ขวดแก้วไลเดน ข้อมูลของหีบแห่งพันธสัญญามีอยู่เพียงเท่านี้ บวกกับเรื่องราวอีกบางตอนที่เล่าขานถึงอิทธิฤทธิ์ของหีบที่ทำให้ผู้บังอาจแตะต้อง ถึงแก่ความตายได้ นอกจากนั้นแล้วก็ไม่มีเค้า เงื่อนใดๆ อย่างไรก็ตาม มีบรรดาบุตรคุณนายช่างคิดช่างสงสัย วิเคราะห์ไปมาแล้วก็บอกว่า ลักษณะของหีบนั้นชวนให้คิดถึงอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ อย่างหนึ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นในศตวรรษที่ 16 นั่นก็คือขวดแก้วไลเดน (Leyden Jar) ซึ่งปีเตอร์ แวน มุสเชนโบรค (Perter van Muss chenbroek) คิดค้นขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1745 และให้ชื่ออุปกรณ์นี้ตามชื่อเมืองเกิดและมหาวิทยาลัยของเขา ขวดแก้ว ไลเดนเป็นอุปกรณ์เก็บสะสมประจุไฟฟ้า (Capacitor) แบบง่าย ประกอบด้วยขวดแก้วที่มีแผ่นตะกั่วบางๆ ปิดทับผิวขวดทั้งด้านในและด้านนอกจนสูงห่างจากปากขวดสัก 1 ใน 3 ของความสูงขวด ปากขวดปิดด้วยฝาไม้ ซึ่งมีแท่งทองเหลืองสอดทะลุผ่านลงมาปลายบนของแท่งทองเหลือง เป็นปุ่มกลมปลายล่างที่หย่อนลงมาในขวดต่อกับโซ่โลหะสั้นๆ ที่ยาวลึกลงมาถึงส่วนที่มีแผ่นตะกั่วปิดทับ ด้วยลักษณะเช่นนี้ แผ่นตะกั่วทั้งสองด้านก็จะกลายเป็นเพลท หรือขั้วไฟฟ้าลบ (ด้านนอก) และขั้วไฟฟ้าบวก (ด้านใน) โดยมีเนื้อแก้วเป็นฉนวน (dielectric) คั่นกลาง เมื่อผิวนอกหรือขั้วลบของขวดต่อกับสายดินหรือผ่านตัวนำใดๆ ลงดินก็จะเกิดประจุไฟฟ้าขึ้นและสะสมอยู่ภายในขวด หากปุ่มกลมที่ปลายบนของแท่งทองเหลืองสัมผัสกับตัวนำประจุไฟฟ้าก็จะถูกปล่อยออกมา เกิดการแลบแปลบปลาบ หรือถ้าตัวนำที่ไปแตะปุ่มทองเหลืองเป็นคน เขาคนนั้นก็จะถูกไฟฟ้าช็อตเอาสะดุ้งไปทีเดียว
| |||
หน้าที่ | |||
|
บทความเสริม
ขวดแก้วไลเดน (Leyden jar)
![]() |
![]() |
![]() |
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟิสิกส์ 1 | หนังสือฟิสิกส์ 1 ภาคกลศาสตร์ | หนังสือฟิสิกส์ 1 ภาค ของไหล ความร้อนและคลื่น |