![]() | |
ประสบความสำเร็จ แต่...... เมื่อวางหัวใจ ใหม่ ใส่ลงในช่องอกอันว่างเปล่าของนายวอชแคนสกีแล้ว หมอบาร์นาร์ดก็มองดูด้วยความหวาดหวั่นใจ เพราะหัวใจของผู้หญิงนั้นตามปกติจะเล็กกว่าของผู้ชายประมาณ 1 ใน 5 อยู่แล้ว แต่หัวใจของนายวอชแคนสกียังโตกว่าปกติถึง 2 เท่าอีกต่างหาก หมอบาร์นาร์ดเริ่มงานเย็บหัวใจให้เข้าที่อย่างประณีตบรรจงด้วยเข็ม 2 เล่มและเส้นใหม่ เขาให้ปลดเครื่องสูบเลือดสู่หัวใจออกไป ทำให้หัวใจสีแดงเปลี่ยนเป็นสีม่วง หมอบาร์นาร์ดก้มหน้าก้มตาเย็บพลางก็เหลือบมองไปที่นาฬิกา ห้องผ่าตัดขณะนั้นเวลา 05.30 น. หัวใจดวงนี้ขาดเลือดและขาดออกซิเจนมานานตั้ง 15 นาทีแล้ว เวลาผ่านไปอีก 4 นาทีอย่างเชื่องช้า หมอจึงเย็บตะเข็บสุดท้ายเสร็จ ปล่อยให้เลือดไหลสู่หัวใจ แล้วหัวใจก็เริ่มกระตุก หมอกระตุ้นให้หัวใจเต้นโดยป้อนประจุไฟฟ้าอย่างแรงผ่านจาน 2 แผ่น ซึ่งประกบหัวใจเอาไว้ร่างอันไร้สติของนายวอชแคนสกีชักกระตุก ขณะที่บาร์นาร์ดกับคณะแพทย์ 20 คน เผ้าดูอยู่ด้วยความกังวล หัวใจก็เริ่มเต้นอย่างสม่ำเสมอ ในที่สุดแพทย์จึงอนุญาตให้ปลดเครื่องปอด หัวใจออกได้ เป็นเวลาได้ 8 ชม. ตั้งแต่เริ่มต้นการผ่าตัด พยาบาลจึงพานายวอชแคนสกีใส่รถเข็นเข้าไปอยู่ในกระโจมพลาสติกในห้องปลอดเชื้อโดยที่ร่างกายของเขามีสายพยุงชีพ 18 สาย ติดระโยงระยางกับอุปกรณ์พยุงชีพและอุปกรณ์ควบคุมต่างๆ หลายชนิด ทันทีที่ผ่าตัดเสร็จ สิ่งที่ต้องระวังก็คือโรคติดเชื้อและภาวะที่ร่างกายปฏิเสธสิ่งแปลกปลอม นายวอชแคนสกีได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ร่างกายของเขาปฏิเสธหัวใจดวงใหม่ ต่อมาเมื่อผ่านระยะอันตรายขึ้นต้นไปแล้ว เขาก็มีสุขภาพดีอยู่ถึง 5 วัน ครั้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม หลังจากการผ่าตัดได้ 12 วัน ภาพเอกซเรย์แสดงให้เห็นว่านายวอชแคนสกีมีเงาในปอด ภรรยาของเขาสังเกตว่าเขามีอาการเหมือนเป็นหวัดเล็กน้อย แต่ที่จริงนายวอชแคนสกีเริ่มเป็นโรคปอดบวมเข้าให้แล้ว ที่น่าหนักใจก็คือ ยากดภูมิคุ้มกันซึ่งนายวอชแคนสกีได้รับอยู่นั้น ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลงจนไม่อาจต้านทานเชื้อโรคที่ทำให้ปอดอักเสบ ทั้งๆ ที่หมอบาร์นาร์ดและคณะแพทย์ผู้ร่วมงานได้พยายามรักษาอย่างเต็มที่ แต่กระนั้นนายหลุยส์วอชแคนสกีก็สิ้นชีวิตลงในที่สุดด้วยโรคปอดบวมหลังเวลารุ่งอรุณของวันที่ 21 ธันวาคมได้ไม่นานนับเป็นเวลาได้ 18 วันแล้วที่ชายผู้นี้ได้รับหัวใจดวงใหม่ ซึ่งก็ยังคงทำงานอย่างสมบูรณ์อยู่ตราบจนวาระสุดท้ายแห่งชีวิตของเขา
