![]() | |
ความแตกต่างที่เหมือน ระหว่าง ดี เอ็น เอ (รหัสประจำตัวสิ่งมีชีวิต) กับบาร์โค้ด (รหัสประจำตัวสิ่งไม่มีชีวิต) แปลรหัสพันธุกรรม ไม่ใช่ครับ! เป็นบาร์โค้ด ในปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคสารสนเทศอย่างเต็มตัวด้วยการรับเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการประมวลผลข้อมูล ซึ่งท่านผู้อ่านจะพบว่าในทุกหน่วยงานมีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย การซื้อขายสินค้าในห้างสรรพสินค้ามีความสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น และส่วนหนึ่งที่ทำให้การซื้อขายในห้างสรรพสินค้ามีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้นคือการที่ห้างสรรพสินค้ามีการนำเอาบาร์โค้ดมาใช้เป็นรหัสประจำตัวสินค้า ในสมัยก่อนถ้าท่านผู้อ่านยังจำได้ห้างสรรพสินค้าจะใช้วิธีการพิมพ์รหัสสินค้าเข้าไปในเครื่องคิดเงินตอนที่เราชำระเงิน แต่ในปัจจุบันห้างสรรพสินค้าจะใช้วิธีการยิงแสงเลเซอร์ไปยังบาร์โค้ด จริงๆแล้วบาร์โค้ดก็คือรหัสของสินค้านั่นเอง แต่เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่รู้จักรหัสสินค้าที่เป็นตัวเลข ดังนั้นจึงจำเป็นต้องแปลงตัวเลขให้เป็นรหัสดิจิตอลที่คอมพิวเตอร์รู้จัก คอมพิวเตอร์จะรู้ว่าเมื่อไรมีแสงสะท้อนเข้ามาและเมื่อไรไม่มีแสงสะท้อนเข้ามา ถ้ามีแสงสะท้อนเข้ามากำหนดให้เป็นสัญญาณ 1 ถ้าไม่มีแสงสะท้อนเข้ามากำหนดให้เป็นสัญญาณ 0 การทำให้เกิดสัญญาณ 0 , 1 นี้ทำได้โดยการพิมพ์เป็นแถบดำ ขาวสลับกันไปเรื่อยๆ แถบดังกล่าวนี้เรียกว่า บาร์โค้ด หรือรหัสแท่ง รหัสแท่งหมายถึงแท่งสีดำหนาบ้าง ไม่หนาบ้าง เรียงติดต่อกัน โดยมีช่องว่างเป็นสีขาว รหัสแท่งหรือบาร์โค้ดนี้คือรหัสสินค้าที่อยู่ในรูปของแท่งดำ-ขาว หรือพูดให้คนทั่วไปฟังแล้วเข้าใจง่ายก็คือบาร์โค้ดเป็นตัวเลขที่คอมพิวเตอร์อ่านออกนั่นเอง (แต่เป็นตัวเลขที่คนทั่วไปอ่านไม่ออก) ดูรูปตัวเลขที่คอมพิวเตอร์รู้จักและอ่านออก รูปที่ (10)
รูปที่ (10) รูปตัวเลขที่คอมพิวเตอร์รู้จักและอ่านออก(บาร์โค้ด) | |
หน้าที่ | |
ของ อาจารย์ สุชาติ สุภาพ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี |
ครั้งที่
บทความพิเศษ