 |
ความรู้พื้นฐาน คำว่า
วัสดุฉลาด (smart materials)
วัสดุที่มีความสามารถในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก เช่น
มีรูปร่างเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ
หรือมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าเกิดขึ้นเมื่อมีความเค้น เป็นต้น
ซึ่งโลหะจำรูป (shape memory alloys - SMA)
ก็จัดเป็นหนึ่งในวัสดุฉลาด
ด้วยเหตุที่วัสดุสามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงถึงระดับหนึ่ง
ปรากฏการณ์การเปลี่ยนรูปร่างของโลหะถูกบันทึกครั้งแรกโดยนักฟิสิกส์ชาวสวีเดนอาร์เน
โอลันเดอร์ (Arne Olander) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1932
โดยพบว่าโลหะผสมของทองคำกับแคดเมียม (AuCd)
มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเมื่อให้ความร้อนและลดอุณหภูมิแก่โลหะผสม
แต่จุดเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1962
เมื่อทีมวิจัยของ Naval Ordinance Laboratory
ประเทศสหรัฐอเมริกา นำโดยวิลเลียม บัวเลอร์ (William
Buehler) พบโดยบังเอิญว่าโลหะผสมของนิกเกิลกับไทเทเนียม
(NiTi) |
สามารถเปลี่ยนรูปร่างได้เมื่ออุณหภูมิของโลหะเปลี่ยนไป
และแม้ว่าขณะนั้นนักวิจัยจะทราบว่ามีโลหะผสมชนิดอื่น
ๆอีกที่มีความสามารถในการจำรูปได้
แต่จากการทดลองก็พบว่าโลหะผสมนิกเกิลกับไทเทเนียมแสดงสมบัติการคืนตัวของความเครียด
(recovery strain) โดดเด่นกว่าโลหะผสมชนิดอื่น
นั่นคือนิกเกิลไทเทเนียมมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างที่เด่นชัดมากกว่าโลหะผสมอื่น
|
สิ่งที่ทำให้โลหะจำรูปมีความโดดเด่นจากโลหะผสมธรรมดาทั่วไป
คือ
ความสามารถของการเปลี่ยนแปลงรูปร่างโดยการเหนี่ยวนำด้วยความร้อน
หรือมีสมบัติยืดหยุ่นยิ่งยวด (superelastic)
ซึ่งสองสิ่งนี้เป็นสมบัติสำคัญที่โลหะผสมอย่างนิกเกิลไทเทเนียม
หรือโลหะจำรูปชนิดอื่น ๆ มีติดตัว
ตัวอย่างโลหะผสมที่เป็นโลหะจำรูปชนิดอื่นๆ
ไทเทเนียม-แพลเลเดียม-นิกเกิล |
เหล็ก-แมงกานีส-ซิลิคอน |
นิกเกิล-ไทเทเนียม-ทองแดง |
ทองคำ-แคดเมียม |
เหล็ก-สังกะสี-ทองแดง-อะลูมิเนียม |
ทองแดง-อะลูมิเนียม-เหล็ก |
การประยุกต์ใช้ทางการแพทย์ เนื่องจากปัจจุบันมีการผลิตโลหะจำรูปออกมาหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น
เส้น ขด แท่ง ฯ จึงทำให้เกิดการประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย เช่น
สเต็นท์จากสเตนเลสจำเป็นต้องมีลูกโป่งเป็นอุปกรณ์ช่วยถ่างขดลวดออก
