ไม่ลองเอง.....ก็ไม่รู้ เห็นฝรั่งสนุกง่าย ๆ กับขนมังอย่างนี้ ผมก็เลยลองดูมั่ง โดยจะให้เข้าใจจริง ๆ ก็ต้องลองทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ มาดูภาคปฏิบัติกันก่อน เพราะเห็นภาพชัดเจนดี ผมใช้ขนมปังแผ่นขนาด 9.5 X 10.5 เซนติเมตร และหนา 0.8 เซนติเมตร ทำตำหนิหน้าที่สมมติว่า ทาแยม ใส่ซองพลาสติก (เพื่อไม่ให้เศษขนมปังทำให้พื้นเลอะเทอะ ) แล้วค่อย ๆ ดันให้แผ่นขนมปังตกจากที่ว่าง ซึ่งมีความสูงต่าง ๆ กัน ตั้งแต่ 3 จน ถึง 200 เซนติเมตร โดยที่แต่ละความสูงจะทำการทดลองซ้ำ 10 ครั้ง ลองมาดูผลการทดลองกันหน่อย !
ก่อนจะร่วงหล่น ขนมปังจะเอียงจากแนวระนาบเล็กน้อย โดยมีขอบโต๊ะ (หรืออะไรก็ตาม) เป็นจุดหมุน หากความสูงไม่มากนัก (เช่น 3 เซนติเมตร) ขนมปังก็จะหล่นโดยหงายหน้าขึ้น แต่พอตกจากที่สูงขึ้นระดับหนึ่ง ขนมปังจะเอาขอบลงพื้นก่อน จากนั้นก็อาจจะพลิกหงายหรือคว่ำก็ได้ (น่าคิดว่า ถ้ามีแยมทาไว้จริงมีผลอะไรไหม ) เมื่อสูงถึงช่วงหนึ่ง (เช่น ระหว่าง 37 และ 76 เซนติเมตร ) ขนมปังแผ่นจะพลิกหมุนกลางอากาศราวครึ่งรอบ (ซึ่งหมายความว่าหน้าที่หงายอยู่เดิมจะคว่ำลง สลับกับหน้าที่คว่ำอยู่เดิมจะหงายขึ้น ) ทำให้มันเอาหน้าซึ่งทาแยมพลิกคว่ำลงเสมอ แต่หากขนมปังตกจากที่สูงมากขึ้นถึงระดับหนึ่ง ก็จะพลิกหมุนอากาศประมาณหนึ่งรอบ ทำให้ตอนจบหงายหน้าทาแยมขึ้น (เป็นส่วนใหญ่) แต่มีเหมือนกันที่ขนมกระเด้งหน้าแยมคว่ำลง
| ||||||||||||||||||||||||||||
หน้าที่ | ||||||||||||||||||||||||||||
อาจารย์ บัญชา ธนบุญสมบัติ ฟิสิกส์ราชมงคลขอขอบคุณมากครับ |
![]() |
![]() |
![]() |
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟิสิกส์ 1 | หนังสือฟิสิกส์ 1 ภาคกลศาสตร์ | หนังสือฟิสิกส์ 1 ภาค ของไหล ความร้อนและคลื่น |