![]() | |
เจมส์ ดี. วัตสัน และฟรานซิน คริก
เมื่อครั้งที่ยังเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย เจมส์ ดี. วัตสัน เลือกศึกษาเรื่องนกเพื่อเลี่ยงการ ลงเรียนวิชาเคมีใด ๆ ก็ตามที่มีแววว่าจะยาก อย่างไรก็ตาม เมื่อปี 1951 วัตสัน ซึ่งขณะนั้นยังเป็นนักศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาเอกในอังกฤษ ได้ร่วมมือกับนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ฟรานซิส คริก เพื่อหาคำตอบให้กับปมปริศนาสำคัญในวงการชีววิทยา นั่นคือ โครงสร้างโมเลกุลของสารดีเอ็นเอ ทั้งคู่ใช้เวลาเพียงปีครึ่งในการสร้างภาพจำลองโครงสร้างดีเอ็นเอสามมิติจนสำเร็จ โดยอิงการศึกษาของมอริซ วิลกินส์ และภาพดีเอ็นเอจากเครื่องเอกซเรย์ เมื่อปี 1952 ของโรซาลินด์ แฟรงคลินจากคิงส์คอลเลจ โครงสร้างเกลียวคู่ (Double Helix) แสดงถึงกลไกที่ดีเอ็นเอของเซลล์ใช้ในการเก็บข้อมูลทางพันธุกรรมและส่งผ่านไปสู่ลูกหลาน แนวคิดดังกล่าวจุดประกายยุคทองของวงการชีววิทยาระดับโมเลกุล ซึ่งทำให้มนุษย์หันมาสนใจการจัดการกระบวนการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของตนเองในที่สุด
| |
หน้าที่ | |
โดย ริค กอร์ รูปประกอบโดย เน็ด เชดเลอร์ จากหนังสือ National Geographic เมษายน 2548 ฟิสิกส์ราชมงคลขอขอบคุณครับ |