ซุปเปอร์โนวา ในปี ค.ศ.1998 นักดาราศาสตร์ก็พบปรากฏการณ์น่าพิศวงอีกปรากฏการณ์หนึ่ง เมื่อศึกษาซุปเปอร์โนวาหรือการระเบิดของดาวฤกษ์ที่หมดอายุขัยในกาแล็กซี่ที่อยู่ห่างไกล แล้วพบว่าแสงจากซุปเปอร์โนวาจางกว่าที่ควรจะเป็น นั่นก็หมายความว่าซุปเปอร์โนวานั้นอยู่ห่างไกลกว่าที่ควรจะเป็นเช่นกัน สิ่งเดียวที่อธิบายปรากฏการณ์นี้ได้ก็คือ จักรวาลกำลังขยายตัวด้วยอัตราเร่ง ไม่ได้ขยายตัวช้าลงอย่างที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันมานาน เพราะหากจักรวาลขยายตัวช้าลงกาแล็กซี่จะเคลื่อนที่เข้าใกล้กัน และจะทำให้ดวงดาวหรือเทหวัตถุในกาแล็กซี่มีความสว่างเมื่อมองจากโลก กระทั่งถึงปี ค.ศ.2001 สิ่งที่ค้นพบก็ได้รับการยืนยันอย่างแน่นหนา เมื่อนักวิทยาศาสตร์ทำการศึกษาซุปเปอร์โนวา SN1997ff ซึ่งอยู่ไกลจากโลกหนึ่งหมื่นล้านปีแสงโดยใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล การศึกษายืนยันว่าจักรวาลกำลังขยายตัวด้วยอัตราเร่งจริงๆ
ในขณะที่สสารมืดดึงดูดให้กาแล็กซี่มารวมกัน รวมทั้งกระจุกกาแล็กซี่ขนาดใหญ่ด้วย พลังงานมืดกลับต้านแรงดึงดูดโน้มถ่วงและผลักให้กาแล็กซี่หนีห่างออกจากกัน
กาแล็กซี่ UGC 10214 ถูกแรงดึงดูดของสสารมืดทำให้เกิดหาง พลังงานลึกลับที่ต้านแรงโน้มถ่วงซึ่งทำให้จักรวาลขยายตัวนี้คืออะไรและมันจะมีผลต่ออนาคตของจักรวาลอย่างไร? ทุกวันนี้มันเป็นหนึ่งในความลึกลับของจักรวาล และยังไม่มีใครสามารถอธิบายได้รวมทั้งยังไร้ร่องรอยใดๆ อีกด้วย นักวิทยาศาสตร์เรียกพลังลึกลับนี้ว่า พลังงานมืด(Dark Energy) ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์รู้ว่า จักรวาลประกอบด้วยสสารปกติ เช่น ดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ จำนวน 4 % สสารมืด จำนวน 23.0% และพลังงานมืดซึ่งมีจำนวนมากที่สุด 73.0% ในขณะที่การศึกษาพลังงานมืดยังเป็นเรื่องที่มืดมน แต่สำหรับสสารมืดแล้วนักวิทยาศาสตร์พบร่องรอยของมันมาหลายปีแล้ว แม้ว่าสสารมืดจะมองไม่เห็น เพราะมันปลดปล่อยพลังงานไม่เพียงพอที่จะทำให้ถูกตรวจจับได้อย่างสสารปกติ แต่เราสามารถหาได้โดยทางอ้อมโดยการตรวจจับแรงดึงดูดของมัน ในปี 2001 ทีมนักวิทยาศาสตร์นำโดย นีล เทรนแธม จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เสนอทฤษฎีว่า ในจักรวาลมีกาแล็กซี่มืดซึ่งเป็นที่รวมของสสารมืดอยู่ กาแล็กซี่ลึกลับนี้ถูกตามล่ามาตั้งแต่บัดนั้น และนักดาราศาสตร์ก็ได้ค้นพบกาแล็กซี่มืดแล้วหลายแห่ง แต่ทว่ามันไม่ได้เป็นกาแล็กซี่มืดที่แท้จริงเพราะมีดาวฤกษ์ผสมอยู่ด้วย กาแล็กซี่มืดจะไม่มีดวงดาว เพราะมันจะมีความหนาแน่นไม่พอที่จะก่อให้เกิดดวงดาวได้ | |||
หน้าที่
| |||
|
![]() |
![]() |
![]() |
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟิสิกส์ 1 | หนังสือฟิสิกส์ 1 ภาคกลศาสตร์ | หนังสือฟิสิกส์ 1 ภาค ของไหล ความร้อนและคลื่น |