การแทรกสอด ( interference) 5/6
ถ้าคลื่นสองกระบวนผ่านกัน และบริเวณสันคลื่นพบกับสันคลื่น จะเกิดการแทรกสอดแบบเสริมกัน แต่ถ้าสันคลื่นพบกับท้องคลื่นจะเป็นการแทรกสอดแบบหักล้างกัน ค.ศ. 1800 นายโทมัส ยัง ได้แสดงให้โลกเห็นการแทรกสอดของคลื่นเป็นครั้งแรกของโลก ในวีดีโอตอนนี้ท่านจะได้เห็นการทดลองการซ้อนทับของคลื่น ในลักษณะการเกิดคลื่นนิ่ง ( Standing wave) ขนาด 2.6 MB
คลื่นนิ่ง
Standing Waves
คลิกเข้าไปทดลองครับ ถ้าดูไม่เห็นท่านต้อง setup java ก่อนครับ
เริ่มต้นกดปุ่ม Tranverse on a string จะเห็นเป็นรูปมือกำลังดึงเชือกอยู่ ความเร็วของคลื่นในเส้นเชือกหาได้จากสมการ
เขียนกราฟระหว่าง v กับ
จะได้เป็นกราฟเส้นตรงเฉียง โดยมีความชัน = 1 ทดลองเปลี่ยนค่า FT
กับ
ซึ่งจะทำให้ค่า
เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย และกากบาทสีแดงเลื่อนไปตามเส้นสีน้ำเงินของกราฟ
คลิกเข้าสู่การทดลอง
ในห้องทดลองเสมือนนี้ เป็นการทดลองคลื่นสถิตในเส้นเชือก โดยเราสามารถเปลี่ยนแรงตึงเชือก FT หรือมวลของเส้นเชือกต่อหน่วยความยาว m/L และความถี่ f
กราฟแนวนอนในรูปภาพแสดงความถี่ f1 , f2 , f3 ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับค่า FT กับ มวลของเส้นเชือกต่อหน่วยความยาว เพื่อจะให้เกิดการกำทอน และคลื่นสถิต โดยเป็นไปตามสมการ
กำหนดค่าเริ่มต้นให้
= 100 g/m และ FT
= 1.0 N เปลี่ยนค่า f จนได้ค่า f = 1.6 Hz สังเกตว่าเกิดอะไรขึ้น
ต่อไปเปลี่ยนความถี่ขึ้นเป็น f2 = Nf1 = 2f1 = 3.2 Hz
กดที่นี่หรือที่รูปภาพเพื่อเข้าสู่การทดลอง
การแทรกสอดบนถาดคลื่น
แอ็พเพล็ตนี้แสดงภาพการแทรกสอดของคลื่นจากแหล่งกำเนิด 2 แหล่ง เส้นวงกลมสีขาวคือยอดคลื่น และเส้นวงกลมสีดำแสดงเป็นท้องคลื่น สีฟ้าแสดงการแทรกสอดของคลื่นในลักษณะที่เสริมกัน ซึ่งเส้นนี้แสดงให้เห็นว่า ยอดคลื่นกับยอดคลื่น หรือท้องคลื่นกับท้องคลื่นแทรกสอดกัน และเส้นสีแดงแสดงถึงการแทรกสอดแบบหักล้างกัน ซึ่งเส้นนี้แสดงให้เห็นว่า ยอดคลื่นกับท้องคลื่นกำลังแทรกสอดกัน คุณสามารถเปลี่ยนความยาวคลื่น และระยะห่างระหว่างแหล่งกำเนิดคลื่นได้ โดยใช้ตัวเลื่อน และคุณสามารถเลือกเส้นหนาหรือเส้นบาง ตามความเหมาะสม เพื่อสะดวกกับการมอง หรือจะตัดการกระเพื่อมทิ้งไปก็ได้เช่นเดียวกัน กดเพื่อทำการทดลอง
|
ครั้งที่
วีดีโอการเรียนการสอน