วีดีโอการเรียนการสอน
หน้า 4
นายเอนริโก เฟอร์มี |
จุดเริ่มต้นของระเบิดปรมาณู นักวิจัยในประเทศเยอรมันประสพความสำเร็จในการแยกอะตอม โดยใช้กระสุนนิวตรอนยิงเข้าไปในนิวเคลียส ทำให้นิวเคลียสแตกออกได้อย่างต่อเนื่องเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ขึ้น สำหรับวีดีโอตอนนี้ คุณจะได้เห็นว่า ไอสไตน์ส่งหนังสือถึงท่านประธานาธิบดี รูสเวลล์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างระเบิดปรมาณูขึ้น ซึ่งในตอนแรกท่านประธานาธิบดียังไม่ค่อยให้ความสนใจมากนัก คลิกครับ ( windows media 5 MB) |
สงครามโลกครั้งที่สอง อเมริกาถูกญี่ปุ่นโจมตีที่เพิรล์ฮาร์เบอร์ ทำให้อเมริกาประกาศสงครามกับญี่ปุ่น ท่านประธานาธิบดีจึงให้ความสำคัญกับระเบิดชนิดใหม่ โดยอนุมัติโครงการแมนฮัตตัน ให้นายพลโกบ เป็นหัวหน้าโครงการนี้ ท่านนายพลได้เลือกนักฟิสิกส์ชั้นยอดคนหนึ่งเข้าร่วมงาน ชื่อของท่านคือ โอเพนไฮเมอร์ คลิกครับ ( windows media 6 MB) |
|
แยกยูเรเนียม นักฟิสิกส์ในโครงการแมนฮัตตัน ประสพความสำเร็จในการแยกยูเรเนียม 235 แต่ยังได้จำนวนน้อยไม่พอเพียงกับการทดลองยิงยูเรเนียมเข้าไปในมวลยูเรเนียมอีกก้อนหนึ่ง เพื่อให้มวลเกิดสภาวะวิกฤติ ตอนนี้นายโอเพนไฮเมอน์ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า เขาเป็นตัวจักรสำคัญสำหรับโครงการ ขณะเดียวกันทีมงานอื่นได้พัฒนาพลูโตเนียมขึ้น ซึ่งได้จากการยิงสารกัมมันตภาพรังสีไปบนยูเรเนียม ซึ่งมีคุณสมบัติสามารถทดแทนยูเรเนียมได้ คลิกครับ ( windows media 6.7 MB) |
|
|
ทดลองครั้งแรก 16 ก.ค. 1945 เวลาตีห้าครึ่ง นักวิทยาศาสตร์และแขกผู้มีเกียรติที่ได้รับเชิญมาเป็นพิเศษ ให้เข้าชมดูการจุดฉนวนระเบิดปรมาณูลูกแรก บนทะเลทรายของนิวเมกซิโก ภายใต้โครงการแมนฮัตตัน ที่ใช้เงินงบประมาณกว่า 30,000 ล้านบาทเมื่อเทียบกับค่าเงินในปัจจุบัน เสียงระเบิดสนั่นหวั่นไหวไปทั่วทะเลทราย เกิดคลื่นกระแทกขึ้น ลูกไฟขยายตัวครอบคลุมเป็นรัศมี 40,000 ฟุต เทียบเท่ากับแรงระเบิดของทีเอ็นที 20,000 ตัน หอเหล็กที่ใช้ทดลองหายไปเป็นอากาศ ทรายบริเวณนั้นหลอมเหลวจนกลายเป็นแก้ว คลิกครับ ( windows media 5.7 MB) |
|
ถล่มญี่ปุ่น เดือนมิถุนายน 1945 นักวิทยาศาสตร์โครงการแมนฮัตตัน จำนวน 155 คนลงนามเรียกร้องให้นายพลโกบ ทดลองระเบิดบนดินแดนที่ไร้ผู้คนก่อน แสดงแสนยานุภาพให้ญี่ปุ่นเห็น เพื่อยุติสงครามโดยไม่ทำลายพลเรือน แต่ท่านนายพลไม่พอใจ ปกปิดเรื่องนี้เป็นความลับ เสนอการทดลองที่ประสพความสำเร็จให้ท่านประธานาธิบดี ซึ่งท่านถูกกระแสกดดันจากประชาชนและรัฐบาลให้รีบยุติสงครามโดยเร็ว