|
|
นาฬิกา ควอตซ์
ในปี ๑๘๘๙ ชีกมุนด์ รีเฟอร์(Siegmund Riefler) ได้สร้างนาฬิกาลูกตุ้มที่มีความเที่ยงตรงภายในหนึ่งส่วนร้อยของวินาที ก่อให้เกิดการประดิษฐ์นาฬิกาที่ใช้ลูกตุ้มสองอันตามมาติด ๆ ในปี ๑๙๒๑ โดยดับเบิลยู.เอช. ช็อตต์ (W. H. Short นาฬิกานี้ทำงานโดยลูกตุ้มหลักกับลูกตุ้มรอง มีความคลาดเคลื่อนเทียงเศษหนึ่งส่วนพันวินาทีต่อวัน ขณะที่นาฬิกา ควอตซ์ (quartz) เริ่มเข้ามาแทนที่นาฬิกาลูกตุ้มในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๓๐ และ ๑๙๔๐ แต่ก็ยังมีการใช้นาฬิกาลูกตุ้มอยู่ในปัจจุบัน เพราะนาฬิกาลูกตุ้มรุ่นคุณปู่เป็นของเก่าที่น่าสะสม นาฬิกาควอตซ์มีการทำงานพื้นฐานมาจากคุณสมบัติทำให้เกิดไฟฟ้าของผลึกแก้ว เมื่อนำมาวางในสนามพลังไฟฟ้า ผลึกแก้วจะเปลี่ยนรูปทรง ในทางกลับกัน เมื่อบีบหรือหักผลึกแก้ว จะได้สนามพลังไฟฟ้ากลับมาเช่นกัน เมื่อเอาผลึกแก้วไปเชื่อมต่อกับวงจรไฟฟ้าปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นก็จะทำให้ผลึกแก้วสั่น เกิดเป็นคลื่นความถี่ต่อเนื่องส่งให้นาฬิกาทำงาน เนื่องจากมีความถูกต้องและราคาไม่สูง นาฬิกาควอตซ์จึงกลายเป็นอุปกรณ์บอกเวลาอันดับแรกที่ผู้คนนิยมใช้กัน แม้จะยังได้รับความนิยมอยู่เป็นจำนวนมากในปัจจุบันนี้ แต่ความเที่ยงตรงอันโดดเด่นของนาฬิกาควอตซ์ก็ตกเป็นรองนาฬิกาปรมาณู (atomic clock) ซึ่งมีความเที่ยงตรงสูงมากไปเสียแล้ว
| |
หน้าที่
| |
นำมาจากหนังสือ 100 สิ่งประดิษฐ์เปลี่ยนโลก ของ ทอม พิลบิน โดย ญาณิณี พจน์วิบูลย์ ศิริ ศิริลักษณ์ มานะวงศ์เจริญ พิมใจ สวาย และสมอนงค์ เฉลิมกิจ แปล ฟิสิกส์ราชมงคลขอขอบคณมากครับ |
![]() |
![]() |
![]() |
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟิสิกส์ 1 | หนังสือฟิสิกส์ 1 ภาคกลศาสตร์ | หนังสือฟิสิกส์ 1 ภาค ของไหล ความร้อนและคลื่น |