หลักการทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดเพียโซอิเล็กทริกหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดเพียโซอิเล็กทริก ทำมาจากวัสดุประเภทเพียโซอิเล็กทริก ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะตัวของวัสดุชนิดนี้คือ สามารถเปลี่ยนพลังงานจากกลเป็นไฟฟ้าหรือเปลี่ยนพลังงานจากไฟฟ้าเป็นกลได้
ภาพที่ 1 แสดงรูปร่างโดยทั่วไปของหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดเพียโซอิเล็กทริก ลักษณะของหม้อแปลงชนิดนี้ยังคงมีด้านที่ป้อนพลังงานและจ่ายพลังงาน โดยทางด้านป้อนพลังงานทิศทางของขั้วประจุ (Polarization Direction) จะอยู่ในทิศทางตามความหนาของชิ้นงาน ทิศทางของขั้วประจุจะอยู่ในด้านขนานของชิ้นงาน(ลูกศรในภาพแสดงทิศทางของขั้วประจุ) เมื่อเรามีการให้ไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งตรงกับความถี่เรโซแนนซ์ (Resonance Frequency) ของด้านป้อนพลังงาน ชิ้นงานจะเกิดการสั่นปรากฎการณ์ในการเปลี่ยนแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกลที่เรียกว่า “ปรากฎการณ์แบบกลับของเพียโซอิเล็กทริก” (Converse Piezoelectric Effect) พลังงานกลที่เกิดจากการสั่นดังกล่าวจะเคลื่อนที่ไปยังด้านจ่ายพลังงาน และจะถูกแปลงกลับมาเป็นพลังงานไฟฟ้าอีกครั้งหนึ่ง ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นโดยการเปลี่ยนแปลงของพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้านี้เรียกว่า “ปรากฎการณ์แบบตรงของเพียโซอิเล็กทริก” (Direct Piezoelectric Effect)
|
ดร. พิทักษ์ เหล่ารัตนกุล ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
หน้าที่
บทความเพิ่มเติม
อแดปเตอร์แปลงไฟขนาดเล็ก
(Adaptor)
บทนำ
อุปกรณ์จ่ายไฟขนาดเล็กที่ติดมาพร้อมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวโปรดของคุณ อาทิเช่น
และยังมีอีกมากมายเขียนกันไม่หมดสิ้น รูปร่างแตกต่างกันไป เครื่องใช้ไฟฟ้าบางชิ้นมีอแดปเตอร์ประกอบเป็นชิ้นเดียวอยู่ภายใน อย่างไรก็ตามหลักการพื้นฐานทางฟิสิกส์ล้วนเหมือนกัน
ฟิสิกส์ราชมงคลจะแกะ ภายในของอแดปเตอร์ ให้คุณได้ทราบในหน้าถัดไป
รูปร่างของอแดปเตอร์สำหรับชาร์จไฟ มีให้เห็นกันหลากหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่คำอธิบายเป็นภาษาอังกฤษ
![]() |
![]() |
![]() |
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟิสิกส์ 1 | หนังสือฟิสิกส์ 1 ภาคกลศาสตร์ | หนังสือฟิสิกส์ 1 ภาค ของไหล ความร้อนและคลื่น |
ครั้งที่
บทความพิเศษ