ขั้นตอนการทำงานของกระดิ่งไฟฟ้า
1. รูปที่ 2 (ก) เมื่อสวิตช์ปุ่มกดถูกกดให้ทำงานปิดวงจรระหว่างขดลวดเหนี่ยวนำและหม้อแปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านขดลวดเหนี่ยวนำจะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กกระจายออกโดยรอบ ซึ่งจะดึงดูดแกนวิ่งให้วิ่งลอดผ่านขดลวดไปทางขวา เคาะกระทบเข้ากับแผ่นกระดิ่งทางขวามือเกิดเสียงขึ้น ในการเคลื่อนที่ไปทางขวาของแกนวิ่งนั้นจะมีผลให้ขดลวดสปริงถูกอัดกดตามมาด้วย
2. รูปที่ 2 (ข) เมื่อปล่อยสวิตช์ปุ่มกด วงจรจะเปิด และไม่มีกระแสไหลสู่ขดลวดเหนี่ยวนำ ความเป็นแม่เหล็กของมันจะหมดไป ดังนั้น แรงของสปริงที่ถูกกดอัดไว้จะดันให้แกนวิ่งเคลื่อนที่กลับไปทางซ้ายมือ เคาะกระทบเข้ากับแผ่นกระดิ่งทางด้านซ้ายมือ ขดลวดสปริงก็จะถูกแกนวิ่งดึงให้ยืดตัวออกเล็กน้อย
3. รูปที่ 2 (ค) ขดลวดสปริงจะดึงตัวแกนวิ่งกลับมาทางขวาอีกเล็กน้อย ( แต่ไม่ไกลพอที่จะไปเคาะกระทบเข้ากับแผ่นกระดิ่งทางด้านขวามือ) แล้วจะหยุดนิ่งที่ตำแหน่งซึ่งขดลวดสปริงมีความยาวอิสระ และพร้อมที่จะทำงานเป็นวัฏจักรเช่นเดิมอีกเมื่อใดก็ตามที่มีการกดปุ่มสวิตช์ปุ่มกด
หน้าที่
โดย ธีระยุทธ สุวรรณประทีป พิชัย ลีละพัฒนะ พงษ์ธร จรัญญากรณ์ และนพดล เวชสวัสดิ์ ฟิสิกส์ราชมงคลขอขอบคุณครับ
เกิด
วันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1791 ที่กรุงลอนดอน (London) ประเทศอังกฤษ
(England)
เสียชีวิต วันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1867 ที่กรุงลอนดอน (London) ประเทศอังกฤษ
(England)
ผลงาน - ค้นพบสมบัติของแม่เหล็กที่ทำให้เกิดไฟฟ้า
-
ประดิษฐ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือไดนาโม (Dynamo)
-
นำเหล็กมาผสมกับนิกเกิล เรียกว่า สแตนเลส ซึ่งมีสมบัติเหนียว และไม่เป็นสนิท
-
พบสารประกอบเบนซีน (Benzene)
-
บัญญัติศัพท์ทางวิทยาศาสตร์หลายคำ เช่น
ไอออน
(lon) หมายถึง ประจุ
อิเล็กโทรด
(Electrode) หมายถึง ขั้วไฟฟ้า
คาโทด
(Cathode) หมายถึง ขั้วลบ
แอโนด
(Anode) หมายถึง ขั้วลบ
ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมากในปัจจุบัน
อีกทั้งยังมีความสำคัญและความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์อีกด้วย
แม้ว่าจะเป็นเช่นนั้น แต่การสร้างกระแสไฟฟ้าขึ้นมาก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
ในปัจจุบันกระแสไฟฟ้าผลิตขึ้นได้จากพลังงานหลายรูปแบบ
ทั้งน้ำมัน น้ำ ลม และปรมาณู และฟาราเดย์ผู้นี้เองที่ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่เรียกว่า
"ไดนาโม (Dynamo)" ซึ่งเป็น
ต้นแบบของเครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้าในปัจจุบัน
คลิกอ่านต่อครับ