เหนื่อยล้าแทบขาดใจ

อุปกรณ์ตรวจวัด
อุปกรณ์อันซับซ้อนชิ้นหนึ่งของปิแอร์และมารี
ทำด้วยไม้และโลหะ
สำหรับใช้วัดความเข้มของกัมมันตภาพรังสี
มารีสนใจรังสีคล้ายคลึงกันที่เปล่งออกมาจากพิตช์เบล็นด์
ซึ่งแรงกว่าที่ออกมาจากยูเรเนียมถึง 4 เท่า
เธอเชื่อว่าในสินแร่พิตช์เบล็นด์จะต้องมีสารซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จัก
เธอจึงคิดจะค้นหา ด้วยความช่วยเหลือของปิแอร์
มารีจึงได้อาศัยโรงเก็บพัสดุที่รกร้างทรุดโทรมของโรงเรียนแห่งหนึ่งเป็นห้องทดลอง
เราไม่มีเงิน
ไม่มีห้องทดลองที่เหมาะสม และไม่มีใครช่วยทำงานที่สำคัญและยากลำบาก
เธอเขียนเล่าไว้ มันเหมือนกับต้องเนรมิตสิ่งของจากอากาศธาตุ
บางครั้งฉันคนเจ้าก้อนแร่อยู่ทั้งวันด้วยแท่งเหล็กท่อนเบ้อเร่อ
พอตกเย็นก็เหนื่อยล้าแทบขาดใจ
ระหว่างที่วิจัยค้นคว้าอยู่เป็นปี
ๆ คนทั้งคู่ก็สังเกตว่าฟิตช์เบล็นด์
ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยยูเรเนียมออกไซด์กัมมันตรังสี
ทำให้นิ้วมือของมารีเป็นแผลไหม้แดงระคายเคืองและแผลหายช้า
มารีจึงคิดว่าถ้าการเปล่งรังสีสามารถทำลายเซลล์ดี ๆ
ได้โดยไม่มีผลร้ายที่ถาวรต่อร่างกาย
บางทีมันคงจะใช้กำจัดเซลล์เนื้อร้ายได้
ในปี ค.ศ.
1898 มารีประกาศว่าโลหะธอเรียมก็แผ่รังสีปรมาณู
ซึ่งเธอเรียกว่า กัมมันตรังสี
ออกมาได้เอง
เธอรู้สึกว่าเธอตรวจหาธาตุกัมมันตรังสีในพิตช์เบล็นด์ได้ถูกทางแล้ว
ธาตุใหม่นี้อาจมีปริมาณน้อยมาก
นักวิทยาศาสตร์จึงตรวจหาไม่พบอยู่เป็นเวลานาน บางทีอาจจะมีไม่เกิน
1 ในล้านส่วนของสินแร่
พิตช์เบล็นด์ของยุโรปส่วนมากมาจากเหมืองเซนต์โจอาคิมสชาลในภาคตะวันตกของเชโกสโลวะเกีย
เกลือยูเรเนียมซึ่งสกัดจากพิตช์เบล็นด์ใช้ในการผลิตแก้ว
ส่วนกากที่เหลือเขามักทิ้งไว้ในป่าสนใกล้เคียง
รัฐบาลออสเตรียส่งกากดังกล่าวมาให้ปิแอร์และมารี 1
ตัน โดยทางรถไฟเพื่อเป็นการช่วยเหลือ
|