ธาตุ
คือ สารบริสุทธิ์ที่ประกอบด้วยอะตอมชนิดเดียวกัน มีสถานะต่าง ๆ ทั้งของแข็ง
ของเหลวและก๊าซ ธาตุต่างชนิดกันสามารถรวมตัวหรือทำปฏิกิริยากันกลายเป็นสารประกอบชนิดต่าง
ๆ ด้วยอัตราส่วนโดยมวลคงที่
เนื่องจากธาตุต่าง ๆ ในปัจจุบันนี้มีจำนวนมากกว่า
105 ธาตุ แต่ละธาตุมีสมบัติแตกต่างกันเป็นส่วนใหญ่ การที่จะศึกษาสมบัติของธาตุแต่ละชนิดนั้นเป็นเรื่องยุ่งยากและเสียเวลา
ในทางปฏิบัติจึงจัดธาตุเป็นหมวดหมู่โดยตั้งเกณฑ์กำหนดต่าง ๆ กัน เช่น โดยอาศัยการนำไฟฟ้า
โดยอาศัยสถานะ โดยอาศัยการจัดเรียงอิเล็กตรอน เป็นต้น ในบทนี้จะจัดธาตุออกเป็นหมวดหมู่โดยอาศัยสมบัติคลอไรด์
ออกไซด์ และซัลไฟด์ของธาตุ โดยในขั้นแรกจะศึกษาสมบัติของสารประกอบดังกล่าวสำหรับธาตุเพียง
20 ธาตุแรก แล้วนำสมบัติที่ได้มาจัดธาตุเป็นหมวดหมู่ ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาสมบัติของธาตุอื่น
ๆ และเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดตารางธาตุที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
สมบัติของธาตุ
ในที่นี้จะได้ศึกษาสมบัติของธาตุในแง่ของความเป็นมันวาว การนำความร้อน การนำไฟฟ้า ความเปราะ (หรือความเหนียว) จุดหลอมเหลว จุดเดือด รวมทั้งสมบัติความเป็นกรด - เบสของออกไซด์ ซึ่งใช้เป็นเกณฑ์สำหรับการแบ่งธาตุออกเป็นโลหะและอโลหะ
ตารางที่ 5.1 เปรียบเทียบสมบัติของโลหะและอโลหะ
สมบัติของโลหะ
|
สมบัติของอโลหะ
|
1.มีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง ยกเว้น ปรอทซึ่งเป็นของเหลว | 1.ที่อุณหภูมิห้องมีได้ทุกสถานะทั้งของแข็ง ของเหลวและก๊าซ |
2.เมื่อขัดจะมีความเป็นมันวาว | 2. เมื่อขัดจะไม่มีความมันวาว |
3.นำไฟฟ้าและนำความร้อนได้ดี แต่การนำไฟฟ้าจะลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น | 3. ไม่นำไฟฟ้าและความร้อน ยกเว้นบางตัว เช่นแกร์ไฟต์นำไฟฟ้าได้ |
4.เคาะจะมีเสียงกังวาน | 4. เคาะจะไม่มีเสียงกังวาน |
5.แข็งและเหนียวสามารถตีแผ่ให้เป็นแผ่นหรือดึงเป็นเส้นได้ | 5.ส่วนมากเปราะไม่สามารถจะทำให้เป็นแผ่นหรือเป็นเส้นได้ |
6. มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง | 6. ส่วนมากมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำ |
7. มีความหนาแน่นและความถ่วงจำเพาะสูง | 7. ส่วนมากมีความหนาแน่นและความถ่วงจำเพาะต่ำ |
8.เป็นพวกชอบให้อิเล็กตรอน ทำให้เกิดเป็นไอออนบวก | 8. เป็นพวกชอบรับอิเล็กตรอน ทำให้เกิดเป็นไอออนลบ |
9.เกิดเป็นสารประกอบเช่น ออกไซด์ คลอไรด์ ซัลไฟด์ และไฮไดร์ได้ | 9. เกิดเป็นสารประกอบ เช่น ออกไซด์ คลอไรด์ ซัลไฟด์ และไฮไดร์ได้ |
