![]() | |
การถ่ายภาพความไวสูง การถ่ายภาพแมลงกระพือปีกให้ดูเหมือนหยุดค้างโดยที่ภาพไม่พร่าไหวนั้น จะต้องเปิดหน้ากล้องรับแสง (exposure) เป็นระยะเวลาสั้นมาก เกินกว่าที่กล้องถ่ายรูปธรรมดาจะทำได้ แม้จะรับแสงเป็นเวลาเพียง 1/1000 วินาที ภาพของปีกก็ยังไม่คมชัด จึงต้องให้ช่วงรับแสงสั้นลงอีก 10 20 เท่า นักถ่ายภาพชาวอังกฤษชื่อ ดับบลิว เอช ฟ็อกซ์ ทัลบอต เป็นผู้บุกเบิกการถ่ายภาพความเร็วสูงมาตั้งแต่ ค.ศ. 1851 เขาเอาหนังสือพิมพ์ไทมส์เล่มหนึ่งมาติดกับวงล้อ แล้วหมุนวงล้ออย่างเร็ว แต่ถ่ายภาพได้ชัดเจนเมื่อใช้ไฟแฟลช (flashy) ที่สว่างจ้าส่องวงล้อเป็นเวลาสั้นๆ เพียง 1/100,000 วินาที ถ้าใช้เทคนิคนี้ในห้องมืดก็ควรเปิดชัตเตอร์กล้องทิ้งเอาไว้ให้ฟิล์มรับแสงแฟลชที่สว่างวาบดังกล่าว การเปิดแฟลชให้สว่างวาบขึ้นเมื่อวัตถุอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการพอดี เป็นเรื่องที่ควบคุมได้ยากวิธีที่ดีที่สุดคือให้วัตถุที่เราต้องการถ่ายภาพนั้นเอง (เช่น ภาพลูกปืนกำลังเจาะทะลุลูกแอปเปิ้ล) เป็นตัวทำให้ชัตเตอร์ลั่นไกหรือทำให้แฟลชเปิด (หรือทั้งสองอย่าง) เช่น โดยการที่วัตถุนั้นเคลื่อนไหวไปบังลำแสงอินฟาเรดหรือแสงสว่างซึ่งพุ่งไปที่เซลล์รับแสง โดยอาจเปิดแฟลชกะพริบติดต่อกันไปหลายครั้งเป็นชุด และเลื่อนฟิล์มก่อนที่แฟลชจะกะพริบสว่างขึ้นในแต่ละครั้ง เทคนิคนี้ช่างภาพชาวอเมริกันชื่อแฮโรลด์ เอ็ดเกอร์ตัน เป็นผู้บุกเบิกเมื่อทศวรรษ 1930 เขาเปิดแฟลช 10 ครั้ง/วินาที ถ่ายให้ภาพทั้งหมดซ้อนอยู่ในเฟรมเดียวกัน ทำให้จับภาพน้ำนมที่หยดลงอ่างให้ดูนิ่งค้างได้
หยุดค้าง ภาพถ่ายความเร็วสูงจับภาพหยดน้ำขณะกำลังตกลงในอ่าง การถ่ายภาพโดยให้แสงสว่างเป็นระยะสั้นๆ ติดต่อกัน จะได้ภาพการเคลื่อนไหวที่ดูนิ่งค้างอยู่ในช่วงต่างๆ | |
หน้าที่ | |
นำมาจาก รู้รอบตอบได้ ของรีดเดอร์ส ไดเจสท์ |
ฟิสิกส์ 1(ภาคกลศาสตร์) ฟิสิกส์ 1 (ความร้อน) ฟิสิกส์ 2 ก
โลหะวิทยาฟิสิกส์ เอกสารคำสอนฟิสิกส์ 1 ฟิสิกส์ 2 (บรรยาย)
แก้ปัญหาฟิสิกส์ด้วยภาษา c ฟิสิกส์พิศวง
ทดสอบออนไลน์ วีดีโอการเรียนการสอน หน้าแรกในอดีต
พจนานุกรมฟิสิกส์ ลับสมองกับปัญหาฟิสิกส์ ธรรมชาติมหัศจรรย์
สูตรพื้นฐานฟิสิกส์ การทดลองมหัศจรรย์
แบบฝึกหัดกลาง แบบฝึกหัดโลหะวิทยา
อะไรเอ่ย ? ทดสอบความรู้รอบตัว (เกมเศรษฐี) คดีปริศนา
ข้อสอบเอนทรานซ์ เฉลยกลศาสตร์เวกเตอร์
คำศัพท์ประจำสัปดาห์ ความรู้รอบตัว
การประดิษฐ์แของโลก ผู้ได้รับโนเบลสาขาฟิสิกส์
นักวิทยาศาสตร์เทศ นักวิทยาศาสตร์ไทย ดาราศาสตร์พิศวง
การทำงานของอุปกรณ์ทางฟิสิกส์ การทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ
การเรียนการสอนฟิสิกส์ 1 ผ่านทางอินเตอร์เน็ต
3. การเคลื่อนที่แบบหนึ่งมิติ 4. การเคลื่อนที่บนระนาบ
5. กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน 6. การประยุกต์กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน
8. การดลและโมเมนตัม 9. การหมุน
10. สมดุลของวัตถุแข็งเกร็ง 11. การเคลื่อนที่แบบคาบ
12. ความยืดหยุ่น 13. กลศาสตร์ของไหล
14. ปริมาณความร้อน และ กลไกการถ่ายโอนความร้อน
15. กฎข้อที่หนึ่งและสองของเทอร์โมไดนามิก
16. คุณสมบัติเชิงโมเลกุลของสสาร 17. คลื่น
18.การสั่น และคลื่นเสียง 19.หน้ากากการเรียน
การเรียนการสอนฟิสิกส์ 2 ผ่านทางอินเตอร์เน็ต
3. ความกว้างของสายฟ้า 4. ตัวเก็บประจุและการต่อตัวต้านทาน
5. ศักย์ไฟฟ้า 6. กระแสไฟฟ้า
7. สนามแม่เหล็ก 8.การเหนี่ยวนำ
9. ไฟฟ้ากระแสสลับ 10. ทรานซิสเตอร์
11. สนามแม่เหล็กไฟฟ้าและเสาอากาศ
12. แสงและการมองเห็น
13. ทฤษฎีสัมพัทธภาพ 14. กลศาสตร์ควอนตัม
16. นิวเคลียร์ 15. หน้ากากการเรียน
การเรียนการสอนฟิสิกส์ทั่วไป ผ่านทางอินเตอร์เน็ต
1. จลศาสตร์ ( kinematic) 2. จลพลศาสตร์ (kinetics)
3. งานและโมเมนตัม 4. ซิมเปิลฮาร์โมนิก คลื่น และเสียง
5. ของไหลกับความร้อน 6.ไฟฟ้าสถิตกับกระแสไฟฟ้า
7. แม่เหล็กไฟฟ้า 8. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากับแสง
9. ทฤษฎีสัมพัทธภาพกับนิวเคลียร์ 10. หน้ากากการเรียน