OLED
จอแสดงผลเป็นส่วนประกอบหลักสำหรับชองเล่นอิเล็กทรอนิกส์ยุคใหม่ที่ขาดไม่ได้ การทำจอแสดงผลอาจทำได้จากหลายวิธีการด้วยวัสดุหลากชนิด แต่ในที่นี้ของกล่าวถึงเฉพาะจอประเภทไดโอดเปล่งแสงดที่ทำจากวัสดุที่มีการเรืองแสงเมื่อได้รับพลังงานไฟฟ้า (electroluminescence) ไม่ว่าจะเป็นจอสำหรับเกมส์กดยุคโบราณที่ใช้หลอดไดโอดเปล่งแสง (Lignt Emitteing Diode, LED) หรือจอแสงดผลแบบฟลูออเรสเซนต์ในสุญญากาศ (Vacuum Fluorescent Display, VFD) จนถึงจอแสดงผลที่ทำจากไดโอดเปล่งแสงจากสารอินทรีย์ (OLED) สำหรับเครื่องเล่น MP3 ที่นิยมในหมู่วัยรุ่น ไม่ว่าจะเป็นรุ่นแรกหรือแรกรุ่นก็ตาม ไดโอดเปล่งแสงไม่ว่าจะทำจากสารอินทรีย์หรืออนินทรีย์ล้วนมีหลักการเบื้องต้นคล้ายคลึงกัน กล่าวคือด้วยโครงสร้างของมันจะทำให้กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ไปได้ในทิศทางเดียว นั่นคือที่มาของคำว่าไดโอด (diode) และเมื่อมีการให้แรงดันไฟฟ้ากับไดโอดเหล่านี้ อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่จากขั้วไฟฟ้าลบเข้าไปยังวัสดุที่มีสมบัติในการเปล่งแสงได้ และโฮลจะเคลื่อนตัวจากขั้วไฟฟ้าบวกไปยังวัสดุเล่งแสงเช่นกัน เมื่ออิเล็กตรอนและโฮลเข้ามารวมตัวกันอย่างหลวม ๆ เป็นสิ่งที่เรียกว่า เอกไซตอน (exciton) ในชั้นวัสดุเปล่งแสง ซึ่งมีความไม่คงตัวสูงและจะเกิดสลายตัวให้เป็นพลังงานแสงเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตามอาจเกิดการสลายตัวแบบไม่มีการเปล่งแสงเกิดขึ้นได้ ถ้าเอกไซตอนที่เกิดเป็นแบบทริปเล็ต โดยเฉพาะในกรณีสารอนินทรีย์ จอแสงดผลแบบ VFD มีหลักการทั่วไปไม่ต่างกับไดโอดเปล่งแสง แต่โครงสร้างของอุปกรณ์จะต่างไป โดยมีขั้วไฟฟ้าสามขั้วคือ ขั้วลบ ขั้วบวก และตาข่าย ทั้งหมดถูกบรรจุในภาชนะสุญญากาศ การทำงานเริ่มจากเมื่อให้แรงดันไฟฟ้าอิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่ออกจากขั้วไฟฟ้าลบ โดยมีตาข่ายซึ่งมีศักย์ไฟฟ้าเป็นบวกจะตัวเร่งให้อิเล็กตรอนเคลื่อนที่เร็วขึ้นจนไปชนกับขั้วบวกที่เคลือบด้วยสารฟอสเฟอร์ ทำให้เกิดการเปล่งแสงออกมาได้
|
ดร. สมบุญ สหสิทธิวัฒน์ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหิดล
หน้าที่
บทความเพิ่มเติม
แท่งแสงทำงานได้อย่างไร แท่งแสง(light sticks) ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาเมื่อประมาณ 25 ปีก่อน มันเป็นแท่งที่เปล่งแสงได้ เมื่อก่อนนำไปใช้ในงานฮาโลวีน เพราะแสงที่เปล่งออกมาดูน่ากลัว ลึกลับ และไม่มีความร้อนด้วย มันเปล่งแสงได้อย่างไร แสงของมันเหมือนกับแสงของหลอดไฟหรือหลอดนีออนหรือไม่ ถ้าไม่เหมือนมันแตกต่างกันอย่างไร นักฟิสิกส์ไขปริศนาให้กับคุณ
|
ฟลูออเรสเซนซ์ หลอดทดลองดังรูป บรรจุสารละลายโซเดียมฟลูออเรสซีนไว้ในแสงปกติ สารละลายมีสีแดงเรื่อ แต่เมื่อฉายไฟซึ่งสว่างจ้าไปที่สารละลายในระยะประชิด ฟลูออเรสซีนในสารละลายจะเรืองแสงเป็นสีเขียว
|
![]() |
![]() |
![]() |
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟิสิกส์ 1 | หนังสือฟิสิกส์ 1 ภาคกลศาสตร์ | หนังสือฟิสิกส์ 1 ภาค ของไหล ความร้อนและคลื่น |
ครั้งที่
บทความพิเศษ