10.ส่วนใหญ่จำทำปฏิกิริยากับกรดเจือจางให้ก๊าซไฮโดรเจน | 10 ไม่ทำปฏิกิริยากับกรดเจือจาง |
โลหะมีสมบัติบางอย่างคล้ายกับสารประกอบไอออนิก เช่นเป็นของแข็ง มีจุดหลอมเหลวสูง และมีสมบัติเฉพาะตัวของโลหะเช่น นำไฟฟ้า นำความร้อน รีดเป็นแผ่น ดึงเป็นเส้น รวมทั้งสะท้อนแสงได้ อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบการนำไฟฟ้าของโลหะกับสารไอออนิกจะพบว่าต่างกันมาก สารไอออนิกที่หลอมเหลวจะมีการนำไฟฟ้าได้น้อยกว่าโลหะมาก แม้ว่าจะมีอุณหภูมิสูง
การที่โลหะเป็นพวกชอบให้อิเล็กตรอน เพราะมีพลังงานไอออไนเซชันต่ำ แต่พวกอโลหะมีพลังงานไอออไนเซชัน และอิเล็กโตรเนกาติวิตีสูง จึงเป็นพวกชอบรับอิเล็กตรอน
การที่โลหะนำความร้อนและไฟฟ้าได้ดี เพราะมีพันธะโลหะซึ่งเวเลนซ์อิเล็กตรอนของโลหะสามารถเคลื่อนที่นำไฟฟ้าได้
การที่ทำโลหะให้เป็นแผ่นได้เพราะการตีโลหะแผ่ออกเป็นการผลักอนุภาคของโลหะให้เลื่อนไถลผ่านกันโดยไม่หลุดออกจากกันเนื่องจากมีพันธะหรือมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนยึดอนุภาคเหล่านี้ไว้ด้วยกัน
นอกจากสมบัติเกี่ยวกับความเป็นโลหะแล้ว ยังได้ศึกษาสมบัตอื่น ๆ อีกบางประการเพื่อใช้ประกอบการจัดธาตุออกเป็นหมวดหมู่ สถานะ สี ความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยา จุดหลอมเหลวและความหนาแน่น เป็นต้น ดังในตารางที่ 5.2
ตารางที่ 5.2 สมบัติบางประการของ 20 ธาตุแรก เรียงตามมวลอะตอม
ธาตุ
|
สัญลักษณ์
|
มวลอะตอม
|
ลักษณะที่อุณหภูมิปกติ
|
mp.(0C) |
d (g/cm3)
|
ความเป็นโลหะ-อโลหะ
|
ความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยา
|
ไฮโดรเจน
|
H
|
1.008
|
ก๊าซไม่มีสี
|
-259
|
0.07*
|
อโลหะ
|
มาก
|
ฮีเลียม
|
He
|
4.003
|
ก๊าซไม่มีสี
|
-272
|
0.15*
|
โลหะ
|
ไม่เกิด
|
ลิเทียม
|
Li
|
6.94
|
ของแข็งสีเงิน
|
180
|
0.53
|
โลหะ
|
มาก
|
เบริลเลียม |
Be
|
9.01
|
ของแข็งสีเงิน
|
1280
|
1.45
|
โลหะ
|
ปานกลาง
|
โบรอน
|
B
|
10.81
|
ของแข็งสีดำ
|
2030
|
2.34
|
กึ่งโลหะ
|
ปานกลาง
|
คาร์บอน
|
C
|
12.01
|
ของแข็งสีดำ
|
3730
|
2.26
|
อโลหะ
|
น้อย
|
ไนโตรเจน
|
N
|
14.01
|
ก๊าซไม่มีสี
|
-210
|
0.81*
|
อโลหะ
|
ปานกลาง
|
ออกซิเจน
|
O
|
16.00
|
ก๊าซไม่มีสี
|
-219
|
1.15*
|
อโลหะ
|
มาก
|
ฟลูออรีน
|
F
|
19.00
|
ก๊าซสีเหลืองอ่อน
|
-220
|
1.51*
|
อโลหะ
|
มาก
|
นีออน
|
Ne
|
20.18
|
ก๊าซไม่มีสี
|
-249
|
1.20*
|
อโลหะ
|
ไม่เกิด
|
โซเดียม
|
Na
|
22.99
|
ของแข็งสีเงิน
|
98
|
0.97
|
โลหะ
|
มาก
|
แมกนีเซียม
|
Mg
|
24.31
|
ของแข็งสีเงิน
|
650
|
1.74
|
โลหะ
|
มาก
|
อะลูมิเนียม
|
Al
|
26.98
|
ของแข็งสีเงิน
|
660
|
2.70
|
โลหะ
|
