หนาวจับใจ
อัตราความเร็วของเครื่องบินที่เทียบกับอัตราความเร็วเสียงในระดับความสูงเช่นนี้
จะเรียกเป็น เลขมัค (Mach number)
ซึ่งตั้งชื่อตามนักฟิสิกส์ชาวออสเตรเลียที่ชื่อ
เอิร์นส์ มัค (ค.ศ.
1838-1916)
เครื่องบินที่บินเร็วเท่าเสียงเรียกว่าเร็วเท่ากับมัค 1
เครื่องบินที่บินด้วยความเร็วเหนือเสียง
หรือซูเปอร์โซนิก (super sonic)
ต้องออกแบบมาเป็นพิเศษให้รับแรงกระแทกของอากาศได้
เมื่อความเร็วใกล้ระดับมัค 1
จะมีแรงกระแทกของอากาศมาปะทะอย่างแรงที่ปีกและลำตัว
กระแสอากาศรอบตัวเครื่องจะไม่คงที่และมีกระแสลมย้อนกลับปะทะอย่างแรงทำให้เครื่องเสียการทรงตัวได้
แต่ในทางทฤษฎีแล้ว เอกซ์-1
จะไม่กระทบกระเทือนเพราะแรงกระแทกเหล่านี้เพราะมีรูปลำตัวยาวเพรียวและจมูกเรียวแหลมเล็ก
แต่เอกซ์-1
มีพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนาอย่างหนึ่ง
คือมักจะโยนตัวอย่างมาก
ทำให้นักบินถูกโยนไปมาอย่างแรงในห้องนักบินที่ทั้งแคบทั้งเล็ก
เสี่ยงต่อการชนกระแทกในห้องจนหมดสติได้
ดังนั้นแทนที่จะสวมหมวกนักบินตามปกติ
เยเกอร์จึงต้องสวมหมวกกันน็อกแบบอเมริกันฟุตบอลที่ทำด้วยหนังแทน
เมื่อบี-29
บินมาที่ใกล้ระดับ 2100 ม.
เยเกอร์จะเข้าไปยังช่องเก็บระเบิด
ซึ่งมีราวจากตรงนั้นลงไปถึงที่ด้านข้างของเอกซ์-1
เขาดันบันไดอะลูมิเนียมลงไปตามราวนั้น ไต่บันได
แล้วหย่อนตัวลงไปในห้องนักบินโดยหย่อนเท้าเข้าไปก่อน
เวลาไต่บันไดบ้านั่นลงไปน่ะ
เจ็บน่าดู เยเกอร์เล่า แต่ผมก็ใช้ไม้กวาดเขี่ยที่จับให้ขึ้นล็อกจนได้
เยเกอร์พรรณาสภาพความหนาวเย็นในห้องนักบิน
หนาวจนสะท้าน
ขนาดใส่ถุงมือแล้วยังต้องถูมือให้อุ่นเลย
จากนั้นผมก็หยิบหน้ากากออกซิเจนขึ้นมาใส่
แล้วลงนั่งในเครื่องบินที่หนาวเย็นสุดชีวิต
เขาเล่าต่อ ความหนาวเย็นจะแทรกซึมไปทั่วร่าง
เพราะห้องเก็บเชื้อเพลิงที่เก็บออกซิเจนเหลวไว้เป็นร้อย ๆ
แกลลอนนั้นก็อยู่ติดหลังที่นั่งนักบินและมีอุณหภูมิต่ำถึงลบ 296
O ฟาเรนไฮต์ ไม่มีเครื่องทำความร้อน
ไม่มีเครื่องละลายเกล็ดน้ำแข็ง ได้แต่นั่งกัดฟันทนต่อไปอีก 15
นาที มันเหมือนกับนั่งทำงานในห้องแช่แข็งไม่มีผิด
|