|
สเต็นท์ -
อุปกรณ์ถ่างหรือขยายหลอดเลือด (Stent)
มีรูปร่างลักษณะเป็นขดลวดตาข่ายทรงกระบอก
ผลิตจากสเตนเลสหรือโลหะจำรูปก็ได้
ในกรณีที่เป็นสเต็นท์ที่ทำจากสเตนเลส
แพทย์จะยึดอุปกรณ์นี้ติดกับลูกโป่งหรือบอลลูน (balloon)
ด้วยลวดและสอดเข้าทางเส้นเลือดในร่างกายจนถึงหลอดเลือดของอวัยวะเป้าหมาย
จากนั้นแพทย์จะอัดลมเข้าไปในลูกโป่งเพื่อให้ลูกโป่งพองตัวออกเพื่อดันสเต็นท์ให้ขยายตัวออกติดผนังของหลอดเลือด
จากนั้นแพทย์จะปล่อยลมออกจากลูกโป่ง
และถอนเส้นลวดที่ยึดสเต็นท์ออกมา
แต่ในกรณีสเต็นท์ที่ทำจากโลหะจำรูป
แพทย์ไม่ต้องยึดสเต็นท์เข้ากับลูกโป่ง
เพราะเมื่อเลือกใช้โลหะจำรูปที่ออกแบบให้มีการเปลี่ยนรูปร่างที่อุณหภูมิประมาณ
37 องศาเซลเซียสแล้ว
สเต็นท์ที่เข้าไปอยู่ในร่างกายจะขยายตัวออกมาดันติดผนังหลอดเลือดได้เอง
ลวดนำทาง (guide wire) ในการผ่าตัดที่ต้องสอดสายสวน (catheter)
ผ่านทางเส้นเลือดนั้น ไม่สามารถใช้เส้นลวดโลหะทั่วไปได้
เนื่องจากโลหะทั่วไปจะแข็งและขาดความยืดหยุ่น
จึงไม่สามารถโค้งงอเข้าไปตามเส้นเลือดได้
ดังนั้นจึงต้องเลือกใช้ลวดนำทางที่ทำจากโลหะจำรูปเพราะมีความยืดหยุ่นสูงกว่า
ลวดดักจับสิ่งแปลกปลอมในเส้นเลือดวีนาคาว่า
(vena-cava filter)
วีนาคาว่าเป็นชื่อของท่อหลอดเลือดดำใหญ่ที่นำเลือดจากทั่วร่างกายส่งเข้าหัวใจเพื่อสูบฉีดไปฟอกที่ปอด
อุปกรณ์ชิ้นนี้ผลิตจากโลหะจำรูปชนิดยืดหยุ่นยิ่งยวด
(superelastic) ซึ่งเมื่อใส่เข้าไปในหลอดเลือดแล้ว
จะขยายตัวคล้ายกับร่มที่กางออกและยึดอยู่กับผนังของหลอดเลือดคอยดักจับสิ่งแปลกปลอมในท่อหลอดเลือดดำใหญ่ไม่ให้เข้าไปอุดตันที่ปอด
ลวดจัดฟัน
การนำโลหะจำรูปมาประยุกต์ใช้ในทางทันตกรรมเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวเรามากกว่าการประยุกต์ที่กล่าวมาข้างต้น
ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ ลวดจัดฟัน หรือลวดดัดฟัน
ข้อดีของการใช้โลหะจำรูปทดแทนลวดสเตนเลสคือ
เรื่องความตึงของลวดสเตนเลสที่ผูกฟันอยู่จะลดลงภายหลังจากที่ใช้งานไปได้ระยะเวลาหนึ่ง
ทำให้คนไข้ต้องเดินทางมาพบทันตแพทย์เพื่อปรับให้ลวดมีความตึงเท่าเดิมทุก
ๆ 3 - 4 อาทิตย์ ทำให้เสียเวลา
แต่หากใช้เส้นลวดที่ทำจากโลหะจำรูปที่มีความยืดหยุ่นสูงกว่าจะช่วยลดความถี่ของการมาพบแพทย์ให้เหลือเพียงแค่
3 - 4 ครั้ง/ ปีเท่านั้น
แหล่งข้อมูลอ้างอิง http://www.azom.com/details.asp?ArticleID=134 http://www.resonancepub.com/actuator.htm#_Toc449837773
|