ปานกลาง
|
ซิลิคอน
|
Si
|
28.09
|
ของแข็งสีเทา
|
1410
|
2.33
|
กึ่งโลหะ
|
ปานกลาง
|
ฟอสฟอรัส
|
P
|
30.97
|
ของแข็งสีขาว
|
44
|
1.82
|
อโลหะ
|
มาก
|
กำมะถัน
|
S
|
32.06
|
ของแข็งสีเหลือง
|
113
|
1.96
|
อโลหะ
|
ปานกลาง
|
คลอรีน
|
Cl
|
35.45
|
ก๊าซสีเขียวอ่อน
|
-101
|
1.56*
|
อโลหะ
|
มาก
|
โพแทสเซียม
|
K
|
39.10
|
ของแข็งสีเงิน
|
64
|
0.86
|
โลหะ
|
มาก
|
อาร์กอน
|
Ar
|
39.95
|
ก๊าซไม่มีสี
|
-189
|
1.40
|
อโลหะ
|
ไม่เกิด
|
แคลเซียม
|
Ca
|
40.08
|
ของแข็งสีขาว
|
838
|
1.55
|
โลหะ
|
มาก
|
mp. = จุดหลอมเหลว d = ความหนาแน่น * = ความหนาแน่นขณะเป็นของเหลว
นอกจากนี้ยังได้พิจารณาสมบัติเกี่ยวกับความมันวาว การนำความร้อน การนำไฟฟ้า และความเหนียวของธาตุบางชนิด ดังในตารางที่ 5.3
ตารางที่ 5.3 สมบัติอื่น ๆ บางประการของธาตุบางชนิด
ธาตุ
|
ความมันวาว
|
การนำความร้อน
|
การนำไฟฟ้า
|
ความเหนียว
|
Al
|
เป็นมันวาว
|
นำได้ดี
|
นำได้ดี
|
เหนียว
|
Mg
|
เป็นมันวาว
|
นำได้ดี
|
นำได้ดี
|
เหนียว
|
C(แกรไฟต์)
|
ไม่มันวาว
|
นำได้ดี
|
นำได้ดี
|
เปราะ
|
S
|
ไม่มันวาว
|
ไม่นำ
|
ไม่นำ
|
เปราะ
|
P
|
ไม่มันวาว
|
ไม่นำ
|
ไม่นำ
|
เปราะ
|
จะเห็นได้ว่า ธาตุที่เป็นโลหะจะมีสมบัติของโลหะทั้งหมดดังที่กล่าวมาแล้ว แต่มีธาตุหลายชนิดที่มีสมบัติทั้งของโลหะและอโลหะผสมกัน คือสมบัติบางประการเป็นโลหะและสมบัติบางประการเป็นอโลหะ มีธาตุไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่มีสมบัติของโลหะ หรืออโลหะอย่างใดอย่างหนึ่งครบถ้วนทุกประการ อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าธาตุต่าง ๆ จะมีทั้งสมบัติของโลหะและอโลหะผสมกัน ธาตุใดที่มีสมบัติส่วนใหญ่ของโลหะจะจัดว่าเป็นโลหะ และธาตุที่มีสมบัติส่วนใหญ่ของอโลหะจะจัดว่าเป็นอโลหะ ในกรณีที่ธาตุนั้นมีสมบัติของโลหะและอโลหะก้ำกึ่งกัน จนไม่สามารถจำแนกได้ว่าเป็นโลหะหรืออโลหะ ธาตุประเภทนั้นจะจัดไว้เป็นอีกกลุ่มหนึ่งต่างหากเรียกว่าธาตุกึ่งโลหะ ดังเช่น ในตารางที่ 5.2
หมายเหตุ ธาตุกึ่งโลหะยังอาจจะจัดได้เป็น 2 พวก ตามเกณฑ์ที่กำหนดที่แตกต่างกัน คือใช้การนำไฟฟ้าและใช้สมบัติของออกไซด์
กรณีที่ใช้การนำไฟฟ้าเป็นเกณฑ์ จะแบ่งเป็นโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะดังนี้
โลหะ หมายถึง ธาตุที่นำไฟฟ้าไดดีในทุกทิศทาง และนำไฟฟ้าได้น้อยลงเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น (โลหะอาจจะจัดเป็นโลหะเบา ซึ่งมีความหนาแน่นน้อย เช่น Li , Na , K และโลหะหนักซึ่งมีความหนาแน่นมาก เช่น Fe , Cu , Zn)
อโลหะ หมายถึง ธาตุที่ไม่นำไฟฟ้า หรือนำไฟฟ้าได้น้อยมาก
