|
 |
 |
10.การค้นพบว่าอะตอมมีคลื่นแสงเฉพาะตัว
(Atoms Have Signatures of Light) ในช่วงปี ค.ศ. 1850
กุสตาฟ เคียร์ชโฮฟ (Gustuv
Kirchhoff) โรเบิร์ต บันเซน (Robert Bunsen)
พบว่าธาตุแต่ละตัวจะดูดกลืนและปลดปล่อยแสงในช่วงความคลื่นเฉพาะ
ทำให้แต่ละธาตุมีสเปกตรัมเฉพาะตัว
ความรู้ตรงนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการจำแนกธาตุในงานต่างๆ

มาดามและมิสเตอร์คูรี
ที่สร้างคุณประโยชน์ให้กับวงการแพทย์ด้วยการค้นพบธาตุเรเดียม
11.การค้นพบการแผ่รังสี (Radioactivity)
ในช่วงปี ค.ศ. 1890-1900
แมรี่ และปีแอร์ คูรี่
(Marie and Pierre Curie) ค้นพบและแยกวัสดุที่แผ่รังสีได้
หลังจากใช้กระบวนการทางเคมีแยกยูเรเนียม (U)
ซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสีออกจากสินแร่ยูเรเนียม
แมรี่สังเกตว่าสินแร่ที่เหลือก็ยัง แอคทีฟ (active)
มากกว่ายูเรเนียมบริสุทธิ์
เธอสรุปว่าสินแร่นั้นมีธาตุใหม่ที่สามารถแผ่รังสีได้เช่นกัน การทดลองนี้นำไปสู่การค้นพบธาตุโพโลเนียม
(Po) และเรเดียม (Ra)
12.การค้นพบพลาสติก (Plastics) ในปี ค.ศ.
1869 และช่วงปี ค.ศ. 1900
จอห์น เวสลีย์ ไฮแอท (John
Wesley Hyatt)
ได้คิดสูตรพลาสติกเซลลูลอยด์เพื่อใช้แทนงาช้างในอุตสาหกรรมลูกบิลเลียต
เซลลูลอยด์เป็นกาค้นพบพลาสติกครั้งแรกที่สำคัญและถูกใช้แทนสารที่มีราคาแพงอย่างงาช้าง
อำพัน เขาสัตว์และกระตองเต่า
เป็นที่คาดไม่ถูกว่าพลาสติกจะช่วยลดการพลาญทรัพยากรธรรมชาติดังกล่าวได้
หลังจากนั้น ลีโอ แบเกแลนด์ (Leo Baekeland)
ได้ผลิตพลาสติกแข็งที่เรียกว่า แบเกไลต์ (Baekelite)
ยางสังเคราะห์ที่ใช้แทนเชลแล็คซึ่งใช้เป็นชนวนในวงจรอิเล็กทรอนิกส์

บัคกี้บอลโครงสร้างที่สร้างความฮือฮาให้บรรดานักวิทยาศาสตร์
13.การค้นพบฟูลเลอร์รีน (Fullerenes) ในปี
ค.ศ. 1985
โรเบิร์ต เคอร์ล (Robert Curl)
ฮาโรลด์ โครโต (Harold Kroto) และริค สมอลเลย์ (Rick Smalley)
ค้นพบโมเลกุลของคาร์บอนที่มีการจัดเรียงตัวของอะตอมคาร์บอนในลักษณะใหม่
เป็นลูกกลมๆ คล้ายโดม จีโอเดสสิก (geodesic)
ที่สถาปนิกชาวอเมริกัน อาร์ บัคมินสเตอร์ ฟูลเลอร์รีน (R. Buckminster
fullerene) ประดิษฐ์ขึ้น จึงเป็นที่มาของชื่อและมีเล่นอีกอย่างหนึ่งว่า
บัคกี้บอล (buckyballs) หรือ บัคกี้ทิวบ์ (buckytubes)
โครงสร้างที่ค้นพบใหม่นี้ อาจมีคาร์บอนได้ถึง 70 อะตอม
สร้างความฮือฮาให้กับนักวิทยาศาสตร์อย่างมาก
เพราะการค้นพบโครงสร้างของเบนซินซึ่งมีอะตอมคาร์บอนเพียงไม่กี่อะตอมสามารถสร้างสารใหม่ๆ
ได้หลายอย่าง
|