ไม่ว่าจะใช้วิธีใดๆทั้งสิ้น เขาจึงฟังนายพลโกบตัดสินใจครั้งสำคัญ อนุมัติให้ใช้ระเบิดได้ ดังนั้น เวลาตี 2 ของวันที่ 6 สิงหาคม 1945 นักบินที่ได้รับการฝึกฝนอย่างดี นำเครื่องบิน บี 29 มุ่งเข้าสู่เมืองฮิโรชิมา ในเวลา 8.45 น. เมื่อเครื่องบินอยู่เหนือเมือง ระเบิดลูกแรกชื่อว่าเจ้าหนูน้อย จึงถูกปล่อยออกจากใต้ท้องของเครื่องบิน ใช้เวลาตกลงมา 43 วินาทีจึงระเบิด นักบินรายงานว่า เขาเห็นแต่กลุ่มไอน้ำที่กระจายพวยพุ่งขึ้นมา โดยไม่เห็นความเสียหายที่เกิดขึ้นด้านล่าง ส่วนเมืองด้านล่างนั้น พื้นที่เกือบ 90 เปอร์เซนต์ถูกทำลายเรียบ พลเรือนกว่าแสนคนสูญเสียชีวิตในทันที อีก 3 วันต่อมา ลูกระเบิดอีกลูกหนึ่ง เรียกว่า เจ้าหมูอ้วน ถูกหย่อนเหนือเมืองนางาซากิ ความเสียหายไม่น้อยกว่าฮิโรชิมา ทำให้ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข สงครามโลกครั้งที่สองจึงจบลง คลิกครับ ( windows media 5 MB) |
เร่งสะสมอาวุธ อเมริกาเป็นเจ้าของอาวุธมหาประลัยนี้ ประเทศเดียว จนถึงปี 1949 ประเทศโซเวียตก็ทดลองระเบิดปรมาณู พร้อมกับระเบิดที่มีความหลายแรงกว่าเก่าอีกหลายเท่า เรียกว่าระเบิดไฮโดรเจน ไม่นานนัก ทั้งสองประเทศก็เร่งแข่งขันด้านอาวุธ และมีลูกระเบิดปรมาณูอยู่ในครอบครองมากมายหลายหมื่นลูก ส่วนนายโอเพนไฮเมอร์ ซึ่งหลังจากจบโครงการแล้ว เขาต่อต้านการสะสมอาวุธมหาประลัยนี้อย่างหัวชนฝา แต่เขาก็ไม่สามารถจะยับยั้งมันได้อีกแล้ว การถกเถียงปัญหาทางด้านจริยธรรมมากมายจึงเกิดขึ้นว่า ระเบิดนี้มีแต่โทษอย่างเดียวหรือ ? เพราะว่าหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองยุติ ยังไม่มีสงครามใหญ่เกิดขึ้นอีกเลย ทั้งนี้เป็นเพราะในใจของผู้นำประเทศทุกคนล้วนเกิดความกลัวที่จะเป็นประเทศแรกที่เปิดฉากสงครามมหาประลัยขึ้น คลิกครับ ( windows media 3 MB) |
โปรแกรมเพื่อใช้ในการดูวีดีโอ |
|
นามสกุล WMV ถ้าดูไม่ได้ให้ดาวโลด วินโดว์มีเดียเพลย์เยอร์ 9 ดูรุ่นของวินโดว์ด้วยนะครับ |
Windows Media Player 9 Series for Windows 98 Second Edition, Me, and 2000 English (ขนาด 14 MB) Windows Media Player 9 Series for Windows XP English ( ขนาด 10 MB) |
นามสกุล MOV ถ้าดูไม่ได้ให้ดาวโลด | QuickTime Pro V6.3 ขนาด 11 MB เป็นไฟล์ Zip ให้คลายซิบออก ก่อน Install กด Keygen หาเลขก่อน แล้วนำไปใส่ในโปรแกรมจึงจะใช้ได้ คลิกครับ |
นามสกุล RM เป็นของ real player ถ้าดูไม่ได้ให้ดาวโลด |
หน้าที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30
ฟิสิกส์ราชมงคลขอขอบคุณรายการ
UBC ที่นำวีดีโอบางส่วนมาใช้ในการศึกษาทางฟิสิกส์