คำศัพท์ประจำสัปดาห์
absorption of colour
การดูดกลืนสี คือการที่แผ่นกรองแสงดูดกลืนแสงบางความยาวคลื่นไว้ และปล่อยแสงความยาวคลื่นที่เหลือให้ผ่านแผ่นกรองแสงออกไป ตัวอย่างเช่น แผ่นกรองแสงสีแดงจะดูดกลืนความยาวคลื่นของแสงสีอื่นไว้ แล้วปล่อยให้ความยาวคลื่นแสงสีแดงเท่านั้นผ่านออกไป ความเข้มของแสงที่ผ่านแผ่นกรองออกไปจะมีความเข้มน้อยกว่าความเข้มของแสงที่ผ่านเข้ามายังแผ่นนั้น
diathermy
กรรมวิธีทางการแพทย์ในการรักษาเนื้อเยื่อของร่างกายด้วยการให้ความร้อนที่ได้จากการส่งผ่านกระแสไฟฟ้าความถี่สูง วิธีนี้ช่วยให้คนไข้คลายความเจ็บปวดจากกล้ามเนื้อ หรือจากกระดูกและข้อต่อ
Transformer หม้อแปลงไฟฟ้า
ประกอบด้วยขดลวด 2 ขดพันรอบแกนเดียวกัน แกนนี้ทำด้วยสารแม่เหล็กชั่วคราว ใช้สำหรับเปลี่ยนแรงเคลื่อนไฟฟ้าสลับในชดลวดหนึ่งเป็นแรงไฟฟ้าค่าต่างๆในขดลวดอื่น เช่นแหล่งจ่ายไฟฟ้า
Primary coil ขดลวดปฐมภูมิ ขดลวดในหม้อแปลงไฟฟ้า ซึ่งป้อนแรงเคลื่อนไฟฟ้าสลับเข้าไปให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าในขดลวดทุติยภูมิ
Secondary coil ขดลวดทุติยภูมิ
ขดลวดในหม้อแปลงไฟฟ้าซึ่งมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าสลับเหนี่ยวนำเกิดขึ้น เมื่อป้อนแรงเคลื่อนไฟฟ้าเข้าไปในขดลวดปฐมภูมิ หม้อแปลงบางตัวมีขดลวดทุติยภูมิมากกว่า 2 ชุด
Turn ratio อัตราส่วนขดลวด เป็นอัตราส่วนระหว่างขดลวดปฐมภูมิกับขดลวดทุติยภูมิ มีค่าเท่ากับอัตราส่วนระหว่างแรงเคลื่อนไฟฟ้าในขดลวดปฐมภูมิกับทุติยภูมิ
Step-up transformer หม้อแปลงขึ้น เป็นหม้อแปลงที่ให้แรงเคลื่อนไฟฟ้าในขดลวดทุติยภูมิสูงกว่าขดลวดปฐมภูมิ มีอัตราส่วนขดลวดน้อยกว่า 1
Step-down transformer หม้อแปลงลง เป็นหม้อแปลงที่ให้แรงเคลื่อนไฟฟ้าในขดลวดทุติยภูมิน้อยกว่าในขดลวดปฐมภูมิ มีอัตราส่วนขดลวดมากกว่า1
เครื่องยนต์ไอพ่นของเครื่องบินจัมโบ้ทำงานได้อย่างไร
พัดลมจะดูดอากาศเข้าไปในเครื่องยนต์ และอัดอากาศเข้าไปในห้องเผาไหม้ แล้วฉีดพ่นเชื้อเพลิง ทำให้อากาศอัดติดไฟ เกิดเป็นแก๊สร้อน ในภาพเป็นเครื่องเทอร์โบแฟน มีพัดลมตัวใหญ่ดูดอากาศเข้าไป เพื่อให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพมากขึ้นและเสียงดังน้อยลง ลำแก๊สร้อนความดันสูงจะถูกขับออกทางท้ายของเครื่องบิน และดันให้เครื่องบินพุ่งไปในทิศตรงกันข้าม
ลำดับขั้นตอนการผลิตหลอดไฟฟ้า
1. ลำเลียงหลอดแก้วไปลนไฟ เพื่อทำให้คอหลอดร้อนและอ่อนตัว แล้วจึงบีบคอหลอดให้ได้ขนาดพอดีกับปลอกโลหะที่จะนำมาสวมจากนั้นก็เจียนแต่งให้เรียบร้อย
2. นำคอหลอดที่ยังร้อนแดงมาเชื่อมต่อกับแกนแก้วที่มีไส้หลอดเกาะอยู่
3. ขั้นสุดท้าย บัดกรีจุดสัมผัสทั้งสองจุด ที่ขั้วหลอดให้เชื่อมต่อกับปลายเส้นลวดทั้งสองที่โผล่ออกมาจากไส้
