![]() |
ครอบครัวระบบสุริยะ (The Solar System) |
|
![]() |
มวลของสมาชิกในระบบสุริยะ
ดวงอาทิตย์ 99.85 % เหล่าดาวเคราะห์ 0.135 % เหล่าดาวหาง 0.01 % บริวารของดาวเคราะห์ 0.00005 % ดาวเคราะห์น้อย 0.0000002 % อุกกาบาต 0.0000001 % |
องค์ประกอบของระบบสุริยะ
ระบบสุริยะประกอบด้วยดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางและเหล่าสมาชิกโคจรโดยรอบ คือ ดาวเคราะห์ 9 ดวง บริวารของดาวเคราะห์ ดาวหาง ดาวเคราะห์น้อยและอุกกาบาต เมื่อเปรียบเทียบมวลของสมาชิกในระบบสุริยะ ดวงอาทิตย์มีมวลมากที่สุดถึง 99.85% ขณะที่ดาวเคราะห์ทุกดวงรวมกันมีมวลเพียง 0.135 % ซึ่งดาวพฤหัสบดีมีมวลสูงเป็น 2.5 เท่าของมวลดาวเคราะห์อื่น ๆ ทุกดวงรวมกัน ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานที่ยิ่งใหญ่ แผ่พลังงานออกไปในระบบสุริยะโดยรอบในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า |
ตำแหน่งระบบสุริยะ
ในกาแล็กซีทางช้างเผือก เมื่อมองจากด้านบนและด้านข้าง |
|
|
ตำแหน่งของระบบสุริยะในกาแล็กซีทางช้างเผือก ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ดวงหนึ่ง อยู่ในอาณาจักรแห่งดวงดาว ที่เรียกว่า กาแล็กซีทางช้างเผือก (The milky Way) หรือ กาแล็กซีของเรา ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกดาวฤกษ์มากมายประมาณ 2 แสนล้านดวง มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 แสนปีแสง ระบบสุริยะอยู่ห่างจากศูนย์กลางราว 32,600 ปีแสง ดวงอาทิตย์พาเหล่าบริวารโคจรครบรอบกาแล็กซีในเวลา 225 ล้านปี เมื่อมองจากอวกาศเหนือขั้วเหนือของดวงอาทิตย์ สมาชิกในระบบสุริยะโคจรรอบดวงอาทิตย์ ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาไปทางเดียวกัน ดาวเคราะห์ทั้งหลายต่างโคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ใน ระนาบใกล้เคียงกันกับระนาบที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งเรียกว่า ระนาบสุริยวิถี (Ecliptic) มีแต่ดาวพลูโตดวงเดียวที่มีวงโคจรรีมาก และเอียงออกจากระนาบสุริยวิถีมากถึง 18 องศา |
กำเนิดระบบสุริยะ
|
|||
ดาวพุธ |
ดาวศุกร์ |
โลกดาวเคราะห์แห่งชีวิต |
ดาวอังคาร |
ประเภทของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ดาวเคราะห์ชั้นใน (Inner Planets) เป็นกลุ่มดาวเคราะห์ทีมีลักษณะคล้ายโลก (The Terrestrial Planets) คือมีพื้นผิวเป็นหินแข็ง อย่างโลก ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร ขณะที่ดาวศุกร์ โลก และ ดาวอังคาร มีบรรยากาศห่อหุ้มชัดเจน แต่ดาวพุธเกือบไม่มีบรรยากาศเลย ดาวเคราะห์ชั้นนอก (Outer Planets) เป็นกลุ่มดาวเคราะห์ที่มีลักษณะคล้ายดาวพฤหัสบดี (The Jovian Planets) คือเป็นดาวเคราะห์ก๊าซ ซึ่งอาจมีแกนแข็งขนาดเล็กอยู่ที่ใจกลาง และมีขนาดใหญ่มากเมื่อเทียบกับโลก ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน
|
ระนาบทางโคจรของดาวพลูโตเอียงออกจากระนาบสุริยวิถีมาก |
ดาวพลูโตดวงโดดเดี่ยว ดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์ที่มีลักษณะพิเศษประกอบด้วยหินและน้ำแข็ง จึงมีลักษณะ คล้ายโลก แต่วงโคจรไกลเลยจากวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป มนุษย์ยังมีความรู้เรื่องดาวพลูโตน้อยมาก เนื่องจากวงโคจรของดาวพลูโตเอียงออก จากระนาบสุริยวิถีมาก จึงมีบางช่วงนานราว 20 ปี ที่ดาวพลูโตโคจรอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ มากกว่าดาวเนปจูน บรรยากาศอาจเกิดจากมีเทนแข็งระเหิด ขณะเมื่อพลูโตเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ แต่เมื่ออยู่ไกลจากดวงอาทิตย์ตามปกติ ดาวพลูโตอาจเย็นจัดเป็นก้อนน้ำแข็ง และไม่มี บรรยากาศก็เป็นได้ |
< BACK | NEXT > |
|
นำมาจาก http://www.sci-educ.nfe.go.th/astronomy/SolarSystem/Ssystem.html
ฟิสิกส์ราชมงคลขอบคุณมากครับ
1. กฎของจักรวาล
7. อพอลโล 8
9. อพอลโล 8 เข้าสู่วงโคจรรอบดวงจันทร์
10. ทะเลแห่งความสงบ
11. วีรบุรุษของชาติ
12. การทดลองกฎข้อที่หนึ่งและสามของเคปเลอร์
13. การทดลองกฎข้อที่สองของเคปเลอร์
15. รูปดาวอังคารและวีดีโอยานสำรวจโรเวอร์
17. ระบบสุริยะ