ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วว่าการจัดหมวดหมู่ของธาตุโดยใช้สมบัติเกี่ยวกับความเป็นโลหะนั้นยังไม่สมบูรณ์เพียงพอ จึงต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไป ซึ่งในที่นี้เป็นการศึกษาสมบัติบางประการของสารประกอบคลอไรด์และออกไซด์ รวมทั้งซัลไฟด์ เพื่อนำมาจัดหมวดหมู่ของธาตุเปรียบเทียบกับการใช้สมบัติความเป็นโลหะ
สมบัติของสารประกอบคลอไรด์
สารประกอบคลอไรด์ หมายถึง สารประกอบธาตุคู่ระหว่างธาตุคลอรีนกับธาตุอื่น ๆ เช่น NaCl ,CaCl2 , HCl และ CCl4เป็นต้น
สารประกอบคลอไรด์สามารถเตรียมได้โดยตรง โดยผ่านก๊าซคลอรีนแห้งไปบนธาตุที่กำลังร้อน ดังนั้นในขั้นแรกจึงต้องเตรียมก๊าซคลอรีนก่อนแล้วจึงผ่านก๊าซคลอรีนที่ได้นั้นลงไปบนธาตุที่ร้อนดังกล่าว
การเตรียมก๊าซคลอรีนในห้องปฏิบัติการ ใช้ปฏิกิริยาระหว่างโปตัสเซียมเพอร์แมงกาเนต (KMnO4) กับก๊าซไฮโดรคลอริก(HCl) เข้มข้นประมาณ 10 mol/dm3 ซึ่งเกิดปฏิกิริยาต่อไปนี้
KMnO4 (s) + 16
HCl (aq) 2KCl (aq) + 2MnCl2
(aq) + 8H2 (l) + 5Cl2 (g)
หมายเหตุ ก๊าซคลอรีนเป็นก๊าซพิษ ดังนั้นการเตรียมจึงต้องทำอย่างระมัดระวัง
ก๊าซคลอรีนที่เกิดขึ้นจะผ่านสารดูดความชื้น เพื่อให้ได้ก๊าซคลอรีนแห้งซึ่งผ่านไปทำปฏิกิริยากับธาตุที่กำลังร้อนต่อไป
รูปที่ 5.3 การจัดเครื่องมือสำหรับเตรียมสารประกอบคลอไรด์
หมายเหตุ ก. ใช้สาร CaCl2 เป็นสารดูดความชื้น
ข. สารละลาย NaOH ใช้กำจัด Cl2 ที่มากเกินพอซึ่งเหลือจากการเกิดปฏิกิริยา
สำหรับการเตรียมก๊าซ Cl2โดยวิธีนี้
อาศัยหลักการออกซิไดส์กรด HCl ด้วยตัวออกซิไดซ์ชนิดต่าง ๆ ดังนั้นจึงอาจใช้ตัวออกซิไดซ์อื่น
ๆ แทน KMnO4
ได้ เช่นใช้
MnO2 , K2Cr2O7 , Ca(OCl)2
, PbO2 เป็นต้น ดังสมการต่อไปนี้
MnO2 (s) + 4 HCl
(aq) MnCl2 (aq) + 2H2O
(l) + Cl2 (g)
K2Cr2O7(s)
+ 14 HCl (aq) 2KCl (aq) + 2CrCl3
(aq) + 7H2O (l) + 3 Cl2 (g)
Ca(OCl)2
(s) + 4 HCl (aq) CaCl2
(aq) + 2H2O (l) + 2Cl2 (g)
PbO2(s)
+ 4 HCl (aq) PbCl2 (aq)
+ 2H2O (l) + 2Cl2 (g)
สำหรับในการเตรียมก๊าซ Cl2 ในอุตสาหกรรม นิยมแยกสลายสารละลายโซเดียมคอลไรด์ (NaCl) ด้วยกระแสไฟฟ้า
ตัวอย่างของสารประกอบคลอไรด์ที่เตรียมได้โดยตรงระหว่างปฏิกิริยาของ Cl2กับธาตุ
2Al(s) + 3 Cl2(g)
2AlCl3 (s)
2P(s)
+ 5 Cl2(g) 2PCl5
(s)
2K(s)
+ Cl2(g) 2KCl (s)
Ca(s)
+ Cl2(g) CaCl2
(s)
สมบัติของสารประกอบคลอไรด์
ได้แก่ สมบัติเกี่ยวกับจุดหลอมเหลว สถานะ การละลายน้ำ ความเป็นกรดเบสของสารละลาย และการแตกตัวเป็นไอออน
การแตกตัวเป็นไอออนทดสอบได้โดยใช้สารละลาย AgNO3 ซึ่งถ้ามีCl- จะเกิดตะกอนของ AgCl ดังสมการ
