คลื่นอากาศแปรปรวน

เศษซากจากโศกนาฏกรรม :
แพนหางดิ่งถูกกู้กลับคืนได้จากอ่าวจาไมก้า
เมื่อเครื่องบินทะยานขึ้น
ปลายปีกแต่ละข้างจะทำให้เกิดเกลียวอากาศคล้ายกับพายุหมุนในแนวนอน
หากเครื่องบินอีกลำ บินเข้ามาในแนวเกลียวอากาศดังกล่าวนี้
อาจทำให้เครื่องกระดอนขึ้น ลง หรือส่ายไปมาอย่างรุนแรง
แต่ภาวะอากาศปั่นป่วนดังกล่าว มักไม่รุนแรงถึงหายนะ
เนื่องจากเจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศ
จะรักษาระยะห่างระหว่างเครื่องบินแต่ละลำไว้ แต่เครื่องโบอิ้ง 747
ของสายการบินเจแปนแอร์ไลน์ ซึ่งบินขึ้นก่อนหน้าเที่ยวบิน 587
ทำเพดานบินต่ำกว่าระยะที่ควรถึง 5 ไมล์
ในช่วงเดียวกับที่เครื่องแอร์บัสทะยานขึ้นจากสนามบิน
ตามปกติภาวะอากาศปั่นป่วนนี้ควรจะสลายไปแล้ว
เมื่อเที่ยวบิน 587
ปะทะเข้ากับเกลียวอากาศจากเครื่องบินโบอิ้ง 96 วินาทีต่อมา
แรงสั่นสะเทือนไม่รุนแรงนัก สเตน โมลิน (Sten Molin)
นักบินที่หนึ่ง
ซึ่งบังคับเครื่องขณะนั้นจึงปรับการทรงตัวด้วยปีกแก้เอียง
(aileron) เท่านั้น แต่แรงสะเทือนครั้งที่สองใน
15 วินาที ต่อมา รุนแรงกว่าครั้งแรกเล็กน้อย
หากโมลินไม่ได้พยายามแก้ไข
เครื่องก็จะสามารถบินผ่านไปโดยไม่เกิดอุบัติเหตุใดๆ การกระทำของเขาไม่มีความจำเป็นและเกินพอดีไป
เนื่องจากผลกระทบจากร่องภาวะอากาศปั่นป่วนนั้นมีเพียงปานกลาง
จอห์น โอคัลลาแกห์น (John OCallaghan)
เจ้าหน้าที่ สืบสวนของ NTSB
ประกาศต่อคณะกรรมการ NTSB
ในการประชุมประจำเดือนตุลาคม ให้มีการพิจารณารายงานสรุปอีกครั้ง
ถึงเหตุผลที่โมลินสนองตอบต่อสภาพการณ์ดังกล่าวอย่างรุนแรงขนาดนั้น |