โครงสร้างของอะตอม
ส่วนประกอบของอะตอม จากสิ่งที่ได้กล่าวมาแล้วเกี่ยวกับอะตอม จึงสามารถสรุปได้ว่า
อะตอมเป็นสิ่งที่เล็ก ที่สุดของ
ธาตุที่ประกอบด้วย อิเล็กตรอนโปรตอน และนิวตรอน อนุภาค ทั้ง 3 อนุภาคนี้
ต่างก็เหมือนกันตรงที่มีขนาดเล็กมากอยู่ภาย
ในอะตอมและเป็นอนุภาคไฟฟ้าโดยจะมีโปรตอนและนิวตรอนรวมกันอยู่ตรงกึ่งกลางของอะตอมซึ่งเรียกว่านิวเคลียสสำหรับ
อิเล็กตรอน นั้น จะเคลื่อนไหวอยู่ในวงโคจรรอบ ๆ
นิวเคลียส สำหรับอะตอมนั้น เมื่อเป็นอิสระ จะมีจำนวนโปรตอนกับอิเล็ก
ตรอนเท่ากัน และน้ำหนักของอะตอมเท่ากับน้ำหนักของโปรตอนรวมกับนิวตรอน
ซึ่งจำนวนโปรตอนหรืออิเล็กตรอนที่อยู่ใน
อะตอมแต่ละอะตอมนั้นจะมีชื่อเรียกว่า เลขอะตอม (Atomic
Number)
วงโคจรของอิเล็กตรอน
อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่โดยรอบนิวเคลียส และการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนนั้นจะมีลักษณะที่แตก
ต่างกันเป็นชั้นๆและในแต่ละชั้นก็จะมีระดับพลังงานที่แตกต่างกันด้วย
ชั้นของการเคลื่อนที่เหล่านี้เราเรียกว่าเชลล์
(Shell) หรือออบิต (Orbit)
ซึ่งในแต่ละเชลล์นั้นจะมีจำนวนอิเล็กตรอนสูงสุดไม่เท่ากัน
โดยมีรายละเอียดดังนี้
ลำดับของเชลล์ |
ชื่อเชลล์ |
จำนวนอิเล็กตรอนสูงสุด |
เชลล์วงในสุด
เชลล์วงที่ 2
เชลล์วงที่ 3
เชลล์วงที่ 4
เชลล์วงที่ 5
เชลล์วงที่ 6
|
เชลล์ เค (Shell - K)
เชลล์ แอว (Shell - L)
เชลล์ เอ็ม (Shell - M)
เชลล์ เอ็น (Shell - N)
เชลล์ โอ (Shell - O)
เชลล์ พี (Shell - P)
|
2 ตัว
8 ตัว
18 ตัว
32 ตัว
18 ตัว
8 ตัว |
จากรูป
จะพบว่าจำนวนอิเล็กตรอนเป็นไปตามเงื่อนไขดังได้กล่าวแล้ว ในตอนต้น
ซึ่งจะทำให้อะตอมนั้น มีความเสถียรมาก (Stable) แต่ในบางครั้งจำนวนอะตอมในแต่ละเชลล์จะไม่ครบตามเงื่อนไขซึ่งจะเกิดขึ้นที่เชลล์นอกสุด
(Outer Valence Shell)และเราเรียกเชลล์นอกสุดนี้ว่าเวเลนซ์เชลล์(Valence
Shell)นอกจากนั้นแล้วจำนวนอิเล็กตรอน
ที่เชลล์นอกสุดเราก็เรียกชื่อว่า เวเลนซ์อิเล็กตรอน (Valence
Electrons)เวเลนซ์อิเล็กตรอนมี ความสำคัญอย่างไร คงจะ
ตอบได้ว่าเวเลนซ์อิเล็กตรอนนั้นจะช่วยบอกให้เราทราบว่า
ธาตุที่มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากันก็จะมีคุณสมบัติคล้ายคลึง กัน
ด้วยดังนั้นจำนวนอิเล็กตรอนและจำนวนเชลล์ของธาตุแต่ละธาตุจึงสามารถนำไปวิเคราะห์คุณสมบัติของธาตุเหล่านั้นได้อนึ่ง
โดยทั่วไปนั้น อะตอมพยายามที่จะปรับตัว ให้เกิดการเสถียร
และการที่อะตอมใด ๆ จะปรับตัวเองให้อย ู่ในสภาพเสถียรนั้น
จะต้องทำให้อิเล็กตรอน ในวงนอกสุด มีจำนวน เท่ากับ 8 ตัว และการที่อะตอมเกิดการยึดเหนี่ยวกันนั้น ก็เนื่องมาจากว่า
อะตอมเหล่านั้น กำลังพยายามจะปรับตัวให้สมดุลมากที่สุด
ซึ่งถ้าอะตอมใด ๆ มีอิเล็กตรอนวงนอกสุดไม่ครบ 8 ตัว อะตอม
นั้นก็จะปรับตัวให้สมดุลด้วยวิธีการอื่น เช่น รับอิเล็กตรอนจากอะตอมอื่น
ๆ หรือนำอิเล็กตรอนไปใช้ร่วมกับอะตอมอื่นๆ และ
ให้อิเล็กตรอนแก่อะตอมอื่น ๆ ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้จะเสนอในลำดับต่อไป