จากจานหมุนสู่ดาวเทียม ถึงแม้จะคิดกันว่าโทรทัศน์เป็นสิ่งประดิษฐ์ของศตวรรษ 1880 แล้ว หลังจากมีการนำโทรศัพท์มาใช้ ผู้คนก็เริ่มคิดเรื่องการส่งภาพระยะไกลอยู่หลายปี ถ้าหากสามารถส่งเสียงเป็นระยะทางไกล ๆ ได้ ทำไมจึงจะส่งภาพไม่ได้เล่า ตั้งแต่ต้นก็ตระหนักกันดีว่าภาพไม่อาจส่งไปทั้งภาพได้ เมื่อ ค.ศ.1884 นักประดิษฐ์ชาวเยอรมันชื่อ เพาล์ นิปเคา ได้เสนอวิธีแยกส่วนภาพและรวมกันเป็นภาพขึ้นมาใหม่ นิปเคาอาศัยจานหมุนเจาะรูเพื่อตัดแบ่งภาพขาวดำแล้วประกอบเป็นภาพขึ้นมาใหม่ภายหลัง ใน ค.ศ. 1906 นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียชื่อบอริส โรซิง ได้สร้างระบบโทรทัศน์แบบง่าย ๆ ระบบแรก โดยอาศัยหลักการเรื่องจานกราดภาพของนิปโควและความเป็นไปได้ของหลอดแคโทดเรย์ที่จะแสดงภาพ หลอดแคโทดเรย์ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1897 โดยชาวเยอรมันชื่อเฟอร์ดินันด์เบราน์ หลอดนี้ยังคงเป็นส่วนประกอบสำคัญของเครื่องรับโทรทัศน์สมัยใหม่ การทดลองกระจายเสียงเริ่มในสหรัฐฯ เมื่อ ค.ศ. 1928 แต่ระบบโทรทัศน์ที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติเกิดที่ลอนดอนด้วยฝีมือนักประดิษฐ์ชาวสกอต ผู้มีนิสัยแปลก ๆ ชื่อ จอห์น โลจี แบร์ด เขาเปิดห้องถ่ายโทรทัศน์ใน ค.ศ. 1929 และใช้จานกราดตรวจของนิปเคาทั้งในเครื่องส่งและเครื่องรับ แต่ภายในเวลาไม่กี่ปี ระบบเครื่องจานกราดของแบร์ด ก็ล้าหลังกล้องถ่ายภาพอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งประดิษฐ์โดยชาวรัสเซียชื่อ วลาดิมีร์ ซวอริกิน ผู้สร้างกล้องตัวแรกที่ใช้การได้ดีเมื่อ ค.ศ. 1931 บริการแพร่ภาพทางโทรทัศน์สัปดาห์ละ 3 วัน เริ่มเป็นครั้งแรกในเบอร์ลิน เมื่อ ค.ศ.1935 ดำเนินการโดยบริษัทเยอรมันชื่อ แฟร์นเซห์ ซึ่งแบร์ดมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย สถานีบีบีซี ของอังกฤษเปิดบริการแพร่ภาพไฮเดฟินิชัน (high definition) เป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1936 และอาร์ซีเอเริ่มออกอากาศในอเมริกาใน ค.ศ.1939 การส่งภาพเริ่มมีการทดลองใน สหรัฐฯ เมื่อ ค.ศ. 1951 เคเบิลทีวีเริ่มเปิดบริการในสหรัฐฯ เมื่อทศวรรษ 1950 โดยบริษัทเอกชนส่งรายการไปยังสมาชิกตามสายเคเบิล วิธีนี้ทำให้มีช่องส่งมากกว่าวิธีส่งทางคลื่นวิทยุ เคเบิลทีวีมาไม่ถึงอังกฤษและยุโรปจนกระทั่งทศวรรษ 1980 เคเบิลทีวีบางทีก็ถ่ายทอดสัญญาณภาพจากดาวเทียมด้วย เมื่อถ่ายทอดโดยดาวเทียมไปยังจานรับสัญญาณของบริษัทที่สถานีกลาง แล้วส่งต่อไปยังบ้านตามสายเคเบิล
ระบบโทรทัศน์อื่น ๆ ที่เสนอหรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาในช่วงปลายทศวรรษ 1980 มีโทรทัศน์คลื่นไมโครเวฟซึ่งมีถึง 60 สถานีในระยะใกล้ๆ โทรทัศน์ไฮเดฟินิชัน (HDTV) ใช้เส้นจอภาพมากกว่า 1,200 เส้น และกระจายภาพโดยตรงจากดาวเทียม (DBS) ไปยังจอรับสัญญาณภาพเล็ก ๆ ตามบ้าน ในการให้บริการเช่นนี้บริษัทที่ส่งสัญญาณจะต้องส่งสัญญาณเป็นรหัสเพื่อว่าสมาชิกผู้มีเครื่องถอดรหัสเท่านั้นจึงจะรับได้ | |||||
หน้าที่
| |||||
นำมาจากหนังสือ รู้รอบตอบได้ ของรีดเดอร์ส ไดเจสท์ |
![]() |
![]() |
![]() |
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟิสิกส์ 1 | หนังสือฟิสิกส์ 1 ภาคกลศาสตร์ | หนังสือฟิสิกส์ 1 ภาค ของไหล ความร้อนและคลื่น |