อิทธิพลของแรงโน้มถ่วงที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีอันหนึ่งคือปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง
ซึ่งเกิดจากแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์ที่กระทำต่อโลก
ในภาพเป็นปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลงที่ Nova Scotia
ในแคนนาดาซึ่งเป็นน้ำขึ้นน้ำลงที่ มีความสูงมากที่สุดในโลก
คือประมาณ 16 เมตร (ข้อมูลจาก
http://museum.gov.ns.ca/fossils/protect/tides.htm)
คำถาม? น้ำขึ้นน้ำลงเกิดขึ้นวันละกี่ครั้ง
(ขึ้นสูงสุดถึงลงต่ำสุดนับเป็น 1 ครั้ง)
คำตอบ: ปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง
มีทั้งแบบที่เกิดขึ้นสองครั้งต่อวัน (semidiurnal) และ
แบบที่เกิดน้ำขึ้นน้ำลงวันละครั้ง (diurnal)
แต่โดยส่วนมากแล้วเราจะพบว่าน้ำจะขึ้นสูงสุดและลงต่ำสุดสองครั้งต่อวัน
ทำไมน้ำขึ้นน้ำลงเกิดขึ้นวันละสองครั้ง
เป็นที่ทราบกันดีว่าแรงโน้มถ่วงจากดวงจันทร์ย่อมถึงดูดน้ำในมหาสมุทรบนโลก
แต่จากความจริงที่ว่า แรงดึงดูดระหว่างมวลนั้นขึ้นกับระยะทาง (
)
ผู้สังเกตบนโลกจะสังเกตพบว่า
นอกจากมหาสมุทรด้านที่อยู่ใกล้ดวงจันทร์จะถูกแรงดึงดูดระหว่างมวลดูดเข้าหาดวงจันทร์แล้ว
มหาสมุทรด้านที่อยู่ตรงข้ามจากดวงจันทร์ยังถูกแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์ผลักให้โป่งออกไปอีกด้วย
ปรากฏการณ์นี้ขัดแย้งกับความจริงที่ว่าแรงโน้มถ่วงดึงดูดมวลเข้าหากันเสมอหรือไม่?
เราจะลองพิจารณาการคำนวณง่ายๆต่อไปนี้
จากรูปให้ดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกเป็นระยะ
มวลของดวงจันทร์มีค่าเท่ากับ
สมมุติว่ารัศมีของโลก มีค่าเท่ากับ
เราจะพิจารณาโมเลกุลของน้ำบนผิวของมหาสมุทร มวล
ที่ตำแหน่ง
อาศัยกฎแรงโน้มถ่วงของนิวตัน
แรงโน้มถ่วงจากดวงจันทร์ที่กระทำกับโมเลกุลนี้คือ
โดยอาศัยการประมาณ
เราจะได้ว่า
โดยที่เรานิยาม แรง Tidal Force
ดังสมการ
ในทำนองเดียวกันพิจารณาโมเลกุลของน้ำมวล
ที่ตำแหน่ง
แรงโน้มถ่วงจากดวงจันทร์ที่กระทำกับโมเลกุลนี้คือ


เพื่อความง่ายในการพิจารณาอาจจะสมมุติว่าโลกกำลังเคลื่อนที่เข้าหาดวงจันทร์ด้วยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วง
สำหรับผู้สังเกตภายนอก
ผู้สังเกตที่อยู่ที่จุดศูนย์กลางโลกจะเห็นว่าแรงดึงดูดจากดวงจันทร์ที่กระทำที่
ณ. ตำแหน่ง A มีค่ามากกว่าแรงที่ตำแหน่ง B
ดังนั้นโมเลกุลน้ำที่ตำแหน่ง A
ก็จะวิ่งเข้าหาดวงจันทร์ด้วยความเร่งมากกว่าโมเลกุลของน้ำที่อยู่ที่จุดศูนย์กลางโลก
และ มากกว่าความเร่งของโมเลกุลน้ำที่ตำแหน่ง B ตามลำดับ
แต่สำหรับผู้สังเกตที่อยู่ที่จุดศูนย์กลางโลก
ซึ่งตัวเขาเองกำลังตกเข้าหาดวงจันทร์ เขาจะเห็นว่า
โมเลกุลน้ำที่ตำแหน่ง A พยายามที่จะเร่งเข้าหาดวงจันทร์
ด้วยอิทธิพลของแรง Tidal force