Friction force or friction : แรงเสียดทานเป็นแรงที่กระทำต้านการเคลื่อนที่ของผิววัตถุ 2 ชนิด ที่แตะกันเกิดขึ้นจากแรงระหว่างโมเลกุลของผิวทั้งสอง แรงเสียดทานมี 2 ชนิดคือ แรงเสียดทานสถิต และแรงเสียดทานจลน์
แรงเสียดทาน สถิต เป็นแรงเสียดทานสูงสุดระหว่างผิวทั้งสองเกิดขึ้นขณะเริ่มเคลื่อนที่
แรงเสียดทานจลน์ เป็นแรงเสียดทานเมื่อผิวหนึ่งเคลื่อนที่บนอีกผิวหนึ่งที่อัตราเร็วคงตัว แรงเสียดทานจลน์มีค่าน้อยกว่าแรงเสียดทานสถิตเล็กน้อย
coefficient of friction (m) สัมประสิทธ์ของความเสียดทาน เป็นอัตราส่วนระหว่างแรงเสียดทานที่ผิวทั้งสองกับแรงดูดผิวทั้งสอง (แรงตั้งฉากกับผิว) มี 2 ค่าคือสัมประสิทธ์ความเสียดทานสถิต และสัมประสิทธ์ความเสียดทานจลน์
meteor เทหวัตถุแข็งจากอวกาศนอกโลก เมื่อตกเข้ามาในบรรยากาศของโลก จะร้อนสว่างขึ้น เป็นผีพุ่งใต้ เนื่องจากเกิดแรงเสียดทานขึ้นที่ผิวของมัน อุกกาบาตถ้าขนาดเล็กจะไหม้หมดไปในบรรยากาศ แต่อุกกาบาตบางชิ้นมีชนาดใหญ่เหลือตกลงมาถึงพื้นโลกเรียกว่า meteorite หรืออุกกาบาต หรือสะเก็ตดาวตก อุกกาบาตมีสามชนิด คือชนิดที่เป็นโลหะส่วนใหญ่ ที่เป็นหินส่วนใหญ่ และที่เป็นโลหะผสมกับหินราวๆเดียวกัน ที่เป็นโลหะโดยมากเป็นเหล็กส่วนใหญ่ อุกกาบาตขนาดใหญ่ที่สุดหนักได้ถึง 100 ตัน ทุกวันๆ นี้มีอุกกาบาตตกเข้ามาในบรรรยากาศโลกนับเป็นล้านๆชิ้น และเพิ่มวัตถุธาตุให้กับโลกราว 10 ตัน
กดดูรูปหลุมอุกกาบาตชนาดใหญ่ และการกำเนิดของหลุมนี้
รูปที่ 1 กาวตราช้างมีสารรักษาสภาพ(สีแดง)ที่มีฤทธิ์เป็นกรด (สีแดง) อยู่จึงทำให้โมเลกุลของสารที่ยึดติดไม่เชื่อมโยงต่อกัน และอยู่ในสภาพของเหลว รูปที่ 2 เมื่อสัมผัสกับความชื้น(สีน้ำเงิน) บนพื้นผิวที่จะผนึกสารรักษาสภาพที่มีฤทธิ์เป็นกรดจะหมดฤทธิ์ กลายสภาพเป็นกลาง รูปที่ 3 เมื่อสารรักษาสภาพกลายเป็นกลางแล้ว โมเลกุลของสารยึดติดในกาวนั้นก็จะเชื่อมต่อกันเป็นห่วงโซ่ยาว ทำให้กลายเป็นของแข็งที่ยึดติดแน่น (1)
กาวตราช้างเป็นยางอะครีลิก ซึ่งทำขึ้นจากสารประกอบปิโตรเคมี เมื่อกาวถูกความชื้นเพียงเล็กน้อย โมเลกุลเล็กๆจะรวมตัวกันจนมีขนาดยาวขึ้น กระบวนการทางเคมีนี้เรียกว่า การเกิดพอลิเมอร์ กาวตราช้างติดผิวหนังคนได้ดี เพราะผิวหนังชองคนเรามีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ คุณสมบัติในการติดผิวหนังของคนได้ดีเช่นนี้ไม่ใช่ข้อเสียเสมอไป เพราะได้มีการใช้กาวซูเปอร์ในการผ่าตัดมาแล้ว โ่ดยใช้ฉีดพ่นเพื่อปิดปากแผลและลดการเสียเลือด
นักวิทยาศาสตร์ของไอบีเอ็มได้ผลิตภาพนี้ขึ้นมาเป็นรูปสัญญลักษณ์ของบริษัทโดยการใช้อะตอมของก๊าซซีนอน แต่ละก้อนคือหนึ่งอะตอม ส่วนภาพทางด้านขวาเป็นภาษาญี่ปุ่นของคำว่าอะตอม สร้างขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์จากบริษัทไอบีเอ็มเช่นเดียวกัน โดยการใช้อะตอมของเหล็กบนพื้นของทองแดง (1)