Ag+(aq) + Cl-
(aq) AgCl (s)
ปฏิกิริยานี้จัดว่าเป็นวิธีทดสอบคลอไรด์ไอออนวิธีหนึ่ง
ตารางที่ 5.4 สมบัติบางประการของสารประกอบคอลไรด์ของ 20 ธาตุแรก
ธาตุ |
มวลอะตอม |
สูตร |
สมบัติของสารประกอบคลอไรด์
|
||
จุดหลอมเหลว (0C) |
สถานะ |
ความเป็นกรด-เบสของสารละลาย |
|||
H
|
1.008
|
HCl
|
-115
|
ก๊าซ
|
กรด
|
He
|
4.003
|
-
|
-
|
-
|
-
|
Li
|
6.94
|
LiCl
|
605
|
ของแข็ง
|
กลาง
|
Be
|
9.01
|
BeCl2
|
405
|
ของแข็ง
|
กรด
|
B
|
10.81
|
BCl3
|
-107
|
ก๊าซ
|
กรด
|
C
|
12.01
|
CCl4
|
-23
|
ของเหลว
|
ไม่ละลายน้ำ
|
N
|
14.01
|
NCl3
|
<
-40
|
ของเหลว
|
ไม่ละลายน้ำ
|
O
|
16.00
|
Cl2O
|
-20
|
ก๊าซ
|
กรด
|
F
|
19.00
|
ClF
|
-154
|
ก๊าซ
|
กรด
|
Ne
|
20.18
|
-
|
-
|
-
|
-
|
Na
|
22.99
|
NaCl
|
801
|
ของแข็ง
|
กลาง
|
Mg
|
24.31
|
MgCl2
|
714
|
ของแข็ง
|
กลาง
|
Al
|
26.98
|
AlCl3
|
190
|
ของแข็ง
|
กรด
|
Si
|
28.09
|
SiCl4
|
-70
|
ของเหลว
|
กรด
|
P
|
30.97
|
PCl5
|
167
|
ของแข็ง
|
กรด
|
S
|
32.06
|
SCl2
|
-78
|
ของเหลว
|
กรด
|
Cl
|
35.45
|
Cl2
|
-101
|
ก๊าซ
|
กรด
|
K
|
39.10
|
KCl
|
770
|
ของแข็ง
|
กลาง
|
Ar
|
39.95
|
-
|
-
|
-
|
-
|
Ca
|
40.08
|
CaCl2
|
782
|
ของแข็ง
|
กลาง
|
จากการจัดธาตุเป็น 2 ประเภทคือ โลหะและอโลหะ ทำให้สามารถแบ่งสารประกอบคลอไรด์ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ คลอไรด์ของโลหะและคลอไรด์ของอโลหะดังนี้
ก. คลอไรด์ของโลหะ ได้แก่ LiCl , BeCl2 , NaCl , MgCl2 , AlCl3 , KCl , และ CaCl2
ข. คลอไรด์ของอโลหะ ได้แก่ HCl , BCl3 , CCl4 , NCl3 , Cl2O , ClF ,PCl5 , SiCl4 และ SCl2
นอกจากจะแบ่งสารประกอบคลอไรด์เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังกล่าวแล้ว ยังสามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้อีก เพื่อให้การจัดหมวดหมู่มีความสมบูรณ์มากที่สุด โดยใช้สมบัติของสารประกอบคลอไรด์ เช่น สถานะ จุดหลอมเหลว ความเป็นกรดเบสของสารละลายเป็นต้น
เมื่อใช้ความเป็นกรด - เบสของสารละลาย จะแบ่งกลุ่มย่อยได้ดังนี้
ก. คลอไรด์ของโลหะ
สารละลายเป็นกรด ได้แก่ AlCl3 , BeCl2
สารละลายเป็นกลาง ได้แก่ LiCl , NaCl , MgCl2 , KCl , และ CaCl2
สารละลายเป็นเบส -
ข.คลอไรด์ของอโลหะ
สารละลายเป็นกรด ได้แก่ HCl , BCl3 , Cl2O , ClF ,PCl5 , SiCl4 และ SCl2
สารละลายเป็นกลาง ได้แก่ -
สารละลายเป็นเบส ได้แก่ -
เมื่อใช้สถานะและจุดหลอมเหลว จะแบ่งกลุ่มย่อยได้ดังในตารางที่ 5.5
ตารางที่ 5.5 การแบ่งสารประกอบคลอไรด์เป็นกลุ่มโดยใช้จุดหลอมเหลว
คลอไรด์ที่เป็นของแข็ง และมีจุดหลอมเหลวสูง |
