การตรวจกราด ขณะที่กล้องโทรทัศน์กำลังจับภาพใดอยู่นั้น มันก็จะแยกแสงจากภาพนั้นออกเป็นแม่สีทั้งสาม และส่งแต่ละสีไปยังหลอดสีต่าง ๆ ในกล้องโดยผ่านทางจากแก้วที่เรียกว่า จานสัญญาณ (signal jplate) ด้านหลังจานสัญญาณนี้มี เป้า (target) ซึ่งก็คือชั้นสารที่นำไฟฟ้าได้เมื่อโดนแสงกระทบ แสงที่ผ่านชั้นสารดังกล่าวนั้นยิ่งสว่างมากขึ้นเท่าใด ปริมาณไฟฟ้าก็ยิ่งมาก ปริมาณไฟฟ้าก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น แสงทำให้เกิดเป็นลวดลายของประจุไฟฟ้า พื้นที่ซึ่งมีแสงสว่างที่สุด ก็คือพื้นที่ซึ่งมีประจุไฟฟ้ามากที่สุด ในหลอดสีแต่ละหลอดของกล้อง ลำแสงอิเล็กตรอน(รังสีแคโทด) จะส่องไปยังเป้าจากทางด้านหลังลำแสงจะเคลื่อนจากซ้ายไปขวาและกราดเป้าจากบนไปล่างเป็นเส้นแนวนอนชุดหนึ่ง ขณะที่ลำแสงกราดไปนั้น มันก็จะไปเสริมกำลังให้ประจุไฟฟ้าและคอยเติมพลังให้ประจุไฟฟ้าซึ่งอ่อนกำลังลงระหว่างการตรวจกราด(scan) นั้นให้เต็มอยู่เสมอบริเวณซึ่งสว่างที่สุดต้องเติมมากที่สุดการเติมกำลังนี้สะท้อนให้เห็นลวดลายประจุไฟฟ้าซึ่งก่อให้เกิดสัญญาณไฟฟ้าผ่านไปยังจานสัญญาณที่เชื่อมอยู่กับวงจร กระแสไฟไหลผ่านวงจรด้วยแรงดันไฟฟ้าที่แตกต่างกันไปตามระดับความสว่าง ลำแสงอิเล็กตรอนยิงกราดด้วยความเร็วที่กำหนดทำให้เกิดเส้น 625 หรือ525 เส้น แล้วแต่ระบบที่ใช้ระบบ 625 เส้นให้ความคมชัดมากกว่า ระบบนี้ใช้กันในยุโรป ออสเตรเลีย และหลายแห่งในเอเชียระบบ 525 เส้น ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ในอเมริกาเหนือและใต้ และประเทศญี่ปุ่น การยิงกราดลำแสงในแต่ละครั้งจะจับเพียงครึ่งของ สนาม (field) ของภาพ คือ กราดครั้งแรกด้วยเส้นเลขคี่แล้วก็เส้นเลขคู่ ขั้นตอนนี้จะให้ภาพที่สมบูรณ์ทุก ๆ 1/25 วินาที ดวงตาของมนุษย์เก็บภาพไว้ได้ 1/25 วินาที ดังนั้นภาพ 1 ชุดที่วิ่งไปด้วยอัตราความเร็วนี้จึงดูเหมือนเป็นภาพเดียวต่อกันไปถ้าหากวิ่งช้าลง ภาพที่ปรากฏบนจอจะดูไหวและกระตุกมากขึ้น ที่ต้องยิงลำแสงกราดภาพถึง 2 ขั้นก็เพราะการกราดพื้นที่ภาพทั้งหมดในครั้งเดียวด้วยความเร็วที่ต้องการนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยากทางเทคนิค
| |
หน้าที่
| |
นำมาจากหนังสือ รู้รอบตอบได้ ของรีดเดอร์ส ไดเจสท์ |
![]() |
![]() |
![]() |
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟิสิกส์ 1 | หนังสือฟิสิกส์ 1 ภาคกลศาสตร์ | หนังสือฟิสิกส์ 1 ภาค ของไหล ความร้อนและคลื่น |