งศึกษาหาวิธีผสมโลหะปรับปรุงคุณภาพของโลหะวิเคราะห์
โครงสร้างของโลหะ และ โลหะผสม ตลอดจนวิจัยประสิทธิภาพ ของโลหะ
และ โลหะผสมชนิดต่าง ๆ เพื่อให้ได้โลหะที่มี
ประสิทธิภาพตามความต้องการ ขอบข่ายการศึกษาวิชาโลหะแขนงนี้ มักจะศึกษาเกี่ยวเนื่องกับตัวแปร
3 ประการที่คอยควบ
คุมคุณสมบัติของโลหะ คือ
- สัดส่วนผสมทางเคมีของโลหะ
(Chemical Composition)
- กระบวนการทางกล
(Mechanical Treatment)
- กระบวนการทางความร้อน
(Thermal or heat Treatment)
ที่กระทำกับโลหะ
2.
Process or extractive Metallurgy เป็นวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตโลหะและงานอุตสาหกรรรมโลหะ
อาจเริ่มนับตั้งแต่การค้นหาแหล่งแร่ การทำเหมืองแร่ไปจนสู่ขั้นขบวนการถลุงสินแร่
การแปรรูปโลหะเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ
ตลอดจนการหล่อ การขึ้นรูป และกรรมวิธีการใช้ขบวนการทางความร้อน
ความเย็นกระทำกับโลหะ หรืออาจ
สรุปขอบข่ายของวิชาเป็นคำพูดสั้น ๆ ว่า จากสินแร่สู่โลหะ
(From one to metal)