คลอไรด์ที่เป็นของแข็งและ มีจุดหลอมเหลวค่อนข้างสูง |
คลอไรด์ที่เป็นของเหลวหรือก๊าซ และมีจุดหลอมเหลวต่ำ |
|||
สูตร
|
จุดหลอมเหลว
(0C)
|
สูตร
|
จุดหลอมเหลว
(0C)
|
สูตร
|
จุดหลอมเหลว
(0C)
|
LiCl
|
610
|
AlCl3
|
198
|
SCl2
|
-80 |
NaCl
|
801
|
PCl5
|
148
|
CCl4
|
-23
|
KCl
|
770
|
ClF |
-154
|
||
BeCl2
|
405
|
Cl2O
|
-20
|
||
MgCl2
|
712
|
BCl3
|
-107
|
||
CaCl2
|
772
|
NCl3
|
-27
|
||
SiCl4
|
-68
|
||||
HCl
|
-114
|
จากตารางเมื่อพิจารณาคลอไรด์ของ 20 ธาตุแรก จะพบว่า
ก. คลอไรด์ที่เป็นของแข็งและมีจุดหลอมเหลวสูงคือ คลอไรด์ของโลหะ
ข. คลอไรด์ที่เป็นของเหลวและก๊าซซึ่งมีจุดหลอมเหลวต่ำ คือคลอไรด์ของอโลหะ
เมื่อนำคลอไรด์มาจัดรวมกันเป็นหมวดหมู่ โดยจัดคลอไรด์ที่มีสูตรชนิดเดียวกันและสมบัติเช่น ความเป็นกรดเบส และจุดหลอมเหลวคล้ายกันอยู่ในช่องแนวดิ่งเดียวกันจะได้ดังนี้
HCl |
He |
||||||
LiCl |
BeCl2 |
BCl3 |
CCl4 |
NCl3 |
OCl2 |
FCl |
Ne |
NaCl |
MgCl2 |
AlCl3 |
SiCl4 |
PCl5 |
SCl2 |
Cl-Cl |
Ar |
KCl |
CaCl2 |
รูปที่ 5.4 การจัดกลุ่มสารประกอบคลอไรด์โดยใช้สมบัติเป็นเกณฑ์
จะเห็นได้ว่าเมื่อจัดกลุ่มธาตุโดยใช้สูตรและสมบัติของสารประกอบคลอไรด์เป็นเกณฑ์ จะจัดกลุ่มธาตุได้ 8 กลุ่ม ตามแนวดิ่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะสอดคล้องกับการจัดกลุ่มธาตุโดยใช้ความเป็นโลหะ ความแข็งและความไวเป็นเกณฑ์ แต่ก็มีบางธาตุที่เปลี่ยนไปอยู่ในกลุ่มใหม่ เช่น K Al B Si O บางธาตุที่จัดกลุ่มไม่ได้ เมื่อพิจารณาสมบัตคลอไรด์กํสามารถจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันได้ เช่น P กับ N และ S กับ C ถ้าเรียงตามมวลอะตอม จะต้องแยก Ar ออกจาก He และ Ne ซึ่งก็แสดงว่าการใช้มวลอะตอมเป็นเกณฑ์ในการจัดกลุ่มยังมีปัญหาอีกบางส่วน ทำให้ต้องหาวิธีการอื่น ๆ อีกต่อไป
สารประกอบคลอรีนในชีวิตประจำวัน
สารประกอบของคลอรีนส่วนใหญ่จะพบในชีวิตประจำวันเช่น
ก. NaCl ใช้ในการปรุงแต่งรสอาหาร และถนอมอาหาร ในต่างประเทศใช้สำหรับละลายน้ำแข็งในหิมะ
ข. CaCl2 ใช้ในเครื่องทำความเย็นในอุตสาหกรรมห้องเย็น ใช้ทำฝนเทียม
ค. KCl ใช้ผสมทำปุ๋ย
ง. NH4Cl ใช้เป็นส่วนประกอบของถ่านไฟฉาย และใช้เป็นน้ำประสานดีบุก
จ. ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตสารอื่น ๆ เช่น ผลิตโซดาไฟ (NaOH) โดยการแยกสารละลาย NaCl ด้วยไฟฟ้า ซึ่งจะได้ Cl2 และH2 เป็นผลพลอยได้ เมื่อ Cl2 และ H2 เกิดปฏิกิริยารวมกันโดยตรงจะได้ก๊าซ HCl ซึ่งละลายน้ำได้เป็นกรดไฮโดรคลอริก ที่นำไปใช้ในอุตสาหกรรมได้ เช่น แช่เหล็กกล้า เพื่อขจัดสนิมก่อนที่จะฉาบด้วยสารกันสนิม ก๊าซ Cl2 ยังใช้ทำปูนคลอรีน เช่น โซเดียมไฮโปคลอไรด์ แคลเซียมไฮโปคลอไรด์ ซึ่งเป็นสารเคมีฟอกขาวสำหรับฟอกสีหรือฟอกขาวเยื่อกระดาษและใช้ฆ่าแบคทีเรีย และสาหร่ายในน้ำปะปา และในสระว่ายน้ำ นอกจากนี้ NaCl ยังใช้ผลิต NaHCO3 (โซดาทำขนม) และ Na2CO3 (โซดาแอช)
