ปัญหาการแกะสลักศีรษะเจฟเฟอร์สัน
รูปสลักใบหน้าของประธานาธิบดีวอชิงตันเสร็จสิ้นลงและทำพิธีส่งมอบใน
ค.ศ. 1930
จากนั้นจึงเริ่มสลักใบหน้าของประธานาธิบดีเจฟเฟอร์สันไว้ทางซ้ายของรูปประธานาธิบดีวอชิงตัน
(จากมุมมองของผู้ดู)
แต่เนื่องจากหินในจุดนั้นมีคุณภาพต่ำจึงต้องระเบิดทิ้งไปเมื่อ ค.ศ.
1934
แล้วย้ายมาแกะอีกด้านหนึ่งของรูปประธานาธิบดีวอชิงตัน
โดยที่เนื้อหินในตำแหน่งใหม่ก็มีรอยแตกร้าวมากจนต้องระเบิดทิ้งไปหนาถึง
18 ม.
จึงจะถึงผิวหินที่เหมาะสม
เหลือเนื้อที่ทั้งหมดพอให้แกะสลักใบหน้าได้หวุดหวิดเต็มที
เพราะด้านหลังของหน้าผาที่จะสลักรูปใบหน้าของประธาธิบดีเจฟเฟอร์สันเป็นหุบเขาลึก
แต่กระนั้น หินในบริเวณที่ต้องแกะเป็นจมูกก็มีสภาพแตกร้าวเป็นแนวยาว
บอ์กลัมจึงต้องปรับเปลี่ยนมุมของศีรษะรูปแกะสลักไปจากเดิม
ส่วนรอยแตกเล็ก ๆ น้อย ๆ
ในจุดอื่นก็ใช้สารตะกั่วขาวผสมกับน้ำมันลินสีด (linseed)
และผงหินแกรนิตปนยาอุดรอยแตก
ในผลงานแกะสลักทั้งหมดนี้มีเพียงใบหน้าของเจฟเฟอร์สันเท่านั้นที่มีจุดซึ่งต้องซ่อมปะ
คือพบว่าบริเวณเหนือริมฝีปากบนมีสายแร่หินฟันม้าแทรกอยู่
ทำให้ไม่สามารถแกะสลักได้ ดังนั้นจึงต้องเราะหินส่วนนี้ทิ้งไป
จนเกิดโพรงยาว 60 ซม.
กว้างและลึก 25 ซม.
จากนั้นเขาก็ตอกเข็มเหล็กกล้า 2
แท่งลงก้นหลุมเพื่อเป็นแกนยึดก้อนหินแกรนิตที่ใช้อุดโพรง
แล้วจึงยาด้วยกำมะถันเหลว |