ส่วนโมเลกุลที่ตำแหน่ง B ก็จะถูกแรง Tidal Force
ผลักให้เคลื่อนที่ออกจากดวงจันทร์
ผู้สังเกตทั้งสองจึงเห็นว่าน้ำในมหาสมุทรโป่งออกทั้งด้านที่ใกล้และด้านที่ไกลจากดวงจันทร์
การพิจารณานี้ใช้ได้สำหรับในกรณีที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลกเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณา Tidal Force
เราจะสนใจเฉพาะแต่แรงโน้มถ่วงจากภายนอก
ซึ่งในที่นี้คือแรงโน้มถ่วงจากดวงจันทร์
แต่จะไม่พิจารณาแรงดึงดูดภายในเนื่องจากมวลสารของโลกที่กระทำต่อโมเลกุลของน้ำ
(ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต)
โลกไม่ได้อยู่นิ่งๆแต่มันถูกดวงจันทร์ดึงดูดเข้าไป
แต่แรงโน้มถ่วงจากดวงจันทร์ที่ A มากกว่าที่ B
นั่นคือโมเลกุลที่ A วิ่งเข้าหาดวงจันทร์เร็วกว่า B
ผู้สังเกตบนโลกจะรู้สึกว่า A ถูกดึงเข้าหาดวงจันทร์ ด้วยแรง
ส่วน B ถูกผลักออกไปด้วยแรงเดียวกัน
แรง Tidal force ยังมีส่วนสำคัญมากในทางดาราศาสตร์ เช่น
ถ้าวัตถุเคลื่อนที่เข้าใกล้ดาวหรือเทหะวัตถุ ที่มีมวลมากๆ
ความเข้มของแรงโน้มถ่วงที่จุดต่างๆบนวัตถุจะมีค่าแตกต่างกันมากเป็นผลให้แรง
Tidal force ที่ปลายทั้งสองข้างของวัตถุมีค่ามาก
ถ้าสนามโน้มถ่วงของดาวนั้นแรงพอ
วัตถุสามารถถูกฉีกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยได้เลยทีเดียว
ตัวอย่างเช่น กรณีของดาวหาง Shoemaker-Levy 9 ที่ถูกแรง Tidal
force ของดาวพฤหัสฉีกให้แตกเป็นชิ้นเล็กๆก่อนที่จะพุ่งชน หรือ
กรณีของวัตถุที่ตกเข้าไปในหลุมดำ และ ดาวนิวตรอนเป็นต้น

จากภาพ แรง Tidal force
ของดาวที่มีมวลมากๆสามารถยืดให้วัตถุฉีกขาดออกจากกันได้
ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องน้ำขึ้นน้ำลง (เสียใจด้วย ...
เป็นภาษาอังกฤษ)
ที่ ScienceWorld
http://scienceworld.wolfram.com/physics/Tide.html
ที Wiki
http://en.wikipedia.org/wiki/Tide
และที่ Wiki
http://en.wikipedia.org/wiki/Tidal_force อีกเช่นกัน
Earth tide
ไม่เพียงแต่แรงโน้มถ่วงจากดวงจันทร์ (และดวงอาทิตย์)
จะมีผลต่อน้ำบนผิวโลกซึ่งเป็นของเหลวเท่านั้น
แต่ยังมีผลกับพื้นดินหรือส่วนของแข็งอีกด้วย
ทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่ เรียกว่า Earth tide
พื้นดินบนผิวโลก ถ้ามองในเผินๆเหมือนกับเป็นของแข็ง
แต่จริงๆแล้วเป็นของไหล แผ่นดินของทวีปมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา
แรงโน้มถ่วงจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์
ทำให้ผิวดินของโลกสูงขึ้นและต่ำลงทุกๆ 12 ชั่วโมง
(ความแตกต่างมากสุดประมาณ 30 cm)
ปรากฏการณ์นี้วัดได้ด้วยกระบวนการทางธรณีวิทยา เช่น
วัดคลื่นเสียง หรือวัดการเปลี่ยนแปลงของสนามโน้มถ่วงโลก เป็นต้น
ข้อมูลเพิ่มเติมดูได้จาก
http://www.earthsci.unimelb.edu.au/ES304/MODULES/GRAV/NOTES/tidal.html