กึ่งโลหะ หมายถึง ธาตุที่นำไฟฟ้าได้บ้างที่อุณหภูมิปกติ และนำไฟฟ้าได้มากขึ้นเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น ตัวอย่างของธาตุที่เป็นโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ
สำหรับธาตุกึ่งโลหะในแง่ออกไซด์ จะได้กล่าวถึงรายละเอียดในหัวข้อสารประกอบออกไซด์ต่อไป
โดยอาศัยสมบัติต่าง ๆของธาตุที่กล่าวมาแล้ว จะพบว่าธาตุทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบันจะมีธาตุโลหะประมาณ 3/4 ของธาตุทั้งหมด
นอกจากนี้ยังพบว่าธาตุบางชนิดถึงแม้ว่าจะเป็นอะตอมชนิดเดียวกัน แต่อาจจะมีสมบัติต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน ถ้าธาตุดังกล่าวนั้นมีโครงสร้างของการจัดเรียงอะตอมต่างกัน เช่น ธาตุคาร์บอนจะมีสมบัติพิเศษกว่าธาตุอื่น ๆ คือ คาร์บอนที่อยู่ในรูปแกร์ไฟต์จะมีสมบัติของโลหะ เช่น นำไฟฟ้าและนำความร้อนได้ แต่คาร์บอนที่เป็นเพชร จะมีสมบัติแตกต่างจากแกร์ไฟต์โดยสิ้นเชิงในแง่ของการนำไฟฟ้าและความร้อน คือไม่นำไฟฟ้าและไม่นำความร้อนซึ่งจัดว่าเป็นอโลหะ นอกจากคาร์บอนแล้วยังมีธาตุอื่น ๆ ซึ่งมีลักษณะในทำนองเดียวกันนี้อีก เช่น กำมะถัน ฟอสฟอรัส เป็นต้น
จากสมบัติของธาตุในตารางที่ 5.2 และ 5.3 พบว่า ถ้าใช้ความเป็นโลหะเป็นเกณฑ์ในการจัดกลุ่มธาตุที่มีสมบัติคล้ายคลึงกัน จะจัดได้ 3 กลุ่มคือ โลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ ซึ่งสามารถแบ่งย่อยต่อไปได้อีกเมื่อใช้สถานะเป็นเกณฑ์ รวมทั้งเมื่อใช้ความแข็ง สี และความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยา ก็จะสามารถแบ่งกลุ่มย่อยต่อไปได้อีก ดังแผนภาพในรูปที่ 5.2
รูปที่ 5.2 แผนผังการจัดธาตุ 20 ธาตุแรกออกเป็นหมวดหมู่
อย่างไรก็ตามการจัดธาตุออกเป็นหมวดหมู่ในรูปที่ 5.2 ยังไม่สมบูรณ์ เนื่องจากธาตุในแต่ละกลุ่มย่อยยังมีสมบัติบางประการที่แตกต่างออกไป รวมทั้งการจัดหมวดหมู่ในลักษณะดังกล่าวนี้ก็ยังไม่ได้ให้การศึกษาสมบัติต่าง ๆ ของธาตุทั้ง 105 ธาตุง่ายขึ้นจึงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
สารบัญ
สมบัติของธาตุ ...
. ก๊าซเฉื่อย . .
การจัดธาตุเป็นหมวดหมู่ ...
. .การจัดธาตุเป็นหมวดหมู่ของนักเคมียุคต่างๆ .
|
|
1. ไฟฟ้าสถิต | 2. สนามไฟฟ้า |
3. ความกว้างของสายฟ้า | 4. ตัวเก็บประจุและการต่อตัวต้านทาน |
5. ศักย์ไฟฟ้า | 6. กระแสไฟฟ้า |
7. สนามแม่เหล็ก | 8.การเหนี่ยวนำ |
9. ไฟฟ้ากระแสสลับ | 10. ทรานซิสเตอร์ |
11. สนามแม่เหล็กไฟฟ้าและเสาอากาศ |
12. แสงและการมองเห็น |
13. ทฤษฎีสัมพัทธภาพ | 14. กลศาสตร์ควอนตัม |
15. โครงสร้างของอะตอม | 16. นิวเคลียร์ |
ครั้งที่
เรื่องการทดลองเสมือนจริง