ผงแม่เหล็ก
Making Magnetic Powder
ความประทับใจในเสียงของเครื่องบันทึกเสียงลงบนเทป
ทำให้อิบุกะและโมริตะ หาทางทุกอย่างที่จะประดิษฐ์มันขึ้นมาให้ได้
ไม่ว่าจะยากสักเท่าใดก็ตาม
อย่างแรก เขาพยายามที่จะให้คนของ Occupation Force
ยกเครื่องบันทึกเสียงนี้มาให้เขาให้ได้
เพื่อทอตสุโกะและทีมงานจะได้ฟังเสียงสุดยอดของมัน
แต่ สิ่งสำคัญกว่าก็คือ จะต้องโน้มน้าวใจฝ่ายบัญชีให้ได้ก่อน
วันหนึ่ง อิบุกะและโมริตะ ไปพบ โชซะบุโร ทาชิกาวา และพูดว่า "เรามีแผนที่จะประดิษฐ์เครื่องบันทึกเสียง
นายสามารถที่จะเตรียมเงินสัก 300,000 เยนให้เราได้ไม๊ ?"ทาชิกาวาอึ้ง แม้ว่าทอตสุโกะ จะมีธุรกิจที่ดีร่วมกับ NHK แต่ 300,000
เยนนี้ไม่น้อยเลย อิบุกะ กับโมริตะรู้สึกเฉยๆ แต่นักบัญชีอย่าง ทาชิกาวา
และฮาเซกาวา บอกว่า
นั่นไม่ใช่จำนวนที่จะหาได้ง่ายๆ ในทันทีนะ
หลังจากที่ได้ฟังเสียงของเครื่องกันแล้ว อิบุกะ และโมริตะ
พานักบัญชีสองคนนี้ไปยังภัตตาคารหรู และบรรยายศักยภาพของเครื่องบันทึกเสียง
ทาชิกาวา และ จุนอิชิ ฮาเซกาวา ก็มีความเชื่อมั่นในที่สุด
เครื่องเทปบันทึกเสียงถูกพัฒนา และเป็นของหายาก
แม้จะอยู่ในอเมริกา ไม่มีใครสนใจจะประดิษฐ์ขึ้นมาเองในญี่ปุ่น
มีหนังสืออ้างอิงเล่มเดียวที่กล่าวถึง
"Onkyo Kogaku"(Acoustic Engineering), by Dr. Yasujiro Niwa เขียนไว้ว่า "ในปี
1936 บริษัท AEG ในเยอรมันนี ประดิษฐ์เทปบันทึกเสียงที่ใช้เส้นเทปพลาสติก
ซึ่งเคลือบด้วยวัสดุแม่เหล็ก"
อะไรที่จะเหมาะสมจะเป็นแผ่นรองรับสารแม่เหล็ก ?
วิศวกรของทอตสุโกะ เริ่มต้นจากศูนย์ เอาเป็นว่า ผงสารแม่เหล็กที่จะใช้ได้
น่าจะลองจากแม่เหล็ก OP ซึ่งคิดค้นโดย ดร. โยโกโร คาโต แห่ง Tokyo Institute of
Technology
อิบุกะ เริ่มจาก เอาแม่เหล็กแท่งๆ มา แล้วคิฮาร่า ก็ฝนๆๆๆ ให้เป็นผง
ใช้เวลาเป็นชั่วโมง หรือกว่านั้น พวกเขาเห็นพ้องกันว่า จะลองเอาผงแม่เหล็ก
ไปเคลือบกระดาษพิมพ์โทรเลขของ Hell Schreiber telegraphic machine
"แต่จะเคลือบลงไปได้ไงละเนี่ย ?" พวกเขาถามตัวเอง หลังจากนั่งคิดพักใหญ่
เขาก็หุงข้าวแล้วขยี้ให้เละแล้วใส่ผงแม่เหล็กลงไป
แล้วก็เอาข้าวแม่เหล็กนี้ ปาดลงบนกระดาษ
พวกเขาทดลองเทปนี้กับเครื่องบันทึกเสียงของ Occupation Forces แต่
มันก็มีแต่เพียงเสียงแครกครากออกมาเท่านั้น
แม้ว่า ปัจจุบันนี้ มีการใช้งานเทปแม่เหล็ก OP หรือคือ Metal Tape แต่ ในอดีต
หัวบันทึก ไม่สามารถบันทึก หรือลบเทปดังกล่าวได้เลย เพราะเทปแม่เหล็ก OP
มีความแรงมากเกินไป
วิศวกรของทอตสุโกะเรียนรู้ว่า การบันทึก
ไม่ต้องการความแรงแม่เหล็กขนาดนั้น ซึ่งอธิบายได้โดย
เครื่องบันทึกแบบสายลวดยังใช้ลวดสเตนเลส พวกเขาเริ่มหาอะไรที่มีกำลังอ่อนกว่ามากๆ
ในที่สุดก็พบจากหนังสือ สิ่งที่เขาต้องการก็คือ สารที่เรียกว่า oxalic ferrite
หนังสือบอกว่า มันจะกลายเป็น ferric oxide เมื่อเผามัน "นี่แหละ ใช่เลย"
คิฮาราอุทาน
อย่างไรก็ตาม เป็นไปไม่ได้เลย ที่จะหา ออกซาลิกเฟอไรต์จากตลาด
ในภาวะหลังสงครามเช่นนี้ โมริตะอาสาจะไปช่วยคิฮาราหามาให้
เขาทั้งสองเริ่มค้นหาทันที โดยขับรถออกไปหาที่ คันดะ
สืบเสาะไปตามทุกแห่งที่ขายเวชภัณฑ์ต่างๆ
หลังจากค้นหาเป็นเวลานาน เขาพบว่ามีร้านเดียวที่มีสารนี้อยู่ เขาซื้อมาสองขวด
และรีบนำมันกลับไปทดลองที่บริษัททันที
ออกซาลิกเฟอไรต์จำเป็นต้องทำการเปลี่ยนสภาพ
แต่เขาไม่มีเครื่องมือสักอย่าง เช่น เตาอบไฟฟ้า ดังนั้น
เขาจึงขอยืมกระทะมาจากในครัว นำมาคั่วสารที่เป็นผงเหลืองด้วยช้อนไม้
ดูสีของสารอย่างระมัดระวัง
เมื่อคั่วได้ที่ มันจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และดำ แล้วก็ใส่น้ำ
เพื่อป้องกันไม่ให้สารฟุ้งออกไปในอากาศ สารน้ำตาล คือ เฟอริกออกไซด์ (ferric oxide)
และสีดำคือ เฟอรัส เตตรอกไซด์ ferrous tetroxide
ถ้าคั่วนานไป มันจะรวมกับออกซิเจนในอากาศ และแข็งตัวเป็นก้อน
ซี่งสารนี้ใช้ในครีมขัดเงาโลหะ คิฮาร่ามีสายตาที่เฉียบคม
สามารถยกกระทะออกมาได้อย่างถูกจังหวะเวลา
และแล้ว ผงแม่เหล็กก็พร้อม...
โนบุโตชิ คิฮารา
ผู้ประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ต้นแบบของโซนี่จำนวนมาก

|