4 stroke engine เครื่องยนต์แบบนี้ โดยทั่วไปเรียกว่า เครื่องยนต์ 4 จังหวะ แต่ทางเทคนิคเรียกว่า เครื่องยนต์ 4 ช่วงขักครบรอบการทำงาน เครื่องยนต์ 4 จังหวะ เครื่องยนต์หมุน 2 รอบ ลูกสูบเลื่อนขึ้นลงรวม 4 ครั้งหรือ 4 ช่วงขัก หรือ 4 ระยะชัก ครบรอบการทำงาน นั่นคือครบจังหวะดูด(intake stroke) จังหวะอัด (Compression Stoke) จังหวะระเบิด(Power stoke) และจังหวะคาย(exhaust stroke)
ลองกดที่รูปภาพ เครื่องยนต์สามารถเคลื่อนไหวได้
การทำงานของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน 4 จังหวะ
ในแต่ละรอบการทำงาน (cycle) เครื่องยนต์ 4 จังหวะ ลูกสูบจะเคลื่อนที่ขึ้นลง 4 ครั้ง (ขึ้น 2 ครั้ง ลง 2 ครั้ง) โดยเพลาข้อเหวี่ยงหมุน 2 รอบ การที่ลูกสูบขึ้นลง 4 ช่วงชัก ทำให้เกิดการทำงานขึ้น 4 จังหวะ จังหวะการทำงานทั้ง 4 ของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน 4 จังหวะมีดังนี้
1. จังหวะดูด (Intake stroke) เมื่อลูกสูบเริ่มเคลื่อนที่ลง ส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศ (เครื่องยนต์ดีเซลจะดูดเฉพาะอากาศเพียงอย่างเดียว) จะถูกดูดเข้ามาในกระบอกสูบโดยผ่านลิ้นไอดี(intake vavle) ซึ่งเปิดอยู่ ลิ้นไอดีจะปิดที่ประมาณปลายจังหวะดูด (ใกล้ศูนย์ตายล่าง)
2. จังหวะอัด (Compression stroke) เมื่อลูกสูบเริ่มเลื่อนขึ้น ลิ้นทั้งสองทั้งลิ้นไอดีและลิ้นไอเสีย (Exhaust valve) จะปิดส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศ (เครื่องยนต์ดีเซลจะเฉพาะอากาศเพียงอย่างเดียว) จะถูกอัดจนกระทั่งใกล้ศูนย์ตายบน ส่วนผสมจะถูกจุดโดยหัวเทียน (เครื่องยนต์ดีเซลน้ำมันเชื้อเพลิงจะถูกฉีดเข้ามาโดยหัวฉีด) การเผาไหม้จึงเริ่มขึ้น
3. จังหวะกำลัง , จังหวะระเบิด (Power stroke) เมื่อลูกสูบเริ่มเลื่อนลงลิ้นทั้งสองยังคงปิดอยู่ แรงดันของแก๊สที่เกิดจากการเผาไหม้ จะกระแทกลงบนหัวลูกสูบ ผลักดันให้ลูกสูบเลื่อนลง จนกระทั่งใกล้ศูนย์ตายล่าง ลิ้นไอเสียจะเปิด
4.จังหวะคาย, จังหวะไอเสีย (Exhaust Stoke) เมื่อลูกสูบเริ่มเลื่อนขึ้น จะผลักดันให้ไอเสียที่ค้างในกระบอกสูบ ออกไปภายนอกโดยผ่านลิ้นไอเสียที่เปิดอยู่ ลิ้นไอเสียยังคงเปิดอยู่จนกระทั่งลูกสูบเลื่อนผ่านศูนย์ตายบนไปเล็กน้อย จากนั้นจะเป็นการเริ่มจังหวะดูดในรอบการทำงานต่อไป
เครื่องยนต์ 4 จังหวะทุกเครื่อง ในแต่ละรอบการทำงาน จะประกอบด้วยจังหวะทั้ง 4 ดังกล่าวเรียงกันไปตามลำดับ
การทำงานของเครื่องยนต์ แก๊สโซลีน 2 จังหวะ
การที่ลูกสูบเลื่อนขึ้นลง 2 ช่วงชัก ทำให้เกิดการทำงานขึ้น 4 จังหวะ เช่นเดียวกันกับเครื่องยนต์ 4 จังหวะ จากรูปเริ่มจาก
A จังหวะอัด (Compression) และจังหวะดูด (intake) ร่วมกันอยู่
B จังหวะกำลังหรือจังหวะระเบิด (Power,ignition)
c จังหวะคาย (Exhaust) และเริ่มถ่ายไอดี (Transfer)
d ถ่ายไอดี (transfer) และเริ่มจังหวะดูด( intake)
ครั้งที่
พจนานุกรมฟิสิกส์