วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยกลาง
วิทยาศาสตร์สมัยกลางเริ่มตั้งแต่
ค.ศ. 450-1700 วิทยาศาสตร์ในยุคนี้ยังคง เกี่ยวข้องกับวิชาปรัชญาอยู่บางส่วน
และเนื่องจากมีการรุกรานแย่งดินแดน โดยอนารยชน (Barbarian) ไปยังอาณาจักรที่เคยเจริญรุ่งเรืองมาก่อน
โดยเฉพาะจักรวรรดิ์โรมัน ทำให้วิชาการต่าง ๆ ชะงักไปประกอบกับความเชื่อทางศาสนาจะบังคับให้ผู้สนใจค้นคว้าวิทยาศาสตร์ต้องจำกัดความคิดและการค้รคว้าด้านต่าง
ๆ ลง
ดังนั้นวิทยาศาสตร์สมัยกลางจึงแบ่งเป็นยุคมืด
และยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ในยุคมืดนี้เกือบไม่มีความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นเลย
ส่วนมากเป็นการเก็บรวบรวมและแปลตำราที่มีอยู่เดิมจากอียิปต์โบราณและกรีกโบราณ
โดยชนชาติอาหรับเป็นผู้แปลจากต้นฉบับเดิมเป็นภาษาอาหรับ ดังนั้นในคริสต์ศตวรรษที่
9 อาหรับจึงเป็นผู้นำด้านปรัชญา และวิทยาศาสตร์ ต่อมายุโรปจึงรับความรู้จากอาหรับในปลายคริสต์ศตวรรษที่
12 และแปลตำราจากอาหรับกลับเป็นภาษาละตินและมีการใช้แพร่หลายในยุโรปจนถึงกลางศตวรรษที่
14 จึงเข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา หรือยุคฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม
กลางศตวรรษที่ 14
เมื่อวิทยาศาสตร์เข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ได้มีการประดิษฐ์แท่นพิมพ์โดย
โยฮันน์ กูเตนเบิร์ก (Johann Gutenberg ค.ศ. 1397-1468) ชาวเยอรมัน
และทำให้มีการเผยแพร่วิชาการด้านวิทยาศาสตร์ได้กว้างขวางมากขึ้น นักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญในสมัยนี้ได้แก่
- ลีโอนาโด ดาวินซี
( Leonardo da Vinci ค.ศ. 1452 - 1519 ) เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่สนใจกายวิภาค
กลศาสตร์ และจลศาสตร์ของไหล นับเป็นผู้ริเริ่มนำวิทยาศาสตร์เข้าสู่ยุคใหม่
|