7. การเกิดภาพภายในตา | |||
| |||
ตาเป็นอวัยวะรับความรู้สึกเกี่ยวกับการมองเห็น ตามีรูปร่างเกือบเป็นทรงกลมโดยส่วน ประกอบของตามี 2 ส่วน คือ ส่วนรวมแสง(Focusing Element) และ ส่วนไวแสง(Photosensitive Element) หรือเรียกว่าเรตินา (Retina) โดย | |||
ส่วนรวมแสง ประกอบด้วย | |||
คอร์เนีย (cornea) เป็นเยื่อเหนียวใสอยู่ตอนหน้าจะนูนออกมามีสีขาวทึบแสง(ส่วนที่เป็นตาขาว) คอร์เนียช่วยให้การหักเหแสงที่ตามีกำลัง(Power) สูงขึ้น | |||
ม่านตา (Iris) เป็นกล้ามเนื้อทึบแสงมีสีต่างๆตามเชื้อชาติ | |||
พิวพิล (pupil) เป็นช่องเปิดตรงกลางม่านตาจะปรับให้เล็กลงได้เมื่อมีแสงมาเข้าตามากขึ้น และจะปรับให้เปิดกว้างเมื่อแสงลดน้อยลง | |||
เมื่อแสงจากวัตถุเข้าสู่นัยน์ตา แสงจะผ่านคอร์เนีย ผ่านเลนส์ตา (Lens) และของเหลวไวทรัส (Vitreous humor) ไปเกิดภาพบนเรตินา | |||
ส่วนไวแสง หรือเรียกว่า Retina ประกอบด้วยส่วนของเซลล์รับแสง ซึ่งแบ่งแยกเป็น 2 พวก คือ รอดส์ และ โคนส์ (Rods and Cones) และยังมีไยประสาท(nerve fibers) | |||
รอดส์จะไวต่อการรับแสงโดยมีแสงเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำงานได้ | |||
โคนส์จะไวต่อการรับแสงสีของวัตถุ | |||
Fovea เป็นตำแหน่งหนึ่งในเรตินาจะมี Cones ประมาณ 34,000 เซลล์ เท่านั้น ที่มีเส้นประสาทติดต่อโดยตรงถึงสมอง ตรงบริเวณนี้จะใช้สำหรับเพ่งดูรายละเอียดของภาพให้เห็นชัดที่สุดและใช้แยกความแตกต่างของสีต่าง ๆ | |||
จุดบอดของนัยน์ตา(Blind Spot) เป็นบริเวณที่ไม่มีรอดส์และโคนส์อยู่ ดังนั้นถ้าส่วนใดของภาพที่เกิดบนเรตินา ไปตกลงที่ ตำแหน่งตาจะมองไม่เห็นภาพส่วนนั้น | |||
การเกิดภาพนั้นเกิดจากการหักเหของแสงที่คอร์เนียและที่เลนส์ตา ส่วนเลนส์ตานั้นปรับความยาวโฟกัสได้ เพื่อให้ภาพของวัตถุ ที่อยู่ในระยะต่าง ๆ กันเกิดภาพชัดบนเรตินา ความยาวโฟกัสของเลนส์ตาเปลี่ยนแปลงได้โดยการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเลนส์ตา รอบๆ เลนส์ตามีกล้ามเนื้อวงกลมล้อมรอบเรียกว่า กล้ามเนื้อซิลิอารี (Ciliary muscles) เมื่อกล้ามเนื้อนี้คลายตัว เลนส์ตาจะถูกเส้นใยซิลิอารี (Ciliary fibers) ดึงให้แฟบลง ในระยะนี้ตาคนปกติจะมองเห็นชัดที่ระยะอนันต์ เพื่อที่จะดูวัตถุที่อยู่ใกล้เข้ามา เลนส์ตา จะต้องมีความยาวโฟกัสสั้นเข้าจึงจะได้ภาพชัดบนเรตินา กล้ามเนื้อซิลิอารีจะหดตัวทำให้เส้นใยซิลิลารีหย่อนเลนส์ตาก็จะโป่งออกทำให้ความยาวโฟกัสสั้นเข้า | |||
สำหรับ เซลล์ เรียงรายกันอยู่บนเรตินาจะนำสัญญาณไฟฟ้าผ่านไปทางจักษุประสาทไปสู่สมองทำให้เกิดความรู้สึกในการมองเห็น | |||
| |||
| |||
| |||
โดย ผศ.ปรียา
อนุพงษ์องอาจ | |||
|
|
1. ไฟฟ้าสถิต | 2. สนามไฟฟ้า |
3. ความกว้างของสายฟ้า | 4. ตัวเก็บประจุและการต่อตัวต้านทาน |
5. ศักย์ไฟฟ้า | 6. กระแสไฟฟ้า |
7. สนามแม่เหล็ก | 8.การเหนี่ยวนำ |
9. ไฟฟ้ากระแสสลับ | 10. ทรานซิสเตอร์ |
11. สนามแม่เหล็กไฟฟ้าและเสาอากาศ |
12. แสงและการมองเห็น |
13. ทฤษฎีสัมพัทธภาพ | 14. กลศาสตร์ควอนตัม |
15. โครงสร้างของอะตอม | 16. นิวเคลียร์ |
ครั้งที่
การเรียนฟิสิกส์ 2 ผ่านทางอินเตอร์เน็ต