|
รับสมัครอาจารย์ วุฒิปริญญาโททางฟิสิกส์ หรือสาขาใกล้เคียง ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป 5493123-24 ์ |
บทความวิชาการจากภาควิชาฟิสิกส์ ภาพลูกเทนนิส กระทบกับไม้แรกเก็ต จะสังเกตเห็นว่า ลูกเทนนิส ยุบตัวลง และสปริงกลับในทิศทางตรงกันข้าม เราสามารถใช้กฎการชนของโมเมนตัมอธิบายได้ทั้งหมด ภาพสุดท้ายน่าสนใจที่สุด ว่าด้านบนของลูกเทนนิสมีการสั่นสะเทือน ปูดขึ้นมา คุณสามารถอธิบายปรากฏการณ์นี้ได้หรือไม่ |
|
ทางเข้าภาควิชาฟิสิกส์ | ||
![]() |
||
|
||
![]() |
บทความวิชาการจากภาควิชาชีววิทยา อัตราการย่อยสลายและเชื้อราย่อยสลายซากใบโกงกางใบเล็กและใบแสมขาว บริเวณปากแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสมุทรสาคร การศึกษาการย่อยสลายและประสิทธิภาพของน้ำย่อยจากเชื้อราที่แยกได้จากใบโกงกางใบเล็กและใบแสมขาว บริเวณปากแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสมุทรสาคร ระหว่างธันวาคม2540 ถึง มกราคม2542 พบว่าจากใบไม้ตัวอย่าง 400 กรัม ใบแสมขาวบริเวณสวนป่าปลูกสามารถย่อยหมดภายใน 3 เดือน บริเวณป่าธรรมชาติย่อยหมดใน 5 -6 เดือน ใบโกงกางใบเล็กบริเวณสวนป่าปลูกและป่าธรรมชาติ ย่อยหมดใน6 เดือน เมื่อแยกเชื้อราจากซากใบไม้ทั้งสองชนิดพบเชื้อราทั้งหมด 49 ชนิด 19 สกุล และสกุลที่สำคัญ ได้แก่ สกุล Aspergillus, Trichoderma, Penicillium และ Fusarium เป็นต้น จากจำนวนเชื้อราทั้งหมด เป็นเชื้อราที่พบบนใบแสมขาว 36ชนิด บนใบโกงกางใบเล็ก 30 ชนิด โดยส่วนใหญ่จะพบจำนวนเชื้อราเป็นจำนวนมากในบริเวณพื้นดินริมฝั่งแม่น้ำมากกว่าบริเวณด้านในห่างริมฝั่งแม่น้ำตามแนวtransect line และเมื่อนำเชื้อราไปทดสอบประสิทธิภาพในการย่อยสารที่เป็นองค์ประกอบของใบในห้องปฎิบัติการ พบว่าเชื้อรามีประสิทธิภาพในการย่อยจากมากที่สุดตามลำดับดังนี้คือสกุล Trichoderma, Aspergillus, Penicillium ที่มี อายุ 14-21 วันบนอาหารเลี้ยงเชื้อ Corn Meal Agar และเชื้อราดังกล่าวสามารถย่อยสาร เซลลูโลส ไซเลน ลิกนิน ได้ดีที่ความเค็มของอาหาร 15 ppt นอกจากนี้พบว่าปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อการย่อยสารองค์ประกอบของใบไม้ดังกล่าว คือ ความเค็มของอาหารเลี้ยงเชื้อ อายุเชื้อรา ชนิดของสารองค์ประกอบ พื้นที่ผิวของสารองค์ประกอบและ ชนิดเชื้อรา เป็นต้น รายละเอียด
|
|
![]() ท่านมาเยือนลำดับที่ ตั้งแต่
22 พฤษภาคม 2543
ต่อไป 17 กันยายน 2544 |
(กดคลิ๊กที่ชื่อเพื่อดูประวัติของท่าน) |
|
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
||
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
||