ประโยชน์อื่น ๆ เช่น CCl4ใช้เป็นน้ำยาดับเพลิงและซักแห้ง SnCl4ใช้ในการทำสี CaCl2 ใช้ดูดความชื้น CCl4และ CHCl3 ใช้เป็นตัวทำละลายในการสกัดสารอินทรีย์ เป็นต้น
สำหรับโทษของสารประกอบคลอไรด์ก็มีมากเช่นเดียวกัน เช่น
ก. DDT และ C6H6Cl6 (hexa chlorobenzene) ซึ่งเป็นย่าฆ่าแมลงประเภทสลายตัวช้า ทำให้มีพิษตกค้างสะสมอยู่ในร่างกายได้นานเป็นอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ประกาศห้ามใช้แล้วในปัจจุบัน
DDT ย่อมาจาก Dichloro Diphenyl Trichloro ethane หรือเรียกชื่อตามระบบ IUPAC คือ
2, 2-bis- (p-chlorophynyl) -1, 1 , 1- trichloro ethane มีสูตรโครงสร้างดังนี้
สูตรโมเลกุล
(C6H4Cl)2CHCCl3
ข. CCl4และ CHCl3(คลอโรฟอร์ม) ไอของมันเป็นอันตรายต่อระบบหายใจ
ค. CoCl2 ฟอสจีน หรือคาร์บอนิลคลอไรด์ S(C6H5)2Cl2(dichloro diphenyl sulfide หรือก๊าซมัสตาร์ด ) , ClCHCHAsCl2 (chlorovinyl dichloro arsine หรือ Lawisite) และ (C6H5)2AsCl(diphenylchloro arsine) พวกนี้เป็นก๊าซพิษ เป็นอันตรายต่อร่างกายบางชนิดทำให้เกิดการจามและอาเจียน บางชนิด เช่น CoCl2 และก๊าซมัสตาร์ดใช้เป็นก๊าซพิษที่ร้ายแรงและเคยใช้ในสงครามโลกครั้งที่สอง
ง. C6H5COCH2Cl(chloro acetophenone) ใช้เป็นก๊าซน้ำตา
จ. ฟรีออน ซึ่งเป็นสารประกอบที่เกิดจาก Cl F
และ Br เข้าแทนที่ H ใน CH4
หรือ C2H6
เช่น CFCl3
, CF2Cl2 , C2FCl2 ซึ่งเรียกว่า
CFCs ใช้เป็นสารทำความเย็น
และเป็นสารขับดันในกระป๋องฉีดพ่นของเหลวให้เป็นละอองฝอย (สเปรย์) สารประกอบโบรโมคลอโรไดฟลูออโรมีเทน
หรือ BCF ใช้ดับเพลิงรถยนต์และเครื่องบิน สารเหล่านี้ทำให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม
สารบัญ
สมบัติของธาตุ ...
. ก๊าซเฉื่อย . .
การจัดธาตุเป็นหมวดหมู่ ...
. .การจัดธาตุเป็นหมวดหมู่ของนักเคมียุคต่างๆ .
|
|
1. ไฟฟ้าสถิต | 2. สนามไฟฟ้า |
3. ความกว้างของสายฟ้า | 4. ตัวเก็บประจุและการต่อตัวต้านทาน |
5. ศักย์ไฟฟ้า | 6. กระแสไฟฟ้า |
7. สนามแม่เหล็ก | 8.การเหนี่ยวนำ |
9. ไฟฟ้ากระแสสลับ | 10. ทรานซิสเตอร์ |
11. สนามแม่เหล็กไฟฟ้าและเสาอากาศ |
12. แสงและการมองเห็น |
13. ทฤษฎีสัมพัทธภาพ | 14. กลศาสตร์ควอนตัม |
15. โครงสร้างของอะตอม | 16. นิวเคลียร์ |
ครั้งที่
เรื่องการทดลองเสมือนจริง