13
มหัศจรรย์เคมีพลิกโฉมวิถีคน

ฝันว่าเห็นงูนำไปพัฒนาเป็นโครงสร้างเบนซิน
5.การค้นพบโครงสร้างทางเคมี
(Chemical structure) ในช่วงปี ค.ศ.1850
ฟรีดริช เกกูเล (Friedrich Kekule)
ได้สร้างภาพโครงสร้างทางเคมีของเบนซิน
ผลักดันให้การศึกษาเรื่องโครงสร้างโมเลกุลเป็นเรื่องสำคัญในสาขาเคมี
เขาเขียนหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้หลังจากศึกษาธรรมชาติของพันธะคาร์บอนอยู่หลายปี
และได้นำเสนอโครงสร้างโมเลกุลของเบนซินที่เป็นวงหลังจากฝันว่างูงับหางตัวเองเป็นวง
โครงสร้างที่ไม่ปกตินี้ช่วยตอบคำถามว่าอะตอมของคาร์บอน (C)
สามารถสร้างพันธะกับอะตอมอื่นพร้อมกัน 4 พันธะได้อย่างไร
ส่งผลให้นักเคมีสังเคราะห์สารต่างๆ
ได้อีกมากมายตั้งแต่ยารักษาโรคอย่าแอสไพรินไปจนถึงสีทาบ้าน
6.การสร้างตารางธาตุ (Periodic Table of the
Element) ในช่วงปี ค.ศ. 1860-1870
ดมิทรี เมนเดเลเยฟ (Dmitry
Mendeleyev) ได้แสดงให้เห็นว่าหากนำธาตุทั้งหมด 63 ตัว ที่รู้จักขณะนั้น
มาจัดเรียงตามน้ำหนักอะตอมที่เพิ่มขึ้น จะได้คุณสมบัติของธาตุซ้ำๆ
เป็นรอบวัฏจักรที่แน่นอน
เขาได้วางกฎเกณฑ์ในการจัดเรียงธาตุทั้งที่ค้นพบแล้วและยังไม่ถูกค้นพบ ซึ่งมีการค้นพบธาตุเพิ่มขึ้นอีกในระหว่างที่เขายังมีชีวิตอยู่
คือ แกลเลียม (Ga) สแกนดียม (Sc) และเจอร์มาเนียม (Ge)
7.การค้นพบว่าไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีได้
(Electricity Transforms Chemicals) ในช่วงปี ค.ศ. 1807-1810
ฮัมฟรีย์ เดวีย์ (Humphry
Davy) พบว่าไฟฟ้าสามารถเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีได้ เขาใช้อิเล็กทริกไพล์
(Electric Pile) ซึ่งเป็นแบตเตอรี่ในยุคต้นๆ
แยกเกลือด้วยกระบวนการที่เรียกว่า อิเล็กโทรไลซิส (Electrolysis)
และด้วยแบเตอรรี่หลายชนิดเขาสามารถแยกธาตุโพแทสเซียม (K) และโซเดียม (Na)
ออกจากสารประกอบที่มีแคมเซียม (Ca) สตรอนเทียม (Sr) แบเรียม (Ba)
และแมกนีเซียม (Mg)
8.การค้นพบอิเล็กตรอน (The Electron) ในปี
ค.ศ. 1897
เจ เจ ทอมป์สัน (J.J. Thompson)
ค้นพบว่าอนุภาคทีมีประจุเป็นลบที่ปลดปล่อยออกมาจากหลอดรังสีแคโธด (Cathode
ray tube) นั้นเล็กกว่าอะตอมและส่วนอื่นๆ ของอะตอม เขาเรียกอนุภาคเหล่านี้ว่า
คอร์ปัสเคิล (corpuscles)
ซึ่งปัจจุบันรู้กันดีว่าคืออิเล็กตรอน
การค้นพบอิเล็กตรอนสร้างประโยชน์มากมายแก่ชีวิตมนุษย์
และสร้างความก้าวหน้าในสาขาวิชาความรู้อื่นๆ
โดยเฉพาะการนำความรู้เกี่ยวกับอิเล็กตรอนไปประยุกต์ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์