ฝุ่นอวกาศ
เทหวัตถุที่ล่องลอยอยู่ในอวกาศนี้เป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของกลุ่มเมฆขนาดมหึมาที่ประกอบด้วยก๊าซและฝุ่นอันเป็นต้นกำเนิดระบบสุริยะของเรา กลุ่มเมฆนี้ค่อย ๆ อัดตัวแน่นเข้า ๆ กระทั่งในที่สุดเกิดเป็นดวงอาทิตย์ที่จุดศูนย์กลาง จากนั้นจึงเกิดเป็นดาวเคราะห์ต่าง ๆที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ หนึ่งในนั้นก็คือโลกของเรานี่เอง เศษหิน น้ำแข็ง และก๊าซเหล่านี้ยังประกอบกันขึ้นเป็นดาวหางอีกด้วย เมื่อดาวหางโคจรเข้าหาดวงอาทิตย์ บริเวณชั้นผิวจะละลาย ฝุ่นละอองที่ดาวหางทิ้งไว้เบื้องหลังมีลักษณะเหมือนหางขนาดยักษ์ หากวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกตัดกับเส้นทางของหางฝุ่น ฝุ่นนี้ก็จะลุกไหม้ในชั้นบรรยากาศโลก แต่ฝุ่นอวกาศขนาดค่อนข้างเล็กหรือที่เรียกกันว่าสะเก็ดดาวไม่ใช่สิ่งเดียวที่เดินทางร่อนเร่อยู่ในอวกาศ หินที่อยู่บนฟ้าบางก้อนอาจมีขนาดใหญ่เท่าบ้าน เรือบรรทุกน้ำมันขนาดยักษ์ หรือแม้แต่เมืองทั้งเมืองโดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ไม่กี่เมตรไปถึง 1,000 กิโลเมตร เราเรียกหินพวกนี้ว่าดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์น้อยบางดวงมีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เฉียดใกล้โลก ถ้าดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่พอสมควรบังเอิญเดินทางตัดวงโคจรของโลกเราจะมีเพียงบางส่วนที่ลุกไหม้ในชั้นบรรยากาศ ที่เหลือจะตกลงสู่พื้นโลก | |
หน้าที่
| |
จาก รีดเดอร์ส ไดเจสท์ มีนาคม
2549 โดย มิคาเอล โวเกล |
![]() |
![]() |
![]() |
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟิสิกส์ 1 | หนังสือฟิสิกส์ 1 ภาคกลศาสตร์ | หนังสือฟิสิกส์ 1 ภาค ของไหล ความร้อนและคลื่น |