สบายหัวใจ นายลุยส์ วอชแคนสกีกินอาหารได้หลังจากผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจแล้ว 10 วัน เขาบอกว่าไม่เคยรู้สึกสบายอย่างนี้มาก่อน แต่ต่อมา หลังการผ่าตัดได้เพียง 18 วัน เขาก็เสียชีวิตด้วยโรคปอดบวม | |
หน้าที่ | |
นำมาจาก รู้รอบตอบได้ ของรีดเดอร์ส ไดเจสท์ |
ฟิสิกส์ 1(ภาคกลศาสตร์) ฟิสิกส์ 1 (ความร้อน) ฟิสิกส์ 2 ก
โลหะวิทยาฟิสิกส์ เอกสารคำสอนฟิสิกส์ 1 ฟิสิกส์ 2 (บรรยาย)
แก้ปัญหาฟิสิกส์ด้วยภาษา c ฟิสิกส์พิศวง
ทดสอบออนไลน์ วีดีโอการเรียนการสอน หน้าแรกในอดีต
พจนานุกรมฟิสิกส์ ลับสมองกับปัญหาฟิสิกส์ ธรรมชาติมหัศจรรย์
สูตรพื้นฐานฟิสิกส์ การทดลองมหัศจรรย์
แบบฝึกหัดกลาง แบบฝึกหัดโลหะวิทยา
อะไรเอ่ย ? ทดสอบความรู้รอบตัว (เกมเศรษฐี) คดีปริศนา
ข้อสอบเอนทรานซ์ เฉลยกลศาสตร์เวกเตอร์
คำศัพท์ประจำสัปดาห์ ความรู้รอบตัว
การประดิษฐ์แของโลก ผู้ได้รับโนเบลสาขาฟิสิกส์
นักวิทยาศาสตร์เทศ นักวิทยาศาสตร์ไทย ดาราศาสตร์พิศวง
การทำงานของอุปกรณ์ทางฟิสิกส์ การทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ
การเรียนการสอนฟิสิกส์ 1 ผ่านทางอินเตอร์เน็ต
3. การเคลื่อนที่แบบหนึ่งมิติ 4. การเคลื่อนที่บนระนาบ
5. กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน 6. การประยุกต์กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน
8. การดลและโมเมนตัม 9. การหมุน
10. สมดุลของวัตถุแข็งเกร็ง 11. การเคลื่อนที่แบบคาบ
12. ความยืดหยุ่น 13. กลศาสตร์ของไหล
14. ปริมาณความร้อน และ กลไกการถ่ายโอนความร้อน
15. กฎข้อที่หนึ่งและสองของเทอร์โมไดนามิก
16. คุณสมบัติเชิงโมเลกุลของสสาร 17. คลื่น
18.การสั่น และคลื่นเสียง 19.หน้ากากการเรียน
การเรียนการสอนฟิสิกส์ 2 ผ่านทางอินเตอร์เน็ต
3. ความกว้างของสายฟ้า 4. ตัวเก็บประจุและการต่อตัวต้านทาน
5. ศักย์ไฟฟ้า 6. กระแสไฟฟ้า
7. สนามแม่เหล็ก 8.การเหนี่ยวนำ
9. ไฟฟ้ากระแสสลับ 10. ทรานซิสเตอร์
11. สนามแม่เหล็กไฟฟ้าและเสาอากาศ
12. แสงและการมองเห็น
13. ทฤษฎีสัมพัทธภาพ 14. กลศาสตร์ควอนตัม
16. นิวเคลียร์ 15. หน้ากากการเรียน
การเรียนการสอนฟิสิกส์ทั่วไป ผ่านทางอินเตอร์เน็ต
1. จลศาสตร์ ( kinematic) 2. จลพลศาสตร์ (kinetics)
3. งานและโมเมนตัม 4. ซิมเปิลฮาร์โมนิก คลื่น และเสียง
5. ของไหลกับความร้อน 6.ไฟฟ้าสถิตกับกระแสไฟฟ้า
7. แม่เหล็กไฟฟ้า 8. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากับแสง
9. ทฤษฎีสัมพัทธภาพกับนิวเคลียร์ 10. หน้ากากการเรียน